xs
xsm
sm
md
lg

ตลาดรถยังไม่ฟื้น ทรุดต่อเนื่อง26.2%

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ข่าวในประเทศ - ตลาดรถยนต์ยังไม่ฟื้น ตกต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ติดต่อกัน เดือน พ.ค. 52 ลดลง 26.2% ปิกอัพนำโด่งทรุดหนักสุด38.5% แจงเหตุโตโยต้าปรับไลน์ผลิตมียอดส่งมอบค้างอยู่ ขณะที่ยอดสะสม 5 เดือนเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น จากความเชื่อมันของผู้บริโภคและภาวะการเมืองนิ่ง
โตโยต้า ยาริส
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2552 ปริมาณการขาย 40,539 คัน ลดลง 26.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 17,361 คัน ลดลง 18.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 23,178 คัน ลดลง 31.1% รวมทั้ง รถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 20,209 คัน ลดลง 30.6%

สถิติการขายสะสมในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 188,026 คัน ลดลง 30.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 77,310 คัน ลดลง 13.9% รถเพื่อการพาณิชย์ 110,716 คัน ลดลง 39.0% รวมทั้ง รถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 96,343 คัน ลดลง 38.5%

" ปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากการหดตัวของยอดขายรถยนต์ของโตโยต้า ซึ่งเป็นผลมาจากการรักษาสมดุลของยอดการผลิตเพื่อการขายในประเทศกับการส่งออก ส่งผลให้มียอดค้างจองในรถยนต์นั่งบางรุ่นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ประกอบกับการลดจำนวนการผลิตของรถยนต์นั่งขนาดกลางเพื่อรอการเปิดตัวรุ่นใหม่ จึงส่งผลให้ตลาดรถยนต์นั่งและตลาดรถยนต์รวมมีอัตราการเติบโตลดลง"นายวุฒิกร กล่าว

สำหรับการหดตัวดังกล่าวของตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคม นับเป็นการหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 และเป็นปริมาณการขายที่ต่ำกว่าสถิติการขายตามฤดูกาล โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการหดตัวที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ในขณะที่ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 18.3% สูงสุดนับตั้งแต่ต้นปี

นายวุฒิกรกล่าวว่า ตลาดรถยนต์ในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา มีแนวโน้มของการหดตัวลดลง เป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีแนวโน้มดีขึ้น ความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะรถยนต์นั่งยังคงมีอยู่มาก ประกอบความชัดเจนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและสถานการณ์การเมืองในประเทศ

ส่วนตลาดรถยนต์เดือนมิถุนายน คาดว่าจะมีปริมาณการขายดีขึ้น เนื่องจากตามสถิติการขายแล้วเดือนมิถุนายนจะมียอดขายสูงสุดของไตรมาสที่สอง ประกอบกับการเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อเร่งส่งมอบรถค้างจองที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อยอดขายในเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ราคาน้ำมันที่มีแน้วโน้มเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดรถยนต์ได้
ตารางแสดงยอดขายรถยนต์รวมทุกประเภท (หน่วย : คัน)
ยี่ห้อพ.ค.52ม.ค.52-พ.ค.52
โตโยต้า16,22276,490
อีซูซุ8,37140,406
ฮอนด้า7,62132,647
นิสสัน2,1459,691
เชฟโรเลต1,5155,460
มิตซูบิชิ1,2206,439
มาสด้า8684,086
ฟอร์ด5032,799
เบนซ์4101,913
โปรตอน2301,069
รวมทุกยี่ห้อ40,539188,026

ตารางแสดงยอดขายประเภทรถยนต์นั่ง (หน่วย : คัน)
ยี่ห้อพ.ค.52ม.ค.52-พ.ค.52
ฮอนด้า7,26830,991
โตโยต้า6,70033,344
เชฟโรเลต9962,592
นิสสัน6822,506
มาสด้า4241,909
เบนซ์3961,829
มิตซูบิชิ2411,136
โปรตอน2301,069
บีเอ็มดับเบิลยู138596
ฟอร์ด75465
รวมทุกยี่ห้อ17,36177,310

ตารางแสดงยอดขายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ (หน่วย : คัน)
ยี่ห้อพ.ค.52ม.ค.52-พ.ค.52
โตโยต้า9,52243,146
อีซูซุ8,37140,406
นิสสัน1,4637,185
มิตซูบิชิ9795,303
เชฟโรเลต5192,868
ฮีโน่4822,373
มาสด้า4442,177
ฟอร์ด4282,334
ฮอนด้า3531,656
ซูซูกิ149758
รวมทุกยี่ห้อ23,178110,716

ตารางแสดงยอดขายรถปิกอัพล้วน (หน่วย : คัน)
ยี่ห้อพ.ค.52ม.ค.52-พ.ค.52
อีซูซุ7,48436,011
โตโยต้า7,31033,427
นิสสัน1,4547,067
มิตซูบิชิ5793,272
มาสด้า4442,177
เชฟโรเลต4042,260
ฟอร์ด3312,039
ทาทา70330
รวมทุกยี่ห้อ18,07686,583

กำลังโหลดความคิดเห็น