หนองคาย - เครือข่ายชุมชนลุ่มน้ำโขงอีสาน ฮือประท้วงค้านสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮง สปป.ลาว กลางเวทีให้ความรู้โครงการ ระบุทำลายระบบนิเวศ หลังชาวบ้านเดือดร้อนจากจีนสร้างเขื่อนมานาน ขณะที่สำนักบริหารจัดการลุ่มน้ำโขง กรมทรัพยากรน้ำ ระบุผลการศึกษายังไม่ครอบคลุมทุกประเด็นนำเสนอ พร้อมรับฟังเสียงประชาชน
วันนี้ (16ธ.ค.57) ที่หอประชุมประจักษ์ศิลาปาคม ศูนย์ราชการจังหวัดหนองคาย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ จัดเวทีให้ข้อมูลโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮง สปป.ลาว ตามระเบียบปฎิบัติของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 หลังจากได้ดำเนินการมาแล้ว รวม 3 ครั้ง (จ.อุบลราชธานี จ.นครพนม จ.เชียงราย จ.หนองคาย จ.เลย และกรุงเทพมหานคร) โดยให้สรุปข้อกังวลและข้อเสนอแนะต่างๆ ต่อสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงภายในเดือนมกราคม 2558
ครั้งนี้มีสภาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสานเข้ารับฟังจำนวนมาก โดยนำเอาป้ายคัดค้าน ต่อต้านการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง รวมทั้งหุ่นปลาสำคัญในแม่น้ำโขงเข้ามาในห้องประชุม หลังรับฟังการนำเสนอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงเช้า น.ส.บุญอ้อม ทิพย์สุนา ประธานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดหนองคาย ได้เสนอให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในภาคเช้า
จากนั้นได้มีสภาองค์กรชุมชนจากตำบล อำเภอ และจังหวัด แสดงความคิดเห็นคัดค้าน ต่อต้านการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง พร้อมให้เหตุผลประกอบว่า ผู้คนในหลายประเทศลุ่มน้ำโขงจะต้องเผชิญกับชะตากรรมกับการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง เนื่องจากระบบนิเวศถูกทำลาย แหล่งอาหารปลาที่สำคัญถูกทำลาย และผลอื่นๆตามมามากมาย แม้จะระบุในโครงการว่าจะเปิดช่องทางให้ปลาสามารถขึ้นลงได้ก็ไม่เป็นผล
จากนั้นนายกระสันต์ ปานมีศรี ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลเวียงคุก อ.เมือง 0.หนองคาย ได้อ่านแถลงการณ์เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขงหนองคาย-บึงกาฬ เรื่อง “แม่น้ำโขงไร้พรมแดน สิทธิประโยชน์ของประชาชน รัฐบาลต้องปกป้อง” โดยมีข้อความสรุปได้ว่า
ตามระเบียบที่กำหนดไว้ในข้อตกลงแม่น้ำโขง 2538 ว่าประเทศที่จะสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลัก จะต้องปรึกษาล่วงหน้ากับประเทศอื่นก่อนจะดำเนินการ โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮง นับเป็นเขื่อนแห่งที่ 2 ที่จะก่อสร้างกั้นแม่น้ำโขงสายหลัก ประชาชนลุ่มแม่น้ำโขงกังวลใจและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากกว่า 10 ปีแล้วที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่จีน ผลกระทบข้ามพรมแดนที่เกิดขึ้นในภาวะ น้ำขึ้นฤดูแล้ง น้ำแห้งฤดูฝน ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างประเมินค่าไม่ได้
หากก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮงอีกต้องประสบภาวะอย่างหนักหน่วง เขื่อนดอนสะโฮงกำลังปิดช่องทางปลาในแม่น้ำโขง จากปากแม่น้ำโขงที่เวียดนาม ทะเลสาบเขมร และลำน้ำสาขา ซึ่งเป็นการทำลายความมั่นคงทางอาหารของประชาชนลุ่มน้ำโขง จึงไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง และขอเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐและรัฐบาลกลางปกป้องสิทธิของประชาชนไทย เลิกเกรงใจเพื่อนบ้านและกลุ่มทุน
ขณะที่คณะผู้ดำเนินการนำเสนอก็ยอมรับว่า จากผลการศึกษาโครงการของสปป.ลาว ที่นำเสนอต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ยังไม่ครอบคลุมในทุกเรื่องทุกประเด็น โดยจะนำข้อกังวลและข้อเสนอแนะในวันนี้ ไปปรึกษาหารือกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตลอดจนส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
