ข่าวในประเทศ – ‘จีเอ็ม’ขยับตัวแล้ว หลังปล่อยสองค่ายฟอร์ด วอลโว่ ซึมไปกับนโยบายสนับสนุนรถยนต์ใช้แก็สโซฮอล์ อี85 ของรัฐบาล โดยบิ๊กบอส “สตีฟ คาร์ไลส์” แบ่งรับแบ่งสู้ เผยเตรียมทำตลาดภายใน 2-4 ปีนี้ แต่รัฐต้องมีมาตรการจูงใจ ย้ำยุคน้ำมันแพง อี85 ถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม
หลังมติคณะรัฐมนตรี (3 มิ.ย.) เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ อี85 (เบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล 85%) เเละรถยนต์นั่งที่สามารถใช้น้ำมัน E85 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ด้วยการยกเว้นโดยยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ อี85 ที่มีลักษณะเฉพาะเเละเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน อี85 เเละไม่มีผลิตในประเทศเป็นการชั่วคราว 3 ปี (นับตั้งเเต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้)
รวมทั้งลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ อี 85 ลงเหลือ 25% 30% และ 35 %ตามขนาดเครื่องยนต์ คือ ไม่เกิน 2000 ซีซี มากกว่า 2000 - 2500 ซีซี และมากกว่า 2500 - 3000 ซีซี ตามลำดับ ซึ่งเท่ากับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ อี20 ในปัจจุบัน และลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน อี85 เหลือ 2.5795 บาทต่อลิตร จาก 3.6850 บาทต่อลิตร
เมื่อรัฐบาลมีความชัดเจนกับนโยบายดังกล่าว โดยประเด็นส่วนหนึ่งอยู่ตรงอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่ลดลงมา 5% เทียบเท่า อี20 เท่านั้น ซึ่งอาจไม่จูงใจบางค่ายรถยนต์ที่คาดหวังให้มีการสนับสนุนมากกว่านี้ โดยค่ายฟอร์ดและวอลโว่ ที่แสดงความมุ่งมั่นผลักดันตั้งแต่แรก ก็ออกแถลงการณ์และแสดงความคิดเห็นทันที
สาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานอาวุโส ฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลอาจจะมองไม่เหมือนบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ แต่เมื่อออกนโยบายชัดเจนมาขนาดนี้ ก็คงต้องยอมรับในการตัดสินใจ ซึ่งแนวทางสนับสนุนที่ออกมา ทำให้ฟอร์ดต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนผลิต ทั้งนี้บริษัทยังยืนว่าทิศทางพลังงานทางเลือกอย่างแก๊สโซฮอล์ อี85 เป็นเรื่องถูกต้องและคงไม่ล้มเลิกแผนการ โดยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนต่อไป
ด้านวอลโว่ คาร์(ประเทศไทย) จำกัด ออกแถลงการณ์ ว่า วอลโว่สนับสนุนความต้องการในการใช้พลังงานทางเลือก อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานของประเทศไทยด้วยความตั้งใจจริงมาโดยตลอด และจากจุดยืนดังกล่าว บริษัทฯ รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ทราบถึงการตัดสินใจของรัฐบาลเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ที่ประกาศออกมา (3 มิ.ย.)
