ประเมิน พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ บังคับใช้จริงต้นกรกฎาคมนี้ เป้าหลักเพิ่มหลักประกันใหม่ให้ธุรกิจ SMEsไม่ต้องส่งมอบ ใช้เป็นเครื่องมือขอสินเชื่อแบงก์ได้ อดีตนายกสมาคมเอสเอ็มอีไทยชี้รอคอยกฎหมายฉบับนี้มา 17 ปี หวั่นใจแบงก์ปล่อยสินเชื่อหรือไม่ ขณะที่เหลือเวลาอีก 2 เดือน หลายอย่างยังไม่พร้อม “ผู้บังคับหลักประกัน” หาตัวยาก ด้านสถาบันการเงินยอมรับประเมินมูลค่ากิจการ-ทรัพย์สินทางปัญหาลำบาก หากไม่เคลียร์อาจไม่ปล่อย
1 กรกฎาคม 2559 จะเป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ นับเป็นการที่ภาครัฐได้เพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการสามารถนำเอาทรัพย์สินที่มีมูลค่าที่ใช้ในการประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ได้แก่ 1. กิจการ 2. สิทธิเรียกร้อง 3. สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้า คงคลัง หรือวัตถุดิบที่ผลิตสินค้า 4. อสังหาริมทรัพย์ในกรณีผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และ 5. ทรัพย์สินทางปัญญา
เป้าหมายหลักคือการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ของไทยกว่า 2 ล้านราย ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ SMEs และเศรษฐกิจของประเทศ
จากเดิมที่หลักทรัพย์ที่ใช้ในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินไม่พ้นอสังหาริมทรัพย์ จำพวกที่ดิน หรืออาคารต่างๆ ดังนั้นการเพิ่มหลักประกันเพื่อใช้ในการชำระหนี้มากขึ้นย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากกว่าเดิม
ทั้งนี้แรงสนับสนุนธุรกิจ SMEs ล้วนแล้วมาจากผู้ผลักดันหลักอย่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ที่ปลุกกระแสนี้มาตั้งแต่เมื่อครั้งที่รับหน้าที่ขุนพลด้านเศรษฐกิจในยุคพรรคไทยรักไทย ด้วยแนวคิดที่ธุรกิจเหล่านี้จะเป็นฐานสำคัญในการก้าวสู่ธุรกิจที่เติบใหญ่ขึ้นได้ในอนาคตและยังเป็นการสร้างงานให้กับผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ
ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้นด้วยพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ และเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลพยายามช่วยผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยจะเริ่มดำเนินการได้อย่างเป็นทางการวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 นี้
ขานรับเจตนาดี
นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด อดีตนายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์มาก เพราะรอคอยมากว่า 17 ปี แต่ในทางปฏิบัติแล้วขึ้นอยู่กับทางสถาบันการเงินว่าจะปล่อยสินเชื่อหรือไม่ เนื่องจากสินค้าคงคลังนั้นเจ้าของกิจการก็ต้องใช้เงินสั่งซื้อเข้ามา หากนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้ ก็จะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ SMEs
ขณะที่นายไพศาล ว่องไวกลยุทธ์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวว่า ปัญหาที่ผ่านมาของผู้ประกอบการ SMEs คือการหาเงินทุนไม่ได้ ไม่มีองค์ความรู้เนื่องจากเป็นกิจการในครอบครัว เป็นระบบเครือญาติ จึงมีปัญหาในเรื่องเอกสารหลักฐานในการขอสินเชื่อ จึงไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำได้
