ข่าวในประเทศ - จับทิศอนาคตพลังงานทดแทนไทย ทั้ง "แก๊ส LPG-NGV" และ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ในสภาวะผันผวนของราคาน้ำมันขึ้นๆ ลงๆ ปรากฏว่ายังคงวังเวงไม่ชัดเจน และจะอยู่หรือไปยังขึ้นอยู่กับการเมืองอีก แม้แก๊ส LPG จะหายใจโล่งยังไม่มีการปรับราคา แต่อนาคตยังไงก็ต้องปรับแน่นอน
ส่วนจะหันไปพึ่ง NGV ที่ภาครัฐหนุนสุดโต่ง แต่สถานีบริการกลับขยายเป็นเต่าต้วมเตี้ยม แถมจากการเปิดเผยของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติสำรองที่พิสูจน์แล้ว มีใช้ได้เพียงประมาณ 10 ปีเท่านั้น นี่ยังไม่รวมปัญหาสารพัดของแก๊สทั้งสอง ที่ผู้รู้ในแวดวงวิศวกรรมยานยนต์ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน เลือกได้อย่าไปนำรถติดตั้งแก๊สเป็นอันขาด
ขณะที่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 และ E20 แม้จะรุ่งสุดๆ ก็ยังเรียกเป็นพลังงานทดแทนไม่ได้ชัดนัก นอกจาก E85 ที่ได้กลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างค่ายรถตะวันตกกับญี่ปุ่น และกระทรวงพลังงานงัดกับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว พิษการเมืองยังทำให้ต้องมาลุ้นกันใหม่ว่า จะอยู่หรือไปด้วย?!
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงตัวเนื่อง ทำให้รัฐบาลไทยและหน่วยที่เกี่ยวข้องพยามที่หาพลังงานทดแทนมาใช้แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ (CNG หรือ NGV) หรือน้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล 85% (น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85) ซึ่งรัฐบาลถึงกับจะประกาศเป็นวาระแห่งชาติกันเลยทีเดียว
แต่ที่สุดการผลักดันให้เกิดการใช้จริงจังกลับไม่คืบหน้ามากนัก แม้ราคาน้ำมันจะพุ่งสูงสุดจนเกิดสภาวะออยล์ช็อคทะลุกว่า 140 ดอลลาร์ต่อบาเรล จนมาเริ่มปรับตัวลงเหลือกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาเรล และปัจจุบันเจอวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ทำให้เกิดการหันกลับมาเก็งกำไรน้ำมันแทน ราคาจึงดีดกลับมาอยู่ที่ 120 ดอลลาร์ต่อบาเรล สร้างสถิติพุ่งวันเดียวสูงสุดเป็นประวัติการณ์
นั่นแสดงให้เห็นถึงราคาน้ำมันโลก จะถูกฉุดให้อยู่เหนือระดับกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาเรลตลอดไป แต่เมื่อกลับมาดูทิศทางและแนวโน้มของบรรดาพลังงานทดแทนในไทยทั้งหลาย กลับไม่ชัดเจนและดูเหมือนจะอยู่หรือไปตามทิศทางการเมืองมากกว่า จนทำให้ประชาชนต้องพึ่งตนเอง เลือกใช้แก๊สหุงตุ้ม หรือ LPG เป็นเชื้อเพลิงแทน แม้จะรู้ว่าไปเบียดเบียนพลังงานภาคครัวเรือนก็ตาม
LPG-NGV อนาคตมีปัญหา
ทั้งนี้การใช้พลังงานแก๊ส LPG แม้ภาครัฐจะไม่สนับสนุน แต่ที่ผ่านมาก็ไม่มีมาตรการสกัดกั้นชัดเจนนัก จึงเสมือนเป็นการส่งเสริมทางอ้อม แถมสถานีบริการยังมีมากกว่า NGV ทำให้ประชาชนแห่นำรถไปติดตั้งเป็นจำนวนมาก ถึงปัจจุบันจะมีปริมาณลดลง เพราะราคาน้ำมันกลับมาอยู่ในระดับต่ำลง
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าผู้ใช้รถที่ติดตั้งระบบเชื้อเพลิง LPG จะเริงร่าได้ตลอดไป เพราะภาครัฐมีแผนจะปรับราคาแก๊ส LPG ให้เป็นไปตามกลไกตลาด จากปัจจุบันที่รัฐต้องช่วยรับภาระกว่า 600 ดอลลาร์ต่อตัน แต่เนื่องจากแก๊ส LPG มีความสำคัญกับภาคครัวเรือน และเรื่องของคะแนนเสียงทางการเมือง ทำให้การปรับราคาชะลอออกไปหลายครั้ง และล่าสุดก็ต้องพับเรื่องตามการจากไปของอดีตนายกรัฐมนตรี "สมัคร สุนทรเวช" รอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาตัดสินใจ ทำให้ปัจจุบันราคายังคงอยู่ที่กว่า 11 บาทต่อกก.
