สถาบันอนาคตไทยศึกษาเสนอรายงาน “2 ปีค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท:สิ่งที่คาด สิ่งที่เกิดขึ้นจริง สิ่งที่ต้องทำต่อ”
10 ปีที่ผ่านมา นโยบายรัฐบาลมีแต่โครงการประเภท “ลด-แลก-แจก-แถม” ในทุกรัฐบาล แต่แทบไม่มีนโยบายที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อดูจากนโยบายเศรษฐกิจหลักในรอบ 10 ปี ก็จะพบว่าโครงการส่วนใหญ่เน้น “แจก” ไม่ว่าจะเป็นแจกเงินทุน แจกปัจจัยการผลิต ลดภาษี/ดอกเบี้ย แจกอุปกรณ์การเรียน ไปจนถึงแจกเงินให้ใช้ ส่วนที่ “ไม่แจก” ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
พอมีการใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทที่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับความสามารถในการแข่งขัน ยิ่งทำให้จำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงานโดยเร่งด่วน นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ นับเป็นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของโลก ทำให้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากทั้งฝ่ายที่หนุน และฝ่ายที่ค้าน ตั้งแต่นโยบายนี้ยังไม่ได้เริ่มบังคับใช้ โดยมีการคาดการณ์ว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในอย่างน้อย 9 เรื่อง ได้แก่ ค่าจ้างจะสูงขึ้นมาก ราคาสินค้าจะแพงขึ้นมาก จะมีคนตกงานเพิ่มขึ้น ลูกจ้างจะถูกตัดสวัสดิการอื่นๆ สถานประกอบการจะย้ายออกจากจังหวัดที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นมากไปอยู่ใกล้กับตลาดหรือระบบขนส่งมากขึ้น จะมีสถานประกอบการปิดกิจการเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลก็คาดว่าแรงงานระดับล่างจะได้รับประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงคาดว่าความสามารถในการแข่งขันที่คาดว่าจะลดลง
ปัจจุบันนี้ ได้ผ่านมา 2 ปีแล้ว นับตั้งแต่มีการใช้นโยบายนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากที่คนคาดไว้หรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังประกาศใช้นโยบายนี้ที่น่าสังเกตมีดังต่อไปนี้
ค่าจ้างเฉลี่ยทั่วประเทศปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 40% ส่วนเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างที่คาด
แต่แรงงานระดับล่างกลับได้ค่าจ้างเพิ่มน้อยกว่ากลุ่มอื่น 1 ใน 3 ของแรงงานภาคเอกชนยังคงได้ค่าจ้างต่ำกว่า 300 บาท ในขณะที่แรงงานเอกชนทั่วประเทศได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเกือบ 40% แรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะ อย่างยามรักษาความปลอดภัยกลับได้ค่าจ้างเพิ่ม 24% เท่านั้น ทั้งยังได้รับผลกระทบอื่นๆ เช่น ถูกตัดค่าตอบแทนอย่างโบนัส หรือโอทีลงเกือบ 20% มิหนำซ้ำ เงินเฟ้อของคนที่มีรายได้น้อยสูง 3.5% เพิ่มขึ้นเร็วกว่าเงินเฟ้อทั่วไปอีกด้วย
ความสามารถในการแข่งขันแย่ลงกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะประสิทธิภาพแรงงานโตไม่ทันค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนสถานประกอบการปิดกิจการเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2553 แสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้จึงต้องปิดกิจการเพิ่มขึ้นมาก
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า“สิ่งที่ต้องทำต่อมีอย่างน้อย 2 เรื่อง หนึ่งคือมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงาน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ประสิทธิภาพแรงงานไทยนั้นก็อยู่ในระดับต่ำ และไม่ค่อยโต เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2% เท่านั้น จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานอย่างน้อยถึง 5% เพื่อให้ความสามารถในการแข่งขันไม่ลดลงจากการที่ค่าจ้างเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับประเทศไทย สองคือต้องมีมาตรการดูแลสวัสดิการแรงงานระดับล่างที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นอย่างโครงการคุ้มครองทางสังคม เพราะเราเห็นแล้วว่าลำพังแค่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเดียวไม่เพียงพอจะช่วยเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ได้อย่างยั่งยืน” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวปิดท้าย
ผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรี่ส์งานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพแรงงานและความสามารถในการแข่งขัน โดยในรายงานชิ้นต่อไปจะอธิบายว่าทำไมประสิทธิภาพแรงงานถึงตกต่ำ และต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้
