เหนือคาดจริงๆ ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ กับยอดจองรถภายในงานบางกอกฯ มอเตอร์โชว์ 2009 พุ่งไปกว่า 1.6 หมื่นคัน มากกว่าที่ทางผู้จัดงานประเมินไว้ 1.5 หมื่นคัน ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาก็ดีถมไปแล้ว ดังนั้นเมื่อผลออกมาทะลุเป้าเกินคาด จึงทำให้ทุกฝ่ายยิ้มออกได้ตามๆ กัน ส่วนจะยิ้มได้มากหรือน้อยอย่างไร? ต้องมาลุ้นกันอีกรอบกับไฟแนนซ์ ว่าจะยอมปล่อยสินเชื่อลูกค้าแค่ไหน? เพราะว่ากันว่า… บริษัทรถอยากขายใจจะขาด ถึงได้ลดกระหน่ำให้แบบสุดๆ จนคนซื้อก็อยากซื้อชนิดอะไรก็ฉุดไม่อยู่ เนื่องจากเป็นโอกาสทองของผู้บริโภค แต่มาติดปัญหาตรงความเข้มงวดของไฟแนนซ์นี่แหละ เลยทำให้ยอดขายรถไม่เดินเท่าที่ควร!
ยอดขายรถยนต์แบ่งตามประเภท
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ในการยื่นข้อเสนอของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ ให้กับรัฐบาล “โอบามาร์ค” นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์โดยด่วน เนื่องจากยอดส่งออกรถยนต์ดิ่งเหว จากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และยังลามกระทบมาถึงไทย จนทำให้ยอดขายในประเทศร่วงหนักเช่นกัน (ดูตารางยอดขายรถยนต์ประกอบ)
เพื่อหยุดวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือโดยด่วน เพื่อผลักดันยอดขายภายในประเทศให้ฟื้นกลับมา ก่อนที่จะอุตสาหกรรมยานยนต์จะทรุดหนัก และนำไปสู่การปลดคนงานจำนวนมากกว่า 4 หมื่นคนในอนาคตอันใกล้นี้
โดยมาตรการที่ผู้ประกอบการนำเสนอไปมีทั้งหมด 4 ข้อ แต่ที่สำคัญได้แก่ การลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลง ซึ่งจะทำให้ราคารถยนต์ลดลง กระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อรถมากขึ้น และเข้ามาช่วยรับประกันการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ให้กับผู้บริโภค ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นมารับประกันความเสี่ยง
แต่ที่สุดรัฐบาลก็บอกปัดข้อเสนอของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ไป โดยเฉพาะการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เพราะจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับสินค้าประเภทอื่น ส่วนมาตรการช่วยเหลือในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเห็นชอบในหลักการ ส่วนจะเป็นการช่วยเหลือวิธีไหน? และอย่างไร? ได้มอบให้กระทรวงการคลังไปศึกษาต่อไป…
และก็ดูจะเป็นการศึกษาจริงๆ เพราะจนป่านนี้ยังไม่ความคืบหน้าใดๆ เลย!!
อย่างไรก็ตาม จากการเสนอมาตรการของผู้ประกอบการ และคณะรัฐมนตรีก็เห็นชอบในหลักการหาวิธีผ่อนปรนหรือช่วยเหลือในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ให้กับผู้บริโภค แสดงให้เห็นถึงปัญหาความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงิน หรือไฟแนนซ์ และลิสซิ่ง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศตกต่ำลงเป็นอย่างมาก
ส่วนปัญหาที่ทำให้มีการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มากขึ้น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ อาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน ซึ่งหากไม่ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ อาจจะส่งผลให้เกิดหนี้เสียเป็นจำนวนมากในอนาคตได้
วิธีที่บรรดาไฟแนนซ์ หรือสถาบันการเงินเลือกใช้ จึงเข้มงวดในตรวจเช็คประวัติลูกค้า หรือเพิ่มวงเงินดาวน์มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อให้มากที่สุด!!
