xs
xsm
sm
md
lg

โอกาสที่เสียไป: 12 ข้อเท็จจริงการศึกษา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


โดย - สถาบันอนาคตไทยศึกษา

เราพูดเรื่องการปฏิรูปการศึกษามานาน มีการหยิบยกปัญหาเรื่องการศึกษาขึ้นมามากมาย แต่หลายเรื่องเป็นนามธรรมมาก และบางครั้งก็ฟังเป็นเรื่องไกลตัว เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ว่าปัญหาการศึกษาทำให้โอกาสของเด็กไทยเสียไปอย่างไรบ้าง จึงขอเล่าเรื่องปัญหาผ่านช่วงชีวิตต่างๆ ของตัวละครสมมุติซึ่งเป็นเด็กคนหนึ่ง ว่าได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง รวมไปถึงผลกระทบที่จะตกกับพ่อแม่ นายจ้าง ภาครัฐ และสุดท้ายทั้งหมดนี้ส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไร

สมมุติคุณเกิดมาเป็นเด็กหัวดี ขยันตั้งใจเรียน ที่เกิดในครอบครัวที่มีรายได้เท่ากับรายได้มัธยฐานในเมืองไทยคือราว 16,000 บาทต่อเดือน (1) มีความเป็นไปได้มาก ว่าคุณจะอยู่ในบ้านในชนบทแห่งหนึ่ง เพราะกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทยยังอยู่ในเขตชนบท (2) พ่อหรือแม่ หรือทั้งพ่อและแม่ของคุณก็อาจจะทำงานอยู่ในกรุงเทพ และคุณเองนั้นก็คงอาศัยอยู่กับปู่ย่า หรือตายาย เพราะในปัจจุบันก็มีราว 40% ของเด็กไทยที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับทั้งพ่อและแม่ (3)

พอคุณอายุได้ซัก 3 ขวบ คุณก็คงจะได้เข้าเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กใกล้ ๆ บ้าน ถึงแม้ว่าจะมีงานวิจัยออกมาบอกว่าการลงทุนในการศึกษาของเด็กก่อนวัยเรียนจะมีผลตอบแทนสูงกว่าในวัยอื่นๆ มาก แต่ทรัพยากรที่ใส่เข้าไปยังไม่มาก ถ้าเทียบงบประมาณต่อหัวเด็กก่อนประถมได้งบคิดเป็นแค่ 3 ใน 4 ของเด็กประถม4 คุณก็เลยจะมีโอกาสที่จะมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย ซึ่งโอกาสจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าบ้านคุณอยู่ที่ไหน

Fact 1: 1 ใน 5 ของเด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการที่ต่ำกว่าวัย จากการตรวจคัดกรองพัฒนาการเด็กอายุ 3.5 ปีทั่วประเทศ สัดส่วนนี้ลดลงจากเมื่อปี 2557 ที่พบเกือบ 1 ใน 3 สัดส่วนเด็กพัฒนาการต่ำกว่าวัยนี้แตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนเด็กพัฒนาการช้าราว 10% ภาคตะวันตกมีสัดส่วนเด็กพัฒนาการช้าสูงสุดคิดเป็น 47%

ในห้องเรียนชั้นประถม สิ่งที่คุณจะเจอคือเพื่อนร่วมชั้นของคุณบางคนก็จะยังอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ไปจนจบชั้น ป.6

Fact 2: เด็กนักเรียนชั้นประถม 1-6 ราว 140,000 คนอ่านหนังสือไม่ออก และราว 270,000 คน เขียนหนังสือไม่ได้ จากผลสำรวจของกระทรวงศึกษาเมื่อเดือน ก.ค. 58 แม้ว่าปี 2558 จะมีการตั้งเป้าหมายให้เป็นปีแห่งการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ตาม

ที่มา: ผลสำรวจการอ่านออกเขียนได้ กระทรวงศึกษาธิการ เดือน ก.ค. 58

ปัญหายังส่งต่อไปถึงระดับมัธยม ถึงแม้ว่าคุณจะเรียนอยู่ชั้น ม.ต้น แต่ก็พบว่ามีเพื่อนร่วมชั้นของคุณจำนวนไม่น้อยที่แม้จะอ่านหนังสือออก แต่ก็ไม่สามารถจับใจความได้ และยิ่งถ้าคุณอยู่ในโรงเรียนในหมู่บ้านชนบทโอกาสที่คุณจะทักษะการอ่านของคุณจะใช้งานไม่ได้จะสูงเป็นเกือบ 1 ใน 2

