xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ม.เกษตรฯ พร้อมเดินหน้าสู่ชุมชน ผลิตแก๊สครัวเรือนจากผักตบชวา (ชมคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


นครปฐม - ศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จัดทำโครงการอบรม “ผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวาด้วยจุลินทรีย์ธรรมชาติศักยภาพสูง” โดยนำผลการวิจัยจากห้องทดลองผลิตแก๊สครัวเรือนจากผักตบชวา เตรียมรุกเดินหน้าลงพื้นที่ให้ความรู้สร้างพลังงานทดแทนจากพืชปัญหาสิ่งแวดล้อม หวังต่อยอดพัฒนาสู่เครื่องจักรได้


ดร.อนามัย ดำเนตร รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์เพื่อนพึ่ง (ภาฯ)-ศวท.หรือชื่อย่อ ศจพภ. เปิดเผยว่า หลังจากคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้ทำการทดลองนำผักตบชวามาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพจากจุลินทรีย์คุณภาพสูง เป็นผลสำเร็จ โดยได้รับงบประมาณการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อให้มีการเปิดการอบรมเผยแพร่ผลงานการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยให้ผลงานลงไปสู่กระบวนการการใช้งานจริงในชุมชนได้ และได้มีการเปิดการอบรมให้ประชาชนผู้ที่สนใจได้อบรมแล้ว จำนวน 3 รุ่นๆ ละ 20 คน รวม 60 คน

โดยได้วางเป้าหมายโดยการให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ และการวิจัยเกี่ยวกับผักตบชวา ซึ่งเป็นวัชพืชน้ำที่ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งแวดล้อม โดยนำมาทำเป็นก๊าซชีวภาพ (Biogas) ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน โดยมีเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และนับเป็นการร่วมมือระหว่างศูนย์ทรัพยากรจุลทรีย์เพื่อนพึง (ภาฯ)-ศวท. หรือชื่อย่อ ศจพภ. มูลนิธิเพื่อพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย กับคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

โดยจัดวิทยากรที่ทำการทดลองมานานหลายปี ให้ความรู้ในการอบรมทั้ง 3 รุ่น ประกอบด้วย รศ.ดร.จุรีรัตน์ ลีสมิทธิ์ รศ.จิตราภรณ์ ธวัชพันธุ์ นายขวัญชัย นิ่มอนันต์ นายสมบัติ กลิ่นบุปผา นายกิตติเดช โพธิ์นิยม นายอานนท์ สุวรรณประเสริฐ ร่วมกันทั้งวิจัยและเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนที่ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำโดยมีผลมาจากผักตบชวา ให้มีทางเลือกในการกำจัด และนำสิ่งที่เป็นปัญหากลับมาพลิกให้มีทางเลือกที่สามารถจเสร้างประโยชน์ในระดับครัวเรือนได้

ด้าน รศ.ดร.จุรีรัตน์ ลีสมิทธิ์ ผู้อำนวยการ ศจพภ.เปิดเผยว่า ในการอบรมในโครงการนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากงานวิจัยของโครงการวิจัยด้านทรัพยากรจุลินทรีย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งที่ผ่านมาการอบรมทั้ง 3 รุ่นนั้นประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีแม้จะมีการอบรมดังกล่าวไปแล้วครบ 3 รุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มประชาชนที่มาจากหลากหลาย

เช่น ศูนย์การเรียนรู้โครงการอันมาจากพระราชดำริ บ้านสะพานดำ จังหวัดราชบุรี ศูนย์สาธิตเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย จำนวน 2 ศูนย์ กรมราชฑัณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอ ศูนย์ กศน.และประชาชนที่มีชุมชนติดกับแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งกลุ่มผู้เข้าอบรมเหล่านี้ยังจะมีการประสานงานร่วมกันในการพัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยให้มีการปรับสูตร และมีผลการทดลองจากการใช้งานจริงมาร่วมกันแชร์ประสบการณ์ และการทดลองอีกครั้ง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และจะมีการลงพื้นที่ไปให้ความรู้ และเก็บข้อมูลนอกสถานที่ยังชุมชนต่างๆ ต่อไป

ทั้งนี้ ยังสอดคล้องต่อแนวทางของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ที่ทรงเข้าชมการสาธิตการอบรมในกิจกรรม เพื่อนพึง (ภาฯ) ช่วยผู้ประสบอุทกภัย ณ วังสวนกุหลาบ ที่ทรงเห็นความสำคัญของแหล่งน้ำซึ่งผักตบชวานั้นมีปริมาณมากในแม่น้ำและลำน้ำสำคัญสายต่างๆ ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย กลไกของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป และทรงเห็นด้วยที่จะนำผักตบชวามาเป็นพลังงานทางเลือกที่เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และการอบรมทั้งหมดได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับผักตบชวา การแบ่งชนิดของผักตบ การทดลองแบบย่อส่วนในห้องทดลอง การเข้าชมการผลิตจุลินทรีย์ในห้องทดลอง และการประกอบถังหมัก

รวมถึงการให้ความรู้ในการใช้วัสดุอุปกรณ์ และผักตบชวา รวมถึงมูลสัตว์ที่จะนำมาหมักผสมให้เกิดเป็นก๊าซชีวภาพ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า แก๊สธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นผลงานวิจัยที่จะพลิกโฉมการแปรรูปผักตบชวา ซึ่งก่อปัญหาในระบบนิเวศทางน้ำมาอย่างยาวนานให้เกิดประโยชน์ ที่สามารถปรับมาเป็นพลังงาน ซึ่งก้าวต่อไปจะมีการต่อยอดการวิจัยเพื่อพัฒนาให้มีขีดความสามรถที่สูงขึ้นในอนาคต ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมอบรมบางคนที่มีความสามารถทางด้านช่างได้บอกว่าจะพัฒนาไปปรับใช้กับเครื่องยนต์การเกษตรหรือจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งทีดีมาก และทางศูนย์วิจัยก็พร้อมจะขับเคลื่อนเรื่องนี้ไปพร้อมๆ กันกับภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมในงานวิจับ

รศ.ดร.จุรีรัตน์ ลีสมิทธิ์ ผู้อำนวยการ ศจพภ.กล่าวปิดท้ายว่า การอบรมที่จัดขึ้นมานี้เป็นการนำหลักวิชาการที่มีการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังโดยหวังผลถึงการผลการทองลองออกมาใช้ได้ในชีวิตจริงของประชาชน ซึ่งจะถือว่ามีประโยชน์มาก และศูนย์ทรัพยากรจุลินทรีย์ เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยังพร้อมจะเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนที่สนใจ โดยก้าวต่อไปของการจัดทำโครงการคือ การลงพื้นที่กลับไปเก็บข้อมูลจากผู้เข้าอบรมอีกครั้ง รวมถึงจะเดินหน้าเข้าหาชุมชนเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้ขยายเป็นวงกว้าง เพื่อที่แต่ละชุมชนจะได้มีการรวมตัวกันให้ความรู้ซึ่งกันและกันในการนำผักตบชวา หรือในอนาคตจะมีพืชผักชนิดอื่นๆ ที่จะสามารถนำมาสร้างประโยชน์ได้อีก

สำหรับผู้ที่สนใจสามารรถติดต่อมาได้ที่ นายขวัญชัย นิ่มอนันต์ หน.ศจพก. อีเมล microreku@gmail.com , mppf@ku.ac.th โทร.09-5054-8240, 08-3559-8448 หรือ Line ID : microku , ajmaew












กำลังโหลดความคิดเห็น