xs
xsm
sm
md
lg

ศาลไฟเขียว เฟียต-ไครสเลอร์เดินร่วมทาง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ข่าวต่างประเทศ - ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาเปิดไฟเขียวให้ไครสเลอร์สามารถเปลี่ยนสภาพจากการล้มละลายและเข้าร่วมกิจการโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของทางเฟียตแล้ว ถึงแม้ว่าในช่วงก่อนหน้าการประกาศคำตัดสินในครั้งนี้จะมีกลุ่มทุนและกลุ่มผู้บริโภคบางส่วนออกมายื่นคำร้องต่อศาลเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่ทว่าศาลฎีกาก็ปฏิเสธที่จะรับฟังคำร้องเหล่านี้
เฟียต 500
การตัดสินครั้งนี้มีขึ้นภายใต้การวินิจฉัยของผู้พิพากษา Ruth Bader Ginsburg ซึ่งจะช่วยเปิดทางให้เฟียตสามารถเดินหน้าเพื่อเข้าควบคุมและบริหารงานไครสเลอร์ได้อย่างเต็มที่ โดยนับตั้งแต่ไครสเลอร์ยื่นคำร้องเพื่อขอเข้าฟื้นฟูกิจการตามมาตราที่ 11 เมื่อวันที่ 30 เมษายนและได้รับการสนับสนุนจากทางกระทรวงการคลังของรัฐบาล มีการพิจารณาและวางแผนโอนย้านสินทรัพย์ของทางไครสเลอร์ไปอยู่ในการดูแลของเฟียต ซึ่งถูกมองว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการปรับโครงสร้างการทำงานเพื่อฟื้นฟูกิจการของไครสเลอร์

หลังคำตัดสินของศาล ทางด้านบ็อบ นาร์เดลลี่ ประธานและซีอีโอของไครสเลอร์ แอลแอลซีเดิมได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้แซร์โจ้ มาร์ชิออนเน่เข้ามาจัดการในส่วนของงานบริหารแทน และทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและแคนาดาประกาศให้เงินช่วยเหลือกับการรวมกิจการในครั้งนี้ในวงเงินรวมกัน 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 210,000 ล้านบาท

ตามแผนการฟื้นฟูกิจการที่มีทีมบริหารจากทางเฟียตนั้น บริษัทใหม่ที่จะเกิดขึ้นมาโดยที่ยังไม่มีการระบุชื่ออย่างเป็นทางการจะให้ความสนใจไปยังการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของโรงงานผลิตในสหรัฐอเมริกา พร้อมกับลดขนาดในเรื่องของต้นทุนทั้งในส่วนของโรงงานและลดจำนวนของดีลเลอร์ โดยคาดว่าจะมีดีลเลอร์เหลือเพียง 780 แห่ง และมีโรงงานไม่เกิน 8 แห่งทั่วอเมริกาเหนือ

ทางมาร์ชิออนเน่จะขึ้นดำรงตำแหน่งประธานและซีอีโอของกลุ่มเพื่อดูแลแต่ละแบรนด์ที่อยู่ในเครือทั้งไครสเลอร์, จี๊ป, ดอดจ์, โมพาร์ และกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ และจะเก็บบุคลากรที่มีฝีมือจากทีมบริหารชุดเก่าอย่างจิม เพรสส์ อดีตประธานของโตโยต้า อเมริกาเหนือซึ่งย้ายมาดำรงตำแหน่งรองประธานในยุคไครสเลอร์ แอลแอลซี โดยคาดว่าทางมาร์ชิออนเน่จะแต่งตั้งเพรสส์ให้เป็นที่ปรึกษาพิเศษ

ขณะที่ซีอีโอของแต่ละแบรนด์ประกอบไปด้วย ปีเตอร์ ฟง (ไครสเลอร์), ไมเคิล แมนลีย์ (จี๊ป), ไมเคิล แอคคาวิตติ (ดอดจ์) และเปียร์โตร กอร์ลิเยร์ (โมพาร์) ซึ่ง 3 คนแรกถือเป็นคนเก่าคนแก่ที่มีฝีมือของไครสเลอร์ ขณะที่กอร์ลิเยร์ย้ายจากเฟียต กรุ๊ปเข้ามาดูแลงานใหม่ ซึ่งแต่ละคนจะมีหน้าที่ในการวางแผนเพื่อฟื้นฟูกิจการในแต่ละแบรนด์ที่ตัวเองรับผิดชอบ

ในส่วนของการปรับปรุงแผนการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ของไครสเลอร์จะเกิดขึ้นตามไปด้วย โดยรถยนต์หลายต่อหลายรุ่นจะเปลี่ยนมาแชร์พื้นฐานทางเทคโนโลยีร่วมกับรถยนต์ของเฟียต เช่น โครงการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กรุ่นใหม่ภายใต้แบรนด์ของไครสเลอร์เองก็จะใช้พื้นตัวถังร่วมกับเฟียต 500 โดยใช้โรงงานที่เมืองโทลูก้า ประเทศเม็กซิโกเป็นไลน์ผลิตหลัก ในกลุ่มซับคอมแพ็กต์ หรือ B-Segment ก็จะใช้พื้นฐานของอัลฟา Mi.To ส่วนในกลุ่มคอมแพ็กต์ หรือ C-Segment ก็ใช้พื้นฐานของอัลฟา 147

นอกจากนั้น การบุกตลาดสหรัฐอเมริกาของแบรนด์อิตาลีก็จะเริ่มขึ้น ซึ่งทางอัลฟาวางแผนผลิตรุ่นมิลาโน รถยนต์ซีดานและสเตชันแวกอนขนาดกลางโดยในตอนนี้กำลังพิจารณาเลือกโรงงานแห่งใดแห่งหนึ่งของไครสเลอร์ในการผลิต ขณะที่เฟียต 500 ก็จะประกอบที่โรงงานในโทลูก้าเพื่อขายในตลาดอเมริกาเหนื
กำลังโหลดความคิดเห็น