อธิบดีส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ชี้ กทม.ขยะพุ่งกว่า 10,000 ตัน/วัน เร่งรณรงค์ลดขยะต้นทาง ชี้อยากให้ ปชช.ช่วยคัดแยกขยะเพื่อลดปัญหามากขึ้น-รองผู้ว่าฯ ยันเตาเผาหนองแขม ไม่กระทบแน่
วันนี้ (9 ส.ค.) ที่ห้องประชุมกรุงธน บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการสัมมนาการบริหารจัดการขยะในชุมชนเมือง ซึ่งทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (TASME) ร่วมกันจัดขึ้น โดยมี นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย (SME) ผู้แทนสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ผู้นำชุมชน คณะครู อาจารย์ และนักเรียน เข้าร่วมกว่า 300 คน โดยมีการเสวนาในรูปแบบการบริหารจัดการขยะในชุมชนเมือง
นายจตุพร กล่าวว่า ปัจจุบัน กทม.มีขยะเฉลี่ยมากกว่า 10,000 ตัน/วัน เฉลี่ยทิ้งขยะเกือบถึง 2 กิโลกรัม/คน/วัน ใช้พลาสติกถึง 8 ใบ/คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่มหาศาลมาก ขณะที่ทาง กทม.สามารถบริหารจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบ ทั้งการฝังกลบ และการคัดแยกขยะอินทรีย์มาทำเป็นปุ๋ยหมัก แต่ทั้งนี้อยากให้ประชาชนคนเมืองตื่นตัว ช่วยคัดแยกขยะโดยเริ่มจากครัวเรือน คัดแยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย ซึ่งถือว่าเป็นการจะช่วยกันลดขยะได้อีกส่วนหนึ่ง ขณะที่ทาง กทม.จะนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการขยะในพื้นที่ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น จังหวัดภูเก็ต แต่ทั้งนี้จะต้องอธิบายและทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย
ด้าน นายจุมพล กล่าวว่า ปัญหาขยะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีผลต่อสุขอนามัยของประชาชน และที่สำคัญขยะจากชุมชนมีมากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ปัจจุบันมีมากเกือบ 12 ล้านคน ในแต่ละวัน มีขยะไม่ต่ำกว่า 12,000 ตัน/วัน ทั้งนี้ก่อนจะนำขยะมาสู่กระบวนการบริหารจัดการ จะถูกผ่านขั้นตอนการคัดแยกขยะ ทำให้ขยะกลับไปสู่ตลาดรีไซเคิล ประมาณกว่า 3,000 ตัน/วัน ส่วนที่จะนำเข้าสู่ศูนย์บริหารจัดการ จะมีประมาณ 95,000-96,000 ตัน/วัน ดังนั้น กทม.จึงต้องรณรงค์ให้ความรู้กับชุมชน ในการช่วยกันลดขยะจากต้นทาง พยายามให้ความรู้ สร้างชุมชนต้นแบบ ชุมชนนำร่องทำขยะให้เป็นศูนย์ และสิ่งที่ กทม.วางเป้าหมายไว้คือพยายามลดขยะเฉลี่ยจากจำนวนคน 1.3 กก./คน/วัน ให้ลดลงมาเหลือ 0.50 กก./คน/วัน จึงต้องเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจลดขยะจากต้นทางให้ได้มากที่สุด
สำหรับการจัดการขยะโดยใช้เตาเผาพลังงานความร้อนสูงนั้น ทั่วโลกใช้มาแล้วกว่า 40-50 ปี มีประเทศที่ใช้เตาเผาถึง 80% ซึ่งการเผาในอดีต อาจจะมีควันออกมาสร้างมลภาวะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่หากควบคุมอุณหภูมิประมาณ 850-1,300 องศาเซลเซียส สารแก๊สมีพิษบางชนิดที่มีผลต่อชั้นบรรยากาศจะถูกทำลาย ซึ่ง กทม.ได้กำหนดควบคุมชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมยืนยันมีวิธีการจัดการ อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังมีวิธีที่เริ่มมีบางประเทศนำมาบริหารจัดการขยะ คือ นำขยะมาหมักให้เกิดความร้อน และนำความร้อนมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จะไม่ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ ซึ่ง กทม.กำลังศึกษาเพื่อนำมาใช้ นายจุมพล กล่าว
นาวาเอกมนตรี ชูนามชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการมูลฝอยชุมชน กล่าวว่า การจะจัดการขยะอย่างยั่งยืน จะต้องเริ่มจากต้นทาง คือ ระดับครัวเรือน ซึ่งจะต้องช่วยกันคัดแยกขยะ ที่ยังสามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่ หรือขยะรีไซเคิล ซึ่งหากทำได้ ก็จะทำให้ปริมาณขยะลดลงถึง 40% ส่วนอีก 50-60% เป็นขยะอินทรีย์ ก็สามารถนำมาแปรรูปได้ภายในครัวเรือน คือการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ยหมัก ก็จะเหลือขยะอันตรายและขยะทั่วไปไม่ถึง 10% ในการที่จะให้หน่วยงานนำขยะเหล่านี้ไปกำจัดอย่างถูกวิธี ดังนั้น ในการจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืน ภาคประชาชนถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกันลดปริมาณขยะในอนาคต
วันนี้ (9 ส.ค.) ที่ห้องประชุมกรุงธน บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการสัมมนาการบริหารจัดการขยะในชุมชนเมือง ซึ่งทางกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (TASME) ร่วมกันจัดขึ้น โดยมี นายจุมพล สำเภาพล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมไทย (SME) ผู้แทนสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ผู้นำชุมชน คณะครู อาจารย์ และนักเรียน เข้าร่วมกว่า 300 คน โดยมีการเสวนาในรูปแบบการบริหารจัดการขยะในชุมชนเมือง
นายจตุพร กล่าวว่า ปัจจุบัน กทม.มีขยะเฉลี่ยมากกว่า 10,000 ตัน/วัน เฉลี่ยทิ้งขยะเกือบถึง 2 กิโลกรัม/คน/วัน ใช้พลาสติกถึง 8 ใบ/คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่มหาศาลมาก ขณะที่ทาง กทม.สามารถบริหารจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบ ทั้งการฝังกลบ และการคัดแยกขยะอินทรีย์มาทำเป็นปุ๋ยหมัก แต่ทั้งนี้อยากให้ประชาชนคนเมืองตื่นตัว ช่วยคัดแยกขยะโดยเริ่มจากครัวเรือน คัดแยกขยะเปียก ขยะแห้ง ขยะอันตราย ซึ่งถือว่าเป็นการจะช่วยกันลดขยะได้อีกส่วนหนึ่ง ขณะที่ทาง กทม.จะนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการขยะในพื้นที่ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เช่น จังหวัดภูเก็ต แต่ทั้งนี้จะต้องอธิบายและทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย
ด้าน นายจุมพล กล่าวว่า ปัญหาขยะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีผลต่อสุขอนามัยของประชาชน และที่สำคัญขยะจากชุมชนมีมากขึ้น จากการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ปัจจุบันมีมากเกือบ 12 ล้านคน ในแต่ละวัน มีขยะไม่ต่ำกว่า 12,000 ตัน/วัน ทั้งนี้ก่อนจะนำขยะมาสู่กระบวนการบริหารจัดการ จะถูกผ่านขั้นตอนการคัดแยกขยะ ทำให้ขยะกลับไปสู่ตลาดรีไซเคิล ประมาณกว่า 3,000 ตัน/วัน ส่วนที่จะนำเข้าสู่ศูนย์บริหารจัดการ จะมีประมาณ 95,000-96,000 ตัน/วัน ดังนั้น กทม.จึงต้องรณรงค์ให้ความรู้กับชุมชน ในการช่วยกันลดขยะจากต้นทาง พยายามให้ความรู้ สร้างชุมชนต้นแบบ ชุมชนนำร่องทำขยะให้เป็นศูนย์ และสิ่งที่ กทม.วางเป้าหมายไว้คือพยายามลดขยะเฉลี่ยจากจำนวนคน 1.3 กก./คน/วัน ให้ลดลงมาเหลือ 0.50 กก./คน/วัน จึงต้องเร่งสร้างความรู้ ความเข้าใจลดขยะจากต้นทางให้ได้มากที่สุด
สำหรับการจัดการขยะโดยใช้เตาเผาพลังงานความร้อนสูงนั้น ทั่วโลกใช้มาแล้วกว่า 40-50 ปี มีประเทศที่ใช้เตาเผาถึง 80% ซึ่งการเผาในอดีต อาจจะมีควันออกมาสร้างมลภาวะกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่หากควบคุมอุณหภูมิประมาณ 850-1,300 องศาเซลเซียส สารแก๊สมีพิษบางชนิดที่มีผลต่อชั้นบรรยากาศจะถูกทำลาย ซึ่ง กทม.ได้กำหนดควบคุมชัดเจน เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมยืนยันมีวิธีการจัดการ อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ยังมีวิธีที่เริ่มมีบางประเทศนำมาบริหารจัดการขยะ คือ นำขยะมาหมักให้เกิดความร้อน และนำความร้อนมาผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จะไม่ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศ ซึ่ง กทม.กำลังศึกษาเพื่อนำมาใช้ นายจุมพล กล่าว
นาวาเอกมนตรี ชูนามชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการมูลฝอยชุมชน กล่าวว่า การจะจัดการขยะอย่างยั่งยืน จะต้องเริ่มจากต้นทาง คือ ระดับครัวเรือน ซึ่งจะต้องช่วยกันคัดแยกขยะ ที่ยังสามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ใหม่ หรือขยะรีไซเคิล ซึ่งหากทำได้ ก็จะทำให้ปริมาณขยะลดลงถึง 40% ส่วนอีก 50-60% เป็นขยะอินทรีย์ ก็สามารถนำมาแปรรูปได้ภายในครัวเรือน คือการแปรรูปขยะอินทรีย์ให้เป็นปุ๋ยหมัก ก็จะเหลือขยะอันตรายและขยะทั่วไปไม่ถึง 10% ในการที่จะให้หน่วยงานนำขยะเหล่านี้ไปกำจัดอย่างถูกวิธี ดังนั้น ในการจัดการปัญหาขยะอย่างยั่งยืน ภาคประชาชนถือเป็นส่วนสำคัญในการช่วยกันลดปริมาณขยะในอนาคต