ระนอง - บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด เร่งสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอันดามันของไทย ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ตั้งแต่ระนอง-สตูล ความหวังพบก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตด้านพลังงาน
วันนี้ (24 มิ.ย.) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม สยาม จำกัด หรือ ปตท.สผ. สยาม และบริษัท โปรเอ็น เทคโนโลยี จำกัด ได้จัดประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โครงการสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอันดามันที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดระนอง โดยมีนางกาญจนาภา กี่หมัน ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุม ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซสระนอง
โดยกล่าวว่า ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลกับการสำรวจปิโตรเลียมของ ปตท.ในครั้งนี้ เพราะไม่มีการก่อสร้างสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะใช้เรือขนาดใหญ่ในการสำรวจพร้อมติดตั้งอุปกรณ์สำรวจในทะเลลึก ซึ่งเรือประมงสามารถทำประมงได้ตามปกติ ขอเพียงแต่อย่าไปกีดขวางหรืออยู่ในแนวสำรวจเท่านั้น แต่จังหวัดระนองจะได้รับประโยชน์จากการที่ ปตท.ใช้ท่าเทียบเรือระนอง เป็นฐานส่งกำลังบำรุงในการลำเลียงอุปกรณ์สำรวจต่างๆ หากสำรวจแล้วพบก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันดิบก็จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติโดยส่วนรวมในอนาคต
นายสันติ ทองวิลาศ ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียม โดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสองมิติในทะเลอันดามัน แปลงหมายเลข A4/48 , A5/48 , A6/48 ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ม.ค.2550 โดยแปลงสำรวจดังกล่าวตั้งอยู่นอกชายฝั่งของ 6 จังหวัดอันดามัน คือ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล รวมพื้นที่แปลงสำรวจ 68,820 ตารางกิโลเมตร
นายพรชัย ชอุ่ม ผู้แทน บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด กล่าวว่า ก่อนดำเนินการสำรวจจะต้องมีการศึกษาและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ (EIA) และมีการชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่โครงการก่อน จากนั้นในเดือนธันวาคม 2551 จะเริ่มดำเนินการสำรวจโดยใช้ระยะเวลา 45 วันต่อเนื่องกันแบบไม่มีวันหยุด ซึ่งชาวประมงไม่ต้องกังวล เพราะพื้นที่สำรวจอยู่ห่างจากชายฝั่งจากหวัดระนอง ประมาณ 260 กิโลเมตร ระดับน้ำลึก 2,000 เมตร คลื่นสัญญาณเสียงไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล ชาวประมงน้ำลึกสามารถทำการประมงได้ตามปกติ ขอเพียงแต่อย่านำเรือประมงวิ่งตัดแนวสายสัญญาณรับคลื่นที่อยู่ใต้น้ำเท่านั้น ซึ่งจะมีกองเรือคอยคุ้มกันและประสานงานขณะทำการสำรวจตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่ตัวแทนชาวประมง ขอให้ผู้รับสัมปทานประชาสัมพันธ์ข้อมูลการสำรวจให้ชาวประมงได้รับทราบอย่างทั่วถึง และให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดและการต่อต้าน อีกทั้งป้องกันความเสียหายแก่ชาวประมง และ ปตท.สผ.สยาม เองด้วย
วันนี้ (24 มิ.ย.) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม สยาม จำกัด หรือ ปตท.สผ. สยาม และบริษัท โปรเอ็น เทคโนโลยี จำกัด ได้จัดประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง โครงการสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอันดามันที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดระนอง โดยมีนางกาญจนาภา กี่หมัน ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานเปิดการประชุม ที่โรงแรมรอยัลปริ๊นเซสระนอง
โดยกล่าวว่า ประชาชนไม่ต้องวิตกกังวลกับการสำรวจปิโตรเลียมของ ปตท.ในครั้งนี้ เพราะไม่มีการก่อสร้างสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะใช้เรือขนาดใหญ่ในการสำรวจพร้อมติดตั้งอุปกรณ์สำรวจในทะเลลึก ซึ่งเรือประมงสามารถทำประมงได้ตามปกติ ขอเพียงแต่อย่าไปกีดขวางหรืออยู่ในแนวสำรวจเท่านั้น แต่จังหวัดระนองจะได้รับประโยชน์จากการที่ ปตท.ใช้ท่าเทียบเรือระนอง เป็นฐานส่งกำลังบำรุงในการลำเลียงอุปกรณ์สำรวจต่างๆ หากสำรวจแล้วพบก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันดิบก็จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติโดยส่วนรวมในอนาคต
นายสันติ ทองวิลาศ ผู้แทนกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียม โดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสองมิติในทะเลอันดามัน แปลงหมายเลข A4/48 , A5/48 , A6/48 ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ม.ค.2550 โดยแปลงสำรวจดังกล่าวตั้งอยู่นอกชายฝั่งของ 6 จังหวัดอันดามัน คือ จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล รวมพื้นที่แปลงสำรวจ 68,820 ตารางกิโลเมตร
นายพรชัย ชอุ่ม ผู้แทน บริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด กล่าวว่า ก่อนดำเนินการสำรวจจะต้องมีการศึกษาและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ (EIA) และมีการชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่โครงการก่อน จากนั้นในเดือนธันวาคม 2551 จะเริ่มดำเนินการสำรวจโดยใช้ระยะเวลา 45 วันต่อเนื่องกันแบบไม่มีวันหยุด ซึ่งชาวประมงไม่ต้องกังวล เพราะพื้นที่สำรวจอยู่ห่างจากชายฝั่งจากหวัดระนอง ประมาณ 260 กิโลเมตร ระดับน้ำลึก 2,000 เมตร คลื่นสัญญาณเสียงไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล ชาวประมงน้ำลึกสามารถทำการประมงได้ตามปกติ ขอเพียงแต่อย่านำเรือประมงวิ่งตัดแนวสายสัญญาณรับคลื่นที่อยู่ใต้น้ำเท่านั้น ซึ่งจะมีกองเรือคอยคุ้มกันและประสานงานขณะทำการสำรวจตลอด 24 ชั่วโมง
ขณะที่ตัวแทนชาวประมง ขอให้ผู้รับสัมปทานประชาสัมพันธ์ข้อมูลการสำรวจให้ชาวประมงได้รับทราบอย่างทั่วถึง และให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดและการต่อต้าน อีกทั้งป้องกันความเสียหายแก่ชาวประมง และ ปตท.สผ.สยาม เองด้วย