วันนี้ (16ธ.ค.57) ที่หอประชุมประจักษ์ศิลาปาคม ศูนย์ราชการจังหวัดหนองคาย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ จัดเวทีให้ข้อมูลโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮง สปป.ลาว ตามระเบียบปฎิบัติของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง ซึ่งเป็นครั้งที่ 4 หลังจากได้ดำเนินการมาแล้ว รวม 3 ครั้ง (จ.อุบลราชธานี จ.นครพนม จ.เชียงราย จ.หนองคาย จ.เลย และกรุงเทพมหานคร) โดยให้สรุปข้อกังวลและข้อเสนอแนะต่างๆ ต่อสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงภายในเดือนมกราคม 2558
ครั้งนี้มีสภาองค์กรชุมชน ซึ่งเป็นเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสานเข้ารับฟังจำนวนมาก โดยนำเอาป้ายคัดค้าน ต่อต้านการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง รวมทั้งหุ่นปลาสำคัญในแม่น้ำโขงเข้ามาในห้องประชุม หลังรับฟังการนำเสนอข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วงเช้า น.ส.บุญอ้อม ทิพย์สุนา ประธานสภาองค์กรชุมชนจังหวัดหนองคาย ได้เสนอให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในภาคเช้า
จากนั้นได้มีสภาองค์กรชุมชนจากตำบล อำเภอ และจังหวัด แสดงความคิดเห็นคัดค้าน ต่อต้านการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง พร้อมให้เหตุผลประกอบว่า ผู้คนในหลายประเทศลุ่มน้ำโขงจะต้องเผชิญกับชะตากรรมกับการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำโขง เนื่องจากระบบนิเวศถูกทำลาย แหล่งอาหารปลาที่สำคัญถูกทำลาย และผลอื่นๆตามมามากมาย แม้จะระบุในโครงการว่าจะเปิดช่องทางให้ปลาสามารถขึ้นลงได้ก็ไม่เป็นผล
จากนั้นนายกระสันต์ ปานมีศรี ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลเวียงคุก อ.เมือง 0.หนองคาย ได้อ่านแถลงการณ์เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขงหนองคาย-บึงกาฬ เรื่อง “แม่น้ำโขงไร้พรมแดน สิทธิประโยชน์ของประชาชน รัฐบาลต้องปกป้อง” โดยมีข้อความสรุปได้ว่า
ตามระเบียบที่กำหนดไว้ในข้อตกลงแม่น้ำโขง 2538 ว่าประเทศที่จะสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลัก จะต้องปรึกษาล่วงหน้ากับประเทศอื่นก่อนจะดำเนินการ โครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำดอนสะโฮง นับเป็นเขื่อนแห่งที่ 2 ที่จะก่อสร้างกั้นแม่น้ำโขงสายหลัก ประชาชนลุ่มแม่น้ำโขงกังวลใจและไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เนื่องจากกว่า 10 ปีแล้วที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่จีน ผลกระทบข้ามพรมแดนที่เกิดขึ้นในภาวะ น้ำขึ้นฤดูแล้ง น้ำแห้งฤดูฝน ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างประเมินค่าไม่ได้
หากก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮงอีกต้องประสบภาวะอย่างหนักหน่วง เขื่อนดอนสะโฮงกำลังปิดช่องทางปลาในแม่น้ำโขง จากปากแม่น้ำโขงที่เวียดนาม ทะเลสาบเขมร และลำน้ำสาขา ซึ่งเป็นการทำลายความมั่นคงทางอาหารของประชาชนลุ่มน้ำโขง จึงไม่เห็นด้วยกับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง และขอเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐและรัฐบาลกลางปกป้องสิทธิของประชาชนไทย เลิกเกรงใจเพื่อนบ้านและกลุ่มทุน
ขณะที่คณะผู้ดำเนินการนำเสนอก็ยอมรับว่า จากผลการศึกษาโครงการของสปป.ลาว ที่นำเสนอต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ยังไม่ครอบคลุมในทุกเรื่องทุกประเด็น โดยจะนำข้อกังวลและข้อเสนอแนะในวันนี้ ไปปรึกษาหารือกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตลอดจนส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป