ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ชี้ โจทย์ใหญ่ที่ SMEs ไทยต้องเตรียมรับมือคือ การปรับปรุงผลิตภาพแรงงานและเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ เพื่อเตรียมแข่งขันใน AEC พร้อมเผยผลการศึกษา SCB Insight เส้นทางสู่ AEC… SMEs รุกรับอย่างไร?
ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเปิด AEC แม้ว่าจะมีโอกาสทางการค้าการลงทุนที่กว้างขึ้น แต่ก็หมายถึงความท้าทายที่เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องเร่งปรับตัวทั้งเชิงรุกและรับเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยมีความพร้อมค่อนข้างมากแล้ว แต่ในส่วนของ SMEs ซึ่งมีบทบาททางเศรษฐกิจสูง ยังต้องปรับตัวอีกมากในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
รายงาน SCB Insight ฉบับนี้ร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการจัดทำ Focus group ที่ช่วยให้ทาง EIC ได้แลกเปลี่ยนและรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการ SMEs โดยตรงและครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งพบว่า SMEs ไทยกำลังเผชิญปัจจัยรุมเร้าทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงเร็วและรุนแรงขึ้น อาทิ การปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท การหมุนเวียนของแรงงาน (turnover rate) จากการที่แรงงานมีฝีมือเคลื่อนย้ายไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ตลอดจนกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคของการติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล
จากการศึกษาถึงผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ พบว่า การขึ้นค่าแรง 300 บาทส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยในส่วนของผลกระทบทางตรง ภาคธุรกิจที่มีแรงงานไม่มีทักษะเป็นสัดส่วนสูง หรือมีค่าแรงเป็นต้นทุนหลักจะได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ ภาคเกษตร ภาคบริการ เช่น ก่อสร้าง โรงแรม และภาคค้าส่งค้าปลีก
สำหรับผลกระทบทางอ้อม เกิดจากการส่งผ่านภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังธุรกิจต่อเนื่องในห่วงโซ่อุปทานด้วย โดยธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทานที่ค่อนข้างยาวและสลับซับซ้อนได้รับผลกระทบทางอ้อมมากกว่า เนื่องจากต้องเผชิญกับการส่งผ่านภาระต้นทุนที่สูงขึ้นในรูปของการขึ้นราคาสินค้าตลอดทั้งสายห่วงโซ่อุปทาน เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และยานยนต์และชิ้นส่วน
เมื่อพิจารณาผลกระทบทางตรงและทางอ้อมของทั้งระบบเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน พบว่ากรณีที่ผู้ประกอบการผลักภาระต้นทุนได้ที่ 25-35% จะส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมทั้งระบบสูงขึ้นเพียง 2.6% เนื่องจากผู้ประกอบการในแต่ละขั้นต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเอง ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนของผู้ประกอบการดังกล่าวลดลงเฉลี่ย 4% ของรายได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ EBITDA margin (กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา) ของ SMEs ที่ประมาณ 5-6% แล้ว SMEs ส่วนใหญ่จะมี EBITDA margin เหลืออยู่เพียง 1-2% ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานจริงก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารงานของแต่ละธุรกิจด้วยเช่นกัน
จากผลสำรวจ ผู้ประกอบการ SMEs ประเมินว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 12% ซึ่งสูงกว่าผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรม เนื่องจาก SMEs เป็นธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเป็นสัดส่วนสูงและผลักภาระไปสู่ผู้บริโภคได้น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ โดยคาดว่าธุรกิจบริการจะได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้ SMEs ยังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้แรงงานกึ่งทักษะ เพราะไม่สามารถดึงแรงงานต่างด้าวเข้ามาทดแทนได้
อย่างไรก็ตาม SMEs ส่วนใหญ่ได้เริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนค่าแรงในระยะยาว สำหรับประเด็นเรื่อง AEC นั้น SMEs ในภาคเกษตรและภาคการผลิตเห็นโอกาสส่งออกสินค้าไปขายในอาเซียนมากขึ้น สำหรับธุรกิจค้าส่งค้าปลีกและภาคบริการ เห็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ แต่ประเด็นที่ SMEs กังวลมากคือ คู่แข่งในอาเซียนที่จะเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ซึ่ง SMEs ส่วนใหญ่ได้มีการปรับตัวแล้ว เช่น หาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกในอาเซียน และพัฒนาปรับปรุงระบบต่างๆ ในองค์กร ซึ่งเป็นการปรับตัวที่เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก
การจะแข่งขันได้ในอนาคต SMEs ควรเริ่มนโยบายเชิงรุกให้มากขึ้น ซึ่งหมายถึงการมองหาโอกาสในตลาดใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้าชายแดน การลงทุนในต่างประเทศ หรือการจับกระแสของการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ เรื่องแรกที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องของการค้าชายแดน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 80% ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังมีศักยภาพในการขยายตัวอีกมากจากเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้มขยายตัวสูง
อีกทั้งยังมี AEC ที่จะเข้ามาช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคให้การค้าการลงทุนมีความสะดวกมากขึ้นเรื่อยๆ ตลาดที่น่าสนใจคือพม่า ซึ่งเป็นตลาดค่อนข้างใหญ่ และยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนของทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่จะเป็นอีกจุดเริ่มต้นของความเจริญเติบโตด้านการค้าและการลงทุน และกำลังซื้อของผู้บริโภคต่อไป
“AEC จะเอื้ออำนวยให้ SMEs ขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรศึกษากฎระเบียบ ความต้องการของตลาดให้รอบคอบ และดูว่าธุรกิจของตัวเองมีข้อได้เปรียบด้านใด สิ่งที่สำคัญสำหรับ SMEs คือต้องหาพันธมิตรทางธุรกิจและเลือกประเภทธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศนั้นๆ ซึ่งหากผู้ประกอบการเลือกลงทุนในธุรกิจที่ภาครัฐให้การสนับสนุนแล้ว จะช่วยลดอุปสรรคและทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกด้วย”
ดร.สุทธาภากล่าวต่อว่า การจับกระแสต่างๆ ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่ง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงกระแสการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยให้เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (niche market) ได้มากขึ้น เช่น กลุ่มธุรกิจสีเขียวสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้ social network ที่เอื้อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก
“คงถึงเวลาแล้วที่ SMEs ไทยต้องปรับตัวในเชิงรุก พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส อาศัยแรงกดดันจากต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นเป็นแรงผลักดันให้เร่งพัฒนาศักยภาพ เพราะการผลักภาระแบบเดิมๆ คงไม่สามารถทำได้ง่าย ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับโลก ขณะเดียวกัน SMEs ต้องออกจากตลาดเดิมๆ ในประเทศโดยหาช่องทางขยายรายได้ทางอื่น เพื่อชดเชยอัตรากำไรที่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งที่สามารถทำได้คือ การรวมกลุ่มเป็น cluster ซึ่งทาง SCB ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเพื่อนำเสนอ model และกลยุทธ์เพื่อให้ SMEs มีการรวมกลุ่มกันเพื่อยกระดับการแข่งขันของ SMEs ในอนาคต”
ดร.สุทธาภา อมรวิวัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การเปิด AEC แม้ว่าจะมีโอกาสทางการค้าการลงทุนที่กว้างขึ้น แต่ก็หมายถึงความท้าทายที่เพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงต้องเร่งปรับตัวทั้งเชิงรุกและรับเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทยมีความพร้อมค่อนข้างมากแล้ว แต่ในส่วนของ SMEs ซึ่งมีบทบาททางเศรษฐกิจสูง ยังต้องปรับตัวอีกมากในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
รายงาน SCB Insight ฉบับนี้ร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการจัดทำ Focus group ที่ช่วยให้ทาง EIC ได้แลกเปลี่ยนและรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ประกอบการ SMEs โดยตรงและครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งพบว่า SMEs ไทยกำลังเผชิญปัจจัยรุมเร้าทั้งจากภายในและภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงเร็วและรุนแรงขึ้น อาทิ การปรับขึ้นค่าแรง 300 บาท การหมุนเวียนของแรงงาน (turnover rate) จากการที่แรงงานมีฝีมือเคลื่อนย้ายไปสู่อุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ ตลอดจนกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคของการติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล
จากการศึกษาถึงผลกระทบของการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ พบว่า การขึ้นค่าแรง 300 บาทส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ โดยในส่วนของผลกระทบทางตรง ภาคธุรกิจที่มีแรงงานไม่มีทักษะเป็นสัดส่วนสูง หรือมีค่าแรงเป็นต้นทุนหลักจะได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ ภาคเกษตร ภาคบริการ เช่น ก่อสร้าง โรงแรม และภาคค้าส่งค้าปลีก
สำหรับผลกระทบทางอ้อม เกิดจากการส่งผ่านภาระต้นทุนที่สูงขึ้นไปยังธุรกิจต่อเนื่องในห่วงโซ่อุปทานด้วย โดยธุรกิจที่มีห่วงโซ่อุปทานที่ค่อนข้างยาวและสลับซับซ้อนได้รับผลกระทบทางอ้อมมากกว่า เนื่องจากต้องเผชิญกับการส่งผ่านภาระต้นทุนที่สูงขึ้นในรูปของการขึ้นราคาสินค้าตลอดทั้งสายห่วงโซ่อุปทาน เช่น ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และยานยนต์และชิ้นส่วน