แต่ที่สุดไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ต้องมีการปรับราคา LPG แน่นอน ตั้งแต่ 5-25 บาทต่อกก. ตามโครงสร้างการปรับราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งหากปรับแบบการเมืองที่ม่ให้กระทบสภาวะค่าครองชีพทั่วไป LPG ภาคขนส่งน่าจะเป็นเป้าหมายที่จะต้องถูกปรับโดดๆ เพราะถือว่าไปเบียดบังภาคครัวเรือนที่รัฐสนับสนุนราคาอยู่
แน่นอนหากราคา LPG ปรับขึ้น ย่อมทำให้ผู้บริโภคหันมาติดตั้งเครื่องยนต์ใช้ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV ตามที่ภาครัฐต้องการมากขึ้น แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่นเสียหมด เพราะปัญหาสถานีบริการที่ไม่สามารถขยายได้ครอบคลุมนัก ยังมีเรื่องของปริมาณ NGV จะเพียงพอกับการใช้ไปอีกสักกี่ปี?!
เกี่ยวกับเรื่องนี้ "ไกรฤทธิ์ นิลคูหา"อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ปริมาณอัตราการใช้ก๊าซธรรมชาติของคนไทยปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,300 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ซึ่งหากดูปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของไทยที่พิสูจน์แล้ว จะสามารถรองรับการใช้ไปได้อีกประมาณไม่เกิน 10 ปี โดยช่วงปีที่ 4-5 นับจากนี้จะทยอยเห็นตัวเลขของการหมดลงอย่างชัดเจน
"หากพิจารณาจากปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้ขณะนี้ เมื่อรวมกับปริมาณสำรองที่คาดว่าจะเป็นไปได้ และปริมาณสำรองที่อาจจะเป็นไปได้ในการผลิต ซึ่งได้รวมแหล่งพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเจดีเอ พบว่าไทยจะมีก๊าซใช้ไปอีกประมาณ 30 ปี หรือปริมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 33 ล้านล้านลบ.ฟุต"
ดังนั้น กรมฯ จึงต้องเร่งให้ภาคเอกชนมีการเจาะหลุมสำรวจเพื่อผลิตก๊าซฯ ในไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 500 หลุม หรือมีการลงทุนติดตั้งแท่นผลิต 20-25 แท่น เพื่อรักษาระดับการผลิตก๊าซฯ ให้คงที่ในระดับปัจจุบันประมาณ 2,700 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และนอกจากนี้ประเทศไทยคงต้องปรับตัว ในการกระจายการใช้พลังงานให้มากขึ้น เช่น ถ่านหิน เพราะการสำรวจและผลิตก๊าซค่อนข้างใช้เงินลงทุนสูง
จากความจริงดังกล่าว และ ณ วันนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวผู้ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ แต่รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางยุทธศาสตร์พลังงานให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นสุดท้ายลูกหลานชาวไทยนั่นแหละ จะเป็นผู้รับกรรมจากความผิดพลาดของการวางแผนใช้พลังงานทดแทนของคนรุ่นนี้
ถูกกัน-ผู้รู้ไม่หนุนติดแก๊ส
นี่คือปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ปัจจุบันการใช้เชื้อเพลิงแก๊สต่างๆ แม้จะเป็นทางออกหนึ่งของผู้ใช้รถ แต่ก็มีคำเตือนจากผู้รู้ในเวทีเสวนาเรื่อง "เชื้อเพลิงทดแทนในรถยนต์"จัดโดยสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.) ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