ส่วนใหญ่จะพึ่งพาหนี้นอกระบบ บางรายต้องจ่ายดอกเบี้ย 2.5% ต่อเดือน ซึ่งความหวังที่จะได้ดอกเบี้ย 4% ตามที่รัฐเสนอความช่วยเหลือนั้นจึงเข้าถึงได้ยาก เนื่องจากสถาบันการเงินจะพิจารณาจากประวัติทางการเงินเป็นสำคัญ
“ทางที่ดีอยากแนะนำให้ผู้ประกอบการ SMEs ยอมสละเวลาเพื่อเข้ารับการอบรม เพราะนอกจากจะได้องค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ในการประกอบกิจการแล้ว ยังจะได้หลักการและพันธมิตรอีกมากมาย”
หลายอย่างยังไม่พร้อม
อย่างไรก็ตามระยะเวลาอีก 2 เดือนเศษ ต้นเรื่องหลักอย่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เตรียมร่างกฎหมายลูก 16 ฉบับที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการฝึกอบรมและให้การรับรองบุคคลที่จะมารับหน้าที่เป็นผู้บังคับหลักประกัน ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยผู้บังคับหลักประกันต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ หรือการประเมินราคาทรัพย์สิน และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานทะเบียน
หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน ประกอบด้วย กรณีหลักประกันเป็นทรัพย์สิน ผู้รับหลักประกัน(สถาบันการเงิน) จะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ หรือโดยจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนาเงินมาชำระหนี้
กรณีหลักประกันเป็นกิจการ ให้ผู้รับประกันมีหนังสือแจ้งไปยังผู้บังคับหลักประกัน เมื่อผู้บังคับหลักประกันมีคำวินิจฉัยให้บังคับหลักประกัน ให้อำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการของผู้ให้หลักประกันสิ้นสุดลง ให้ผู้บังคับหลักประกันมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการที่เป็นหลักประกัน จนกว่าจะจำหน่ายหลักประกันนั้นได้
“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ใหม่และเร็วเกินไปที่จะเดินหน้าทำได้ทันที แต่นับว่าเป็นก้าวแรกที่ดีที่จะช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เรายังไม่แน่ใจว่าในวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วทุกอย่างจะทำได้ทันที เพราะตอนนี้ทุกอย่างดูเหมือนยังไม่มีความพร้อม อย่างการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจขึ้นในกรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้นคงทำได้เร็ว เพราะถือว่าเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องนี้” นักวิชาการด้าน SMEs กล่าว
แต่เรื่องกฎหมายลูก กฎกระทรวงต่างๆ เพื่อความครอบคลุมตาม พ.ร.บ.นี้ ยังต้องใช้เวลาและผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอนและหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ในเรื่องของผู้บังคับหลักประกันคงไม่สามารถทำได้ทันอย่างแน่นอน เพราะต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์และความรอบรู้ในหลายด้าน