Fact 3: ส่วนเด็กมัธยมที่อายุ 15 ปีอีกราว 1/3 ไม่สามารถอ่านจับใจความได้ จากผลการสอบนานาชาติ (PISA) พบว่าในการสอบเรื่องการอ่าน มีเด็กไทยราว 1/3 ที่ “สอบตก” ซึ่งตามมาตรฐานของ PISA คือเด็กที่อ่านหนังสือออก แต่ไม่เข้าใจสิ่งที่ตัวเองกำลังอ่าน (Functionally Illiterate) และถ้าเป็นโรงเรียนที่อยู่ในเขตชนบท สัดส่วนจะเพิ่มขึ้นเป็นราว 47% คะแนนเฉลี่ย PISA ด้านการอ่านของเด็กไทยต่ำกว่าเวียดนาม และอยู่ระดับเดียวกับเด็กจากประเทศคอสตาริก้า และชิลี

ข่าวดีก็คือคุณมีโอกาสไม่น้อยที่จะได้เรียนตลอดรอดฝั่งจนจบ ม.ปลาย (หรือ ปวช.) เพราะเด็กไทยส่วนใหญ่เข้าถึงการศึกษาในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อาจจะเป็นเพราะนโยบายเรียนฟรีของรัฐก็เป็นได้ เพราะถึงจะไม่ฟรีเสียทีเดียว พ่อแม่ยังต้องควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มอีก บางรายอาจจะต้องกู้มาบ้าง จากเด็ก 10 คนที่เรียนป. 1 พร้อมกับคุณ ก็จะมี 6 คนที่ยังเรียนอยู่จนจบ ม.6

Fact 4: มีเด็ก 6 ใน 10 คนที่เรียนจบม. 6หรือ ปวช. เด็กที่เข้าเรียนป. 1 ราว 1 ล้านคน จะเรียนจนจบป.6 92% เรียนต่อจนจบม.3 83% และเรียนจนจบชั้นม. 6 ประมาณ 63% เท่ากับมีเด็กที่เลิกเรียนกลางคันและมีวุฒิการศึกษาต่ำกว่า ม.6 ราว 337,000 คน ในรุ่นเดียวกัน

เพื่อนของคุณในกลุ่มที่ร่วงหล่นไประหว่างทาง ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนและอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และก็มีกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ที่ไม่ใช่เรื่องปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น เป็นแม่วัยใส หรือถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ (5)

เนื่องจากคุณเป็นเด็กหัวดี ยังไงก็คงต้องอยากเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งก็ต้องผ่านการสอบที่เรียกว่า “แอดมิสชั่น” แต่สิ่งที่โรงเรียนมัธยมที่คุณเรียนอยู่สอนอาจจะไม่ทำให้คุณเข้ามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะสอบแอดมิสชั่นติด คุณอาจจะต้องย้ายมาเรียนในกรุงเทพ เพราะในบรรดาโรงเรียนที่ส่งเด็กเข้ามหาวิทยาลัยได้ (Feeder School) ก็อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งนั้น แต่ก็จะได้เข้าเรียนในโรงเรียนระดับท็อปเหล่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กต่างจังหวัดเหมือนกัน

36,537 คน คือจำนวนเด็กที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจ120,000 คน คือจำนวนแม่วัยใสในปี 2556 1/8

Fact 5: ใน 50 โรงเรียนที่คะแนนสอบโอเน็ต สูงสุด 34 โรงเรียนอยู่ในกรุงเทพฯ และ 50 โรงเรียนนี้กระจายอยู่ใน 9 จังหวัดเท่านั้น ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดหัวเมืองทั้งสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่สัดส่วนการเรียนต่อระดับปริญญาตรีของเด็กที่อาศัยในกรุงเทพฯ สูงถึง 65% ในขณะสัดส่วนทั้งประเทศอยู่ที่ 28% เท่านั้น

