ข้อกังวลผลกระทบในประเด็นการเข้าถึงยา ใน ร่าง ข้อบททรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งในรอบที่ 12 ของการเจรจาการค้า สำหรับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่กำลังเจรจาในเมืองเพิร์ท ออสเตรเลีย
ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership, RCEP) เริ่มการเจรจาตั้งแต่ พ.ศ.2555 และคาดว่า จะมีข้อสรุปในปีนี้ ครอบคลุม 16 ประเทศ นั่นคือ 10 ประเทศอาเซียน ร่วมกับออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี นิวซีแลนด์ และอินเดีย
หากทั้ง 16 ประเทศมีข้อสรุปร่วมกัน และร่วมลงนามใน RCEP จะเป็นกลุ่มค้าที่ใหญ่ที่สุด ครอบคลุมหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเกษตร บริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
ประเด็นกังวลที่จะส่งผลต่อการขยายระเวลาผูกขาดยา และมีการเสนอในร่าง ข้อบททรัพย์สินทางปัญญา คือ การคุ้มครองข้อมูลในลักษณะที่ให้สิทธิผูกขาดแก่เจ้าของข้อมูล หรือ data exclusivity โดยการไม่ให้อ้างอิง ทั้งทางตร งและทางอ้อมในข้อมูลของยาใหม่จนกว่าจะพ้นระยะเวลาที่กําหนด 5 ปี ไม่สามารถเสนอเอกสารเพื่อพิจารณาได้ หรืออาจกําหนดการผูกขาดทางการตลาดของยาใหม่ โดยไม่ให้ยาสามัญ หรือยาที่ต้องอ้างอิงยาตัวแรกเข้าสู่ตลาดจนกว่าจะพ้นจากระยะเวลาที่กําหนด แต่สามารถเสนอเอกสารเพื่อพิจารณาได้
ประเด็นการคุ้มครองข้อมูลในลักษณะที่ให้สิทธิผูกขาดแก่เจ้าของข้อมูลดังกล่าว ไม่มีการกำหนดไว้ในข้อตกลงองค์การค้าโลก หากกำหนดให้มีการคุ้มครองข้อมูลในลักษณะที่ให้สิทธิผูกขาดแก่เจ้าของข้อมูลใน RCEP จะส่งผลให้การผลิตยาสามัญออกสู่ตลาดช้าลง เนื่องจากบริษัทยาสามัญต้องเริ่มกระบวนการทดลองยาใหม่ทั้งหมด ทั้งที่มีการพิสูจน์เรื่องความปลอดภัยตัวยาสำคัญแล้ว จึงถือเป็นอุปสรรคสำคัญของการมียาสามัญมาทดแทนยาที่หมดสิทธิบัตร เพราะต้องมีการลงทุนในการทดลองสูงมาก อุตสาหกรรมยาผู้ผลิตของไทยจะแข่งขันไม่ได้เพราะไม่สามารถขึ้นทะเบียนยาสามัญได้จนกว่าจะพ้นระยะเวลาผูกขาดข้อมูล และผูกขาดตลาดในประเทศซึ่งจะใช้เวลานานกว่าเดิม 5 ปี
ยา คือ หนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นของชีวิต ถ้ามีราคาแพงมาก ระบบประกันสุขภาพก็จะคุ้มครองไม่ไหว ประชาชนก็ไม่อยากจ่ายภาษีเพิ่ม ทิศทางการพัฒนาที่ถูกต้องคือ ต้องลดการผูกขาด ดังนั้น RCEP ต้องไม่เพิ่มการผูกขาดด้านยา
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่