xs
xsm
sm
md
lg

"ศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์เพื่อนพึ่ง(ภาฯ)-ศวท." เปิดอบรมผลิตแก๊สจากผักตบถวาย "สมเด็จพระเทพฯ" (ชมคลิป)

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นครปฐม - ศูนย์วิจัยจุทลินทรีย์เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ศวท.ร่วมกับคณะศิลปะศาสตร์วิทยาศาสตร์ มหาเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จัดโครงการ "อาสาร่วมใจ ผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์คุณภาพสูง" โดยพร้อมอบรมให้ผู้ที่สนใจนำไปให้ใช้เกิดประโยชน์ในชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระเทพฯ ครบ 60 พรรษา

วันนี้ (2 เม.ย.) ที่ "ศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) -ศวท." คณะศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม นายขวัญชัย นิ่มอนันต์ หัวหน้าศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เปิดเผยว่า "ศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ)-ศวท." หรือชื่อย่อ "ศจพภ." ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกิดจากความร่วมมือ ระหว่าง มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กับคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้มีความพร้อมในการจัดโครงการ "อาสาร่วมใจ ผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง" เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษา ในวันที่ 2 เมษายน 2558

โดยมีเป้าหมายคือการจัดตั้งหน่วยเรียนรู้ชุมชน "อาสาร่วมใจ ผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา ด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง" ในชุมชนที่มีปัญหาผักตบชวาเพื่อเปลี่ยนผักตบชวาให้เป็นก๊าซชีวภาพ สำหรับใช้ในครัวเรือน โดยกลไลการทำงานของจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติแล้วจากงานวิจัย

เป้าหมายของโครงการฯ คือต้องการให้ชุมชนที่มีปัญหาผักตบชวา เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนผักตบชวาเป็นก๊าซชีวภาพ มีจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูงใช้ สามารถขยายและต่อหัวเชื้อไว้ใช้ได้เองในชุมชน ผลผลิตของโครงการ คือการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผักตบชวา โดยเปลี่ยนเป็นก๊าซหุงต้ม การลดรายจ่ายในครัวเรือนด้านพลังงาน และการมีองค์ความรู้ดังกล่าวที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน

สำหรับประชาชนหรือหน่วยงานใดราชการ เอกชนที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพื่อเข้ารับการอบรม ในการผลิตก๊าซชีวภาพคุณภาพสูง ที่ได้จากผักตบชวา เป็นหนึ่งในงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสภาวะสิ่งแวดล้อมที่สูญเสียให้กลับมาเป็นประโยชน์ให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อม และสามารถมาติดต่อมาได้ที่ ศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อนพึ่ง(ภาฯ) -ศวท. อีเมลล์ mppf@ku.ac.th หรือ โทรศัพท์หมายเลข 083 559 8448


กำลังโหลดความคิดเห็น