ศูนย์ข่าวศรีราชา - ปัญหาขยะเมืองพัทยายังไร้ทีท่ายุติ หลังเมืองพัทยายังไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนในการจัดการปัญหาขยะตกค้างในอนาคต ขณะที่ สม.พัทยา หวั่นการรองรับปัญหาช่วงเทศกาลวันหยุดส่งผลกระทบด้านการท่องเที่ยว
กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับสถานการณ์ปัญหาขยะมูลอฝยเมืองพัทยา หลังจากที่ชาวบ้านปิดพื้นที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอยเมืองพัทยาบริเวณตำบลเขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อย่างถาวร เพราะทนปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นไม่ไหว ส่งผลให้ช่วงระยะเวลากว่า 1 เดือนที่ผ่านมา เมืองพัทยาต้องประสบกับปัญหาขยะตกค้างอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบให้เห็นอยู่ในหลายพื้นที่
กรณีดังกล่าวในที่ประชุมโฆษกเมืองพัทยานายณัฐพล ธีรวุฒิวรเวทย์ หัวหน้าฝ่ายขนถ่ายและกำ จัดขยะมูลฝอยชุมชนเมืองพัทยา ระบุว่าสำหรับปัญหาขยะเมืองพัทยาปัจจุบันถือว่ามีปัญหาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน หลังชาวบ้านปิดตายพื้นที่กำจัดขยะของเมืองพัทยา บริเวณตำบลเขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จนส่งผลให้ขยะตกค้างอย่างต่อเนื่อง และด้วยปริมาณที่มากขึ้นเมืองพัทยาจึงต้องประสานไปยังเทศบาลข้างเคียงในการขนถ่ายขยะไปทิ้งเป็นการชั่วคราว ซึ่งปัจจุบันถือว่าได้รับความร่วมมืออันดีจากเทศบาลแหลมฉบังให้เมืองพัทยานำขยะไปทิ้งได้ในจำนวน 350 ตันต่อวัน ซึ่งก็สามารถทำให้ปัญหาเบาบางลงไปได้จุดหนึ่งและคาดว่าต้องใช้การขนถ่ายลักษณะนี้ไปอีกกว่า 1 ปี
ขณะที่แผนงานระยะยาวในการก่อสร้างโรงคัดแยกขยะในบ่อทิ้งขยะเขาไม้แก้วที่ว่าจ้างภาคเอกชนมาดำเนินการ เพื่อลดปริมาณขยะแล้วนำขยะไปใช้ประโยชน์นั้น เมื่อบ่อขยะถูกปิดตัวลงเมืองพัทยาก็ต้องหาแนวทางอื่น โดยมีเป้าหมายจะประสานเทศบาลศรีราชาซึ่งมีพื้นที่ฝังกลบขนาดใหญ่แต่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ไปจัด ทำโรงคัดแยกในพื้นที่นี้แทน โดยยังอยู่ขั้นตอนของการประสานงานและหากทางศรีราชายินยอมก็คงเข้าไปจัดส้างโรงคัดแยกขยะต่อไปซึ่งคาดว่าจะอยู่ในระยะเวลา 1 ปี แต่ก็ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน
ขณะที่สมาชิกสภาเมืองพัทยาบางส่วนเป็นห่วงถึงสถานการณ์ขยะตกค้างในพื้นที่ เนื่องจากปัจจุ บันเมืองพัทยาต้องขนถ่ายขยะในระยะทางที่ไกลขึ้น ซึ่งอาจมีปัญหาในเรื่องขนส่งเรื่องของเชื้อเพลิงและกรณีอื่นๆ จนก่อให้เกิดปัญหาลุกลาม โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวหรือ Long Weekend ซึ่งกรณีนี้ทางผู้เกี่ยวข้องชี้แจงว่ามีแผนงานเตรียมรองรับไว้แล้ว โดยการจัดเตรียมรถขนถ่ายขนาดใหญ่ที่สามารถบรรทุกขยะได้คราวละ 22 ตัน/คันจำนวน 5 คัน นำส่งเทศบาลแหลมฉบังวันละ 3-4 เที่ยว หรือเฉลี่ยนำขยะไปสู่ขบวนการกำจัดเฉลี่ยวันละ 320-350 ตัน ซึ่งคงจะสามารถรองรับกับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่
กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับสถานการณ์ปัญหาขยะมูลอฝยเมืองพัทยา หลังจากที่ชาวบ้านปิดพื้นที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอยเมืองพัทยาบริเวณตำบลเขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อย่างถาวร เพราะทนปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นไม่ไหว ส่งผลให้ช่วงระยะเวลากว่า 1 เดือนที่ผ่านมา เมืองพัทยาต้องประสบกับปัญหาขยะตกค้างอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบให้เห็นอยู่ในหลายพื้นที่
กรณีดังกล่าวในที่ประชุมโฆษกเมืองพัทยานายณัฐพล ธีรวุฒิวรเวทย์ หัวหน้าฝ่ายขนถ่ายและกำ จัดขยะมูลฝอยชุมชนเมืองพัทยา ระบุว่าสำหรับปัญหาขยะเมืองพัทยาปัจจุบันถือว่ามีปัญหาอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน หลังชาวบ้านปิดตายพื้นที่กำจัดขยะของเมืองพัทยา บริเวณตำบลเขาไม้แก้ว อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จนส่งผลให้ขยะตกค้างอย่างต่อเนื่อง และด้วยปริมาณที่มากขึ้นเมืองพัทยาจึงต้องประสานไปยังเทศบาลข้างเคียงในการขนถ่ายขยะไปทิ้งเป็นการชั่วคราว ซึ่งปัจจุบันถือว่าได้รับความร่วมมืออันดีจากเทศบาลแหลมฉบังให้เมืองพัทยานำขยะไปทิ้งได้ในจำนวน 350 ตันต่อวัน ซึ่งก็สามารถทำให้ปัญหาเบาบางลงไปได้จุดหนึ่งและคาดว่าต้องใช้การขนถ่ายลักษณะนี้ไปอีกกว่า 1 ปี
ขณะที่แผนงานระยะยาวในการก่อสร้างโรงคัดแยกขยะในบ่อทิ้งขยะเขาไม้แก้วที่ว่าจ้างภาคเอกชนมาดำเนินการ เพื่อลดปริมาณขยะแล้วนำขยะไปใช้ประโยชน์นั้น เมื่อบ่อขยะถูกปิดตัวลงเมืองพัทยาก็ต้องหาแนวทางอื่น โดยมีเป้าหมายจะประสานเทศบาลศรีราชาซึ่งมีพื้นที่ฝังกลบขนาดใหญ่แต่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ ไปจัด ทำโรงคัดแยกในพื้นที่นี้แทน โดยยังอยู่ขั้นตอนของการประสานงานและหากทางศรีราชายินยอมก็คงเข้าไปจัดส้างโรงคัดแยกขยะต่อไปซึ่งคาดว่าจะอยู่ในระยะเวลา 1 ปี แต่ก็ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจน
ขณะที่สมาชิกสภาเมืองพัทยาบางส่วนเป็นห่วงถึงสถานการณ์ขยะตกค้างในพื้นที่ เนื่องจากปัจจุ บันเมืองพัทยาต้องขนถ่ายขยะในระยะทางที่ไกลขึ้น ซึ่งอาจมีปัญหาในเรื่องขนส่งเรื่องของเชื้อเพลิงและกรณีอื่นๆ จนก่อให้เกิดปัญหาลุกลาม โดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวหรือ Long Weekend ซึ่งกรณีนี้ทางผู้เกี่ยวข้องชี้แจงว่ามีแผนงานเตรียมรองรับไว้แล้ว โดยการจัดเตรียมรถขนถ่ายขนาดใหญ่ที่สามารถบรรทุกขยะได้คราวละ 22 ตัน/คันจำนวน 5 คัน นำส่งเทศบาลแหลมฉบังวันละ 3-4 เที่ยว หรือเฉลี่ยนำขยะไปสู่ขบวนการกำจัดเฉลี่ยวันละ 320-350 ตัน ซึ่งคงจะสามารถรองรับกับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้อย่างเต็มที่