ASTVผู้จัดการรายวัน-เอกชนส่งสัญญาณขึ้นราคาสินค้า 5-10% รับค่าแรง 300 บาท ย้อนรัฐอย่ามาอ้างเหตุผลสั่งเบรกขึ้นราคาอีก เผย SMEs เกือบ 2 ล้านราย อาการหนักแน่ ส่อปิดกิจการตั้งแต่กลางปีหน้าเป็นต้นไป ก่อนลามสู่รายใหญ่ จี้รัฐตั้งกองทุน 5-6 หมื่นล้านบาทชดเชยส่วนต่างค่าแรง "กรณ์"แนะรัฐฉุกคิด ลดประชานิยม "มาร์ค"ไม่เชื่อจะมีมาตรการช่วยได้ทัน
นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นค่าแรง 300บาทต่อวันทั่วประเทศมีผล 1 ม.ค.2556 รัฐบาลก็คงไม่มีเหตุผลที่จะให้เอกชนตรึงราคาสินค้าได้อีกต่อไป โดยคาดว่าภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการที่สามารถผลักไปยังราคาสินค้าได้ก็จะเลือกดำเนินการ แต่อาจจะไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดก็ตาม ซึ่งเฉลี่ยราคาสินค้าปีหน้าจะขยับ5-10%
"รัฐคงไม่มีเหตุผลที่จะมาขอไม่ให้สินค้าขึ้นราคา ในเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่การปรับขึ้นก็คงไม่เท่ากัน โดยรายใหญ่ที่มีกำไรมากและแข่งขันไม่สูง ก็สามารถปรับราคาได้มาก ส่วนที่แข่งขันสูง ก็อาจจะปรับราคาได้น้อยกว่า แต่ที่สุดราคาสินค้าภาพรวมก็มีแนวโน้มสูงขึ้นแน่นอน”นายธนิตกล่าว
สำหรับสิ่งน่าเป็นห่วง ก็คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ซึ่งพบว่ากว่า 75% ของSMEsทั่วประเทศราว 2.3 ล้านราย ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นค่าแรง และยังพบว่าส่วนใหญ่มีกำไรมากสุด 5-6% ขณะที่ต้นทุนค่าแรงจะเพิ่มขึ้นรวม 18% หาก SMEs รายใดปรับราคาได้ไม่เท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ขาดทุน และต้องรับภาระขาดทุนสะสมและอาจเห็นการปิดกิจการได้ในช่วงกลางปี 2556
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า รัฐบาลควรตั้งกองทุนเพื่อชดเชยส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงิน 5-6 หมื่นล้านบาทต่อปี หากไม่สามารถหามาตรการที่ดีพอมาลดผลกระทบให้เอกชนได้ โดยปี 2556จะเห็น SMEs ที่มีถึง 90% ของภาคอุตสาหกรรมทยอยปิดกิจการลง คาดว่าจะเห็นผลกลางปีเป็นต้นไป แต่สิ่งที่น่าห่วง คือ SMEsบางส่วนจะเป็นห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมรายใหญ่ เช่น สิ่งทอ รองเท้า อาหาร เป็นต้น ผลกระทบอาจจะต่อเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมภาพรวมและนี่อาจจะเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจไทยพังเร็วขึ้น เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยก็เปราะบางมากแล้ว
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า คณะทำงานร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) กำลังพิจารณามาตรการเยียวยาผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน และเห็นว่าใน 27 มาตรการของรัฐที่ออกมาให้ความช่วยเหลือ มาตรการจัดตั้งกองทุนเยียวยาน่าจะได้ผลเร็วสุด เพราะมาตรการอื่นๆ ต้องใช้เวลาและไม่ครอบคลุมต้นทุนที่เกิดขึ้น
นายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก รองประธานและประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 กล่าวว่า การไม่รับแรงงานใหม่ในภาคอุตสาหกรรมมีการส่งสัญญาณกันมานานแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในมาตรการที่ผู้ประกอบการต้องทำตั้งแต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบแรกเมื่อช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด หากขึ้นอีกรอบและรัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยชดเชยส่วนต่างให้ผู้ประกอบการ เชื่อว่าผู้ประกอบการรายเล็กคงอยู่ไม่ได้ ต้องทยอยปิดกิจการกันระนาว