นโยบายดังกล่าวไม่ได้ช่วยสนับสนุนให้ผู้ผลิตรถยนต์ มีการส่งเสริมการนำเข้า การผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี E85 ในประเทศไทย นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ ประเทศไทยอาจสูญเสียโอกาสทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย
ล่าสุดค่ายยักษ์ใหญ่แดนมะกัน “จีเอ็ม” ที่แสดงความมุ่งมั่นมาตั้งแต่แรกเช่นกัน โดยสตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสต์เอเชีย โอเปอเรชั่นส์ และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ออกมาย้ำจุดยืนว่า
“การที่จะผลักดันเชื้อเพลิง อี85 เข้าสู่ตลาดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และผู้บริโภค เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ โดยภาครัฐควรให้การสนับสนุนในด้านการค้นคว้าวิจัย และควรพิจารณาการเพิ่มมาตรการจูงใจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยและเชื้อเพลิงชนิดใหม่นี้”
ทั้งนี้เป็นเวลากว่า 7 ปีแล้วที่ประเทศไทยได้มีการนำพลังงานชีวภาพมาใช้ โดยในปี 2544 ประเทศไทยได้เริ่มใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มี เอธานอลเป็นส่วนผสม 10 เปอร์เซ็นต์ “จีเอ็ม อยากเห็นความตื่นตัวในการหันมาใช้รถยนต์ E85 ซึ่งเทคโนโลยีที่รองรับเชื้อเพลิง อี85 นั้นมีความพร้อมอยู่แล้ว และรถยนต์ อี85 ก็มีโอกาสมาวิ่งอยู่บนถนนในเมืองไทยในเวลาอันใกล้นี้ ตามความเป็นจริงแล้ว จีเอ็มหวังที่จะเปิดตลาดรถยนต์ อี85 ภายใน 2-4 ปีนี้ ขณะที่จีเอ็ม มีอัตราการผลิตรถยนต์ อี85 เพื่อจำหน่ายในตลาดโลกกว่า 400,000 คันต่อปี ซึ่งทำให้ปัจจุบันมีรถยนต์ อี85 ของจีเอ็มวิ่งอยู่บนท้องถนนถึงกว่า 2 ล้านคันทั่วโลก
“ประเทศไทย เชฟโรเลต ได้ริเริ่มแนวทางแก้ไขปัญหาระยะสั้นหลายประการ อาทิ รถยนต์เชฟโรเลต ออพตร้า ซีเอ็นจี และรถกระบะเชฟวี่ โคโลราโด ซีเอ็นจี ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานก๊าซธรรมชาติแบบอัด นอกจากนี้แล้ว เชฟโรเลตยังวางแผนที่จะแนะนำรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเอธานอล อี 20 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดตัวในเมืองไทยได้ช่วงปลายปีนี้ และพร้อมที่จะดำเนินการการผลิตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง อี85 ได้อย่างรวดเร็วหากว่าภาครัฐมีนโยบายที่ชัดเจนและเหมาะสม” คาร์ไลส์ กล่าว
หลังมติคณะรัฐมนตรี (3 มิ.ย.) เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการใช้น้ำมันแก็สโซฮอล์ อี85 (เบนซินที่มีส่วนผสมของเอทานอล 85%) เเละรถยนต์นั่งที่สามารถใช้น้ำมัน E85 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ด้วยการยกเว้นโดยยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ อี85 ที่มีลักษณะเฉพาะเเละเป็นอุปกรณ์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำมัน อี85 เเละไม่มีผลิตในประเทศเป็นการชั่วคราว 3 ปี (นับตั้งเเต่วันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้)
รวมทั้งลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ อี 85 ลงเหลือ 25% 30% และ 35 %ตามขนาดเครื่องยนต์ คือ ไม่เกิน 2000 ซีซี มากกว่า 2000 - 2500 ซีซี และมากกว่า 2500 - 3000 ซีซี ตามลำดับ ซึ่งเท่ากับอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ อี20 ในปัจจุบัน และลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน อี85 เหลือ 2.5795 บาทต่อลิตร จาก 3.6850 บาทต่อลิตร
เมื่อรัฐบาลมีความชัดเจนกับนโยบายดังกล่าว โดยประเด็นส่วนหนึ่งอยู่ตรงอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่ลดลงมา 5% เทียบเท่า อี20 เท่านั้น ซึ่งอาจไม่จูงใจบางค่ายรถยนต์ที่คาดหวังให้มีการสนับสนุนมากกว่านี้ โดยค่ายฟอร์ดและวอลโว่ ที่แสดงความมุ่งมั่นผลักดันตั้งแต่แรก ก็ออกแถลงการณ์และแสดงความคิดเห็นทันที
สาโรช เกียรติเฟื่องฟู รองประธานอาวุโส ฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลอาจจะมองไม่เหมือนบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ แต่เมื่อออกนโยบายชัดเจนมาขนาดนี้ ก็คงต้องยอมรับในการตัดสินใจ ซึ่งแนวทางสนับสนุนที่ออกมา ทำให้ฟอร์ดต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนผลิต ทั้งนี้บริษัทยังยืนว่าทิศทางพลังงานทางเลือกอย่างแก๊สโซฮอล์ อี85 เป็นเรื่องถูกต้องและคงไม่ล้มเลิกแผนการ โดยจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมศึกษาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนต่อไป
ด้านวอลโว่ คาร์(ประเทศไทย) จำกัด ออกแถลงการณ์ ว่า วอลโว่สนับสนุนความต้องการในการใช้พลังงานทางเลือก อันเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานของประเทศไทยด้วยความตั้งใจจริงมาโดยตลอด และจากจุดยืนดังกล่าว บริษัทฯ รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ทราบถึงการตัดสินใจของรัฐบาลเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 ที่ประกาศออกมา (3 มิ.ย.)