เมื่อพิจารณาผลกระทบทางตรงและทางอ้อมของทั้งระบบเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน พบว่ากรณีที่ผู้ประกอบการผลักภาระต้นทุนได้ที่ 25-35% จะส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมทั้งระบบสูงขึ้นเพียง 2.6% เนื่องจากผู้ประกอบการในแต่ละขั้นต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเอง ซึ่งอาจทำให้ผลตอบแทนของผู้ประกอบการดังกล่าวลดลงเฉลี่ย 4% ของรายได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ EBITDA margin (กำไรก่อนหักดอกเบี้ยและค่าเสื่อมราคา) ของ SMEs ที่ประมาณ 5-6% แล้ว SMEs ส่วนใหญ่จะมี EBITDA margin เหลืออยู่เพียง 1-2% ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานจริงก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารงานของแต่ละธุรกิจด้วยเช่นกัน
จากผลสำรวจ ผู้ประกอบการ SMEs ประเมินว่าการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 12% ซึ่งสูงกว่าผลกระทบต่อภาพรวมอุตสาหกรรม เนื่องจาก SMEs เป็นธุรกิจที่มีการใช้แรงงานเป็นสัดส่วนสูงและผลักภาระไปสู่ผู้บริโภคได้น้อยกว่าธุรกิจขนาดใหญ่ โดยคาดว่าธุรกิจบริการจะได้รับผลกระทบมากที่สุด นอกจากนี้ SMEs ยังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้แรงงานกึ่งทักษะ เพราะไม่สามารถดึงแรงงานต่างด้าวเข้ามาทดแทนได้
อย่างไรก็ตาม SMEs ส่วนใหญ่ได้เริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนค่าแรงในระยะยาว สำหรับประเด็นเรื่อง AEC นั้น SMEs ในภาคเกษตรและภาคการผลิตเห็นโอกาสส่งออกสินค้าไปขายในอาเซียนมากขึ้น สำหรับธุรกิจค้าส่งค้าปลีกและภาคบริการ เห็นโอกาสในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ แต่ประเด็นที่ SMEs กังวลมากคือ คู่แข่งในอาเซียนที่จะเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ซึ่ง SMEs ส่วนใหญ่ได้มีการปรับตัวแล้ว เช่น หาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกในอาเซียน และพัฒนาปรับปรุงระบบต่างๆ ในองค์กร ซึ่งเป็นการปรับตัวที่เน้นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก
การจะแข่งขันได้ในอนาคต SMEs ควรเริ่มนโยบายเชิงรุกให้มากขึ้น ซึ่งหมายถึงการมองหาโอกาสในตลาดใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้าชายแดน การลงทุนในต่างประเทศ หรือการจับกระแสของการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ เรื่องแรกที่ไม่ควรมองข้ามคือเรื่องของการค้าชายแดน ซึ่งมีมูลค่ากว่า 80% ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และยังมีศักยภาพในการขยายตัวอีกมากจากเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้มขยายตัวสูง
อีกทั้งยังมี AEC ที่จะเข้ามาช่วยเอื้ออำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคให้การค้าการลงทุนมีความสะดวกมากขึ้นเรื่อยๆ ตลาดที่น่าสนใจคือพม่า ซึ่งเป็นตลาดค่อนข้างใหญ่ และยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนของทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่จะเป็นอีกจุดเริ่มต้นของความเจริญเติบโตด้านการค้าและการลงทุน และกำลังซื้อของผู้บริโภคต่อไป
“AEC จะเอื้ออำนวยให้ SMEs ขยายการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการควรศึกษากฎระเบียบ ความต้องการของตลาดให้รอบคอบ และดูว่าธุรกิจของตัวเองมีข้อได้เปรียบด้านใด สิ่งที่สำคัญสำหรับ SMEs คือต้องหาพันธมิตรทางธุรกิจและเลือกประเภทธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของประเทศนั้นๆ ซึ่งหากผู้ประกอบการเลือกลงทุนในธุรกิจที่ภาครัฐให้การสนับสนุนแล้ว จะช่วยลดอุปสรรคและทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้นอีกด้วย”
ดร.สุทธาภากล่าวต่อว่า การจับกระแสต่างๆ ก็เป็นอีกโอกาสหนึ่ง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงกระแสการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยให้เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (niche market) ได้มากขึ้น เช่น กลุ่มธุรกิจสีเขียวสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการใช้ social network ที่เอื้อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงนัก
“คงถึงเวลาแล้วที่ SMEs ไทยต้องปรับตัวในเชิงรุก พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส อาศัยแรงกดดันจากต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้นเป็นแรงผลักดันให้เร่งพัฒนาศักยภาพ เพราะการผลักภาระแบบเดิมๆ คงไม่สามารถทำได้ง่าย ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นในระดับภูมิภาคและระดับโลก ขณะเดียวกัน SMEs ต้องออกจากตลาดเดิมๆ ในประเทศโดยหาช่องทางขยายรายได้ทางอื่น เพื่อชดเชยอัตรากำไรที่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนหนึ่งที่สามารถทำได้คือ การรวมกลุ่มเป็น cluster ซึ่งทาง SCB ได้ร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเพื่อนำเสนอ model และกลยุทธ์เพื่อให้ SMEs มีการรวมกลุ่มกันเพื่อยกระดับการแข่งขันของ SMEs ในอนาคต”