เครื่องยนต์ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง สิ่งที่เหมาะสมก็คือน้ำมัน ส่วนจะใช้เป็นพลังงานทางเลือกประเภทแก๊สโซฮอล์ ชนิดE10 ก็พอได้ แต่หากใครจะติดแก๊สเพื่อความประหยัด ขอให้คำนวณจุดคุ้มทุนให้ดีและต้องยอมรับความเสี่ยงจากการระเบิดด้วย
โดยชัดเจนสุดเห็นจะเป็นอาจารย์แม่ของนักวิศวกรรมยานยนต์ "รศ. พูลพร แสงบางปลา" คณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และที่ปรึกษาสาขาวิศวกรรมยานยนต์วสท. ที่บอกว่า
"หากให้พูดจริงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปติดระบบแก๊ส เพราะเครื่องยนต์มันไม่ได้ออกแบบมาสำหรับแก๊สทั้ง NGV และ LPG ติดแล้วต้องจูนต้องปรับปรุงกัน จะมากน้อยก็แล้วแต่สภาพของเครื่องยนต์ ได้อย่างมันต้องเสียอย่าง น่าจะเก็บเงิน 5-6 หมื่นบาทไว้เติมน้ำมันดีกว่า"
นั่นคือความเห็นของผู้รู้ในแวดวงยานยนต์ แต่สิ่งที่ต้องเสียแน่ๆ ของรถที่นำไปติดตั้งแก๊ส คือ การรับประกัน(warranty) เครื่องยนต์ถือว่าสิ้นสุดลงทันที เนื่องจากการนำรถไปติดแก๊สไม่ว่าจะเป็น NGV หรือ LPG ล้วนถือว่าเป็นการดัดแปลงเครื่องยนต์ จึงมีผลทำให้การรับประกันสิ้นสุดลง ดังรายระเอียดที่ระบุอยู่ในคู่มือประจำรถ
ทั้งนี้หากรถคันที่ติดแก๊สเป็นรถที่เช่าซื้อมาและยังผ่อนอยู่ จะเข้าข่ายจงใจทำให้รถเกิดเสียหายในสาระสำคัญ ซึ่งจะมีความผิด และผู้ให้เช่าซื้อ(ไฟแนนซ์หรือลีสซิ่ง)สามารถบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ ฉะนั้นก่อนจะไปติดตั้งแก๊สต้องแจ้งกับผู้ให้เช่าซื้อทราบก่อน
เรียกว่าปัญหาเยอะทีเดียวกับผู้ที่คิดจะนำรถไปติดตั้งแก๊ส ยังไม่รวมเรื่องที่จะถูกจัดให้เป็นคนอีกกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการประกาศตามโรงแรม อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า รถติดแก๊สจอดได้เฉพาะชั้นที่จัดให้เท่านั้น เพื่อป้องกันการระเบิดทำลายอาคารและประชาชนทั่วไป
ฉะนั้นผลพวงจากการติดตั้งแก๊ส แทนที่จะทำให้สบายใจสบายกระเป๋า กลับกลายเป็นเรื่องจุกจิดกวนใจไปเสียนี่!
E85 อยู่หรือไปตามการเมือง
ขณะที่พลังงานอื่นๆ แนวโน้มรุ่งสุดเห็นจะเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 และ E20 แม้ตัวหลังตอนนี้จะมีปัญหาหาสถานีบริการไม่เพียงพอ แต่อนาคตน่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณรถ ที่รุ่นใหม่ๆ เปิดตัวออกมาต่างใช้ E20 ได้หมด อย่างไรก็ตามน้ำมันแก๊สโซฮอล์ทั้งสอง น่าจะเรียกได้เพียงแค่พลังงานทางเลือกเท่านั้น จะมาเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันยังไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะมีส่วนผสมของพลังงานทดแทนเอทานอลเพียง 10-20% เท่านั้น
โดยที่น่าจะเรียกพลังงานทดแทนได้ชัดหน่อย คงต้องเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 (ผสมเอทานอล 85 ส่วน) ที่มีการผลักดันแบบเร่งด่วนจากรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน "พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ" ในรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี "สมัคร สุนทรเวช" แต่เรื่องนี้กลับไม่ง่ายนัก แม้จะผลักดันให้องค์กรในคาถา ปตท. เปิดสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 สำเร็จ ทั้งที่มีรถใช้อยู่เพียงไม่กี่คัน และล้วนเป็นรถทดลองใช้ของปตท. หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
