xs
xsm
sm
md
lg

สถาบันอนาคตไทย เผย 7 สาเหตุแรงงานไทยประสิทธิภาพต่ำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


สถาบันอนาคตไทยศึกษาเผยผลงานวิจัยประสิทธิภาพแรงงาน และความสามารถในการแข่งขันตามหลายประเทศในภูมิภาค เหตุต้นทุนแรงงานต่อหน่วยเพิ่มขึ้นเร็ว  พร้อมเผย 7 สาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพแรงงานไทยต่ำ

    ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนาฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหารสถาบันอนาคตไทยศึกษา เปิดเผยผลงานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับประสิทธิภาพแรงงาน และความสามารถในการแข่งขันซึ่งพบว่า ความสามารถในการแข่งขันของไทยต่ำกว่าเมื่อ 10ปีก่อนเล็กน้อย แต่ยังตามหลังอีกหลายประเทศ เมื่อเทียบกันในภูมิภาค

   เนื่องจากต้นทุนแรงงานต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นเร็ว และแซงประเทศเพื่อนบ้านในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา  และหากพิจารณาที่ต้นทุนค่าจ้างต่อหน่วยของไทย จะพบว่าต้นทุนสูงขึ้นจากเมื่อ 10ปีที่แล้วราว 3%ขณะนี้ประเทศอื่นในภูมิภาคมีต้นทุนถูกลง เช่นอินโดนีเซียลดลง 12%หรือ ฟิลิปปินส์ลดลง 26%นอกจากนี้ประสิทธิภาพแรงงานของไทยที่เพิ่มขึ้นน้อยมากเพียงแค่ 2%ของปี เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เช่น อินโดนีเซีย 3%เวียดนาม 4%และจีน 10%

โดยปัญหาประสิทธิภาพแรงงานไทยนั้นซับซ้อนเกี่ยวพันกับโครงสร้างตลาดแรงงาน โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยพบว่ามีสาเหตุสำคัญๆ 7สาเหตุที่ทำให้ประสิทธิภาพแรงงานไทยต่ำ ได้แก่

1.ระดับการลงทุนของไทยในปัจจุบันนั้นต่ำ คิดเป็นแค่เพียง 84%ของระดับการลงทุนก่อนเกิดวิกฤตปี 40
2.กระบวนการที่เราผลินสินค้าไม่ค่อยยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์
3.แรงงานมีระดับการศึกษาเพิ่มขึ้น แต่ไม่ตอบโจทย์ตลาด
4.40%แรงงานไทยอยู่ในภาคเกษตร ซึ่งเป็นภาคที่มีประสิทธิภาพแรงงานต่ำสุด
5.แรงงานย้ายออกจากภาคเกษตร เข้าสู่ภาคบริการทีร่มีประสิทธิภาพแรงงานคิดเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น
6.กว่า 40%ของลูกจ้างเอกชนอยู่ในบริษัทที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 10คน
7.เพียง 1ใน 6ของกำลังแรงงานเท่านั้นที่เป็นมนุษย์เงินเดือนในภาคเอกชน

    และปัญหาหนึ่งที่มักเกิดขึ้นเมื่อแก้ปัญหาในระดับประเทศ คือการขาดการบูรณาการ ขาดความร่วมมือ การมองปัญหาเป็นไซโลหรือแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องๆ จึงควรเปลี่ยนแนวทางแก้ปัญหาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพื้นที่ให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน และการบูรณาการได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการรู้จักคุ้นเคยของแต่ละฝ่ายก็อยู่ในพื้นเดียวกัน และทุกฝ่ายน่าจะเห็นประโยชน์ร่วมกันที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนกว่า วิธีหนึ่งที่ทำได้คือการสร้างและพัฒนาคลัสเตอร์ใหม่ในภูมิภาค

    การสร้างและพัฒนาคลัสเตอร์ ใหม่ในภูมิภาคจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแรงงานทั้งในแง่ของการลงทุน ความร่วมมือระหว่างรัฐ (ท้องถิ่น) เอกชน และวิชาการในการผลิต/ฝึกอบรมบุคลากรและงานวิจัย สร้างนวัตกรรมที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยวิธีต่างๆ เช่น

   การเพิ่มการลงทุนจากภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น, สถานศึกษา ภาคเอกชนร่วมกันพัฒนา/ผลิตฝีมือแรงงานที่ตลาดต้องการ, มีหมาวิทยาลัยหรือศูนย์วิจัยที่ผลิตงานวิจัยมารองรับ, การพัฒนาคลัสเตอร์ในภูมิภาค เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต โดยเฉพาะสินค้าเกษตร โดยมีตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในหลายประเทศ อย่าง Rubber valley ในเมืองชิงเตา ประเทศจีนเป็นโครงการที่ช่วยกระตุ้นการลงทุนจากรัฐและเอกชนเป็นมูลค่ากว่า 5หมื่นล้านบาท

* * * คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SME ผู้จัดการออนไลน์" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด และร่วมสนุกกับกิจกรรมลุ้นรับของรางวัลมากมาย คลิกที่นี่เลย!! * * *


กำลังโหลดความคิดเห็น