ศูนย์ข่าวศรีราชา - กรมเจ้าท่า เดินหน้ารับฟังความเห็นประชาชน หวังสร้างเขื่อนกันคลื่นบริเวณท่าเทียบเรือแหลมศอก จังหวัดตราด ให้ใช้งานได้ตลอดปี หลัง อบจ.ตราด แจ้งคลื่นลมแรงช่วงมรสุมทำให้ใช้งานเพื่อการท่องเที่ยวได้เพียง 6 เดือน
นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสำรวจออกแบบเขื่อนกันคลื่นบริเวณท่าเทียบเรือแหลมศอก จังหวัดตราด ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินโครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้ดำเนินการออกแบบแนวกันคลื่นของท่าเทียบเรือแหลมศอก
นายวันชัย บุตรทองดี วิศวกรชำนาญการพิเศษ สำนักสำรวจและวิศวกรรม กรมเจ้าท่า กล่าวว่า ตามที่กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือแหลมศอกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตามหมู่เกาะต่างๆ ของจังหวัดตราด โดยได้ดำเนินการแล้วเสร็จมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 พร้อมทั้งส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราดดูแล และบริหารจัดการ
แต่เนื่องจากท่าเทียบเรือดังกล่าวมีความยาวเกือบ 1 กิโลเมตร ยื่นลงไปในทะเลเปิด คลื่นแรงในฤดูมรสุม ทำให้ท่าเรือแห่งนี้สามารถใช้งานได้เพียง 6 เดือนต่อปี คือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เท่านั้น ทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องขอให้กรมเจ้าท่าดำเนินโครงการสำรวจ และออกแบบแนวกันคลื่นบริเวณท่าเทียบเรือแห่งนี้ เพื่อให้ท่าเทียบเรือแหลมศอกสามารถใช้งานได้ตลอดปี
จึงได้มีการว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งเปิดเวทีประชาสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ก่อนจะจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการก่อสร้างต่อไป
นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสำรวจออกแบบเขื่อนกันคลื่นบริเวณท่าเทียบเรือแหลมศอก จังหวัดตราด ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินโครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้ดำเนินการออกแบบแนวกันคลื่นของท่าเทียบเรือแหลมศอก
นายวันชัย บุตรทองดี วิศวกรชำนาญการพิเศษ สำนักสำรวจและวิศวกรรม กรมเจ้าท่า กล่าวว่า ตามที่กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการก่อสร้างท่าเทียบเรือแหลมศอกเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวตามหมู่เกาะต่างๆ ของจังหวัดตราด โดยได้ดำเนินการแล้วเสร็จมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 พร้อมทั้งส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดตราดดูแล และบริหารจัดการ
แต่เนื่องจากท่าเทียบเรือดังกล่าวมีความยาวเกือบ 1 กิโลเมตร ยื่นลงไปในทะเลเปิด คลื่นแรงในฤดูมรสุม ทำให้ท่าเรือแห่งนี้สามารถใช้งานได้เพียง 6 เดือนต่อปี คือ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เท่านั้น ทำให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ต้องขอให้กรมเจ้าท่าดำเนินโครงการสำรวจ และออกแบบแนวกันคลื่นบริเวณท่าเทียบเรือแห่งนี้ เพื่อให้ท่าเทียบเรือแหลมศอกสามารถใช้งานได้ตลอดปี
จึงได้มีการว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งเปิดเวทีประชาสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ก่อนจะจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อเสนอสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการก่อสร้างต่อไป