เพราะเรื่องน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ไม่ใช่มีแค่ปั๊มบริการก็จบ เนื่องจากยังมีภาคที่เกี่ยวข้องอย่างบริษัทรถที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจด้วย แม้งานนี้ค่ายรถฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็น วอลโว่, ฟอร์ด และจีเอ็ม จะเดินเรื่องผลักดันสุดๆ แต่ค่ายที่เสียงดังและมีอิทธิพลกำหนดทิศทางตลาดรถยนต์ในไทยมากสุดเป็นบริษัทรถจากญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดต่างตอบเป็นเสียงเดียวกัน
"เห็นด้วย แต่ไม่ควรจะเป็นในช่วง 1-2 ปีนี้ รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ต้องไม่ต่ำจนเกินไป เพราะจะกระทบกับโครงการอีโคคาร์ที่มีมูลค่าลงทุนนับแสนล้านบาท"
งานนี้ใช่ว่าค่ายรถญี่ปุ่นจะลุยโดดเดี่ยว เพราะได้ผนึกกับกระทรวงอุตสาหกรรม จับมือผสานกันแน่นขวางลำเต็มที่ โดยมีกระทรวงการคลังรับลูก เนื่องจากไม่ต้องการสูญเสียรายได้จากภาษีสรรพสามิต ที่จะต้องไปสนับสนุนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ก็ได้รับสิทธิประโยชน์ไปแล้ว
งานนี้เลยทำให้การผลักดันให้เกิดการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ไปถึงฝั่งฝันเสียที ขณะที่ค่ายรถตะวันตกก็ไม่ยอมนำรถเข้ามาทำตลาด หากไม่ได้ภาษีสรรพสามิตตามต้องการที่ 20% ซึ่งใกล้เคียงกับภาษีอีโคคาร์ที่มีอัตรา 17%
ที่สุดเมื่อนายกรัฐตรี สมัคร สุนทรเวช ต้องหลุดจากตำแหน่งไปเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดทั้งคณะ และได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ แม้จะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเดิม แต่การเปลี่ยนรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ย่อมทำให้โครงการผลักดันน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่!
เมื่อดูสถานการณ์พลังงานทดแทนไทย จะเห็นว่ามีความวังเวงเป็นอย่างยิ่ง เพราะแทบไม่มีความชัดเจน หรือเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกรัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่นี่กลับเป็นนโยบายที่จะอยู่หรือไปตามการเมืองเสียมากกว่า!!
ส่วนจะหันไปพึ่ง NGV ที่ภาครัฐหนุนสุดโต่ง แต่สถานีบริการกลับขยายเป็นเต่าต้วมเตี้ยม แถมจากการเปิดเผยของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติสำรองที่พิสูจน์แล้ว มีใช้ได้เพียงประมาณ 10 ปีเท่านั้น นี่ยังไม่รวมปัญหาสารพัดของแก๊สทั้งสอง ที่ผู้รู้ในแวดวงวิศวกรรมยานยนต์ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน เลือกได้อย่าไปนำรถติดตั้งแก๊สเป็นอันขาด
ขณะที่น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 และ E20 แม้จะรุ่งสุดๆ ก็ยังเรียกเป็นพลังงานทดแทนไม่ได้ชัดนัก นอกจาก E85 ที่ได้กลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างค่ายรถตะวันตกกับญี่ปุ่น และกระทรวงพลังงานงัดกับกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว พิษการเมืองยังทำให้ต้องมาลุ้นกันใหม่ว่า จะอยู่หรือไปด้วย?!
