อาการแพ้น้ำตาลในนม หรือเรียกว่า lactose intolerance คือ การแพ้น้ำตาลแล็กโทสที่มีอยู่ในนม ซึ่งเกิดจากร่างกายขาดตัวย่อย หรือ เอนไซม์แล็กเทส โดยอาการที่พบคือท้องเสียหลังจากดื่มนมหรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม
การแพ้น้ำตาลในนมนั้นจะแตกต่างจากการแพ้อื่นๆ ของร่างกาย เพราะการแพ้น้ำตาลในนมนั้นไม่ใช่อาการภูมิแพ้ของร่างกาย เนื่องจากหากเป็นการแพ้อาหารของร่างกายจะแสดงอาการที่หนักกว่า เช่น ผื่นหรือลมพิษ ท้องเสียรุนแรง บวม น้ำตาลไหล ไอ จาม หรือหายใจลำบาก การแพ้น้ำตาลในนมจะพบได้บ่อยในคนเอเซียโดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้นเอนไซม์แล็กเทสในร่างกายก็จะผลิตน้อยลง เมื่อเกิดอาการท้องเสียหลังรับประทานนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมจึงทำให้ผู้ที่มีอาการแพ้น้ำตาลในนมส่วนใหญ่จะเลิกบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมดเพราะกลัวว่าจะส่งผลเสียต่อร่างกาย
แต่นมเป็นแหล่งที่มาที่ดีของสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย เช่น โปรตีน แคลเซียม วิตามินดี วิตามินเอ และสารอาหารหลายอื่นๆ เมื่อเลิกรับประทานนมยังส่งผลให้ต้องจำกัดประเภทของอาหารที่รับประทานได้ด้วยเนื่องมาจากอาหารหลากหลายชนิดมีส่วนผสมของนม เช่น นม ไอศกรีม ชีส ขนมปัง เค้ก ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ โยเกิร์ต น้ำสลัด ช็อกโกแลต เครื่องดื่มเย็น
ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้ลงความเห็นด้วยกันว่าไม่มีความจำเป็นที่ผู้ที่แพ้นมจะต้องเลิกรับประทานทุกอย่างที่มีนมผสม เนื่องจากการแพ้น้ำตาลในนมนั้นจัดเป็นการแพ้ที่ไม่ได้อันตราย และสามารถที่จะลดการแพ้ลงได้หากปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานนมและผลิตภัณฑ์จากนม จากการศึกษายังระบุว่าส่วนใหญ่ของผู้แพ้น้ำตาลในนมจะสามารถรับประทานโยเกิร์ต ชีส และไอศกรีมได้โดยไม่มีอาการแพ้หรือมีน้อยมาก
วิธีการที่ช่วยลดการแพ้น้ำตาลในนม
• ในแต่ละครั้งของการดื่มนมเริ่มจากปริมาณน้อยก่อน ไม่ใช่ทีละเต็มแก้ว เริ่มจากแบ่งเป็นทีละ 1/3 - ¼ แก้ว
• รับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมร่วมกับมื้ออาหาร การดื่มนมพร้อมกับมื้ออาหารจะช่วยลดระยะเวลาในการย่อยซึ่งช่วยให้การย่อยน้ำตาลในนมดีขึ้น เช่นดื่มนม ½ แก้วพร้อมกับอาหารมื้อกลางวันแทนที่จะดื่ม 1 แก้วในตอนเช้า
• หากการดื่มนมยังคงทำให้เกิดอาการท้องเสีย เปลี่ยนมารับประทานโยเกิร์ตแทน จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Streptococcus thermophilus และ Lactobacillus bulgaricus จะทำหน้าที่ช่วยลดการทำงานของน้ำตาลแล็กโทสลง และช่วยย่อยน้ำตาลแล็กโทสในบางส่วน ซึ่งจะช่วยให้รับประทานได้ดีกว่านมปกติ นอกจากนี้ จุลินทรีย์ในโยเกิร์ตยังไปทำลายจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ไม่ดีในลำไส้ที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียด้วย การศึกษายังระบุว่าการรับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำจำช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น เนื่องมาจากแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้ช่วยทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของโยเกิร์ตเองมีทั้งแบบ เนื้อครีมกึ่งแข็ง (ไขมันปกติ ไขมันต่ำและปราศจากไขมัน) กรีกโยเกิร์ต (ซึ่งมีโปรตีนสูงกว่าโยเกิร์ตปกติ) โยเกิร์ตชนิดดื่ม คีเฟอร์ (เป็นโยเกิร์ตที่มีการเติมยีสต์ร่วมด้วย)
• อีกหนึ่งทางเลือกคือรับประทานเอนไซม์แล็กเทส (ในรูปของยาเม็ด) แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อมารับประทาน โดยรับประทานก่อนที่จะดื่มนม 30 นาที เอนไซม์นี้จะทำหน้าที่ในการย่อยน้ำตาลในนมซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดอาการท้องเสียหลังรับประทานนม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
