ข่าวในประเทศ – ปิดยอดจำหน่ายรถยนต์ปีหนูไฟ 2551 ตลาดรวมทำได้ 615,270 คัน ร่วงจากปีก่อนเพียง 2.5% เหตุจากตลาดปิกอัพหดตัวอย่างหนัก 15.8% แต่ยังดีได้รถยนต์นั่งช่วยพยุงหลังเติบโตถึง 33.3% ฮอนด้าทำสถิติยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนโตโยต้าคาดปีนี้ตลาดรวมร่วงหนักถึง 15% เหลือเพียง 520,000 คัน
รายงานยอดจำหน่ายรถยนต์(อย่างไม่เป็นทางการ) จากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย สรุปรวมทั้งปี 2551 มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 615,270 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 2.5% โดยแบ่งเป็น รถยนต์เพื่อการพาณิชย์จำหน่ายได้ 388,465 คัน ลดลง 15.8% ขณะที่รถยนต์นั่ง จำหน่ายได้ 226,805 คัน เพิ่มขึ้น 33.3%
ซึ่ง มิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แสดงความคิดเห็นถึงการลดลงดังกล่าวไว้ว่า เป็นผลมาจาก การหดตัวของตลาดรถกระบะ 1 ตัน ซึ่งมีความสำคัญและมีสัดส่วนการขายสูง โดยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่มีพลังงานทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
“ในปีที่ผ่านมา ตลาดรถกระบะ มียอดขายลดลงถึง 17.6% ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่ง มีปริมาณการขายทำสถิติใหม่ ด้วยอัตราการเติบโต 33.3% ซึ่งเป็นผลจากมีการแนะนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด, การได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์พลังงานทางเลือก E20 และสมรรถนะการประหยัดน้ำมันของรถยนต์นั่งขนาดเล็ก”
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตุจากการขยายตัวของตลาดรถยนต์นั่ง ส่งผลให้ค่ายฮอนด้า สามารถสร้างสถิติยอดจำหน่ายรถยนต์สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในเมืองไทยด้วยตัวเลข 90,807 คัน จากเดิมที่เคยคาดไว้เพียง 70,000 คันเมื่อต้นปี
ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ในปี 2552 โซโนดะ คาดว่า จะมีอัตราการเติบโตลดลงจากปีก่อนประมาณ 15% ปริมาณการขาย 520,000 คัน โดยแบ่งออกเป็นตลาดรถยนต์นั่ง 205,000 คัน ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน 269,000 คัน และตลาดรถกระบะในเซ็กเม้นท์นี้ 252,000 คัน
โดยคาดการณ์จากอัตราการเติบโตที่ลดลงของไตรมาส 4 ในปี 2551 ซึ่งสะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบันและส่งผลต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ซึ่งโตโยต้า ได้ตั้งเป้าหมายการขายไว้ที่ 221,000 คัน ลดลง 15.7% เมื่อเทียบกับปี 2551 และคาดว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาด 42.5%”
ตารางแสดงตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทปี 2551 (หน่วย : คัน)
ตารางแสดงตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งปี 2551 (หน่วย : คัน)
ตารางแสดงตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ปี 2551 (หน่วย : คัน)
รายงานยอดจำหน่ายรถยนต์(อย่างไม่เป็นทางการ) จากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย สรุปรวมทั้งปี 2551 มียอดจำหน่ายทั้งสิ้น 615,270 คัน ลดลงจากปีที่ผ่านมา 2.5% โดยแบ่งเป็น รถยนต์เพื่อการพาณิชย์จำหน่ายได้ 388,465 คัน ลดลง 15.8% ขณะที่รถยนต์นั่ง จำหน่ายได้ 226,805 คัน เพิ่มขึ้น 33.3%
ซึ่ง มิทซึฮิโระ โซโนดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แสดงความคิดเห็นถึงการลดลงดังกล่าวไว้ว่า เป็นผลมาจาก การหดตัวของตลาดรถกระบะ 1 ตัน ซึ่งมีความสำคัญและมีสัดส่วนการขายสูง โดยได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และไม่มีพลังงานทางเลือกสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล
“ในปีที่ผ่านมา ตลาดรถกระบะ มียอดขายลดลงถึง 17.6% ขณะที่ตลาดรถยนต์นั่ง มีปริมาณการขายทำสถิติใหม่ ด้วยอัตราการเติบโต 33.3% ซึ่งเป็นผลจากมีการแนะนำรถยนต์นั่งรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด, การได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์พลังงานทางเลือก E20 และสมรรถนะการประหยัดน้ำมันของรถยนต์นั่งขนาดเล็ก”
ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตุจากการขยายตัวของตลาดรถยนต์นั่ง ส่งผลให้ค่ายฮอนด้า สามารถสร้างสถิติยอดจำหน่ายรถยนต์สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ในเมืองไทยด้วยตัวเลข 90,807 คัน จากเดิมที่เคยคาดไว้เพียง 70,000 คันเมื่อต้นปี
ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ในปี 2552 โซโนดะ คาดว่า จะมีอัตราการเติบโตลดลงจากปีก่อนประมาณ 15% ปริมาณการขาย 520,000 คัน โดยแบ่งออกเป็นตลาดรถยนต์นั่ง 205,000 คัน ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน 269,000 คัน และตลาดรถกระบะในเซ็กเม้นท์นี้ 252,000 คัน
โดยคาดการณ์จากอัตราการเติบโตที่ลดลงของไตรมาส 4 ในปี 2551 ซึ่งสะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบันและส่งผลต่อเนื่องมาถึงปีนี้ ซึ่งโตโยต้า ได้ตั้งเป้าหมายการขายไว้ที่ 221,000 คัน ลดลง 15.7% เมื่อเทียบกับปี 2551 และคาดว่าจะสามารถครองส่วนแบ่งตลาด 42.5%”
ตารางแสดงตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทปี 2551 (หน่วย : คัน)
2007(สัดส่วนการตลาด) | ธ.ค. 2008 | ม.ค.-ธ.ค. 2008 | |
รวมทั้งหมด | 631,251 | 59,002 | 615,270 |
1.โตโยต้า | 282,088 (44.7%) | 25,982 (44.0%) | 262,209 (42.6%) |
2.อีซูซุ | 151,033 (23.9%) | 11,390 (19.3%) | 133,390 (21.7%) |
3.ฮอนด้า | 58,525 (9.3%) | 10,807 (18.3%) | 90,807 (14.8%) |
ตารางแสดงตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์นั่งปี 2551 (หน่วย : คัน)
2007(สัดส่วนการตลาด) | ธ.ค. 2008 | ม.ค.-ธ.ค. 2008 | |
รวมทั้งหมด | 170,118 | 23,825 | 226,805 |
1.โตโยต้า | 92,530 (54.4%) | 10,132 (42.5%) | 106,853 (47.1%) |
2.ฮอนด้า | 50,093 (29.4%) | 10,037(42.1%) | 81,888 (36.1%) |
3.เชฟโรเลต | 7,602 (4.5%) | 762 (3.2%) | 10,172 (4.5%) |
ตารางแสดงตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ปี 2551 (หน่วย : คัน)
2007(สัดส่วนการตลาด) | ธ.ค. 2008 | ม.ค.-ธ.ค. 2008 | |
รวมทั้งหมด | 405,865 | 31,210 | 334,282 |
1.โตโยต้า | 173,184 (42.7%) | 14,809 (47.4%) | 141,249 (42.3%) |
2.อีซูซุ | 140,589 (34.6%) | 10,839 (34.7%) | 125,860 (37.7%) |
3.นิสสัน | 23,559 (7.0%) | 2,097 (6.7%) | 23,559 (7.0%) |