เจนเนอรัล มอเตอร์ส(จีเอ็ม) บริษัทที่เคยใหญ่ที่สุดในโลกอยู่หลายปี อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองของสหรัฐฯ ต้องประกาศเข้าสู่ภาวะล้มละลายในวันจันทร์(1) ภายใต้แผนการปรับโครงสร้างที่ได้รับการช่วยเหลืออุ้มชูจากรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายรายยังตั้งข้อกังขาว่า ท่ามกลางกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งมโหฬารคราวนี้ จีเอ็มจะประสบความสำเร็จกลับฟื้นตัวเข้มแข็งขึ้นมาใหม่ได้หรือไม่
พวกเจ้าหน้าที่อาวุโสขอวงสสหรัฐฯแจกแจงรายละเอียดแก่บรรดานักข่าวเมื่อวันอาทิตย์(31พ.ค.) เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาหวังว่าจะเป็นกระบวนการอันดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 60 ถึง 90 วัน เพื่อให้จีเอ็มสามารถหลุดออกจากการคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย และกลับผงาดขึ้นเป็นบริษัทใหม่ที่ผอมเรียวลงแต่แข็งแรงขึ้น
จีเอ็มจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯมาหนุนหลัง รวมทั้งยังได้บรรลุข้อตกลงกับสหภาพแรงงาน ตลอดจนผู้ถือหุ้นกู้รายใหญ่ สภาพเช่นนี้น่าจะเอื้ออำนวยให้จีเอ็มพรักพร้อม สำหรับการพลิกฟื้นจากการล้มละลายครั้งประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งขึ้นมาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยเลยกลับคาดการณ์ในทางลบ ตั้งแต่ขั้นแย่ไปจนถึงขั้นหายนะ เนื่องจากกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงตัวเองของจีเอ็มคราวนี้ จะต้องฟันฝ่าเผชิญหน้าความเสี่ยงจำนวนมาก ตั้งแต่ยอดขายของจีเอ็มอาจไม่กระเตื้อง, การดำเนินงานในขั้นตอนล้มละลายไม่ราบรื่น, ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูพุ่งขึ้น, รวมถึงการเข้าแทรกแซงของรัฐบาลอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลักของบริษัทได้ ซึ่งก็คือ การสร้างรถที่ดีขึ้น และเจาะตลาดได้กว้างขวางกว่าเดิม
หลายคนเรียกจีเอ็มอย่างเสียดสีว่า บัดนี้ไม่ใช่ "เจนเนอรัลมอเตอร์ส" เสียแล้ว หากแต่เป็น "กัฟเวิร์นเมนต์มอเตอร์ส" เพราะเมื่อมองกันจริง ๆแล้วบริษัทแห่งนี้ก็เป็นของรัฐบาลไปแล้วจริง ๆ ด้วยเงินช่วยเหลือถึง 60,000 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา
พวกเจ้าหน้าที่อาวุโสขอวงสสหรัฐฯแจกแจงรายละเอียดแก่บรรดานักข่าวเมื่อวันอาทิตย์(31พ.ค.) เกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาหวังว่าจะเป็นกระบวนการอันดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 60 ถึง 90 วัน เพื่อให้จีเอ็มสามารถหลุดออกจากการคุ้มครองตามกฎหมายล้มละลาย และกลับผงาดขึ้นเป็นบริษัทใหม่ที่ผอมเรียวลงแต่แข็งแรงขึ้น
จีเอ็มจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯมาหนุนหลัง รวมทั้งยังได้บรรลุข้อตกลงกับสหภาพแรงงาน ตลอดจนผู้ถือหุ้นกู้รายใหญ่ สภาพเช่นนี้น่าจะเอื้ออำนวยให้จีเอ็มพรักพร้อม สำหรับการพลิกฟื้นจากการล้มละลายครั้งประวัติศาสตร์ให้กลายเป็นบริษัทที่แข็งแกร่งขึ้นมาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์จำนวนไม่น้อยเลยกลับคาดการณ์ในทางลบ ตั้งแต่ขั้นแย่ไปจนถึงขั้นหายนะ เนื่องจากกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงตัวเองของจีเอ็มคราวนี้ จะต้องฟันฝ่าเผชิญหน้าความเสี่ยงจำนวนมาก ตั้งแต่ยอดขายของจีเอ็มอาจไม่กระเตื้อง, การดำเนินงานในขั้นตอนล้มละลายไม่ราบรื่น, ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูพุ่งขึ้น, รวมถึงการเข้าแทรกแซงของรัฐบาลอาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาหลักของบริษัทได้ ซึ่งก็คือ การสร้างรถที่ดีขึ้น และเจาะตลาดได้กว้างขวางกว่าเดิม
หลายคนเรียกจีเอ็มอย่างเสียดสีว่า บัดนี้ไม่ใช่ "เจนเนอรัลมอเตอร์ส" เสียแล้ว หากแต่เป็น "กัฟเวิร์นเมนต์มอเตอร์ส" เพราะเมื่อมองกันจริง ๆแล้วบริษัทแห่งนี้ก็เป็นของรัฐบาลไปแล้วจริง ๆ ด้วยเงินช่วยเหลือถึง 60,000 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลประธานาธิบดีบารัค โอบามา