ข่าวในประเทศ - อุตฯยานยนต์ไทยหัวทิ่มสุดๆ หลังบริษัทรถยังทยอยปลดคนงานต่อเนื่อง โดยเฉพาะ จีเอ็มเปิดรับสมัครลาออกรอบสองแล้ว พร้อมเตรียมมาตรการอื่นๆหากยอดลาออกไม่เป็นตามเป้า เช่นเดียวกับ โตโยต้า มิตซูบิชิ ฮอนด้า นิสสัน ที่เลิกจ้างพนักงานซับคอนแทรกเพียบ ด้านกลุ่มอุตฯยานยนต์เรียกร้องรัฐลดภาษีสรรพสามิตลง3% และนำรายจ่ายที่ซื้อรถไปหักภาษีได้ 50,000 บาท หวังกระตุ้นกำลังซื้อ
ตลาดรถยนต์เมืองไทยประเดิมศักราชด้วยยอดขายรวมทุกยี่ห้อ (ม.ค.2552) 32,085 คัน ตก 29.81 % เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว!....และนั่นถือเป็นสัญญาณร้ายที่ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายของบริษัทรถยนต์นัก เพราะหลายค่ายเตรียมแผนการรับมือกันไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมาตรการที่นำมาใช้ก็หลากหลาย แตกต่างตามโครงสร้างของบริษัท ไล่ตั้งแต่มาตรการรัดเข็มขัด ชะลอลงทุนในหลายโครงการ รวมถึงการบริหารสต็อก ปรับกำลังการผลิต ไปจนถึงการลดพนักงาน เป็นต้น
แน่นอนว่าในประเด็นการลดพนักงาน นั้นดูจะเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบกับจิตใจ และภาพลักษณ์ของบริษัทมากที่สุด แต่เมื่อมีความจำเป็นหลายค่ายจึงเลือกวิธีการให้พนักงานสมัครใจลาออก หรือเลือกฟันธงลงไปที่พนักงานชั่วคราวก่อน
ค่าย“จีเอ็ม ในประเทศไทย” ที่ดูจากสถานการณ์แล้วอาจจะหนักหนาสาหัสกว่าเพื่อน เพราะบริษัทแม่ที่อเมริกาเองยังสถานการณ์ร่อแร่ แม้ว่ารัฐบาลจะตัดใจปล่อยกู้กว่า 4 แสนล้านบาทแล้วก็ตาม ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวถูกจำกัดให้เสริมสภาพคล่องในประเทศเท่านั้น ไม่สามารถผ่องถ่ายไปบริษัทลูกในประเทศอื่นๆได้
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ที่แม้จะประกาศชะลอแผนลงทุนโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซลออกไปแล้ว แต่ก็พยายามสานต่อโครงการด้วยการดิ้นหาแหล่งเงินกู้ในประเทศ ขณะเดียวกันบริษัทยังลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ลดกำลังการผลิตลงกว่า 50%ในปีนี้ พร้อมจัดหลังบ้านให้กระชับด้วยการ เปิดโครงการให้พนักงานสมัครใจลาออกตั้งแต่ปีที่แล้ว รวมถึงการให้หยุดการผลิตรถยนต์ที่โรงงาน ระยอง ชั่วคราว ในช่วงปลายปี 2551 ต่อมามาถึงต้นปี 2552
ล่าสุดได้เปิดโครงการสมัครใจลาออก และการลดพนักงาน ในต้นเดือนกุมภาพันธ์มี่ผ่านมา พร้อมออกแถลงการณ์ว่า จีเอ็มได้มีการพูดถึงประเด็นการเลย์ออฟพนักงานมาได้ระยะหนึ่ง แม้การเลย์ออฟถือเป็นหนทางสุดท้าย แต่ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย เราจึงต้องปรับโครงสร้างแผนการผลิตเพื่อให้ฝ่าข้ามวิกฤตความต้องการซื้อของลูกค้าที่ลดลงนี้ไปให้ได้
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่แผนการปรับโครงสร้างนี้จะส่งผลกระทบต่อองค์กรด้วยการลดจำนวนพนักงานลง เราจึงใช้มาตรการโครงการสมัครใจลาออก พนักงานในฝ่ายการผลิตสามารถร่วมโครงการนี้ได้ และจะได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมายแรงงาน อย่างไรก็ตาม ด้วยวิกฤตที่เรากำลังเผชิญ หากโครงการสมัครใจลาออกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บริษัทฯ อาจจะต้องใช้มาตรการอื่นในการดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้าง ถึงกระนั้น พนักงานทุกคนไม่ว่าจะเข้าร่วมแผนใด ก็สามารถแน่ใจได้ว่าจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานอย่างแน่นอน