“สถาบันการเงินเริ่มระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว และเริ่มเข้มงวดมากขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะมีเงินหายออกจากระบบจำนวนมาก จนทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียมากขึ้นเรื่อยๆ”
นั่นคือคำกล่าวของ นายสาธิต เตชะลาภอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยนตรกิจ เกีย มอเตอร์ จำกัด และว่า จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ไม่รู้จะว่าคลี่คลายเมื่อไหร่ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหาทางออก ด้วยการช่วยเหลือตัวเองมากที่สุด โดยพยายามเปิดโอกาสให้ลูกค้าเป็นเจ้าของรถยนต์ได้ง่าย จึงได้จัดแคมเปญผ่อนดาวน์ 10 เดือน หรือเดือนละ 2,990 บาท สำหรับรถเกีย พิแคนโต และเพียงเดือนละ 1,990 บาท กับรถยนต์ในเครือยนตรกิจฯ ยี่ห้อนาซ่า รุ่นฟอร์ซ่า
“แม้สถาบันการเงินจะมีความเข้มงวดมากขึ้นก็ตาม แต่เราได้
พยายามหาพันธมิตรที่ดี และมองเห็นโอกาสท่ามกลางวิกฤติร่วมกัน จึงได้จับมือกับบัตรเคทีซีในการผ่อนดาวน์ และผ่อนชำระงวดกับธนาคารธนชาต ซึ่งทำให้ลูกค้าได้เป็นเจ้าของรถได้ง่ายขึ้น” นายสาธิตกล่าว
สอดคล้องกับความเห็นของ นายสาโรจน์ เกียรติเฟื่องฟู รองประธานอาวุโส ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาสำคัญสุดขณะนี้อยู่ที่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพราะจะเห็นว่าช่วงนี้มีการปรับเพิ่มวงเงินดาวน์เป็น 20% หรือมากกว่าขึ้นไป จากเดิมเพียงแค่ดาวน์ 5 พันบาท หรือหลักหมื่นบาทก็ได้แล้ว ดังนั้นปัจจุบันแม้จะมีคนอยากซื้อรถอยู่ แต่ก็เป็นไปลำบากมากขึ้น ทำให้บริษัทรถต้องหาทางออกในเรื่องนี้ เพื่อให้ตลาดสามารถเดินต่อไปได้
“นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฟอร์ดจึงต้องจับมือกับพันธมิตรอย่างทิสโก้ ในการสนับสนุนในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้กับลูกค้าที่ต้องการซื้อรถยนต์ฟอร์ด โดยสามารถดาวน์เพียง 15% และผ่อนชำระ 72 เดือน”
เช่นเดียวกับ “ทาทา” รถยนต์แบรนด์ใหม่จากอินเดีย ที่ยอมรับว่าความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ส่งผลต่อการจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อใหม่ๆ พอสมควร แต่เนื่องจากทาทาเป็นปิกอัพใช้งาน และลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นองค์กร หรือบริษัทเอกชน ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเครดิต อย่างไรก็ตาม ในส่วนของลูกค้ารายย่อยก็ได้ดึงพันธมิตรเข้ามาสนับสนุนในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
“ทาทาได้จับมือกับพันธมิตร เคทีบี ลิสซิ่ง ในการเปิดโอกาสให้กลุ่มข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นเจ้าของปิกอัพทาทาได้ง่ายขึ้น โดยผ่อนชำระเริ่มต้นเพียง 5,932 บาท สำหรับรุ่นเอ็กเทนเดอร์แค็บ และรุ่น 4 ประตู ผ่อนเริ่มต้น 7,790 บาท ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้” นายอภิเชต สีตะกลิน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทรถยนต์จะหาทางออกด้วยการจับมือพันธมิตร ในการช่วยสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ให้กับลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้ว น่าสงสัยว่าช่วยได้มากน้อยแค่ไหน?
นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้มีปัญหาการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มากขึ้น แม้บริษัทอยากจะขายรถ และผู้บริโภคก็อยากจะซื้ออยู่ก็ตาม ส่วนที่บริษัทรถยนต์มีลิสซิ่งเป็นของตนเอง ใช่ว่าจะปล่อยสินเชื่อได้ง่ายกว่าสถาบันการเงินทั่วๆ ไป เพราะทำได้เพียงอำนวยความสะดวกรวดเร็วกว่าไฟแนนซ์ข้างนอกเท่านั้น ส่วนเงื่อนไขต่างๆ ก็เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากลิสซิ่งก็ต้องดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐาน ในการระมัดระวังและบริหารความเสี่ยงของตัวเองเช่นกัน
“การจะแก้ปัญหาความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงิน จะต้องมีหน่วยงานเข้ามารับประกันความเสี่ยง อาจจะเป็นการตั้งหน่วยงานรัฐขึ้นมา ดังเช่นมาตรการที่ผู้ประกอบการเสนอคณะรัฐมนตรีไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็ได้”
แม้ลิสซิ่งของบริษัทรถยนต์จะยืนอยู่บนพื้นฐานธุรกิจ เหมือนการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงินทั่วไป แต่บริษัทรถยนต์ก็ยอมรับว่า เป็นช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้มากกว่าไฟแนนซ์ทั่วๆ ไป
“ปัญหาใหญ่ของตลาดรถยนต์ปัจจุบัน อยู่ที่การปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงิน หรือไฟแนนซ์ อย่างไรก็ตามบริษัทในเครืออย่าง นิสสัน ลิสซิ่ง ถือเป็นทางออกที่ช่วยได้มากพอสมควร เพราะภาพรวมในตลาดรถยนต์มีลูกค้าเป็นจำนวนมากไม่ผ่านการอนุมัติของสินเชื่อ แต่ลูกค้าที่ยื่นกับนิสสัน ลิสซิ่ง ผ่านการพิจารณาสินเชื่อประมาณ 70%” นายเฉลิมวงศ์ กัมปนาทแสนยากร รองผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด กล่าว
ไม่เพียงแต่ตลาดรถยนต์เท่านั้นที่ประสบปัญหา จากความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของไฟแนนซ์ ในส่วนของตลาดรถจักรยานยนต์ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน
โดยมีรายงานข่าวจากวงการรถจักรยานยนต์ว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ที่ผ่านมา มีปัญหารถจักรยานยนต์ถูกยึดเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากปกติจะอยู่ระดับที่ประมาณ 5% ของยอดซื้อรถ แต่ขณะนี้ขยับขึ้นมาเกือบจะถึง 20% ถือว่าเป็นอัตราที่สูงมาก ซึ่งมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้รายได้ลดลง คนตกงานมากขึ้น และราคาสินค้าเกษตรตกลง ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน และจะกระทบกับภาพรวมตลาดรถจักรยานยนต์ตามมาด้วย
เรื่องนี้ นายเลิศศักดิ์ นววิมาน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดรถจักรยานยนต์มีปัญหาหนี้เสียปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลต่อความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ และจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการทำให้ตลาดรถจักรยานยนต์ชะลอตัวลง นอกจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำแล้ว โดยคาดว่าตลาดปีนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านคัน เทียบกับปีที่แล้วที่ทำได้ 1.7 ล้านคัน หรือมีอัตราลดลง 20%
จะเห็นว่าปัญหาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ไม่ใช่เพียงแค่วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อรถเท่านั้น และบางทีกลับทำให้มีความต้องการมากขึ้น เพราะต้องการใช้ในการทำมาหากิน หากประสบปัญหาตกงาน แต่ดูเหมือนว่าผลกระทบที่ซ้ำเข้ามาจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ จะกลายเป็นปัญหาหนักกว่าเสียอีก?!
ยอดขายรถยนต์แบ่งตามประเภท
ประเภท | ม.ค.52 | ก.พ.52 | ม.ค.-ก.พ.52 | อัตราการเติบโต(%) |
รถยนต์นั่ง | 13,527 | 14,247 | 27,774 | -13.51% |
ปิดอัพ 1 ตัน | 15,350 | 16,715 | 32,065 | -38.33% |
เอสยูวี | 1,257 | 1,187 | 2,444 | -47.02% |
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ในการยื่นข้อเสนอของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ ให้กับรัฐบาล “โอบามาร์ค” นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์โดยด่วน เนื่องจากยอดส่งออกรถยนต์ดิ่งเหว จากวิกฤตเศรษฐกิจโลก และยังลามกระทบมาถึงไทย จนทำให้ยอดขายในประเทศร่วงหนักเช่นกัน (ดูตารางยอดขายรถยนต์ประกอบ)
เพื่อหยุดวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเหลือโดยด่วน เพื่อผลักดันยอดขายภายในประเทศให้ฟื้นกลับมา ก่อนที่จะอุตสาหกรรมยานยนต์จะทรุดหนัก และนำไปสู่การปลดคนงานจำนวนมากกว่า 4 หมื่นคนในอนาคตอันใกล้นี้
โดยมาตรการที่ผู้ประกอบการนำเสนอไปมีทั้งหมด 4 ข้อ แต่ที่สำคัญได้แก่ การลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลง ซึ่งจะทำให้ราคารถยนต์ลดลง กระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อรถมากขึ้น และเข้ามาช่วยรับประกันการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ให้กับผู้บริโภค ด้วยการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นมารับประกันความเสี่ยง
แต่ที่สุดรัฐบาลก็บอกปัดข้อเสนอของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ไป โดยเฉพาะการลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เพราะจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับสินค้าประเภทอื่น ส่วนมาตรการช่วยเหลือในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเห็นชอบในหลักการ ส่วนจะเป็นการช่วยเหลือวิธีไหน? และอย่างไร? ได้มอบให้กระทรวงการคลังไปศึกษาต่อไป…
และก็ดูจะเป็นการศึกษาจริงๆ เพราะจนป่านนี้ยังไม่ความคืบหน้าใดๆ เลย!!