10 ปีที่ผ่านมา นโยบายรัฐบาลมีแต่โครงการประเภท “ลด-แลก-แจก-แถม” ในทุกรัฐบาล แต่แทบไม่มีนโยบายที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อดูจากนโยบายเศรษฐกิจหลักในรอบ 10 ปี ก็จะพบว่าโครงการส่วนใหญ่เน้น “แจก” ไม่ว่าจะเป็นแจกเงินทุน แจกปัจจัยการผลิต ลดภาษี/ดอกเบี้ย แจกอุปกรณ์การเรียน ไปจนถึงแจกเงินให้ใช้ ส่วนที่ “ไม่แจก” ก็ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
พอมีการใช้นโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทที่จะส่งผลกระทบโดยตรงกับความสามารถในการแข่งขัน ยิ่งทำให้จำเป็นต้องปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงานโดยเร่งด่วน นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ นับเป็นการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของโลก ทำให้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากทั้งฝ่ายที่หนุน และฝ่ายที่ค้าน ตั้งแต่นโยบายนี้ยังไม่ได้เริ่มบังคับใช้ โดยมีการคาดการณ์ว่าค่าจ้างขั้นต่ำจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในอย่างน้อย 9 เรื่อง ได้แก่ ค่าจ้างจะสูงขึ้นมาก ราคาสินค้าจะแพงขึ้นมาก จะมีคนตกงานเพิ่มขึ้น ลูกจ้างจะถูกตัดสวัสดิการอื่นๆ สถานประกอบการจะย้ายออกจากจังหวัดที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นมากไปอยู่ใกล้กับตลาดหรือระบบขนส่งมากขึ้น จะมีสถานประกอบการปิดกิจการเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลก็คาดว่าแรงงานระดับล่างจะได้รับประโยชน์จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงคาดว่าความสามารถในการแข่งขันที่คาดว่าจะลดลง
ปัจจุบันนี้ ได้ผ่านมา 2 ปีแล้ว นับตั้งแต่มีการใช้นโยบายนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากที่คนคาดไว้หรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นหลังประกาศใช้นโยบายนี้ที่น่าสังเกตมีดังต่อไปนี้
ค่าจ้างเฉลี่ยทั่วประเทศปรับตัวสูงขึ้นเกือบ 40% ส่วนเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากอย่างที่คาด
แต่แรงงานระดับล่างกลับได้ค่าจ้างเพิ่มน้อยกว่ากลุ่มอื่น 1 ใน 3 ของแรงงานภาคเอกชนยังคงได้ค่าจ้างต่ำกว่า 300 บาท ในขณะที่แรงงานเอกชนทั่วประเทศได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นเกือบ 40% แรงงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะ อย่างยามรักษาความปลอดภัยกลับได้ค่าจ้างเพิ่ม 24% เท่านั้น ทั้งยังได้รับผลกระทบอื่นๆ เช่น ถูกตัดค่าตอบแทนอย่างโบนัส หรือโอทีลงเกือบ 20% มิหนำซ้ำ เงินเฟ้อของคนที่มีรายได้น้อยสูง 3.5% เพิ่มขึ้นเร็วกว่าเงินเฟ้อทั่วไปอีกด้วย
ความสามารถในการแข่งขันแย่ลงกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะประสิทธิภาพแรงงานโตไม่ทันค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น ส่วนสถานประกอบการปิดกิจการเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2553 แสดงให้เห็นว่าสถานประกอบการที่แบกรับต้นทุนไม่ไหว ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้จึงต้องปิดกิจการเพิ่มขึ้นมาก
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า“สิ่งที่ต้องทำต่อมีอย่างน้อย 2 เรื่อง หนึ่งคือมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพแรงงาน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ประสิทธิภาพแรงงานไทยนั้นก็อยู่ในระดับต่ำ และไม่ค่อยโต เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2% เท่านั้น จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานอย่างน้อยถึง 5% เพื่อให้ความสามารถในการแข่งขันไม่ลดลงจากการที่ค่าจ้างเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับประเทศไทย สองคือต้องมีมาตรการดูแลสวัสดิการแรงงานระดับล่างที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นอย่างโครงการคุ้มครองทางสังคม เพราะเราเห็นแล้วว่าลำพังแค่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างเดียวไม่เพียงพอจะช่วยเพิ่มรายได้ให้คนกลุ่มนี้ได้อย่างยั่งยืน” ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวปิดท้าย
ผลการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของซีรี่ส์งานวิจัยเรื่องประสิทธิภาพแรงงานและความสามารถในการแข่งขัน โดยในรายงานชิ้นต่อไปจะอธิบายว่าทำไมประสิทธิภาพแรงงานถึงตกต่ำ และต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหานี้