มอเตอร์โชว์ที่ถือว่าเป็นรายการใหญ่ในประเทศจีน นอกจาก Beijing Motorshow ยังมีอีกงานที่ถือว่ายิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน นั่นก็คือ เซี่ยงไฮ้ มอเตอร์โชว์ ซึ่ง 2 งานนี้เป็นแบบที่จัดขึ้น 2 ปีต่อครั้ง และจัดสลับกัน โดยงานแรกจะมีขึ้นในปีค.ศ. ที่ลงท้ายด้วยเลขคู่ ส่วนงานหลังเป็นปีที่ลงท้ายด้วยเลขคี่
สำหรับงานปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 แล้ว มีขึ้นระหว่างวันที่ 20-28 เมษายน และมาพร้อมกับสโลแกนของงานว่า ‘Art Innovation’ โดยใช้พื้นที่ขนาด 140,000 ตารางเมตรของเซี่ยงไฮ้ นิว อินเตอร์เนชันแนล เอ็กซ์โป เซ็นเตอร์สำหรับจัดแสดงเพื่อรองรับกับผู้ชมมากกว่าครึ่งล้านคนจากจำนวนกว่า 100 ประเทศทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาเยือน ถึงแม้ว่าในปีนี้ทั่วโลกจะประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจก็ตาม แต่มีบริษัทต่างๆ จากทั่วโลกที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรถยนต์เข้าร่วมงานประมาณ 1,500 รายจาก 25 ประเทศ ซึ่งมากกว่างานครั้งที่แล้วถึง 200 ราย
เซี่ยงไฮ้ มอเตอร์โชว์ หรือ ออโต้ เซี่ยงไฮ้ ถูกจัดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1985 และนับเป็นงานโชว์รายการแรกๆ ของจีนที่มีความพยายามในการยกระดับให้เป็นอินเตอร์เนชันแนล เช่นเดียวกับการเป็นเวทีสำคัญสำหรับแบรนด์รถยนต์ในประเทศของตัวเองที่มีมากมายหลายยี่ห้อ
คนจีนที่ชอบรถยนต์ใหม่ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน เพราะมีรถยนต์ใหม่ทั้งในสายการผลิตและต้นแบบถูกเปิดตัวเป็นครั้งแรกของโลก หรือ World Premier มากมายหลายรุ่น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีทั้งต้นแบบรุ่นใหม่ทรงสปอร์ตของฮอนด้า ตามด้วยพอร์ช พานาเมอรา, ออดี้ คิว7 รุ่นปรับโฉม, เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส63เอเอ็มจี และเอส65เอเอ็มจี, บูอิก บิสซิเนสส์ เอ็มพีวี หรือการประกาศของโรลล์ส-รอยซ์ที่ว่าต้นแบบรุ่น 200EX จะเปลี่ยนมาใช้ชื่อโกสต์ (Ghost) ในการทำตลาด
ส่วนที่เหลือเป็นการประชันความเด่นของแบรนด์โลคัลในจีนที่พยายามยกระดับภาพลักษณ์ขึ้นมาเทียบชั้นกับผู้ผลิตรถยนต์จากต่างแดน และต้องยอมรับว่าหลายค่ายทำได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว ขณะที่อีกหลายค่ายก็ต้องยอมรับว่า ยังเล่นง่ายๆ ด้วยการเดินตามแนวทางที่เรียกว่า ‘ก็อปปี้’ ไอเดีย โดยเฉพาะในเรื่องการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกจากรถยนต์รุ่นดังๆ ของแบรนด์ต่างแดน เพื่อเอาใจลูกค้าชาวจีนที่อาจจะอยากขับรถยนต์เหล่านั้น แต่งบประมาณไต่ไปไม่ถึง
เรียกว่าถ้าไม่พยายามมองรถยนต์ใหม่จากต่างแดนแล้ว บรรยากาศของงานเซี่ยงไฮ้ มอเตอร์โชว์แทบไม่แตกต่างจากโตเกียว มอเตอร์โชว์เลย คือ ผู้ผลิตรถยนต์รายหลักๆ ในประเทศต่างพยายามนำผลงานใหม่ๆ ที่มีความโดดเด่นทั้งในงานออกแบบและเทคโนโลยีออกมาอวดกัน และมีให้เห็นมากมายหลายรุ่น ซึ่งแม้ว่ารถยนต์แต่ละรุ่นจะเน้นทำตลาดในประเทศก็ตาม แต่ก็ถือเป็นสีสันและความแปลกใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย เผื่อว่าสักวันอาจจะมีหลุดเข้ามาขายในเมืองไทยเหมือนอย่างที่ปัจจุบัน หลายแบรนด์กำลังขยายแนวรุกอยู่
สำหรับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่เรียกว่า Big Five ของจีนอย่าง SAIC หรือ Shanghai Automotive Industry Corporation มาพร้อมกับความเด่นของแบรนด์รถยนต์ในเครืออย่าง Roewe มีทั้งซีดานใหม่ 550RS ที่ปรับปรุงพื้นฐานจากแพล็ตฟอร์มของโรเวอร์ 75 พร้อมเครื่องยนต์ K-Series ของโรเวอร์ทั้งแบบ 1,600 และ 1,800 ซีซี
ตามด้วยรุ่น MG6 ซีดานมาดสปอร์ตที่แชร์แพล็ตฟอร์มร่วมกับ 550RS แต่ออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกใหม่หมด และเน้นความแรงด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบ อีกทั้งยังจะเป็นรถยนต์รุ่นแรกของ Roewe ที่ส่งกลับไปขายในอังกฤษหลังจากที่ทาง SAIC ได้สิทธิ์ในการใช้ชื่อ MG ของอังกฤษทำตลาด และต้นแบบก็มีเป็นรุ่น N1 ซึ่งได้รับคำชมว่าเป็นต้นแบบที่สวยมาก
ขณะที่จีลีย์ (Geely) มีความโดดเด่นด้วยรถยนต์ใหม่หลายรุ่น เช่น การกลับมาของต้นแบบรุ่นจีที ซึ่งคราวนี้มีการดัดแปลงประตูให้เปิดขึ้นแบบ Scissor Door และมีการยืนยันว่าจะผลิตขายจริงแน่ โดยใช้ชื่อไทเกอร์ ซึ่งเมื่อรวมกับชื่อยี่ห้อแล้ว ก็จะได้ตัวย่อว่า GT (Geely Tiger) ที่เด่นไม่แพ้กันคือ ต้นแบบทรงจิ๋วในชื่อ IG Fantastic เหมาะสำหรับเป็นซิตี้คาร์ในยุคหน้าอย่างแท้จริง และลิมูซีนสำหรับคนงบน้อยอย่างรุ่น GE Limo ซึ่งมีหน้าตาและอะไรหลายๆ อย่างที่ ‘จงใจ’ ให้คล้ายกับโรลส์-รอยซ์ แฟนธอม
ในส่วนของเฌอรี่ที่คนบ้านเราเริ่มจะคุ้นชื่อกัน ก็มีของใหม่ทั้งเอสยูวีรุ่นทิกโก 3, Stretched Eastar ลิมูซีนคันยาวสำหรับเอาใจนักบริหาร, Rely V5 มินิแวนขนาดกะทัดรัดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซล 1,900 ซีซี และRiich G6 ซีดานขนาดกลางกึ่งใหญ่ที่มีความยาวเกือบๆ 5 เมตร
สำหรับค่ายอื่นๆ ก็มีความแปลกใหม่มาจัดแสดงกันอย่างมากมาย เช่น เกรทวอลล์นำทัพด้วยต้นแบบหน้าตาแปลกที่ชื่อว่า GWKULLA และรุ่นโฮเวอร์ เอช7 แบบเอสยูวี, Haima กับการเจาะตลาดซับคอมแพ็กต์ด้วยคู่แข่งรุ่นเอ็ม2 ที่มีหน้าตาละม้ายมาสด้า 2, Dongfeng แหวกแนวด้วยต้นแบบซีดานสุดสวยในชื่อ Fengsheng Tai Concept หรือค่าย BYD กับต้นแบบที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า
แม้จะไม่ใช้ตลาดที่มีความทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยียานยนต์ แต่ต้องยอมรับว่าแบรนด์รถยนต์จีนสามารถสร้างกระแสรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกใหม่ๆ ออกมาได้อย่างต่อเนื่อง และนอกจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในแล้ว แต่ละค่ายก็ยังมีทางเลือกในแบบไฮบริด หรือไม่ก็รถยนต์พลังไฟฟ้า หรือ EV ตามออกมาขายด้วย
เรียกว่าเป็นการเลียนแบบอย่างเหนือชั้น เพราะแค่เรื่องการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก ใครๆ ก็สามารถทำได้ แต่สำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ซึ่งอาศัยทั้งเรื่องความรู้และความสามารถในการจัดการต้นทุนของตัวระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง ถือเป็นเรื่องที่น่าทึ่งเหมือนกันที่ผู้ผลิตรถยนต์จีนสามารถทำได้ ส่วนเรื่องที่ว่าจะมีประสิทธิภาพหรือความทนทานในการใช้งานมากน้อยแค่ไหน คงต้องรอดูผลการใช้งานระยะยาวกัน
สำหรับงานปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 13 แล้ว มีขึ้นระหว่างวันที่ 20-28 เมษายน และมาพร้อมกับสโลแกนของงานว่า ‘Art Innovation’ โดยใช้พื้นที่ขนาด 140,000 ตารางเมตรของเซี่ยงไฮ้ นิว อินเตอร์เนชันแนล เอ็กซ์โป เซ็นเตอร์สำหรับจัดแสดงเพื่อรองรับกับผู้ชมมากกว่าครึ่งล้านคนจากจำนวนกว่า 100 ประเทศทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาเยือน ถึงแม้ว่าในปีนี้ทั่วโลกจะประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจก็ตาม แต่มีบริษัทต่างๆ จากทั่วโลกที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมรถยนต์เข้าร่วมงานประมาณ 1,500 รายจาก 25 ประเทศ ซึ่งมากกว่างานครั้งที่แล้วถึง 200 ราย
เซี่ยงไฮ้ มอเตอร์โชว์ หรือ ออโต้ เซี่ยงไฮ้ ถูกจัดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1985 และนับเป็นงานโชว์รายการแรกๆ ของจีนที่มีความพยายามในการยกระดับให้เป็นอินเตอร์เนชันแนล เช่นเดียวกับการเป็นเวทีสำคัญสำหรับแบรนด์รถยนต์ในประเทศของตัวเองที่มีมากมายหลายยี่ห้อ
คนจีนที่ชอบรถยนต์ใหม่ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน เพราะมีรถยนต์ใหม่ทั้งในสายการผลิตและต้นแบบถูกเปิดตัวเป็นครั้งแรกของโลก หรือ World Premier มากมายหลายรุ่น ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีทั้งต้นแบบรุ่นใหม่ทรงสปอร์ตของฮอนด้า ตามด้วยพอร์ช พานาเมอรา, ออดี้ คิว7 รุ่นปรับโฉม, เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส63เอเอ็มจี และเอส65เอเอ็มจี, บูอิก บิสซิเนสส์ เอ็มพีวี หรือการประกาศของโรลล์ส-รอยซ์ที่ว่าต้นแบบรุ่น 200EX จะเปลี่ยนมาใช้ชื่อโกสต์ (Ghost) ในการทำตลาด
ส่วนที่เหลือเป็นการประชันความเด่นของแบรนด์โลคัลในจีนที่พยายามยกระดับภาพลักษณ์ขึ้นมาเทียบชั้นกับผู้ผลิตรถยนต์จากต่างแดน และต้องยอมรับว่าหลายค่ายทำได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว ขณะที่อีกหลายค่ายก็ต้องยอมรับว่า ยังเล่นง่ายๆ ด้วยการเดินตามแนวทางที่เรียกว่า ‘ก็อปปี้’ ไอเดีย โดยเฉพาะในเรื่องการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกจากรถยนต์รุ่นดังๆ ของแบรนด์ต่างแดน เพื่อเอาใจลูกค้าชาวจีนที่อาจจะอยากขับรถยนต์เหล่านั้น แต่งบประมาณไต่ไปไม่ถึง
เรียกว่าถ้าไม่พยายามมองรถยนต์ใหม่จากต่างแดนแล้ว บรรยากาศของงานเซี่ยงไฮ้ มอเตอร์โชว์แทบไม่แตกต่างจากโตเกียว มอเตอร์โชว์เลย คือ ผู้ผลิตรถยนต์รายหลักๆ ในประเทศต่างพยายามนำผลงานใหม่ๆ ที่มีความโดดเด่นทั้งในงานออกแบบและเทคโนโลยีออกมาอวดกัน และมีให้เห็นมากมายหลายรุ่น ซึ่งแม้ว่ารถยนต์แต่ละรุ่นจะเน้นทำตลาดในประเทศก็ตาม แต่ก็ถือเป็นสีสันและความแปลกใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย เผื่อว่าสักวันอาจจะมีหลุดเข้ามาขายในเมืองไทยเหมือนอย่างที่ปัจจุบัน หลายแบรนด์กำลังขยายแนวรุกอยู่
สำหรับผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่เรียกว่า Big Five ของจีนอย่าง SAIC หรือ Shanghai Automotive Industry Corporation มาพร้อมกับความเด่นของแบรนด์รถยนต์ในเครืออย่าง Roewe มีทั้งซีดานใหม่ 550RS ที่ปรับปรุงพื้นฐานจากแพล็ตฟอร์มของโรเวอร์ 75 พร้อมเครื่องยนต์ K-Series ของโรเวอร์ทั้งแบบ 1,600 และ 1,800 ซีซี
ตามด้วยรุ่น MG6 ซีดานมาดสปอร์ตที่แชร์แพล็ตฟอร์มร่วมกับ 550RS แต่ออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกใหม่หมด และเน้นความแรงด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบ อีกทั้งยังจะเป็นรถยนต์รุ่นแรกของ Roewe ที่ส่งกลับไปขายในอังกฤษหลังจากที่ทาง SAIC ได้สิทธิ์ในการใช้ชื่อ MG ของอังกฤษทำตลาด และต้นแบบก็มีเป็นรุ่น N1 ซึ่งได้รับคำชมว่าเป็นต้นแบบที่สวยมาก
ขณะที่จีลีย์ (Geely) มีความโดดเด่นด้วยรถยนต์ใหม่หลายรุ่น เช่น การกลับมาของต้นแบบรุ่นจีที ซึ่งคราวนี้มีการดัดแปลงประตูให้เปิดขึ้นแบบ Scissor Door และมีการยืนยันว่าจะผลิตขายจริงแน่ โดยใช้ชื่อไทเกอร์ ซึ่งเมื่อรวมกับชื่อยี่ห้อแล้ว ก็จะได้ตัวย่อว่า GT (Geely Tiger) ที่เด่นไม่แพ้กันคือ ต้นแบบทรงจิ๋วในชื่อ IG Fantastic เหมาะสำหรับเป็นซิตี้คาร์ในยุคหน้าอย่างแท้จริง และลิมูซีนสำหรับคนงบน้อยอย่างรุ่น GE Limo ซึ่งมีหน้าตาและอะไรหลายๆ อย่างที่ ‘จงใจ’ ให้คล้ายกับโรลส์-รอยซ์ แฟนธอม
ในส่วนของเฌอรี่ที่คนบ้านเราเริ่มจะคุ้นชื่อกัน ก็มีของใหม่ทั้งเอสยูวีรุ่นทิกโก 3, Stretched Eastar ลิมูซีนคันยาวสำหรับเอาใจนักบริหาร, Rely V5 มินิแวนขนาดกะทัดรัดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบดีเซล 1,900 ซีซี และRiich G6 ซีดานขนาดกลางกึ่งใหญ่ที่มีความยาวเกือบๆ 5 เมตร
สำหรับค่ายอื่นๆ ก็มีความแปลกใหม่มาจัดแสดงกันอย่างมากมาย เช่น เกรทวอลล์นำทัพด้วยต้นแบบหน้าตาแปลกที่ชื่อว่า GWKULLA และรุ่นโฮเวอร์ เอช7 แบบเอสยูวี, Haima กับการเจาะตลาดซับคอมแพ็กต์ด้วยคู่แข่งรุ่นเอ็ม2 ที่มีหน้าตาละม้ายมาสด้า 2, Dongfeng แหวกแนวด้วยต้นแบบซีดานสุดสวยในชื่อ Fengsheng Tai Concept หรือค่าย BYD กับต้นแบบที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า
แม้จะไม่ใช้ตลาดที่มีความทันสมัยในเรื่องเทคโนโลยียานยนต์ แต่ต้องยอมรับว่าแบรนด์รถยนต์จีนสามารถสร้างกระแสรถยนต์ที่ใช้พลังงานทางเลือกใหม่ๆ ออกมาได้อย่างต่อเนื่อง และนอกจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในแล้ว แต่ละค่ายก็ยังมีทางเลือกในแบบไฮบริด หรือไม่ก็รถยนต์พลังไฟฟ้า หรือ EV ตามออกมาขายด้วย
เรียกว่าเป็นการเลียนแบบอย่างเหนือชั้น เพราะแค่เรื่องการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอก ใครๆ ก็สามารถทำได้ แต่สำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้ซึ่งอาศัยทั้งเรื่องความรู้และความสามารถในการจัดการต้นทุนของตัวระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง ถือเป็นเรื่องที่น่าทึ่งเหมือนกันที่ผู้ผลิตรถยนต์จีนสามารถทำได้ ส่วนเรื่องที่ว่าจะมีประสิทธิภาพหรือความทนทานในการใช้งานมากน้อยแค่ไหน คงต้องรอดูผลการใช้งานระยะยาวกัน