อย่างไรก็ตาม จากการเสนอมาตรการของผู้ประกอบการ และคณะรัฐมนตรีก็เห็นชอบในหลักการหาวิธีผ่อนปรนหรือช่วยเหลือในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ให้กับผู้บริโภค แสดงให้เห็นถึงปัญหาความเข้มงวดของการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงิน หรือไฟแนนซ์ และลิสซิ่ง เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศตกต่ำลงเป็นอย่างมาก
ส่วนปัญหาที่ทำให้มีการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มากขึ้น เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ อาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน ซึ่งหากไม่ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ อาจจะส่งผลให้เกิดหนี้เสียเป็นจำนวนมากในอนาคตได้
วิธีที่บรรดาไฟแนนซ์ หรือสถาบันการเงินเลือกใช้ จึงเข้มงวดในตรวจเช็คประวัติลูกค้า หรือเพิ่มวงเงินดาวน์มากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อให้มากที่สุด!!
“สถาบันการเงินเริ่มระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว และเริ่มเข้มงวดมากขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพราะมีเงินหายออกจากระบบจำนวนมาก จนทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียมากขึ้นเรื่อยๆ”
นั่นคือคำกล่าวของ นายสาธิต เตชะลาภอำนวย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยนตรกิจ เกีย มอเตอร์ จำกัด และว่า จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ไม่รู้จะว่าคลี่คลายเมื่อไหร่ ทำให้ผู้ประกอบการต้องหาทางออก ด้วยการช่วยเหลือตัวเองมากที่สุด โดยพยายามเปิดโอกาสให้ลูกค้าเป็นเจ้าของรถยนต์ได้ง่าย จึงได้จัดแคมเปญผ่อนดาวน์ 10 เดือน หรือเดือนละ 2,990 บาท สำหรับรถเกีย พิแคนโต และเพียงเดือนละ 1,990 บาท กับรถยนต์ในเครือยนตรกิจฯ ยี่ห้อนาซ่า รุ่นฟอร์ซ่า
“แม้สถาบันการเงินจะมีความเข้มงวดมากขึ้นก็ตาม แต่เราได้
พยายามหาพันธมิตรที่ดี และมองเห็นโอกาสท่ามกลางวิกฤติร่วมกัน จึงได้จับมือกับบัตรเคทีซีในการผ่อนดาวน์ และผ่อนชำระงวดกับธนาคารธนชาต ซึ่งทำให้ลูกค้าได้เป็นเจ้าของรถได้ง่ายขึ้น” นายสาธิตกล่าว
สอดคล้องกับความเห็นของ นายสาโรจน์ เกียรติเฟื่องฟู รองประธานอาวุโส ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาสำคัญสุดขณะนี้อยู่ที่การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพราะจะเห็นว่าช่วงนี้มีการปรับเพิ่มวงเงินดาวน์เป็น 20% หรือมากกว่าขึ้นไป จากเดิมเพียงแค่ดาวน์ 5 พันบาท หรือหลักหมื่นบาทก็ได้แล้ว ดังนั้นปัจจุบันแม้จะมีคนอยากซื้อรถอยู่ แต่ก็เป็นไปลำบากมากขึ้น ทำให้บริษัทรถต้องหาทางออกในเรื่องนี้ เพื่อให้ตลาดสามารถเดินต่อไปได้
“นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฟอร์ดจึงต้องจับมือกับพันธมิตรอย่างทิสโก้ ในการสนับสนุนในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อให้กับลูกค้าที่ต้องการซื้อรถยนต์ฟอร์ด โดยสามารถดาวน์เพียง 15% และผ่อนชำระ 72 เดือน”
เช่นเดียวกับ “ทาทา” รถยนต์แบรนด์ใหม่จากอินเดีย ที่ยอมรับว่าความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ส่งผลต่อการจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อใหม่ๆ พอสมควร แต่เนื่องจากทาทาเป็นปิกอัพใช้งาน และลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นองค์กร หรือบริษัทเอกชน ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเครดิต อย่างไรก็ตาม ในส่วนของลูกค้ารายย่อยก็ได้ดึงพันธมิตรเข้ามาสนับสนุนในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
“ทาทาได้จับมือกับพันธมิตร เคทีบี ลิสซิ่ง ในการเปิดโอกาสให้กลุ่มข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นเจ้าของปิกอัพทาทาได้ง่ายขึ้น โดยผ่อนชำระเริ่มต้นเพียง 5,932 บาท สำหรับรุ่นเอ็กเทนเดอร์แค็บ และรุ่น 4 ประตู ผ่อนเริ่มต้น 7,790 บาท ไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้” นายอภิเชต สีตะกลิน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้บริษัทรถยนต์จะหาทางออกด้วยการจับมือพันธมิตร ในการช่วยสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ให้กับลูกค้า แต่ในความเป็นจริงแล้ว น่าสงสัยว่าช่วยได้มากน้อยแค่ไหน?
นายพิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการบริหาร บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้มีปัญหาการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มากขึ้น แม้บริษัทอยากจะขายรถ และผู้บริโภคก็อยากจะซื้ออยู่ก็ตาม ส่วนที่บริษัทรถยนต์มีลิสซิ่งเป็นของตนเอง ใช่ว่าจะปล่อยสินเชื่อได้ง่ายกว่าสถาบันการเงินทั่วๆ ไป เพราะทำได้เพียงอำนวยความสะดวกรวดเร็วกว่าไฟแนนซ์ข้างนอกเท่านั้น ส่วนเงื่อนไขต่างๆ ก็เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากลิสซิ่งก็ต้องดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐาน ในการระมัดระวังและบริหารความเสี่ยงของตัวเองเช่นกัน
“การจะแก้ปัญหาความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงิน จะต้องมีหน่วยงานเข้ามารับประกันความเสี่ยง อาจจะเป็นการตั้งหน่วยงานรัฐขึ้นมา ดังเช่นมาตรการที่ผู้ประกอบการเสนอคณะรัฐมนตรีไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาก็ได้”
แม้ลิสซิ่งของบริษัทรถยนต์จะยืนอยู่บนพื้นฐานธุรกิจ เหมือนการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของสถาบันการเงินทั่วไป แต่บริษัทรถยนต์ก็ยอมรับว่า เป็นช่องทางที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้มากกว่าไฟแนนซ์ทั่วๆ ไป
“ปัญหาใหญ่ของตลาดรถยนต์ปัจจุบัน อยู่ที่การปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อของสถาบันการเงิน หรือไฟแนนซ์ อย่างไรก็ตามบริษัทในเครืออย่าง นิสสัน ลิสซิ่ง ถือเป็นทางออกที่ช่วยได้มากพอสมควร เพราะภาพรวมในตลาดรถยนต์มีลูกค้าเป็นจำนวนมากไม่ผ่านการอนุมัติของสินเชื่อ แต่ลูกค้าที่ยื่นกับนิสสัน ลิสซิ่ง ผ่านการพิจารณาสินเชื่อประมาณ 70%” นายเฉลิมวงศ์ กัมปนาทแสนยากร รองผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด กล่าว
ไม่เพียงแต่ตลาดรถยนต์เท่านั้นที่ประสบปัญหา จากความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อของไฟแนนซ์ ในส่วนของตลาดรถจักรยานยนต์ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน
โดยมีรายงานข่าวจากวงการรถจักรยานยนต์ว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ที่ผ่านมา มีปัญหารถจักรยานยนต์ถูกยึดเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จากปกติจะอยู่ระดับที่ประมาณ 5% ของยอดซื้อรถ แต่ขณะนี้ขยับขึ้นมาเกือบจะถึง 20% ถือว่าเป็นอัตราที่สูงมาก ซึ่งมาจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้รายได้ลดลง คนตกงานมากขึ้น และราคาสินค้าเกษตรตกลง ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน และจะกระทบกับภาพรวมตลาดรถจักรยานยนต์ตามมาด้วย
เรื่องนี้ นายเลิศศักดิ์ นววิมาน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดรถจักรยานยนต์มีปัญหาหนี้เสียปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแน่นอนย่อมส่งผลต่อความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ และจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการทำให้ตลาดรถจักรยานยนต์ชะลอตัวลง นอกจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำแล้ว โดยคาดว่าตลาดปีนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านคัน เทียบกับปีที่แล้วที่ทำได้ 1.7 ล้านคัน หรือมีอัตราลดลง 20%
จะเห็นว่าปัญหาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ไม่ใช่เพียงแค่วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น จะทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อรถเท่านั้น และบางทีกลับทำให้มีความต้องการมากขึ้น เพราะต้องการใช้ในการทำมาหากิน หากประสบปัญหาตกงาน แต่ดูเหมือนว่าผลกระทบที่ซ้ำเข้ามาจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ จะกลายเป็นปัญหาหนักกว่าเสียอีก?!