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงตัวเนื่อง ทำให้รัฐบาลไทยและหน่วยที่เกี่ยวข้องพยามที่หาพลังงานทดแทนมาใช้แทนเชื้อเพลิงน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ (CNG หรือ NGV) หรือน้ำมันเบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล 85% (น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85) ซึ่งรัฐบาลถึงกับจะประกาศเป็นวาระแห่งชาติกันเลยทีเดียว
แต่ที่สุดการผลักดันให้เกิดการใช้จริงจังกลับไม่คืบหน้ามากนัก แม้ราคาน้ำมันจะพุ่งสูงสุดจนเกิดสภาวะออยล์ช็อคทะลุกว่า 140 ดอลลาร์ต่อบาเรล จนมาเริ่มปรับตัวลงเหลือกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาเรล และปัจจุบันเจอวิกฤตสถาบันการเงินสหรัฐฯ ทำให้เกิดการหันกลับมาเก็งกำไรน้ำมันแทน ราคาจึงดีดกลับมาอยู่ที่ 120 ดอลลาร์ต่อบาเรล สร้างสถิติพุ่งวันเดียวสูงสุดเป็นประวัติการณ์
นั่นแสดงให้เห็นถึงราคาน้ำมันโลก จะถูกฉุดให้อยู่เหนือระดับกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาเรลตลอดไป แต่เมื่อกลับมาดูทิศทางและแนวโน้มของบรรดาพลังงานทดแทนในไทยทั้งหลาย กลับไม่ชัดเจนและดูเหมือนจะอยู่หรือไปตามทิศทางการเมืองมากกว่า จนทำให้ประชาชนต้องพึ่งตนเอง เลือกใช้แก๊สหุงตุ้ม หรือ LPG เป็นเชื้อเพลิงแทน แม้จะรู้ว่าไปเบียดเบียนพลังงานภาคครัวเรือนก็ตาม
LPG-NGV อนาคตมีปัญหา
ทั้งนี้การใช้พลังงานแก๊ส LPG แม้ภาครัฐจะไม่สนับสนุน แต่ที่ผ่านมาก็ไม่มีมาตรการสกัดกั้นชัดเจนนัก จึงเสมือนเป็นการส่งเสริมทางอ้อม แถมสถานีบริการยังมีมากกว่า NGV ทำให้ประชาชนแห่นำรถไปติดตั้งเป็นจำนวนมาก ถึงปัจจุบันจะมีปริมาณลดลง เพราะราคาน้ำมันกลับมาอยู่ในระดับต่ำลง
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าผู้ใช้รถที่ติดตั้งระบบเชื้อเพลิง LPG จะเริงร่าได้ตลอดไป เพราะภาครัฐมีแผนจะปรับราคาแก๊ส LPG ให้เป็นไปตามกลไกตลาด จากปัจจุบันที่รัฐต้องช่วยรับภาระกว่า 600 ดอลลาร์ต่อตัน แต่เนื่องจากแก๊ส LPG มีความสำคัญกับภาคครัวเรือน และเรื่องของคะแนนเสียงทางการเมือง ทำให้การปรับราคาชะลอออกไปหลายครั้ง และล่าสุดก็ต้องพับเรื่องตามการจากไปของอดีตนายกรัฐมนตรี "สมัคร สุนทรเวช" รอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาตัดสินใจ ทำให้ปัจจุบันราคายังคงอยู่ที่กว่า 11 บาทต่อกก.
แต่ที่สุดไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ต้องมีการปรับราคา LPG แน่นอน ตั้งแต่ 5-25 บาทต่อกก. ตามโครงสร้างการปรับราคาให้เป็นไปตามกลไกตลาด ซึ่งหากปรับแบบการเมืองที่ม่ให้กระทบสภาวะค่าครองชีพทั่วไป LPG ภาคขนส่งน่าจะเป็นเป้าหมายที่จะต้องถูกปรับโดดๆ เพราะถือว่าไปเบียดบังภาคครัวเรือนที่รัฐสนับสนุนราคาอยู่
แน่นอนหากราคา LPG ปรับขึ้น ย่อมทำให้ผู้บริโภคหันมาติดตั้งเครื่องยนต์ใช้ระบบเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ หรือ NGV ตามที่ภาครัฐต้องการมากขึ้น แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะราบรื่นเสียหมด เพราะปัญหาสถานีบริการที่ไม่สามารถขยายได้ครอบคลุมนัก ยังมีเรื่องของปริมาณ NGV จะเพียงพอกับการใช้ไปอีกสักกี่ปี?!