ที่มา: 50 อันดับโรงเรียนที่มีคะแนน ONET สูงสุดจากสำนักงานทดสอบการศึกษาแห่งชาติ, การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน 2556

นอกจากจะต้องย้ายมาเรียนในกรุงเทพฯ แล้ว สมัยนี้ใครๆ ก็ต้องเรียนกวดวิชาเพื่อติวเข้ามหาวิทยาลัย คุณก็ด้วย แต่การเรียนพิเศษนอกจากจะใช้เวลา แล้วยังต้องเสียเงินเสียทองไม่น้อย

Fact 6: ค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษติวเข้ามหาวิทยาลัยคิดเป็น 1.3 เท่า ของค่าใช้จ่ายในการเรียนตามปกติ จากผลสำรวจของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ พบว่า 60% นักเรียนชั้นม.ปลายเรียนกวดวิชา โดยจะลงเรียนพิเศษเฉลี่ย 2-3 วิชา ในการเตรียมตัวเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย มีค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษที่รวมค่าเดินทางและค่าที่พักแล้วเป็นเงิน 22,592 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 1.3 เท่าของค่าใช้จ่ายในการไปโรงเรียนตามปกติ

Fact 7: 2/3 ของครอบครัวไทยไม่ได้มีเงินเก็บมากพอที่จะส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะสามารถกู้เงินจากกยศ.ได้ก็ตาม ค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ตลอดการเรียนมหาวิทยาลัย 4 ปีเฉลี่ยประมาณ 502,000 บาท ส่วนที่เหลือสามารถกู้กยศ.ได้ส่วนหนึ่ง แต่ครอบครัวจะต้องมีเงินเก็บอีกราว 326,400 บาท ซึ่งมีถึง 65% ของครัวเรือนที่มีลูกที่จะมีเงินเก็บไม่เพียงพอ

จากค่าใช้จ่ายข้างต้น พบว่ามีครอบครัวเพียง 27% ที่มีเงินเก็บมากพอโดยไม่ต้องกู้ยืม อีกราว 8% ที่ต้องกู้กยศ.เพิ่มถึงจะพอ ส่วนอีก 65% ของครัวเรือนถึงจะกู้กยศ. แล้วก็ยังมีเงินเก็บไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนที่เหลือ

สัดส่วนครอบครัวตามความสามารถในการส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย

ที่มา: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2556, Thailand Future Analysis

ในความเป็นจริง ถ้าคุณมาจากบ้านที่มีรายได้มัธยฐานจริงๆ ฝันที่จะได้เรียนต่อมหาวิทยาลัยเป็นไปได้ยากหน่อย เพราะครอบครัวไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีเงินเก็บมากพอที่จะส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะสามารถกู้เงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือกยศ.ได้ก็ตาม ส่วนที่เงินเหลือก็หนีไม่พ้นต้องกู้จากญาติ หรือไม่ก็กู้นอกระบบ

แต่เพื่อให้เราสามารถจินตนาการต่อได้ สมมุติว่าเราทำบุญมาดี โชคดีมีป้าที่ร่ำรวยส่งเราเรียนต่อมหาลัยได้ และโชคดีต่อที่สองคือคะแนนแอดมิสชั่นสูงพอที่จะได้เรียนในมหาวิทยาลัยรัฐอันดับต้นๆ ซึ่งเข้ายากกว่าและค่าเทอมถูกกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนเกินครึ่ง ค่าเทอมมหาวิทยาลัยรัฐอันดับต้นๆ ตก 130,000 บาทตลอดหลักสูตร ในขณะที่มหาวิทยาลัยเอกชนอยู่ที่ 310,000 บาท(7)
จริงๆ การสอบแอดมิสชั่นอาจจะไม่ยากอย่างที่คิด (ถ้าไม่เลือกมาก) เพราะมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นมากจากเมื่อ 10 ปี ก่อน จาก 123 แห่งเป็น 177 แห่ง8 หลักสูตรก็มีหลากหลาย จำนวนที่นั่งก็มีมากจนล้น ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจว่าจะส่งผลต่อคุณภาพของเด็กจบมหาวิทยาลัย