ประการต่อมาต้องดูเรื่องความซ้ำซ้อนของกฎหมายที่มีอยู่เดิมในเรื่องของหลักประกัน โดยต้องมีความชัดเจนในเรื่องของคำจำกัดความของหลักประกันใหม่ที่จะเพิ่มเข้าไป อย่างคำว่า “กิจการ” นั้น ครอบคลุมแค่ไหนอย่างไร เนื่องจากผู้ประกอบการหลายรายยังกังวลว่าเมื่อนำเอากิจการไปเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อแล้ว หากไม่สามารถชำระหนี้ได้จะต้องถูกยึดกิจการทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งหลายคนยังมีความกังวลอยู่เพราะถือว่าเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูล
ขณะเดียวกันหลักประกันในกลุ่มทรัพย์สินทางปัญญานั้น อย่างเรื่องตราสินค้า ตรงนี้จะประเมินเป็นมูลค่าอย่างไร จะให้แบงก์เป็นผู้ประเมินหรือต้องมีหน่วยงานอื่นที่ไม่มีส่วนได้เสียมาเป็นผู้ประเมิน และราคาที่ประเมินนั้นจะเป็นที่พอใจทั้งฝ่ายเจ้าของและฝ่ายสถาบันการเงินหรือไม่
ปัญหาอยู่ที่การประเมินราคา
แหล่งข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า หากกฎหมายมีผลบังคับใช้และเป็นนโยบายของรัฐบาล ทางธนาคารก็ต้องปฏิบัติตามนโยบาย แต่หากถามถึงความพร้อมตอนนี้ได้มีการทยอยส่งพนักงานสินเชื่อของธนาคารไปอบรมเรื่องหลักเกณฑ์ในการประเมินหลักประกันใหม่ที่จะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งยังไม่ครบทุกคน
ฝ่ายสินเชื่อไม่ว่าจะเป็นของแบงก์รัฐหรือแบงก์พาณิชย์ก็คุ้นชินอยู่กับหลักประกันเดิม อย่างที่ดินหรือตัวอาคาร เพราะเป็นวิธีปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน จับต้องได้ ทรัพย์นั้นไม่เคลื่อนที่ มีเอกสารจำนองทำให้ธนาคารมั่นใจ มีราคาประเมินที่แน่นอนทั้งราคากลางและราคาตลาด
แต่หลักประกันรูปแบบใหม่ที่มีทั้งตัวกิจการ หรือทรัพย์สินทางปัญญา หรือสินค้าคงคลัง ตรงนี้ไม่มีการส่งมอบ ที่สำคัญคือปัญหาเรื่องการประเมินมูลค่า ที่ยังไม่มีรูปแบบหรือมาตรฐานที่ชัดเจนออกมา ตรงนี้อาจทำให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าของกิจการกับสถาบันการเงินได้ หากราคาของการประเมินนั้นไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.ให้อำนาจกับผู้บังคับหลักประกันในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระจากหลักประกันประเภทกิจการหรือกลุ่มทรัพย์สินทางปัญหา สถาบันการเงินไม่สามารถเข้าไปยึดกิจการได้ ต้องรอให้ผู้บังคับหลักประกันบริหารต่อจนกว่าจะจำหน่ายหลักประกันนั้นได้
ในทางปฏิบัติแล้วสถาบันการเงินคงไม่มีความชำนาญพอที่จะบริหารกิจการแทนลูกหนี้ ซึ่งต้องมองไปถึงผู้บังคับหลักประกันด้วยว่าจะบริหารกิจการต่อไปจนสามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้หรือไม่ นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อต้องคิดหนัก
ตัดปัญหาไม่ปล่อยสินเชื่อ
สำหรับแบงก์รัฐการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลถือเป็นหน้าที่ที่ต้องตอบสนอง แต่สิ่งที่ผู้บริหารและฝ่ายสินเชื่อกังวลนั่นคือการเปลี่ยนแปลงในนโยบาย หากรัฐบาลใหม่เข้ามาแล้วไม่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลก่อน ผู้ที่เดือดร้อนก็คือผู้บริหารและพนักงานแบงก์รัฐ ตรงนี้ควรมีหลักประกันให้กับผู้ที่ทำงานในส่วนนี้ด้วย
การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทุกแห่ง หากเกิดหนี้เสียขึ้นมาพนักงานสินเชื่อก็ต้องรับผิดชอบ ยิ่งเป็นแบงก์รัฐโอกาสที่จะถูกโจมตีมีมากกว่าแบงก์พาณิชย์ นั่นจะกระทบมาถึงสวัสดิภาพในการทำงานของพนักงานตามมา
สุดท้ายแล้วหากทุกอย่างยังไม่ชัดเจน ทุกแบงก์อาจต้องหาวิธีในการป้องกันตัวเองนั่นคือไม่ปล่อยสินเชื่อ หรือปล่อยสินเชื่อเฉพาะส่วนที่มีหลักประกัน ส่วนหลักประกันใหม่อาจปล่อยสินเชื่อให้น้อย
แม้ว่าจะเป็นเจตนาที่ดีของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือหรือเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ SMEs แต่ในทางปฏิบัติแล้ว SMEs มีทั้งส่วนที่ตั้งใจทำกิจการอย่างจริงจังเน้นที่การช่วยเหลือตัวเองก่อนเป็นหลัก อีกส่วนหนึ่งรอโครงการของรัฐบาลมาช่วยแก้ปัญหา
SMEs รายเล็กที่ทำกิจการอยู่ในเวลานี้ เงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมหนี้นอกระบบมาหมุนเวียนในกิจการ เมื่อมีโครงการของรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนย่อมต้องใช้สิทธิตรงนี้ และเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ ส่วนใหญ่แล้วเลือกที่จะชำระหนี้กับกลุ่มหนี้นอกระบบก่อนเป็นลำดับแรก ส่วนหนี้ที่กู้ยืมมาจากธนาคารถูกวางให้เป็นลำดับสุดท้าย เพราะวิธีการทวงหนี้ของสถาบันการเงินมีข้อจำกัดมากมาย
สิ่งที่ตามมานั่นคือหนี้เสียจากการปล่อยสินเชื่อย่อมสูงขึ้น
เชื่อว่าทุกแบงก์คงไม่มีใครอยากปฏิเสธการปล่อยกู้ เพราะนี่คือรายได้ของแบงก์ส่วนหนึ่ง หากผู้ประกอบการทุกรายตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ สินเชื่อที่ได้ไปก็จะถูกนำไปใช้ในกิจการเพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้
ดังนั้นปัญหาความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์และการประเมินมูลค่าหลักประกันใหม่ อาจทำให้แบงก์ต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจ SMEs
โอดรายย่อยมักเข้าไม่ถึง
ที่ผ่านมารัฐบาลนี้ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ไปแล้ว 1.5 แสนล้านบาท รอบแรก 1 แสนล้านบาท รอบที่ 2 อีก 5 หมื่นล้านบาท และยังมีสินเชื่อ SMEs ในภาคเกษตรอีกส่วนหนึ่ง แต่ดูเหมือนสินเชื่อก้อนนี้ยังไม่เข้าถึง SMEs ทุกราย
“ดอกเบี้ย 4% คนที่เข้าถึงจริงๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกลุ่มที่มีประวัติทางการเงินดี และธนาคารพาณิชย์ที่ได้ซอฟต์โลนจากรัฐบาลมาที่ต้นทุน 0.1% นั้นมักเลือกปล่อยให้กับรายใหญ่ๆ เพราะมั่นใจว่าหนี้ไม่เสีย ได้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 3% เศษ ดังนั้นรายย่อยๆ จึงไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ที่ดอกเบี้ย 4% ได้” ผู้ประกอบการ SMEs รายหนึ่งกล่าว
ที่จริงแล้วเงินกู้ของ SMEs จากสถาบันการเงินจะตกอยู่ที่ประมาณ 8-9% เรื่องเงินกู้ดอกเบี้ย 4% นั้นเป็นเรื่องของเงินหมุนเวียนในกิจการที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ส่วนโฆษณาตามสถาบันการเงินต่างๆ ว่าให้กี่เท่านั้น คงเป็นเพียงบางรายเท่านั้นที่จะได้ เพราะ SMEs รายเล็กๆ ติดปัญหาหลายประการโดยเฉพาะเรื่องของเอกสารหลักฐานที่ไม่เป็นระบบเพียงพอต่อการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ
ที่สำคัญในตอนนี้เศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดี กำลังซื้อของคนหายไปมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ แม้ว่าจะได้สินเชื่อมาต่อลมหายใจให้กับกิจการ แต่หากกำลังซื้อไม่มี สินค้าที่ผลิตออกมาย่อมขายได้ลำบาก และจะกระทบไปถึงความอยู่รอดของกิจการ SMEs นั่นหมายถึงแรงงานในท้องถิ่นก็อาจจะอยู่ในสถานะที่ลำบากเสี่ยงต่อการตกงาน
1 กรกฎาคม 2559 จะเป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ นับเป็นการที่ภาครัฐได้เพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการสามารถนำเอาทรัพย์สินที่มีมูลค่าที่ใช้ในการประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน ได้แก่ 1. กิจการ 2. สิทธิเรียกร้อง 3. สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้า คงคลัง หรือวัตถุดิบที่ผลิตสินค้า 4. อสังหาริมทรัพย์ในกรณีผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และ 5. ทรัพย์สินทางปัญญา
เป้าหมายหลักคือการช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ของไทยกว่า 2 ล้านราย ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ธุรกิจ SMEs และเศรษฐกิจของประเทศ
จากเดิมที่หลักทรัพย์ที่ใช้ในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินไม่พ้นอสังหาริมทรัพย์ จำพวกที่ดิน หรืออาคารต่างๆ ดังนั้นการเพิ่มหลักประกันเพื่อใช้ในการชำระหนี้มากขึ้นย่อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากกว่าเดิม
ทั้งนี้แรงสนับสนุนธุรกิจ SMEs ล้วนแล้วมาจากผู้ผลักดันหลักอย่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ที่ปลุกกระแสนี้มาตั้งแต่เมื่อครั้งที่รับหน้าที่ขุนพลด้านเศรษฐกิจในยุคพรรคไทยรักไทย ด้วยแนวคิดที่ธุรกิจเหล่านี้จะเป็นฐานสำคัญในการก้าวสู่ธุรกิจที่เติบใหญ่ขึ้นได้ในอนาคตและยังเป็นการสร้างงานให้กับผู้คนในท้องถิ่นต่างๆ
ถือว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้นด้วยพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ และเป็นเรื่องดีที่รัฐบาลพยายามช่วยผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยจะเริ่มดำเนินการได้อย่างเป็นทางการวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 นี้
ขานรับเจตนาดี
นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด อดีตนายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์มาก เพราะรอคอยมากว่า 17 ปี แต่ในทางปฏิบัติแล้วขึ้นอยู่กับทางสถาบันการเงินว่าจะปล่อยสินเชื่อหรือไม่ เนื่องจากสินค้าคงคลังนั้นเจ้าของกิจการก็ต้องใช้เงินสั่งซื้อเข้ามา หากนำไปใช้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อได้ ก็จะเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ SMEs
ขณะที่นายไพศาล ว่องไวกลยุทธ์ อุปนายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย กล่าวว่า ปัญหาที่ผ่านมาของผู้ประกอบการ SMEs คือการหาเงินทุนไม่ได้ ไม่มีองค์ความรู้เนื่องจากเป็นกิจการในครอบครัว เป็นระบบเครือญาติ จึงมีปัญหาในเรื่องเอกสารหลักฐานในการขอสินเชื่อ จึงไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำได้