เกี่ยวกับเรื่องนี้ "ไกรฤทธิ์ นิลคูหา"อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า ปริมาณอัตราการใช้ก๊าซธรรมชาติของคนไทยปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3,300 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ซึ่งหากดูปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของไทยที่พิสูจน์แล้ว จะสามารถรองรับการใช้ไปได้อีกประมาณไม่เกิน 10 ปี โดยช่วงปีที่ 4-5 นับจากนี้จะทยอยเห็นตัวเลขของการหมดลงอย่างชัดเจน
"หากพิจารณาจากปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้ขณะนี้ เมื่อรวมกับปริมาณสำรองที่คาดว่าจะเป็นไปได้ และปริมาณสำรองที่อาจจะเป็นไปได้ในการผลิต ซึ่งได้รวมแหล่งพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเจดีเอ พบว่าไทยจะมีก๊าซใช้ไปอีกประมาณ 30 ปี หรือปริมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 33 ล้านล้านลบ.ฟุต"
ดังนั้น กรมฯ จึงต้องเร่งให้ภาคเอกชนมีการเจาะหลุมสำรวจเพื่อผลิตก๊าซฯ ในไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 500 หลุม หรือมีการลงทุนติดตั้งแท่นผลิต 20-25 แท่น เพื่อรักษาระดับการผลิตก๊าซฯ ให้คงที่ในระดับปัจจุบันประมาณ 2,700 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และนอกจากนี้ประเทศไทยคงต้องปรับตัว ในการกระจายการใช้พลังงานให้มากขึ้น เช่น ถ่านหิน เพราะการสำรวจและผลิตก๊าซค่อนข้างใช้เงินลงทุนสูง
จากความจริงดังกล่าว และ ณ วันนี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องใกล้ตัวผู้ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ แต่รัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศชาติ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางยุทธศาสตร์พลังงานให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นสุดท้ายลูกหลานชาวไทยนั่นแหละ จะเป็นผู้รับกรรมจากความผิดพลาดของการวางแผนใช้พลังงานทดแทนของคนรุ่นนี้
ถูกกัน-ผู้รู้ไม่หนุนติดแก๊ส
นี่คือปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ปัจจุบันการใช้เชื้อเพลิงแก๊สต่างๆ แม้จะเป็นทางออกหนึ่งของผู้ใช้รถ แต่ก็มีคำเตือนจากผู้รู้ในเวทีเสวนาเรื่อง "เชื้อเพลิงทดแทนในรถยนต์"จัดโดยสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.) ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
เครื่องยนต์ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง สิ่งที่เหมาะสมก็คือน้ำมัน ส่วนจะใช้เป็นพลังงานทางเลือกประเภทแก๊สโซฮอล์ ชนิดE10 ก็พอได้ แต่หากใครจะติดแก๊สเพื่อความประหยัด ขอให้คำนวณจุดคุ้มทุนให้ดีและต้องยอมรับความเสี่ยงจากการระเบิดด้วย
โดยชัดเจนสุดเห็นจะเป็นอาจารย์แม่ของนักวิศวกรรมยานยนต์ "รศ. พูลพร แสงบางปลา" คณะบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และที่ปรึกษาสาขาวิศวกรรมยานยนต์วสท. ที่บอกว่า
"หากให้พูดจริงๆ ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าไปติดระบบแก๊ส เพราะเครื่องยนต์มันไม่ได้ออกแบบมาสำหรับแก๊สทั้ง NGV และ LPG ติดแล้วต้องจูนต้องปรับปรุงกัน จะมากน้อยก็แล้วแต่สภาพของเครื่องยนต์ ได้อย่างมันต้องเสียอย่าง น่าจะเก็บเงิน 5-6 หมื่นบาทไว้เติมน้ำมันดีกว่า"
นั่นคือความเห็นของผู้รู้ในแวดวงยานยนต์ แต่สิ่งที่ต้องเสียแน่ๆ ของรถที่นำไปติดตั้งแก๊ส คือ การรับประกัน(warranty) เครื่องยนต์ถือว่าสิ้นสุดลงทันที เนื่องจากการนำรถไปติดแก๊สไม่ว่าจะเป็น NGV หรือ LPG ล้วนถือว่าเป็นการดัดแปลงเครื่องยนต์ จึงมีผลทำให้การรับประกันสิ้นสุดลง ดังรายระเอียดที่ระบุอยู่ในคู่มือประจำรถ
ทั้งนี้หากรถคันที่ติดแก๊สเป็นรถที่เช่าซื้อมาและยังผ่อนอยู่ จะเข้าข่ายจงใจทำให้รถเกิดเสียหายในสาระสำคัญ ซึ่งจะมีความผิด และผู้ให้เช่าซื้อ(ไฟแนนซ์หรือลีสซิ่ง)สามารถบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ ฉะนั้นก่อนจะไปติดตั้งแก๊สต้องแจ้งกับผู้ให้เช่าซื้อทราบก่อน
เรียกว่าปัญหาเยอะทีเดียวกับผู้ที่คิดจะนำรถไปติดตั้งแก๊ส ยังไม่รวมเรื่องที่จะถูกจัดให้เป็นคนอีกกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการประกาศตามโรงแรม อาคารสำนักงาน และห้างสรรพสินค้า รถติดแก๊สจอดได้เฉพาะชั้นที่จัดให้เท่านั้น เพื่อป้องกันการระเบิดทำลายอาคารและประชาชนทั่วไป
ฉะนั้นผลพวงจากการติดตั้งแก๊ส แทนที่จะทำให้สบายใจสบายกระเป๋า กลับกลายเป็นเรื่องจุกจิดกวนใจไปเสียนี่!