บริษัทเชื่อว่า นี่เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่บริษัทสามารถทำได้ หลังจากได้ประเมินหาหนทางอื่นอย่างรอบคอบแล้ว โครงการสมัครใจลาออกเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับพนักงาน เพราะจะได้รับเงินทดแทนมากกว่าที่กฎหมายแรงงานระบุ ขณะที่โครงการหยุดพักงานชั่วคราวไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ตรงจุดนัก เพราะพนักงานจะรับเงินตอบแทนเพียงครึ่งหนึ่ง หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือนในระยะสั้น ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์ในอนาคตจะดีขึ้น พนักงานจะประสบความยากลำบากยิ่งขึ้นเมื่อบริษัทฯไม่สามารถใช้มาตรการหยุดพักงานชั่วคราวในระยะยาวได้ ดังนั้นบริษัทเชื่อว่า โครงการสมัครใจลาออกเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ขั้นวิกฤติที่ไม่มีความมั่นคงอย่างในปัจจุบัน และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น พนักงานเก่าของจีเอ็มก็จะได้รับสิทธิ์พิเศษก่อนใครในการจ้างกลับเข้ามาทำงานใหม่อีกครั้ง
ขณะเดียวกัน จีเอ็ม คอร์ป ยังมีแผนที่จะลดตำแหน่งงานระดับบริหารลง 10,000 ตำแหน่งทั่วโลก รวมทั้งผู้บริหารในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ปรับลดเงินเดือนชั่วคราวของพนักงานระดับผู้บริหารไม่เกิน 10% สำหรับผู้บริหารระดับสูงทั่วโลก นอกจากนี้ จีเอ็มยังกำลังพิจารณาปรับลดเงินชดเชย และเงินสวัสดิการให้เหมาะสมในแต่ละประเทศอีกด้วย
เช่นกันกับมิตซูบิชิที่ปีนี้เตรียมปรับกำลังการผลิตลดลง50% และนอกจากปรับระยะเวลาลารถหนึ่งคันที่ออกจากสายการผลิตให้ช้าลง(Tag time) รวมถึงปรับการทำงานให้เหลือเพียงหนึ่งกะแล้ว ต้นปีที่ผ่านมายังลดพนักงานประเภทซับคอนแทรกไป 1,000 คน พร้อมกันนี้ยังเดินโครงการสมัครใจลาออกอย่างต่อเนื่อง
โดยการประกาศอย่างเป็นทางการของบริษัท ซึ่งแบ่งตามอายุงาน พนักงานจะได้รับเงินชดเชยพิเศษตั้งแต่ 6 เดือน(อายุงาน 1-3 ปี) ไปจนถึง 24 เดือน(อายุงาน 25 ปีขึ้นไป) แถมบวกด้วยเงินพิเศษ ตั้งแต่ 1-2 เท่าของเงินเดือนอีกด้วย ซึ่งถือเป็นผลตอบแทนที่มากกว่ากฎหมายกำหนด ทั้งนี้พนักงานสามารถสมัครได้ตั้งแต่ 26 มกราคม – 27 กุมภาพันธ์นี้
อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวของค่ายรถยนต์อื่นๆ ก็เรียงคิวลดคนงานถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ที่เลิกจ้างพนักงานซับคอนแทรกไปแล้ว 1,300 คน รวมถึง ฮอนด้า และนิสสัน ที่เลิกจ้างไป 1,600 และ 600 คนตามลำดับ
นั่นเป็นหนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาของค่ายรถยนต์ ขณะเดียวกันขาอีกข้างที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ก็พยามหามาตรการเชิงรุกเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค ผ่านทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่เรียกร้องให้รัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทุกชนิดลงอีก 3% รวมถึงการนำรายจ่ายค่ารถยนต์ไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 5 หมื่นบาท เป็นเวลา 1 ปี
นอกจากนี้ยังเสนอให้สถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย ช่วยค้ำประกันและผ่อนปรนสินเชื่อสำหรับการเช่าซื้อรถยนต์ โดยเฉพาะเกษตรกร พ่อค้าแม่ค้าที่ไม่มีหลักฐานทางการเงิน รวมถึงให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้เช่าซื้อรายย่อยอีกด้วย
โดยนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับเรื่องและจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป...สุดท้ายจะสุขสมหวังกันถ้วนหน้าหรือไม่ต้องคอยติดตาม
ตลาดรถยนต์เมืองไทยประเดิมศักราชด้วยยอดขายรวมทุกยี่ห้อ (ม.ค.2552) 32,085 คัน ตก 29.81 % เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้ว!....และนั่นถือเป็นสัญญาณร้ายที่ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายของบริษัทรถยนต์นัก เพราะหลายค่ายเตรียมแผนการรับมือกันไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมาตรการที่นำมาใช้ก็หลากหลาย แตกต่างตามโครงสร้างของบริษัท ไล่ตั้งแต่มาตรการรัดเข็มขัด ชะลอลงทุนในหลายโครงการ รวมถึงการบริหารสต็อก ปรับกำลังการผลิต ไปจนถึงการลดพนักงาน เป็นต้น
แน่นอนว่าในประเด็นการลดพนักงาน นั้นดูจะเป็นการกระทำที่ส่งผลกระทบกับจิตใจ และภาพลักษณ์ของบริษัทมากที่สุด แต่เมื่อมีความจำเป็นหลายค่ายจึงเลือกวิธีการให้พนักงานสมัครใจลาออก หรือเลือกฟันธงลงไปที่พนักงานชั่วคราวก่อน
ค่าย“จีเอ็ม ในประเทศไทย” ที่ดูจากสถานการณ์แล้วอาจจะหนักหนาสาหัสกว่าเพื่อน เพราะบริษัทแม่ที่อเมริกาเองยังสถานการณ์ร่อแร่ แม้ว่ารัฐบาลจะตัดใจปล่อยกู้กว่า 4 แสนล้านบาทแล้วก็ตาม ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวถูกจำกัดให้เสริมสภาพคล่องในประเทศเท่านั้น ไม่สามารถผ่องถ่ายไปบริษัทลูกในประเทศอื่นๆได้
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ที่แม้จะประกาศชะลอแผนลงทุนโรงงานผลิตเครื่องยนต์ดีเซลออกไปแล้ว แต่ก็พยายามสานต่อโครงการด้วยการดิ้นหาแหล่งเงินกู้ในประเทศ ขณะเดียวกันบริษัทยังลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ลดกำลังการผลิตลงกว่า 50%ในปีนี้ พร้อมจัดหลังบ้านให้กระชับด้วยการ เปิดโครงการให้พนักงานสมัครใจลาออกตั้งแต่ปีที่แล้ว รวมถึงการให้หยุดการผลิตรถยนต์ที่โรงงาน ระยอง ชั่วคราว ในช่วงปลายปี 2551 ต่อมามาถึงต้นปี 2552
ล่าสุดได้เปิดโครงการสมัครใจลาออก และการลดพนักงาน ในต้นเดือนกุมภาพันธ์มี่ผ่านมา พร้อมออกแถลงการณ์ว่า จีเอ็มได้มีการพูดถึงประเด็นการเลย์ออฟพนักงานมาได้ระยะหนึ่ง แม้การเลย์ออฟถือเป็นหนทางสุดท้าย แต่ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ด้วย เราจึงต้องปรับโครงสร้างแผนการผลิตเพื่อให้ฝ่าข้ามวิกฤตความต้องการซื้อของลูกค้าที่ลดลงนี้ไปให้ได้
เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่แผนการปรับโครงสร้างนี้จะส่งผลกระทบต่อองค์กรด้วยการลดจำนวนพนักงานลง เราจึงใช้มาตรการโครงการสมัครใจลาออก พนักงานในฝ่ายการผลิตสามารถร่วมโครงการนี้ได้ และจะได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมายแรงงาน อย่างไรก็ตาม ด้วยวิกฤตที่เรากำลังเผชิญ หากโครงการสมัครใจลาออกไม่เป็นไปตามเป้าหมาย บริษัทฯ อาจจะต้องใช้มาตรการอื่นในการดำเนินการตามแผนปรับโครงสร้าง ถึงกระนั้น พนักงานทุกคนไม่ว่าจะเข้าร่วมแผนใด ก็สามารถแน่ใจได้ว่าจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานอย่างแน่นอน