ส่วนใหญ่จะพึ่งพาหนี้นอกระบบ บางรายต้องจ่ายดอกเบี้ย 2.5% ต่อเดือน ซึ่งความหวังที่จะได้ดอกเบี้ย 4% ตามที่รัฐเสนอความช่วยเหลือนั้นจึงเข้าถึงได้ยาก เนื่องจากสถาบันการเงินจะพิจารณาจากประวัติทางการเงินเป็นสำคัญ
“ทางที่ดีอยากแนะนำให้ผู้ประกอบการ SMEs ยอมสละเวลาเพื่อเข้ารับการอบรม เพราะนอกจากจะได้องค์ความรู้ที่จะนำไปใช้ในการประกอบกิจการแล้ว ยังจะได้หลักการและพันธมิตรอีกมากมาย”
หลายอย่างยังไม่พร้อม
อย่างไรก็ตามระยะเวลาอีก 2 เดือนเศษ ต้นเรื่องหลักอย่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เตรียมร่างกฎหมายลูก 16 ฉบับที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการฝึกอบรมและให้การรับรองบุคคลที่จะมารับหน้าที่เป็นผู้บังคับหลักประกัน ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยผู้บังคับหลักประกันต้องเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านกฎหมาย บัญชี เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ หรือการประเมินราคาทรัพย์สิน และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานทะเบียน
หน้าที่ของผู้บังคับหลักประกัน ประกอบด้วย กรณีหลักประกันเป็นทรัพย์สิน ผู้รับหลักประกัน(สถาบันการเงิน) จะบังคับหลักประกันโดยให้ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหลุดเป็นสิทธิ หรือโดยจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันเพื่อนาเงินมาชำระหนี้
กรณีหลักประกันเป็นกิจการ ให้ผู้รับประกันมีหนังสือแจ้งไปยังผู้บังคับหลักประกัน เมื่อผู้บังคับหลักประกันมีคำวินิจฉัยให้บังคับหลักประกัน ให้อำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการของผู้ให้หลักประกันสิ้นสุดลง ให้ผู้บังคับหลักประกันมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารกิจการที่เป็นหลักประกัน จนกว่าจะจำหน่ายหลักประกันนั้นได้
“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่ใหม่และเร็วเกินไปที่จะเดินหน้าทำได้ทันที แต่นับว่าเป็นก้าวแรกที่ดีที่จะช่วยเหลือธุรกิจ SMEs เรายังไม่แน่ใจว่าในวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วทุกอย่างจะทำได้ทันที เพราะตอนนี้ทุกอย่างดูเหมือนยังไม่มีความพร้อม อย่างการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจขึ้นในกรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้นคงทำได้เร็ว เพราะถือว่าเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องนี้” นักวิชาการด้าน SMEs กล่าว
แต่เรื่องกฎหมายลูก กฎกระทรวงต่างๆ เพื่อความครอบคลุมตาม พ.ร.บ.นี้ ยังต้องใช้เวลาและผ่านกระบวนการอีกหลายขั้นตอนและหลายหน่วยงาน นอกจากนี้ในเรื่องของผู้บังคับหลักประกันคงไม่สามารถทำได้ทันอย่างแน่นอน เพราะต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์และความรอบรู้ในหลายด้าน