Fact 8: มีที่นั่งในมหาวิทยาลัยมากกว่าจำนวนเด็กที่เข้าสอบ มหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาผ่านการสอบแอดมิสชั่นทั้งหมด 1.51 แสนคน แต่มีนักเรียนมาสมัครสอบเพียง 1.24 แสนคน และสุดท้ายมีเด็กที่ผ่านการคัดเลือก 91,813 คนในปี 2558 แม้ตัวเลือกดังกล่าวจะยังไม่ได้รวมเด็กที่ผ่านการคัดเลือกแบบอื่นๆ เช่น การรับตรงและโควตา แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาล้นเกินความต้องการ

4 ปีผ่านไป ตอนนี้คุณเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว ยินดีด้วยคุณเป็นคน 1 ใน 3 ของเพื่อนที่ร่วมชั้นกับคุณมาตอนป. 1 ที่ได้เรียนจนจบปริญญาตรี ข่าวร้ายก็คือคุณเป็น 1 ในบัณฑิตร่วมรุ่นอีกราว 260,000 คนที่จบมาจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานพร้อมๆ กับคุณ ซึ่ง 1 ใน 4 มาจากคณะยอดนิยมอย่างบริหารธุรกิจ เด็กจบคณะสายสังคมคิดเป็น 2:1 ของเด็กที่จบสายวิทยาศาสตร์

เรื่องหางานไม่เป็นปัญหา คุณอาจจะเคยเห็นข่าวที่ลงตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่าเด็กจบปริญญาตรีเตะฝุ่นมากที่สุด แต่คุณจะว่างงานไม่นาน มีคนส่วนน้อยมากที่หางานทำไม่ได้ภายใน 6 เดือน

โอกาสที่เด็กจากครอบครัวที่รวยที่สุด 20% จะได้เรียนต่อมหาวิทยาลัยนั้นมากกว่าเด็กจากครอบครัวที่จนที่สุด 20% ถึง 4 เท่า (ที่มา: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2556, Thailand Future analysis)

Fact 9: มีเด็กจบใหม่ที่ตกงานเกิน 6 เดือนเพียง 1% อัตราการว่างงานของเด็กที่จบใหม่ระดับปริญญาตรีอยู่ราว 15% แต่เมื่อดูสัดส่วนของคนที่ว่างงานเกิน 6 เดือนกลับพบว่ามีเพียง 1% โดยสาขาที่หางานยากที่สุดคือ วิทยาศาสตร์ นิติศาสตร์ และบริหารธุรกิจ

(ที่มา: การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร, Thailand Future analysis)

แต่ปัญหาคือมีโอกาสไม่น้อยที่จะได้งานที่ไม่ได้ตรงกับที่สาขาที่เรียนมา หรือเป็นงานที่ใช้ความสามารถต่ำกว่าวุฒิที่คุณมี ส่วนเงินเดือนจะได้เท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณทำงานที่ไหน และขึ้นอยู่กับว่าคุณจบจากที่ไหน (ทั้งคณะและมหาวิทยาลัย) เงินเดือนของเด็กจบใหม่หน้าตาเป็นอย่างไร ถ้าคุณเป็นเด็กจบใหม่จากมหาวิทยาลัยที่เข้าไม่ยากเท่าไหร่ และได้งานที่ต่างจังหวัด คุณก็มีโอกาสที่จะได้เงินเดือนประมาณ 12,000 บาท แต่ถ้าคุณได้งานที่กรุงเทพ และได้จบจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง คุณก็อาจจะได้เงินเดือนมากเป็น

Fact 10: 40% ชองเด็กจบใหม่ระดับปริญญาตรีได้งานเสมียน พนักงานขายของ มีเพียง 24% ที่ได้ทำงานสายวิชาชีพ (เช่น นักบัญชี ทนาย) อีกราว 22% ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค สัดส่วนของเด็กจบใหม่ที่ได้เสมียนและพนักงานขายของเพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2548 ที่เคยอยู่ที่ 36%

ที่มา: การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2556, Thailand Future Analysis