บริษัทเชื่อว่า นี่เป็นทางออกที่ดีที่สุดที่บริษัทสามารถทำได้ หลังจากได้ประเมินหาหนทางอื่นอย่างรอบคอบแล้ว โครงการสมัครใจลาออกเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับพนักงาน เพราะจะได้รับเงินทดแทนมากกว่าที่กฎหมายแรงงานระบุ ขณะที่โครงการหยุดพักงานชั่วคราวไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ตรงจุดนัก เพราะพนักงานจะรับเงินตอบแทนเพียงครึ่งหนึ่ง หรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของเงินเดือนในระยะสั้น ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์ในอนาคตจะดีขึ้น พนักงานจะประสบความยากลำบากยิ่งขึ้นเมื่อบริษัทฯไม่สามารถใช้มาตรการหยุดพักงานชั่วคราวในระยะยาวได้ ดังนั้นบริษัทเชื่อว่า โครงการสมัครใจลาออกเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์ขั้นวิกฤติที่ไม่มีความมั่นคงอย่างในปัจจุบัน และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น พนักงานเก่าของจีเอ็มก็จะได้รับสิทธิ์พิเศษก่อนใครในการจ้างกลับเข้ามาทำงานใหม่อีกครั้ง
ขณะเดียวกัน จีเอ็ม คอร์ป ยังมีแผนที่จะลดตำแหน่งงานระดับบริหารลง 10,000 ตำแหน่งทั่วโลก รวมทั้งผู้บริหารในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ปรับลดเงินเดือนชั่วคราวของพนักงานระดับผู้บริหารไม่เกิน 10% สำหรับผู้บริหารระดับสูงทั่วโลก นอกจากนี้ จีเอ็มยังกำลังพิจารณาปรับลดเงินชดเชย และเงินสวัสดิการให้เหมาะสมในแต่ละประเทศอีกด้วย
เช่นกันกับมิตซูบิชิที่ปีนี้เตรียมปรับกำลังการผลิตลดลง50% และนอกจากปรับระยะเวลาลารถหนึ่งคันที่ออกจากสายการผลิตให้ช้าลง(Tag time) รวมถึงปรับการทำงานให้เหลือเพียงหนึ่งกะแล้ว ต้นปีที่ผ่านมายังลดพนักงานประเภทซับคอนแทรกไป 1,000 คน พร้อมกันนี้ยังเดินโครงการสมัครใจลาออกอย่างต่อเนื่อง
โดยการประกาศอย่างเป็นทางการของบริษัท ซึ่งแบ่งตามอายุงาน พนักงานจะได้รับเงินชดเชยพิเศษตั้งแต่ 6 เดือน(อายุงาน 1-3 ปี) ไปจนถึง 24 เดือน(อายุงาน 25 ปีขึ้นไป) แถมบวกด้วยเงินพิเศษ ตั้งแต่ 1-2 เท่าของเงินเดือนอีกด้วย ซึ่งถือเป็นผลตอบแทนที่มากกว่ากฎหมายกำหนด ทั้งนี้พนักงานสามารถสมัครได้ตั้งแต่ 26 มกราคม – 27 กุมภาพันธ์นี้
อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวของค่ายรถยนต์อื่นๆ ก็เรียงคิวลดคนงานถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็น โตโยต้า ที่เลิกจ้างพนักงานซับคอนแทรกไปแล้ว 1,300 คน รวมถึง ฮอนด้า และนิสสัน ที่เลิกจ้างไป 1,600 และ 600 คนตามลำดับ
นั่นเป็นหนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาของค่ายรถยนต์ ขณะเดียวกันขาอีกข้างที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ก็พยามหามาตรการเชิงรุกเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภค ผ่านทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่เรียกร้องให้รัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทุกชนิดลงอีก 3% รวมถึงการนำรายจ่ายค่ารถยนต์ไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 5 หมื่นบาท เป็นเวลา 1 ปี
นอกจากนี้ยังเสนอให้สถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย ช่วยค้ำประกันและผ่อนปรนสินเชื่อสำหรับการเช่าซื้อรถยนต์ โดยเฉพาะเกษตรกร พ่อค้าแม่ค้าที่ไม่มีหลักฐานทางการเงิน รวมถึงให้ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารพาณิชย์เพื่อปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และผู้เช่าซื้อรายย่อยอีกด้วย
โดยนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับเรื่องและจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป...สุดท้ายจะสุขสมหวังกันถ้วนหน้าหรือไม่ต้องคอยติดตาม