ประการต่อมาต้องดูเรื่องความซ้ำซ้อนของกฎหมายที่มีอยู่เดิมในเรื่องของหลักประกัน โดยต้องมีความชัดเจนในเรื่องของคำจำกัดความของหลักประกันใหม่ที่จะเพิ่มเข้าไป อย่างคำว่า “กิจการ” นั้น ครอบคลุมแค่ไหนอย่างไร เนื่องจากผู้ประกอบการหลายรายยังกังวลว่าเมื่อนำเอากิจการไปเป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อแล้ว หากไม่สามารถชำระหนี้ได้จะต้องถูกยึดกิจการทั้งหมดหรือไม่ ซึ่งหลายคนยังมีความกังวลอยู่เพราะถือว่าเป็นสมบัติของวงศ์ตระกูล
ขณะเดียวกันหลักประกันในกลุ่มทรัพย์สินทางปัญญานั้น อย่างเรื่องตราสินค้า ตรงนี้จะประเมินเป็นมูลค่าอย่างไร จะให้แบงก์เป็นผู้ประเมินหรือต้องมีหน่วยงานอื่นที่ไม่มีส่วนได้เสียมาเป็นผู้ประเมิน และราคาที่ประเมินนั้นจะเป็นที่พอใจทั้งฝ่ายเจ้าของและฝ่ายสถาบันการเงินหรือไม่
ปัญหาอยู่ที่การประเมินราคา
แหล่งข่าวจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ยอมรับว่า หากกฎหมายมีผลบังคับใช้และเป็นนโยบายของรัฐบาล ทางธนาคารก็ต้องปฏิบัติตามนโยบาย แต่หากถามถึงความพร้อมตอนนี้ได้มีการทยอยส่งพนักงานสินเชื่อของธนาคารไปอบรมเรื่องหลักเกณฑ์ในการประเมินหลักประกันใหม่ที่จะเกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งยังไม่ครบทุกคน
ฝ่ายสินเชื่อไม่ว่าจะเป็นของแบงก์รัฐหรือแบงก์พาณิชย์ก็คุ้นชินอยู่กับหลักประกันเดิม อย่างที่ดินหรือตัวอาคาร เพราะเป็นวิธีปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน จับต้องได้ ทรัพย์นั้นไม่เคลื่อนที่ มีเอกสารจำนองทำให้ธนาคารมั่นใจ มีราคาประเมินที่แน่นอนทั้งราคากลางและราคาตลาด
แต่หลักประกันรูปแบบใหม่ที่มีทั้งตัวกิจการ หรือทรัพย์สินทางปัญญา หรือสินค้าคงคลัง ตรงนี้ไม่มีการส่งมอบ ที่สำคัญคือปัญหาเรื่องการประเมินมูลค่า ที่ยังไม่มีรูปแบบหรือมาตรฐานที่ชัดเจนออกมา ตรงนี้อาจทำให้เกิดข้อโต้แย้งระหว่างเจ้าของกิจการกับสถาบันการเงินได้ หากราคาของการประเมินนั้นไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
นอกจากนี้ตาม พ.ร.บ.ให้อำนาจกับผู้บังคับหลักประกันในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระจากหลักประกันประเภทกิจการหรือกลุ่มทรัพย์สินทางปัญหา สถาบันการเงินไม่สามารถเข้าไปยึดกิจการได้ ต้องรอให้ผู้บังคับหลักประกันบริหารต่อจนกว่าจะจำหน่ายหลักประกันนั้นได้
ในทางปฏิบัติแล้วสถาบันการเงินคงไม่มีความชำนาญพอที่จะบริหารกิจการแทนลูกหนี้ ซึ่งต้องมองไปถึงผู้บังคับหลักประกันด้วยว่าจะบริหารกิจการต่อไปจนสามารถหาเงินมาชำระหนี้ได้หรือไม่ นี่ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อต้องคิดหนัก
ตัดปัญหาไม่ปล่อยสินเชื่อ
สำหรับแบงก์รัฐการปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลถือเป็นหน้าที่ที่ต้องตอบสนอง แต่สิ่งที่ผู้บริหารและฝ่ายสินเชื่อกังวลนั่นคือการเปลี่ยนแปลงในนโยบาย หากรัฐบาลใหม่เข้ามาแล้วไม่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาลก่อน ผู้ที่เดือดร้อนก็คือผู้บริหารและพนักงานแบงก์รัฐ ตรงนี้ควรมีหลักประกันให้กับผู้ที่ทำงานในส่วนนี้ด้วย
การปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทุกแห่ง หากเกิดหนี้เสียขึ้นมาพนักงานสินเชื่อก็ต้องรับผิดชอบ ยิ่งเป็นแบงก์รัฐโอกาสที่จะถูกโจมตีมีมากกว่าแบงก์พาณิชย์ นั่นจะกระทบมาถึงสวัสดิภาพในการทำงานของพนักงานตามมา