นโยบายดังกล่าวไม่ได้ช่วยสนับสนุนให้ผู้ผลิตรถยนต์ มีการส่งเสริมการนำเข้า การผลิตและพัฒนาเทคโนโลยี E85 ในประเทศไทย นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ ประเทศไทยอาจสูญเสียโอกาสทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย
ล่าสุดค่ายยักษ์ใหญ่แดนมะกัน “จีเอ็ม” ที่แสดงความมุ่งมั่นมาตั้งแต่แรกเช่นกัน โดยสตีฟ คาร์ไลส์ ประธานกรรมการ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส เซาท์อีสต์เอเชีย โอเปอเรชั่นส์ และบริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ออกมาย้ำจุดยืนว่า
“การที่จะผลักดันเชื้อเพลิง อี85 เข้าสู่ตลาดนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และผู้บริโภค เพื่อลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ โดยภาครัฐควรให้การสนับสนุนในด้านการค้นคว้าวิจัย และควรพิจารณาการเพิ่มมาตรการจูงใจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยและเชื้อเพลิงชนิดใหม่นี้”
ทั้งนี้เป็นเวลากว่า 7 ปีแล้วที่ประเทศไทยได้มีการนำพลังงานชีวภาพมาใช้ โดยในปี 2544 ประเทศไทยได้เริ่มใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่มี เอธานอลเป็นส่วนผสม 10 เปอร์เซ็นต์ “จีเอ็ม อยากเห็นความตื่นตัวในการหันมาใช้รถยนต์ E85 ซึ่งเทคโนโลยีที่รองรับเชื้อเพลิง อี85 นั้นมีความพร้อมอยู่แล้ว และรถยนต์ อี85 ก็มีโอกาสมาวิ่งอยู่บนถนนในเมืองไทยในเวลาอันใกล้นี้ ตามความเป็นจริงแล้ว จีเอ็มหวังที่จะเปิดตลาดรถยนต์ อี85 ภายใน 2-4 ปีนี้ ขณะที่จีเอ็ม มีอัตราการผลิตรถยนต์ อี85 เพื่อจำหน่ายในตลาดโลกกว่า 400,000 คันต่อปี ซึ่งทำให้ปัจจุบันมีรถยนต์ อี85 ของจีเอ็มวิ่งอยู่บนท้องถนนถึงกว่า 2 ล้านคันทั่วโลก
“ประเทศไทย เชฟโรเลต ได้ริเริ่มแนวทางแก้ไขปัญหาระยะสั้นหลายประการ อาทิ รถยนต์เชฟโรเลต ออพตร้า ซีเอ็นจี และรถกระบะเชฟวี่ โคโลราโด ซีเอ็นจี ซึ่งขับเคลื่อนด้วยพลังงานก๊าซธรรมชาติแบบอัด นอกจากนี้แล้ว เชฟโรเลตยังวางแผนที่จะแนะนำรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงเอธานอล อี 20 ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดตัวในเมืองไทยได้ช่วงปลายปีนี้ และพร้อมที่จะดำเนินการการผลิตรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง อี85 ได้อย่างรวดเร็วหากว่าภาครัฐมีนโยบายที่ชัดเจนและเหมาะสม” คาร์ไลส์ กล่าว