ผลการศึกษาของบีเอสเอระบุประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้านความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้ง
การศึกษาจัดลำดับความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้งจากประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้า ในขณะที่จีน อินเดีย และเกาหลี พบการชะลอตัวในส่วนของนโยบายดังกล่าว
การศึกษาล่าสุดของ บีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประเมินความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้ง จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก พบว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 21 ของจำนวนทั้งหมด 24ประเทศที่เป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจไอที เทียบกับปี2556 ที่ประเทศไทยอยู่ที่ลำดับ 23 แสดงให้เห็นความก้าวหน้าด้านความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้งในประเทศไทย
การศึกษา BSA Global Cloud Computing Scorecard ประจำปี 2559 จัดอันดับความพร้อมของนโยบายเพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้งใน 24 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 80 ของตลาดไอทีทั่วโลก โดยแต่ละประเทศได้รับคะแนนที่วัดจากจุดแข็งและจุดอ่อนของนโยบายหลัก 7 ด้าน
คลาวด์ คอมพิวติ้งช่วยให้ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เพิ่งเปิดตัว ผู้บริโภค รัฐบาล หรือธุรกิจขนาดย่อม เข้าถึงเทคโนโลยีได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในราคาประหยัด ในทางกลับกันเทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้งคือ การเปิดประตูสู่การเชื่อมต่อถึงกันอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
การศึกษาปีนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงสภาวะแวดล้อมเชิงนโยบายมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดีในเกือบทุกประเทศ นับจากมีการเผยแพร่ผลการศึกษาของบีเอสเอในปี 2556 แต่พบว่าช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับสูง กลาง และต่ำ กลับกว้างขึ้น โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับกลางเกิดการชะลอตัว ในขณะที่กลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับสูงยังคงปรับปรุงนโยบายอย่างต่อเนื่อง
"เป็นสัญญานที่ดีที่ประเทศไทยได้ไต่ลำดับสูงขึ้นมาจากเดิม ตั้งแต่ ปี 2556 ประเทศไทย มีการปรับปรุงกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา และโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ถึงกระนั้น ยังมีเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จ และประเทศไทยควรดำเนินการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวอันเป็นกฎหมายที่สำคัญ และควรหลีกเลี่ยงหรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การจำกัดเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต (Internet Censorship) และการออกข้อบังคับด้านเทคโนโลยี เป็นต้น" นายจาเร็ด แร็คแลนด์ ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านนโยบาย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของบีเอสเอ กล่าว
"ทุกประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องเข้าใจว่านโยบายของตนมีผลกระทบต่อตลาดเทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในระดับโลก รายงานฉบับนี้คือการร้องขอให้รัฐบาลของทุกประเทศทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงและได้รับประโยชน์ของเทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่างทั่วถึงกัน"
ในส่วนภาพรวมของการจัดลำดับ ประเทศที่มีการพัฒนามากที่สุดด้านความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้ง ได้แก่ แอฟริกาใต้ (ขยับขึ้น 6 อันดับ) และแคนาดา (ขยับขึ้น 5 อันดับ) ประเทศใน 5 ลำดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แคนาดา และฝรั่งเศส ที่น่าจับตา คือ ประเทศไทย บราซิล และเวียดนาม ถึงแม้จะค่อยๆ ไต่ลำดับขึ้นมา แต่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ และเข้าใกล้กลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับกลางเข้ามาเรื่อยๆ ตลาดไอทีหลักๆ ของโลกยังคงรักษาเสถียรภาพในการขยับลำดับขึ้น
ส่วนแนวโน้มด้านลบก็ปรากฎให้เห็นด้วยเช่นกัน เช่น มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี หรือการรวมนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้งให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะที่ รัสเซียและจีนได้กำหนดนโยบายใหม่ที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยจำกัดการเคลื่อนย้ายข้อมูลข้ามพรมแดนโดยผู้ให้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง
การศึกษาจัดลำดับความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้งจากประเทศต่างๆ พบว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้า ในขณะที่จีน อินเดีย และเกาหลี พบการชะลอตัวในส่วนของนโยบายดังกล่าว
การศึกษาล่าสุดของ บีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประเมินความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้ง จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก พบว่าประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 21 ของจำนวนทั้งหมด 24ประเทศที่เป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจไอที เทียบกับปี2556 ที่ประเทศไทยอยู่ที่ลำดับ 23 แสดงให้เห็นความก้าวหน้าด้านความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้งในประเทศไทย
การศึกษา BSA Global Cloud Computing Scorecard ประจำปี 2559 จัดอันดับความพร้อมของนโยบายเพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้งใน 24 ประเทศ คิดเป็นร้อยละ 80 ของตลาดไอทีทั่วโลก โดยแต่ละประเทศได้รับคะแนนที่วัดจากจุดแข็งและจุดอ่อนของนโยบายหลัก 7 ด้าน
คลาวด์ คอมพิวติ้งช่วยให้ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เพิ่งเปิดตัว ผู้บริโภค รัฐบาล หรือธุรกิจขนาดย่อม เข้าถึงเทคโนโลยีได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในราคาประหยัด ในทางกลับกันเทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้งคือ การเปิดประตูสู่การเชื่อมต่อถึงกันอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
การศึกษาปีนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงสภาวะแวดล้อมเชิงนโยบายมีความก้าวหน้าเป็นอย่างดีในเกือบทุกประเทศ นับจากมีการเผยแพร่ผลการศึกษาของบีเอสเอในปี 2556 แต่พบว่าช่องว่างระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับสูง กลาง และต่ำ กลับกว้างขึ้น โดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับกลางเกิดการชะลอตัว ในขณะที่กลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับสูงยังคงปรับปรุงนโยบายอย่างต่อเนื่อง
"เป็นสัญญานที่ดีที่ประเทศไทยได้ไต่ลำดับสูงขึ้นมาจากเดิม ตั้งแต่ ปี 2556 ประเทศไทย มีการปรับปรุงกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา และโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ถึงกระนั้น ยังมีเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อให้แล้วเสร็จ และประเทศไทยควรดำเนินการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวอันเป็นกฎหมายที่สำคัญ และควรหลีกเลี่ยงหรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การจำกัดเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต (Internet Censorship) และการออกข้อบังคับด้านเทคโนโลยี เป็นต้น" นายจาเร็ด แร็คแลนด์ ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านนโยบาย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ของบีเอสเอ กล่าว
"ทุกประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องเข้าใจว่านโยบายของตนมีผลกระทบต่อตลาดเทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้งในระดับโลก รายงานฉบับนี้คือการร้องขอให้รัฐบาลของทุกประเทศทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงและได้รับประโยชน์ของเทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่างทั่วถึงกัน"
ในส่วนภาพรวมของการจัดลำดับ ประเทศที่มีการพัฒนามากที่สุดด้านความพร้อมของนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้ง ได้แก่ แอฟริกาใต้ (ขยับขึ้น 6 อันดับ) และแคนาดา (ขยับขึ้น 5 อันดับ) ประเทศใน 5 ลำดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แคนาดา และฝรั่งเศส ที่น่าจับตา คือ ประเทศไทย บราซิล และเวียดนาม ถึงแม้จะค่อยๆ ไต่ลำดับขึ้นมา แต่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ และเข้าใกล้กลุ่มประเทศที่พัฒนาในระดับกลางเข้ามาเรื่อยๆ ตลาดไอทีหลักๆ ของโลกยังคงรักษาเสถียรภาพในการขยับลำดับขึ้น
ส่วนแนวโน้มด้านลบก็ปรากฎให้เห็นด้วยเช่นกัน เช่น มีเพียงไม่กี่ประเทศที่ส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี หรือการรวมนโยบายคลาวด์ คอมพิวติ้งให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในขณะที่ รัสเซียและจีนได้กำหนดนโยบายใหม่ที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของเทคโนโลยีในรูปแบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง โดยจำกัดการเคลื่อนย้ายข้อมูลข้ามพรมแดนโดยผู้ให้บริการคลาวด์ คอมพิวติ้ง