ศูนย์ข่าวภูเก็ต - บริษัท ปตท.สผ. ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ฝั่งอันดามัน ในการสำรวจแหล่งน้ำมันดิบในฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่ระนอง-สตูล
วันนี้ (13 มิ.ย.51) ที่ห้องประชุมโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายปิยะ ภะรตะศิลปิน ปลัดจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดกิจกรรมการให้ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการสำรวจปิโตรเลียมโดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสองมิติ แปลงสำรวจในทะเลอันดามันหมายเลข A4/48, A5/48 และ A6/48 ครั้งที่ 1 ของบริษัทปตท.สผ.สยาม จำกัด ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท โปร เอ็น เทคโนโลยี จำกัด
โดยมีหน่วยงานราชการ เอกชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่ 12 ตำบล ใน 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย ต.เกาะแก้ว ต.รัษฎา ต.ราไวย์ ต.กะรน ต.ฉลอง อ.เมือง, ต.ป่าตองและ ต.กมลา อ.กะทู้ และ ต.เชิงทะเล ต.ป่าคลอก ต.ไม้ขาวและต.สาคู เข้าร่วมจำนวนประมาณ 50 คน
นายสันติ ทองวิลาส จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ตามที่บริษัทปตท.สผ.สยาม จำกัดเป็นผู้สัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลง A4/48, A5/48 และ A6/48 ในทะเลอันดามัน จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีแผนงานที่จะดำเนินการสำรวจข้อมูลธรณีฟิสิกส์ โดยวิธีสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสองมิติ (2D Seismic) ซึ่งแปลงสำรวจดังกล่าวตั้งอยู่นอกชายฝั่งจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล มีเนื้อที่แปลงสำรวจประมาณ 68,820 ตารางกิโลเมตร เพื่อยืนยันลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
การสำรวจปิโตรเลียมด้วยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือน จัดเป็นโครงการประเภทสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียม ตามประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2539 ให้ผู้สัมปทาน ต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการสำรวจเพื่อประกอบการพิจารณาที่จะดำเนินการต่อไป
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ แนวทางการจัดทำโครงการ ผลกระทบจากกิจกรรม ตลอดจนมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลประโยชน์ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่และส่วนรวมให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดช่องทางและกลไกสื่อสารระหว่างราษฎรในพื้นที่โครงการกับคณะผู้ศึกษาโครงการ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความสัมพันธ์ความร่วมมือในการปฎิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนเพื่อประเมินผลการรับรู้/รับฟังความคิดเห็น ตลอดจนความวิตกกังวลต่างๆ ของชุมชนต่อโครงการเพื่อมาเสนอเป็นมาตรการป้องกันหรือละผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน นายสันติกล่าว และว่าในการสำรวจนั้นจะใช้งบดำเนินการประมาณ 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทางด้าน ม.ล.สิทธิไชย ไชยันต์ ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท.กล่าวถึงแผนการดำเนินงาน จะทำการศึกษาสำรวจเก็บข้อมูลและจัดเตรียมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2551 การดำเนินการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นดำเนินการในช่วงพฤษภาคม-กรกฎาคม 2551 และการสำรวจปิโตรเลียมโดยวิธีวัดคลื่นไหว สะเทือนประมาณปลายปี 2551 ซึ่งจะดำเนินการภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว
ในส่วนของการสำรวจนั้นจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ซึ่งในการใช้คลื่นไหวสะเทือนนั้นจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก และจะมีข้อกำหนดแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจนไว้ในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยขั้นตอนต่อจากการสำรวจจะเป็นการขุดเจาะเพื่อทำการทดสอบซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 5-6 ปี ดังนั้นเบื้องต้นคงเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบ ซึ่งมีจำนวน 25 อำเภอ 91 ตำบล ในจำนวน 6 จังหวัด คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ม.ล.สิทธิไชย กล่าวด้วยว่า ความคาดหมายจากการสำรวจนั้นก็คาดว่าจะพบน้ำมัน โดยจากการสำรวจที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะพบแก๊ส ซึ่งประโยชน์ที่ท้องถิ่นจะได้รับคือในส่วนของค่าภาคหลวง ส่วนภาพรวมนั้นจะทำให้เรามีแหล่งพลังงานมากขึ้น