ในความเป็นจริง ถ้าคุณมาจากบ้านที่มีรายได้มัธยฐานจริงๆ ฝันที่จะได้เรียนต่อมหาวิทยาลัยเป็นไปได้ยากหน่อย เพราะครอบครัวไทยส่วนใหญ่ไม่ได้มีเงินเก็บมากพอที่จะส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะสามารถกู้เงินจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือกยศ.ได้ก็ตาม ส่วนที่เงินเหลือก็หนีไม่พ้นต้องกู้จากญาติ หรือไม่ก็กู้นอกระบบ

แต่เพื่อให้เราสามารถจินตนาการต่อได้ สมมุติว่าเราทำบุญมาดี โชคดีมีป้าที่ร่ำรวยส่งเราเรียนต่อมหาลัยได้ และโชคดีต่อที่สองคือคะแนนแอดมิสชั่นสูงพอที่จะได้เรียนในมหาวิทยาลัยรัฐอันดับต้นๆ ซึ่งเข้ายากกว่าและค่าเทอมถูกกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนเกินครึ่ง ค่าเทอมมหาวิทยาลัยรัฐอันดับต้นๆ ตก 130,000 บาทตลอดหลักสูตร ในขณะที่มหาวิทยาลัยเอกชนอยู่ที่ 310,000 บาท(7)

จริงๆ การสอบแอดมิสชั่นอาจจะไม่ยากอย่างที่คิด (ถ้าไม่เลือกมาก) เพราะมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นมากจากเมื่อ 10 ปี ก่อน จาก 123 แห่งเป็น 177 แห่ง8 หลักสูตรก็มีหลากหลาย จำนวนที่นั่งก็มีมากจนล้น ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจว่าจะส่งผลต่อคุณภาพของเด็กจบมหาวิทยาลัย

เงินเดือนของเด็กจบใหม่ระดับปริญญาตรีที่ทำงานเป็นเสมียนกับทำงานสายวิชาชีพ ต่างกันราว 22-30% เด็กที่เพิ่งจบปริญญาตรีจะได้เงินเดือนเฉลี่ย ราว 14,500 บาท แต่ถ้าเราดูแยกตามอาชีพจะพบว่า เด็กที่ได้งานในสายอาชีพจะได้เงินเดือนมากกว่าเด็กที่จบไปเป็นเสมียนราว 2,500-4,500 บาทขึ้นอยู่กับว่าจะได้งานที่ไหน ส่วนต่างของ 2 อาชีพนี้จะกว้างถึง 30% ถ้าทำงานในกรุงเทพฯ ในขณะที่เด็กที่จบปวส. แล้วทำงานเป็นเสมียนจะมีรายได้เฉลี่ย 10,330 บาท

เด็กเสียโอกาส... ประเทศเสียอะไร

การที่การศึกษาไม่ได้ช่วยสร้างโอกาสที่ดีขึ้นอย่างที่หวัง ไม่ได้ส่งผลกระทบแต่กับตัวเด็กเอง แต่ยังทำให้เกิดผลกระทบต่อคนรอบข้าง และทำให้เสียโอกาสไป ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ นายจ้าง หรือภาครัฐเอง

พ่อแม่จำนวนไม่น้อยที่ฝากความหวังไว้กับลูก อยากจะเห็นลูกมีโอกาสดีๆ ในชีวิต จึงไม่ลังเลที่จะทุ่มเททรัพยากรเงินทอง เพื่อซื้อหาการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับลูก กว่า 1/4 ของพ่อแม่เคยกู้ยืมเงินมาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูก และสัดส่วนนี้เกินครึ่งสำหรับพ่อแม่ที่มีฐานะยากจน(10) พ่อแม่ที่พอมีฐานะยอมควักกระเป๋าเฉลี่ยรายละกว่า 1 แสนบาท เป็นค่าแป๊ะเจี๊ยะในการเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียง11 นอกจากเรียนในโรงเรียนแล้วก็ยังต้องมีค่าเรียนพิเศษ มูลค่าของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาที่สูงถึง 20,000 ล้านบาท(12) สะท้อนถึงกำลังจ่ายของพ่อแม่ที่ยอมควักกระเป๋าเพื่อให้ลูกได้การศึกษาดีๆ

