ข่าวในประเทศ - ตลาดรถยนต์เข้าขั้นวิกฤต ยอดขายเดือนมีนาคม ทรุดหนักถึง 37.8% รถปิกอัพหนักสุดหดตัวถึง 44.8% ปิดไตรมาสแรกลดลง 33.4% ชี้จากปัจจัยภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง คาดเดือนหน้ายังคงหดตัวต่อเนื่อง
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2552 ปริมาณการขาย 41,328 คัน ลดลง 37.8% (เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 16,194 คัน ลดลง 23.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 25,134 คัน ลดลง 44.5% รวมทั้ง รถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 21,610 คัน ลดลง 44.8%
ส่วนสถิติการขายสะสมในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 107,774 คัน ลดลง 33.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 43,968 คัน ลดลง 17.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 63,806 คัน ลดลง 41.2% รวมทั้ง รถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 55,095 คัน ลดลง 40.9%
“การหดตัวของตลาดดังกล่าว นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ซึ่งเป็นตลาดที่สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวม มียอดขายลดลงถึง 44.5% ลดลงสูงสุดในรอบ 11 เดือน นับตั้งแต่ภาวะตื่นตระหนกของราคาน้ำมันดีเซล ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 7 ปี สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย” นายวุฒิกร กล่าว
ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดรถยนต์ไตรมาสแรกมีปริมาณการขาย 107,774 คัน ลดลง 33.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 17.4% ส่วนหนึ่งเนื่องจากยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2008 มียอดขายสูงเนื่องจากการตอบรับรถยนต์ที่ใช้พลังงาน อี20
ขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 41.2% เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ต่างเป็นปัจจัยลบกระทบต่อตลาดรถยนต์
นายวุฒิกร กล่าวว่า สำหรับตลาดรถยนต์เดือนเมษายน คาดว่าจะมีปริมาณการขายหดตัว แม้ว่ายอดจองรถยนต์ในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา จะมียอดจองสูงถึง 16,936 คัน ก็ตาม อย่างไรก็ดีสถานการณ์ทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อาจมีผลต่อความมั่นใจผู้บริโภคซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจรวมถึงตลาดรถยนต์เช่นกัน
ตารางแสดงยอดจำหน่ายรถยนต์รวม 10 อันดับแรก
ตารางแสดงยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง 8 อันดับแรก
ตารางแสดงยอดจำหน่ายรถปิกอัพขนาด 1 ตัน
ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
หน่วย : คัน
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2552 ปริมาณการขาย 41,328 คัน ลดลง 37.8% (เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา) ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 16,194 คัน ลดลง 23.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 25,134 คัน ลดลง 44.5% รวมทั้ง รถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 21,610 คัน ลดลง 44.8%
ส่วนสถิติการขายสะสมในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 107,774 คัน ลดลง 33.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 43,968 คัน ลดลง 17.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 63,806 คัน ลดลง 41.2% รวมทั้ง รถปิกอัพขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 55,095 คัน ลดลง 40.9%
“การหดตัวของตลาดดังกล่าว นับเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ซึ่งเป็นตลาดที่สะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจโดยรวม มียอดขายลดลงถึง 44.5% ลดลงสูงสุดในรอบ 11 เดือน นับตั้งแต่ภาวะตื่นตระหนกของราคาน้ำมันดีเซล ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว ประกอบกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 7 ปี สะท้อนให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้บริโภคเพิ่มความระมัดระวังในการใช้จ่าย” นายวุฒิกร กล่าว
ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดรถยนต์ไตรมาสแรกมีปริมาณการขาย 107,774 คัน ลดลง 33.4% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 17.4% ส่วนหนึ่งเนื่องจากยอดขายในไตรมาสแรกของปี 2008 มียอดขายสูงเนื่องจากการตอบรับรถยนต์ที่ใช้พลังงาน อี20
ขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 41.2% เป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก ประกอบกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ต่างเป็นปัจจัยลบกระทบต่อตลาดรถยนต์
นายวุฒิกร กล่าวว่า สำหรับตลาดรถยนต์เดือนเมษายน คาดว่าจะมีปริมาณการขายหดตัว แม้ว่ายอดจองรถยนต์ในงานบางกอก มอเตอร์โชว์ที่ผ่านมา จะมียอดจองสูงถึง 16,936 คัน ก็ตาม อย่างไรก็ดีสถานการณ์ทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจ อาจมีผลต่อความมั่นใจผู้บริโภคซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจรวมถึงตลาดรถยนต์เช่นกัน
ตารางแสดงยอดจำหน่ายรถยนต์รวม 10 อันดับแรก
ยี่ห้อ | มี.ค.2552 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) | ม.ค.-มี.ค.2552 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) |
โตโยต้า | 16,762 | 44,444 |
อีซูซุ | 8,761 | 23,558 |
ฮอนด้า | 7,244 | 18,360 |
นิสสัน | 2,050 | 5,274 |
มิตซูบิชิ | 1,574 | 3,857 |
เชฟโรเลต | 1,215 | 2,783 |
มาสด้า | 740 | 2,096 |
ฟอร์ด | 593 | 1,730 |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ | 381 | 867 |
โปรตอน | 202 | 632 |
รวมทุกยีั่่ห้อ | 41,328(-37.8%) | 107,774(-33.4%) |
ตารางแสดงยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง 8 อันดับแรก
ยี่ห้อ | มี.ค.2552 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) | ม.ค.- มี.ค.2552 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) |
โตโยต้า | 6,951 | 20,578 |
ฮอนด้า | 6,760 | 17,250 |
เชฟโรเลต | 537 | 1,068 |
นิสสัน | 392 | 1,075 |
เมอร์เซเดส-เบนซ์ | 373 | 827 |
มาสด้า | 307 | 906 |
มิตซูบิชิ | 236 | 591 |
โปรตอน | 202 | 632 |
รวมทุกยี่ห้อ | 16,194(-23.4%) | 43,968(-17.4%) |
ตารางแสดงยอดจำหน่ายรถปิกอัพขนาด 1 ตัน
ยี่ห้อ | มี.ค.2552 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) | ม.ค.- มี.ค.2552 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว) |
โตโยต้า | 8,880 | 21,493 |
อีซูซุ | 8,211 | 22,096 |
นิสสัน | 1,645 | 4,109 |
มิตซูบิชิ | 1,338 | 3,265 |
เชฟโรเลต | 559 | 1,357 |
ฟอร์ด | 485 | 1,403 |
มาสด้า | 433 | 1,190 |
ทาทา | 59 | 182 |
รวมทุกยี่ห้อ | 21,610(-44.8%) | 55,095(-40.9%) |
ที่มา : บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
หน่วย : คัน