สุดท้ายแล้วหากทุกอย่างยังไม่ชัดเจน ทุกแบงก์อาจต้องหาวิธีในการป้องกันตัวเองนั่นคือไม่ปล่อยสินเชื่อ หรือปล่อยสินเชื่อเฉพาะส่วนที่มีหลักประกัน ส่วนหลักประกันใหม่อาจปล่อยสินเชื่อให้น้อย
แม้ว่าจะเป็นเจตนาที่ดีของรัฐบาลที่ต้องการช่วยเหลือหรือเพิ่มสภาพคล่องให้กับธุรกิจ SMEs แต่ในทางปฏิบัติแล้ว SMEs มีทั้งส่วนที่ตั้งใจทำกิจการอย่างจริงจังเน้นที่การช่วยเหลือตัวเองก่อนเป็นหลัก อีกส่วนหนึ่งรอโครงการของรัฐบาลมาช่วยแก้ปัญหา
SMEs รายเล็กที่ทำกิจการอยู่ในเวลานี้ เงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืมหนี้นอกระบบมาหมุนเวียนในกิจการ เมื่อมีโครงการของรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนย่อมต้องใช้สิทธิตรงนี้ และเมื่อครบกำหนดชำระหนี้ ส่วนใหญ่แล้วเลือกที่จะชำระหนี้กับกลุ่มหนี้นอกระบบก่อนเป็นลำดับแรก ส่วนหนี้ที่กู้ยืมมาจากธนาคารถูกวางให้เป็นลำดับสุดท้าย เพราะวิธีการทวงหนี้ของสถาบันการเงินมีข้อจำกัดมากมาย
สิ่งที่ตามมานั่นคือหนี้เสียจากการปล่อยสินเชื่อย่อมสูงขึ้น
เชื่อว่าทุกแบงก์คงไม่มีใครอยากปฏิเสธการปล่อยกู้ เพราะนี่คือรายได้ของแบงก์ส่วนหนึ่ง หากผู้ประกอบการทุกรายตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ สินเชื่อที่ได้ไปก็จะถูกนำไปใช้ในกิจการเพื่อให้กิจการเดินหน้าต่อไปได้
ดังนั้นปัญหาความไม่ชัดเจนของหลักเกณฑ์และการประเมินมูลค่าหลักประกันใหม่ อาจทำให้แบงก์ต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมของธุรกิจ SMEs
โอดรายย่อยมักเข้าไม่ถึง
ที่ผ่านมารัฐบาลนี้ได้ปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจ SMEs ไปแล้ว 1.5 แสนล้านบาท รอบแรก 1 แสนล้านบาท รอบที่ 2 อีก 5 หมื่นล้านบาท และยังมีสินเชื่อ SMEs ในภาคเกษตรอีกส่วนหนึ่ง แต่ดูเหมือนสินเชื่อก้อนนี้ยังไม่เข้าถึง SMEs ทุกราย
“ดอกเบี้ย 4% คนที่เข้าถึงจริงๆ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นกลุ่มที่มีประวัติทางการเงินดี และธนาคารพาณิชย์ที่ได้ซอฟต์โลนจากรัฐบาลมาที่ต้นทุน 0.1% นั้นมักเลือกปล่อยให้กับรายใหญ่ๆ เพราะมั่นใจว่าหนี้ไม่เสีย ได้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 3% เศษ ดังนั้นรายย่อยๆ จึงไม่สามารถเข้าถึงเงินกู้ที่ดอกเบี้ย 4% ได้” ผู้ประกอบการ SMEs รายหนึ่งกล่าว
ที่จริงแล้วเงินกู้ของ SMEs จากสถาบันการเงินจะตกอยู่ที่ประมาณ 8-9% เรื่องเงินกู้ดอกเบี้ย 4% นั้นเป็นเรื่องของเงินหมุนเวียนในกิจการที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ส่วนโฆษณาตามสถาบันการเงินต่างๆ ว่าให้กี่เท่านั้น คงเป็นเพียงบางรายเท่านั้นที่จะได้ เพราะ SMEs รายเล็กๆ ติดปัญหาหลายประการโดยเฉพาะเรื่องของเอกสารหลักฐานที่ไม่เป็นระบบเพียงพอต่อการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ
ที่สำคัญในตอนนี้เศรษฐกิจทั่วโลกไม่ดี กำลังซื้อของคนหายไปมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ แม้ว่าจะได้สินเชื่อมาต่อลมหายใจให้กับกิจการ แต่หากกำลังซื้อไม่มี สินค้าที่ผลิตออกมาย่อมขายได้ลำบาก และจะกระทบไปถึงความอยู่รอดของกิจการ SMEs นั่นหมายถึงแรงงานในท้องถิ่นก็อาจจะอยู่ในสถานะที่ลำบากเสี่ยงต่อการตกงาน