ภาคเอกชนก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ผลสำรวจพบว่าปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะเป็นเรื่องที่เอกชนเป็นกังวลมากเป็นอันดับสองรองจากความไม่สงบทางการเมือง ความรุนแรงของการขาดแคลนแรงงานทำให้ปัจจุบันบริษัทต้องใช้เวลาในการรับสมัครงานนานขึ้น โดยเฉพาะตำแหน่งที่เป็นงานวิชาชีพ (professional) ต้องใช้เวลาถึง 10 สัปดาห์จากที่เคยใช้เวลาเพียง 7 สัปดาห์(13) ไม่น่าแปลกใจที่ธุรกิจจัดหางานกลายเป็นธุรกิจที่เติบโตเร็วมาก มีรายได้เพิ่มขึ้นราว 2.6 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา(14)

ภาครัฐก็ทุ่มเทงบประมาณมากมายให้กับการศึกษามาก กระทรวงศึกษาได้รับจัดสรรงบประมาณมากเป็นอันดับหนึ่ง ได้รับราว 5.2 แสนล้านบาท ในปี 2559 และคิดเป็น 2.6 เท่า จากเมื่อ 10 ปีก่อน(15) แต่น่าเสียดายที่ทรัพยากรที่เทลงไปไม่กลายมาเป็นผลลัพธ์ดังที่คาด

เราพูดเรื่องการปฏิรูปการศึกษากันมานาน ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา เมื่อประมาณ 17 ปีที่แล้ว เรื่องที่ได้ประกาศไว้ตามกฎหมายมีเรื่องที่ทำสำเร็จและไม่สำเร็จ แต่หลายเรื่องอย่างการเพิ่มคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กกลับไม่ดีขึ้นอย่างที่คนคาดหวัง สุดท้ายกลายมาเป็นค่าเสียโอกาสซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ

เพื่อให้เห็นการเสียโอกาสนี้ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เราจึงจะฉายภาพให้เห็นว่า ถ้าเมื่อ 17 ปีที่แล้วเราทำสำเร็จ ผลของมันจะเป็นอย่างไรต่อเศรษฐกิจในวันนี้ เราลองมาจินตนาการกันดูว่า ถ้าเราปฏิรูปสำเร็จนั้น เหมือนอย่างประเทศโปแลนด์ ที่ปฏิรูปการศึกษาในช่วงเดียวกันและประสบความสำเร็จ เป็นผลให้คะแนน PISA เพิ่มขึ้น 48 คะแนนจากปี 2000 (ในขณะที่ไทยคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3 คะแนน จากปี 2000)

โดยเราจะนำผลการศึกษาของ Hanushek และ Woessman (2010) มาใช้ ซึ่งทำการศึกษาความสัมพันธ์ของความรู้และทักษะของแรงงานที่เพิ่มขึ้นกับการเจริญเติบโตของจีดีพีในประเทศต่างๆ 50 ประเทศ โดยใช้คะแนน PISA ของประเทศนั้นๆ มาเป็นตัวแทนความรู้และทักษะของแรงงาน และเมื่อควบคุมตัวแปรอื่นๆ แล้วพบว่าถ้าเราสามารถเพิ่มความรู้และทักษะได้จนคะแนน PISA เพิ่มขึ้นมา 100 คะแนน จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของจีดีพีต่อหัวเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 2% จากนั้นจึงนำมาคำนวณในกรณีของไทย สมมุติให้การปฏิรูปเริ่มมีผลในปี 2000 และคะแนน PISA ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละปีจนครบเมื่อปีที่ 10 หลังจากปีที่ 10 เป็นต้นไปจะแรงงานรุ่นใหม่ที่มีความรู้ทักษะและทักษะเต็มที่จะทยอยเข้าสู่ตลาดแรงงาน และเพิ่มผลิตภาพให้ระบบเศรษฐกิจ และจะทำให้หน้าตาของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไป(16)

Fact 11: 1.5 ล้านล้านบาท คือต้นทุนค่าเสียโอกาสสะสม ที่เกิดจากการปฏิรูปการศึกษาที่ไม่สำเร็จ เมื่อปี 1999 คิดเป็น 11% ของจีดีพีปี 2016 อัตราการเติบโตจีดีพีที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2000-2016 อยู่ที่ 0.14% ซึ่งถ้าคิดเป็นระดับจีดีพีที่เพิ่มขึ้นคิดเป็นเฉลี่ยราว 1.1 แสนล้านบาทต่อปี