E85 อยู่หรือไปตามการเมือง
ขณะที่พลังงานอื่นๆ แนวโน้มรุ่งสุดเห็นจะเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 และ E20 แม้ตัวหลังตอนนี้จะมีปัญหาหาสถานีบริการไม่เพียงพอ แต่อนาคตน่าจะมากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณรถ ที่รุ่นใหม่ๆ เปิดตัวออกมาต่างใช้ E20 ได้หมด อย่างไรก็ตามน้ำมันแก๊สโซฮอล์ทั้งสอง น่าจะเรียกได้เพียงแค่พลังงานทางเลือกเท่านั้น จะมาเป็นพลังงานทดแทนน้ำมันยังไม่ใช่เสียทีเดียว เพราะมีส่วนผสมของพลังงานทดแทนเอทานอลเพียง 10-20% เท่านั้น
โดยที่น่าจะเรียกพลังงานทดแทนได้ชัดหน่อย คงต้องเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 (ผสมเอทานอล 85 ส่วน) ที่มีการผลักดันแบบเร่งด่วนจากรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน "พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ" ในรัฐบาลอดีตนายกรัฐมนตรี "สมัคร สุนทรเวช" แต่เรื่องนี้กลับไม่ง่ายนัก แม้จะผลักดันให้องค์กรในคาถา ปตท. เปิดสถานีบริการน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 สำเร็จ ทั้งที่มีรถใช้อยู่เพียงไม่กี่คัน และล้วนเป็นรถทดลองใช้ของปตท. หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
เพราะเรื่องน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ไม่ใช่มีแค่ปั๊มบริการก็จบ เนื่องจากยังมีภาคที่เกี่ยวข้องอย่างบริษัทรถที่จะต้องร่วมแรงร่วมใจด้วย แม้งานนี้ค่ายรถฝั่งตะวันตกไม่ว่าจะเป็น วอลโว่, ฟอร์ด และจีเอ็ม จะเดินเรื่องผลักดันสุดๆ แต่ค่ายที่เสียงดังและมีอิทธิพลกำหนดทิศทางตลาดรถยนต์ในไทยมากสุดเป็นบริษัทรถจากญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดต่างตอบเป็นเสียงเดียวกัน
"เห็นด้วย แต่ไม่ควรจะเป็นในช่วง 1-2 ปีนี้ รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ต้องไม่ต่ำจนเกินไป เพราะจะกระทบกับโครงการอีโคคาร์ที่มีมูลค่าลงทุนนับแสนล้านบาท"
งานนี้ใช่ว่าค่ายรถญี่ปุ่นจะลุยโดดเดี่ยว เพราะได้ผนึกกับกระทรวงอุตสาหกรรม จับมือผสานกันแน่นขวางลำเต็มที่ โดยมีกระทรวงการคลังรับลูก เนื่องจากไม่ต้องการสูญเสียรายได้จากภาษีสรรพสามิต ที่จะต้องไปสนับสนุนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ซึ่งปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 ก็ได้รับสิทธิประโยชน์ไปแล้ว
งานนี้เลยทำให้การผลักดันให้เกิดการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ไปถึงฝั่งฝันเสียที ขณะที่ค่ายรถตะวันตกก็ไม่ยอมนำรถเข้ามาทำตลาด หากไม่ได้ภาษีสรรพสามิตตามต้องการที่ 20% ซึ่งใกล้เคียงกับภาษีอีโคคาร์ที่มีอัตรา 17%
ที่สุดเมื่อนายกรัฐตรี สมัคร สุนทรเวช ต้องหลุดจากตำแหน่งไปเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดทั้งคณะ และได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ แม้จะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลเดิม แต่การเปลี่ยนรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ย่อมทำให้โครงการผลักดันน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่!
เมื่อดูสถานการณ์พลังงานทดแทนไทย จะเห็นว่ามีความวังเวงเป็นอย่างยิ่ง เพราะแทบไม่มีความชัดเจน หรือเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกรัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่นี่กลับเป็นนโยบายที่จะอยู่หรือไปตามการเมืองเสียมากกว่า!!