วันเดียวกันนี้ คณะทำงานของ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรมว.คลัง ได้เผยแพร่ความคิดเห็นผ่านเฟสบุ๊ค “Team-Korn Chatikavanij Page” เกี่ยวกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ตั้งแต่ 1 ม.ค.2556 ว่า สนับสนุนการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ แต่ไม่สนับสนุนการขึ้นทีเดียว 300 บาท เพราะส่งผลกระทบมาก ตั้งแต่เกิดปัญหาแพงทั้งแผ่นดิน ค่าครองชีพเพิ่ม จากนโยบายดังกล่าว ขณะที่ด้านนายจ้าง มีภาระต้นทุนสูงขึ้น ลดแรงงาน เลิกจ้าง จนต้องปิดกิจการ ลูกจ้าง แม้มีรายได้เพิ่ม แต่ค่าครองชีพเพิ่มตาม ไม่ได้ประโยชน์ และยังถูกใช้แรงงานเพิ่ม ลดสวัสดิการ หรือโดนไล่ออก ส่วนประเทศจะมีปัญหาการกระจุกตัวของสังคม เพราะโรงงานจะย้ายไปอยู่ใกล้ท่าเรือ คนจะตามไป แทนที่จะกระจายออกไปต่างจังหวัด หากรัฐบาลคิดซักนิด ลดประชานิยมลง ประเทศจะเดินหน้าได้อย่างยั่งยืนกว่านี้
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel ว่า มีความเป็นห่วง เพราะมาตรการรองรับยังเป็นแบบเดิมๆ และยังตั้งให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง มาเป็นประธานดูแลมาตรการช่วยเหลือ แต่คิดว่ามันช้ามาก เพราะจากนี้เหลือเวลาแค่เดือนเศษๆ ไม่แน่ใจว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือออกมาได้ทัน และเห็นว่าพวก SMEs ที่อยู่ต่างจังหวัดจะได้รับผลกระทบมาก เพราะเดิมอยู่ไกลระบบสาธารณูปโภค โลจิสติกส์ แต่ก็ได้ต้นทุนด้านค่าแรงต่ำ แต่พอค่าแรงเท่ากัน คงคิดปิดกิจการ แล้วย้ายไปที่ๆ มีความพร้อมหรือใกล้เมืองมากขึ้น
ขณะที่นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีที่นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกมาคาดการณ์ว่าในช่วงเดือนธ.ค.นี้ จะมีการเลิกจ้างจำนวนมาก เนื่องจากนายจ้างจะเลิกจ้างงานก่อนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยน้อยกว่าการเลิกจากหลังปรับขึ้นค่าจ้างว่า มีความเป็นไปได้ที่ภาคธุรกิจต่างๆ อาจจะเลิกกิจการก่อนการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทใน 70 จังหวัด เพราะนายจ้างสามารถจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างในอัตราที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับช่วงที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแล้ว แต่ในส่วนของกระทรวงฯ ได้มีการเฝ้าระวัง และติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะใน 29 จังหวัดที่มีการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดด โดยให้รวบรวมปัญหาและสรุปผลก่อนที่จะนำเสนอรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือต่อไป
นายธนิต โสรัตน์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นค่าแรง 300บาทต่อวันทั่วประเทศมีผล 1 ม.ค.2556 รัฐบาลก็คงไม่มีเหตุผลที่จะให้เอกชนตรึงราคาสินค้าได้อีกต่อไป โดยคาดว่าภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการที่สามารถผลักไปยังราคาสินค้าได้ก็จะเลือกดำเนินการ แต่อาจจะไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมดก็ตาม ซึ่งเฉลี่ยราคาสินค้าปีหน้าจะขยับ5-10%
"รัฐคงไม่มีเหตุผลที่จะมาขอไม่ให้สินค้าขึ้นราคา ในเมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่การปรับขึ้นก็คงไม่เท่ากัน โดยรายใหญ่ที่มีกำไรมากและแข่งขันไม่สูง ก็สามารถปรับราคาได้มาก ส่วนที่แข่งขันสูง ก็อาจจะปรับราคาได้น้อยกว่า แต่ที่สุดราคาสินค้าภาพรวมก็มีแนวโน้มสูงขึ้นแน่นอน”นายธนิตกล่าว
สำหรับสิ่งน่าเป็นห่วง ก็คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ซึ่งพบว่ากว่า 75% ของSMEsทั่วประเทศราว 2.3 ล้านราย ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นค่าแรง และยังพบว่าส่วนใหญ่มีกำไรมากสุด 5-6% ขณะที่ต้นทุนค่าแรงจะเพิ่มขึ้นรวม 18% หาก SMEs รายใดปรับราคาได้ไม่เท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ขาดทุน และต้องรับภาระขาดทุนสะสมและอาจเห็นการปิดกิจการได้ในช่วงกลางปี 2556
นายสมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการ ส.อ.ท. กล่าวว่า รัฐบาลควรตั้งกองทุนเพื่อชดเชยส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงิน 5-6 หมื่นล้านบาทต่อปี หากไม่สามารถหามาตรการที่ดีพอมาลดผลกระทบให้เอกชนได้ โดยปี 2556จะเห็น SMEs ที่มีถึง 90% ของภาคอุตสาหกรรมทยอยปิดกิจการลง คาดว่าจะเห็นผลกลางปีเป็นต้นไป แต่สิ่งที่น่าห่วง คือ SMEsบางส่วนจะเป็นห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมรายใหญ่ เช่น สิ่งทอ รองเท้า อาหาร เป็นต้น ผลกระทบอาจจะต่อเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมภาพรวมและนี่อาจจะเป็นต้นเหตุให้เศรษฐกิจไทยพังเร็วขึ้น เพราะขณะนี้เศรษฐกิจไทยก็เปราะบางมากแล้ว
นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน ส.อ.ท.กล่าวว่า คณะทำงานร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) กำลังพิจารณามาตรการเยียวยาผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน และเห็นว่าใน 27 มาตรการของรัฐที่ออกมาให้ความช่วยเหลือ มาตรการจัดตั้งกองทุนเยียวยาน่าจะได้ผลเร็วสุด เพราะมาตรการอื่นๆ ต้องใช้เวลาและไม่ครอบคลุมต้นทุนที่เกิดขึ้น
นายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก รองประธานและประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 กล่าวว่า การไม่รับแรงงานใหม่ในภาคอุตสาหกรรมมีการส่งสัญญาณกันมานานแล้ว เพราะเป็นหนึ่งในมาตรการที่ผู้ประกอบการต้องทำตั้งแต่การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบแรกเมื่อช่วงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด หากขึ้นอีกรอบและรัฐบาลไม่มีมาตรการช่วยชดเชยส่วนต่างให้ผู้ประกอบการ เชื่อว่าผู้ประกอบการรายเล็กคงอยู่ไม่ได้ ต้องทยอยปิดกิจการกันระนาว
วันเดียวกันนี้ คณะทำงานของ นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรมว.คลัง ได้เผยแพร่ความคิดเห็นผ่านเฟสบุ๊ค “Team-Korn Chatikavanij Page” เกี่ยวกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ตั้งแต่ 1 ม.ค.2556 ว่า สนับสนุนการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ แต่ไม่สนับสนุนการขึ้นทีเดียว 300 บาท เพราะส่งผลกระทบมาก ตั้งแต่เกิดปัญหาแพงทั้งแผ่นดิน ค่าครองชีพเพิ่ม จากนโยบายดังกล่าว ขณะที่ด้านนายจ้าง มีภาระต้นทุนสูงขึ้น ลดแรงงาน เลิกจ้าง จนต้องปิดกิจการ ลูกจ้าง แม้มีรายได้เพิ่ม แต่ค่าครองชีพเพิ่มตาม ไม่ได้ประโยชน์ และยังถูกใช้แรงงานเพิ่ม ลดสวัสดิการ หรือโดนไล่ออก ส่วนประเทศจะมีปัญหาการกระจุกตัวของสังคม เพราะโรงงานจะย้ายไปอยู่ใกล้ท่าเรือ คนจะตามไป แทนที่จะกระจายออกไปต่างจังหวัด หากรัฐบาลคิดซักนิด ลดประชานิยมลง ประเทศจะเดินหน้าได้อย่างยั่งยืนกว่านี้
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ในรายการฟ้าวันใหม่ ทาง Blue Sky Channel ว่า มีความเป็นห่วง เพราะมาตรการรองรับยังเป็นแบบเดิมๆ และยังตั้งให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง มาเป็นประธานดูแลมาตรการช่วยเหลือ แต่คิดว่ามันช้ามาก เพราะจากนี้เหลือเวลาแค่เดือนเศษๆ ไม่แน่ใจว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือออกมาได้ทัน และเห็นว่าพวก SMEs ที่อยู่ต่างจังหวัดจะได้รับผลกระทบมาก เพราะเดิมอยู่ไกลระบบสาธารณูปโภค โลจิสติกส์ แต่ก็ได้ต้นทุนด้านค่าแรงต่ำ แต่พอค่าแรงเท่ากัน คงคิดปิดกิจการ แล้วย้ายไปที่ๆ มีความพร้อมหรือใกล้เมืองมากขึ้น
ขณะที่นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีที่นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ออกมาคาดการณ์ว่าในช่วงเดือนธ.ค.นี้ จะมีการเลิกจ้างจำนวนมาก เนื่องจากนายจ้างจะเลิกจ้างงานก่อนการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อจ่ายเงินชดเชยน้อยกว่าการเลิกจากหลังปรับขึ้นค่าจ้างว่า มีความเป็นไปได้ที่ภาคธุรกิจต่างๆ อาจจะเลิกกิจการก่อนการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาทใน 70 จังหวัด เพราะนายจ้างสามารถจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างในอัตราที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับช่วงที่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแล้ว แต่ในส่วนของกระทรวงฯ ได้มีการเฝ้าระวัง และติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะใน 29 จังหวัดที่มีการปรับค่าจ้างแบบก้าวกระโดด โดยให้รวบรวมปัญหาและสรุปผลก่อนที่จะนำเสนอรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือต่อไป