ผลในวันนี้อาจจะดูไม่มาก แต่ผลจะยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เพราะการปฏิรูปต้องใช้เวลา และอาจจะกินเวลาเป็น 10 ปี จากนั้นก็ต้องรอจนแรงงานที่มีทักษะดีขึ้นจะเพิ่มสัดส่วนในกำลังแรงงานจนเห็นผลชัดเจน ถ้าปฏิรูปการศึกษาสำเร็จในปี 1999 ในอีก 10 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตเฉลี่ยของจีดีพีที่เพิ่มขึ้น จากที่เพิ่ม 0.14% ระหว่างปี 2000-2016 จะเพิ่มเป็น 0.25% ระหว่างปี 2000-2026

ถ้าเรายังไม่เริ่มต้นทำอะไรในวันนี้ ยิ่งวันต้นทุนค่าเสียโอกาสก็ยิ่งจะเพิ่มสูงขึ้นมาก จีดีพีที่จะสูญเสียจะเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัว ดังนั้น การปรับปรุงคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งที่รอไม่ได้และต้องทำตอนนี้เพราะกว่าที่จะเห็นผลต้องใช้ระยะเวลา

Fact 12: ถ้าเราเริ่มปฏิรูปในวันนี้ จะต้องใช้เวลากว่า 30 ปี กว่าที่แรงงานชุดใหม่ที่มีทักษะดีขึ้นจะกินสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานประเทศ เพราะแม้เราจะเริ่มปฏิรูปการศึกษากันในวันนี้ ก็ต้องใช้เวลาอีก 10 ปี กว่าจะปฏิรูปสำเร็จ แต่ก็ต้องใช้เวลาอีก 20 ปีถึงจะเห็นผลสำเร็จ แรงงานที่มีทักษะดีขึ้นเต็มที่จะเริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งในปีแรกๆ แรงงานชุดใหม่ยังเป็นส่วนน้อย กว่าจะค่อยๆ เข้าไปแทนที่แรงงานชุดเก่าที่มีอยู่เดิม ซึ่งถึงเราเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ ก็ต้องรอถึงปี 2049 ที่แรงงานทักษะดีขึ้นจะกินสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงาน

ที่มา: UN Population Prospects 2015, Thailand Future analysis

ผลกระทบของปัญหาการศึกษา ถ้ามองระยะสั้นก็มีผลไม่มาก แต่ระยะยาวจะมีผลมหาศาล ซึ่งแม้เราจะเริ่มปฏิรูปการศึกษากันในวันนี้ ก็ต้องใช้เวลาอีก 10ปีกว่าจะปฏิรูปสำเร็จ แต่ก็ต้องใช้เวลาอีก 20 ปีถึงจะเห็นผลสำเร็จ คือ เห็นว่าสัดส่วนแรงงานที่มีทักษะดีจะเป็นครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด ซึ่งสะท้อนว่า เราต้องรีบและเร่งทำการปฏิรูปการศึกษาให้เร็ว เพราะกว่าจะเห็นผลนาน และวิธีนี้จะเป็นวิธีกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว ต่อเนื่อง ยั่งยืนที่สุด

ข่าวดีก็คือคุณมีโอกาสไม่น้อยที่จะได้เรียนตลอดรอดฝั่งจนจบ ม.ปลาย (หรือ ปวช.) เพราะเด็กไทยส่วนใหญ่เข้าถึงการศึกษาในสัดส่วนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ อาจจะเป็นเพราะนโยบายเรียนฟรีของรัฐก็เป็นได้ เพราะถึงจะไม่ฟรีเสียทีเดียว พ่อแม่ยังต้องควักกระเป๋าจ่ายเพิ่มอีก บางรายอาจจะต้องกู้มาบ้าง จากเด็ก 10 คนที่เรียนป. 1 พร้อมกับคุณ ก็จะมี 6 คนที่ยังเรียนอยู่จนจบ ม.6
กำลังโหลดความคิดเห็น