การแพ้น้ำตาลในนมนั้นจะแตกต่างจากการแพ้อื่นๆ ของร่างกาย เพราะการแพ้น้ำตาลในนมนั้นไม่ใช่อาการภูมิแพ้ของร่างกาย เนื่องจากหากเป็นการแพ้อาหารของร่างกายจะแสดงอาการที่หนักกว่า เช่น ผื่นหรือลมพิษ ท้องเสียรุนแรง บวม น้ำตาลไหล ไอ จาม หรือหายใจลำบาก การแพ้น้ำตาลในนมจะพบได้บ่อยในคนเอเซียโดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้นเอนไซม์แล็กเทสในร่างกายก็จะผลิตน้อยลง เมื่อเกิดอาการท้องเสียหลังรับประทานนม หรือผลิตภัณฑ์จากนมจึงทำให้ผู้ที่มีอาการแพ้น้ำตาลในนมส่วนใหญ่จะเลิกบริโภคนมและผลิตภัณฑ์จากนมทั้งหมดเพราะกลัวว่าจะส่งผลเสียต่อร่างกาย
แต่นมเป็นแหล่งที่มาที่ดีของสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย เช่น โปรตีน แคลเซียม วิตามินดี วิตามินเอ และสารอาหารหลายอื่นๆ เมื่อเลิกรับประทานนมยังส่งผลให้ต้องจำกัดประเภทของอาหารที่รับประทานได้ด้วยเนื่องมาจากอาหารหลากหลายชนิดมีส่วนผสมของนม เช่น นม ไอศกรีม ชีส ขนมปัง เค้ก ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ โยเกิร์ต น้ำสลัด ช็อกโกแลต เครื่องดื่มเย็น
ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการได้ลงความเห็นด้วยกันว่าไม่มีความจำเป็นที่ผู้ที่แพ้นมจะต้องเลิกรับประทานทุกอย่างที่มีนมผสม เนื่องจากการแพ้น้ำตาลในนมนั้นจัดเป็นการแพ้ที่ไม่ได้อันตราย และสามารถที่จะลดการแพ้ลงได้หากปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานนมและผลิตภัณฑ์จากนม จากการศึกษายังระบุว่าส่วนใหญ่ของผู้แพ้น้ำตาลในนมจะสามารถรับประทานโยเกิร์ต ชีส และไอศกรีมได้โดยไม่มีอาการแพ้หรือมีน้อยมาก
วิธีการที่ช่วยลดการแพ้น้ำตาลในนม
• ในแต่ละครั้งของการดื่มนมเริ่มจากปริมาณน้อยก่อน ไม่ใช่ทีละเต็มแก้ว เริ่มจากแบ่งเป็นทีละ 1/3 - ¼ แก้ว
• รับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมร่วมกับมื้ออาหาร การดื่มนมพร้อมกับมื้ออาหารจะช่วยลดระยะเวลาในการย่อยซึ่งช่วยให้การย่อยน้ำตาลในนมดีขึ้น เช่นดื่มนม ½ แก้วพร้อมกับอาหารมื้อกลางวันแทนที่จะดื่ม 1 แก้วในตอนเช้า
• หากการดื่มนมยังคงทำให้เกิดอาการท้องเสีย เปลี่ยนมารับประทานโยเกิร์ตแทน จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในโยเกิร์ต Streptococcus thermophilus และ Lactobacillus bulgaricus จะทำหน้าที่ช่วยลดการทำงานของน้ำตาลแล็กโทสลง และช่วยย่อยน้ำตาลแล็กโทสในบางส่วน ซึ่งจะช่วยให้รับประทานได้ดีกว่านมปกติ นอกจากนี้ จุลินทรีย์ในโยเกิร์ตยังไปทำลายจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียที่ไม่ดีในลำไส้ที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียด้วย การศึกษายังระบุว่าการรับประทานโยเกิร์ตเป็นประจำจำช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น เนื่องมาจากแบคทีเรียในโยเกิร์ตจะกระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวให้ช่วยทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมได้ดีขึ้น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของโยเกิร์ตเองมีทั้งแบบ เนื้อครีมกึ่งแข็ง (ไขมันปกติ ไขมันต่ำและปราศจากไขมัน) กรีกโยเกิร์ต (ซึ่งมีโปรตีนสูงกว่าโยเกิร์ตปกติ) โยเกิร์ตชนิดดื่ม คีเฟอร์ (เป็นโยเกิร์ตที่มีการเติมยีสต์ร่วมด้วย)
• อีกหนึ่งทางเลือกคือรับประทานเอนไซม์แล็กเทส (ในรูปของยาเม็ด) แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อมารับประทาน โดยรับประทานก่อนที่จะดื่มนม 30 นาที เอนไซม์นี้จะทำหน้าที่ในการย่อยน้ำตาลในนมซึ่งจะช่วยไม่ให้เกิดอาการท้องเสียหลังรับประทานนม
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่