วันนี้ (13 มิ.ย.51) ที่ห้องประชุมโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายปิยะ ภะรตะศิลปิน ปลัดจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดกิจกรรมการให้ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการสำรวจปิโตรเลียมโดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสองมิติ แปลงสำรวจในทะเลอันดามันหมายเลข A4/48, A5/48 และ A6/48 ครั้งที่ 1 ของบริษัทปตท.สผ.สยาม จำกัด ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท โปร เอ็น เทคโนโลยี จำกัด
โดยมีหน่วยงานราชการ เอกชนและประชาชนที่เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่ 12 ตำบล ใน 3 อำเภอของจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย ต.เกาะแก้ว ต.รัษฎา ต.ราไวย์ ต.กะรน ต.ฉลอง อ.เมือง, ต.ป่าตองและ ต.กมลา อ.กะทู้ และ ต.เชิงทะเล ต.ป่าคลอก ต.ไม้ขาวและต.สาคู เข้าร่วมจำนวนประมาณ 50 คน
นายสันติ ทองวิลาส จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ตามที่บริษัทปตท.สผ.สยาม จำกัดเป็นผู้สัมปทานสำรวจปิโตรเลียมแปลง A4/48, A5/48 และ A6/48 ในทะเลอันดามัน จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีแผนงานที่จะดำเนินการสำรวจข้อมูลธรณีฟิสิกส์ โดยวิธีสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสองมิติ (2D Seismic) ซึ่งแปลงสำรวจดังกล่าวตั้งอยู่นอกชายฝั่งจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล มีเนื้อที่แปลงสำรวจประมาณ 68,820 ตารางกิโลเมตร เพื่อยืนยันลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
การสำรวจปิโตรเลียมด้วยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือน จัดเป็นโครงการประเภทสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียม ตามประกาศของกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 พ.ศ.2539 ให้ผู้สัมปทาน ต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อนการสำรวจเพื่อประกอบการพิจารณาที่จะดำเนินการต่อไป
สำหรับการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ แนวทางการจัดทำโครงการ ผลกระทบจากกิจกรรม ตลอดจนมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลประโยชน์ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่และส่วนรวมให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มองค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดช่องทางและกลไกสื่อสารระหว่างราษฎรในพื้นที่โครงการกับคณะผู้ศึกษาโครงการ
โดยเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างความสัมพันธ์ความร่วมมือในการปฎิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนเพื่อประเมินผลการรับรู้/รับฟังความคิดเห็น ตลอดจนความวิตกกังวลต่างๆ ของชุมชนต่อโครงการเพื่อมาเสนอเป็นมาตรการป้องกันหรือละผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน นายสันติกล่าว และว่าในการสำรวจนั้นจะใช้งบดำเนินการประมาณ 5.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทางด้าน ม.ล.สิทธิไชย ไชยันต์ ผู้จัดการฝ่ายกิจการสัมพันธ์ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท.กล่าวถึงแผนการดำเนินงาน จะทำการศึกษาสำรวจเก็บข้อมูลและจัดเตรียมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2551 การดำเนินการจัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็นดำเนินการในช่วงพฤษภาคม-กรกฎาคม 2551 และการสำรวจปิโตรเลียมโดยวิธีวัดคลื่นไหว สะเทือนประมาณปลายปี 2551 ซึ่งจะดำเนินการภายหลังจากที่ได้รับความเห็นชอบในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว
ในส่วนของการสำรวจนั้นจะใช้เวลาประมาณ 3 ปี ซึ่งในการใช้คลื่นไหวสะเทือนนั้นจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก และจะมีข้อกำหนดแนวทางดำเนินงานที่ชัดเจนไว้ในการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยขั้นตอนต่อจากการสำรวจจะเป็นการขุดเจาะเพื่อทำการทดสอบซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 5-6 ปี ดังนั้นเบื้องต้นคงเป็นเรื่องของการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ที่อาจจะได้รับผลกระทบ ซึ่งมีจำนวน 25 อำเภอ 91 ตำบล ในจำนวน 6 จังหวัด คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ม.ล.สิทธิไชย กล่าวด้วยว่า ความคาดหมายจากการสำรวจนั้นก็คาดว่าจะพบน้ำมัน โดยจากการสำรวจที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะพบแก๊ส ซึ่งประโยชน์ที่ท้องถิ่นจะได้รับคือในส่วนของค่าภาคหลวง ส่วนภาพรวมนั้นจะทำให้เรามีแหล่งพลังงานมากขึ้น