กาญจนบุรี - สสจ.กาญจนบุรีเตือนประชาชนป้องกันโรคไข้เลือดออก เร่งประสานภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชนร่วมรณรงค์เฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกระบาด ย้ำให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างต่อเนื่อง “เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย”
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (17 ส.ค.) นพ.อภิชาติ รอดสม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่นำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สภาพอากาศที่แปรปรวนมีฝนตกบ่อยๆ เมื่อฝนทิ้งช่วงจะมียุงลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงวันที่ 16 ส.ค.55 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 545 ราย (อัตราป่วย 69.90 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย (คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.18) อำเภอที่พบมากที่สุดคือ อำเภอเมือง อำเภอไทรโยค และอำเภอท่าม่วง คิดเป็นอัตราป่วย 197.36, 72.11 และ 40.85 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
กระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยสุขภาพของประชาชนในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงได้ออกมาตรการในการควบคุมโรคไข้เลือดออก 5 ด้าน ดังนี้ 1.การเฝ้าระวังควบคุมโรคในทันทีที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2.ป้องกันไม่เกิดโรคซ้ำ หรือเพิ่มมากขึ้น 3.การเข้าถึงบริการรักษาต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อลดการป่วยตาย 4.การสื่อสารความเสี่ยงต้องชัดเจน และทั่วถึงเพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานให้ความสำคัญ และเกิดความร่วมมือ และ 5.การร่วมมือกับภาครัฐส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งทั้ง 5 มาตรการดังกล่าว ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่จากทุกภาคส่วน และประชาชนดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนการป่วยตายจากโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่
นพ.อภิชาติ กล่าวต่อว่า ขอเชิญชวนประชาชนร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยมาตรการปราบยุงลายพาหะของโรควิธี 5 ป ได้แก่ ปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้สนิท เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาด ไม่รกรุงรังไม่ให้เป็นที่เกาะพัก และเพาะยุงลาย และปฏิบัติตามมาตรการเป็นประจำต่อเนื่องทุก 7 วัน นอกจากจะดำเนินการปราบยุงแล้ว ต้องระวังไม่ให้ยุงกัด เช่น ทาโลชั่นป้องกันยุง นอนในมุ้ง หรือห้องมุ้งลวด หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มืดๆ หรือที่มียุงมาก
นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน โรงแรมรีสอร์ต ร่วมกันทำความสะอาด (Big Cleaning Day) อย่างสม่ำเสมอ “เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย” โดยการเก็บขยะเก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง และเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพาหะของโรคอีกด้วย
“สำหรับอาการเบื้องต้นของไข้เลือดออก ได้แก่ ไข้สูง หน้าแดง ปวดท้องเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีจุดเลือดออกได้ มักพบว่าเมื่อไข้ลดลงผู้ป่วยกลับมีอาการแย่ลง ซึม ควรรีบไปพบแพทย์เจาะเลือดไม่ต้องรอให้เกิดจุดเลือดใต้ผิวหนัง ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการช็อก และเสียชีวิต หากพบว่าคนในบ้านไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่มีไข้สูงกินยาพาราเซตามอล ทุก 4-6 ชั่วโมง และเช็ดตัวแล้วหากไข้ยังไม่ลดใน 2-3 วัน ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก ห้ามกินยาลดไข้จำพวกแอสไพริน ควรรีบพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป” นพ.อภิชาติกล่าว
เมื่อเวลา 10.00 น.วันนี้ (17 ส.ค.) นพ.อภิชาติ รอดสม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่นำโดยแมลง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สภาพอากาศที่แปรปรวนมีฝนตกบ่อยๆ เมื่อฝนทิ้งช่วงจะมียุงลายเพิ่มจำนวนมากขึ้น สถานการณ์ไข้เลือดออกของจังหวัดกาญจนบุรีตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงวันที่ 16 ส.ค.55 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วย 545 ราย (อัตราป่วย 69.90 ต่อประชากรแสนคน) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย (คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.18) อำเภอที่พบมากที่สุดคือ อำเภอเมือง อำเภอไทรโยค และอำเภอท่าม่วง คิดเป็นอัตราป่วย 197.36, 72.11 และ 40.85 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ
กระทรวงสาธารณสุขมีความห่วงใยสุขภาพของประชาชนในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะการระบาดของโรคไข้เลือดออก จึงได้ออกมาตรการในการควบคุมโรคไข้เลือดออก 5 ด้าน ดังนี้ 1.การเฝ้าระวังควบคุมโรคในทันทีที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 2.ป้องกันไม่เกิดโรคซ้ำ หรือเพิ่มมากขึ้น 3.การเข้าถึงบริการรักษาต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วเพื่อลดการป่วยตาย 4.การสื่อสารความเสี่ยงต้องชัดเจน และทั่วถึงเพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานให้ความสำคัญ และเกิดความร่วมมือ และ 5.การร่วมมือกับภาครัฐส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งทั้ง 5 มาตรการดังกล่าว ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่จากทุกภาคส่วน และประชาชนดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนการป่วยตายจากโรคไข้เลือดออกของประชาชนในพื้นที่
นพ.อภิชาติ กล่าวต่อว่า ขอเชิญชวนประชาชนร่วมใจป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยมาตรการปราบยุงลายพาหะของโรควิธี 5 ป ได้แก่ ปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้สนิท เปลี่ยนน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาด ไม่รกรุงรังไม่ให้เป็นที่เกาะพัก และเพาะยุงลาย และปฏิบัติตามมาตรการเป็นประจำต่อเนื่องทุก 7 วัน นอกจากจะดำเนินการปราบยุงแล้ว ต้องระวังไม่ให้ยุงกัด เช่น ทาโลชั่นป้องกันยุง นอนในมุ้ง หรือห้องมุ้งลวด หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มืดๆ หรือที่มียุงมาก
นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือโรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน โรงแรมรีสอร์ต ร่วมกันทำความสะอาด (Big Cleaning Day) อย่างสม่ำเสมอ “เก็บให้เกลี้ยงไม่เลี้ยงยุงลาย” โดยการเก็บขยะเก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง และเก็บน้ำให้มิดชิดเพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพาหะของโรคอีกด้วย
“สำหรับอาการเบื้องต้นของไข้เลือดออก ได้แก่ ไข้สูง หน้าแดง ปวดท้องเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีจุดเลือดออกได้ มักพบว่าเมื่อไข้ลดลงผู้ป่วยกลับมีอาการแย่ลง ซึม ควรรีบไปพบแพทย์เจาะเลือดไม่ต้องรอให้เกิดจุดเลือดใต้ผิวหนัง ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดอาการช็อก และเสียชีวิต หากพบว่าคนในบ้านไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่มีไข้สูงกินยาพาราเซตามอล ทุก 4-6 ชั่วโมง และเช็ดตัวแล้วหากไข้ยังไม่ลดใน 2-3 วัน ขอให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจป่วยเป็นไข้เลือดออก ห้ามกินยาลดไข้จำพวกแอสไพริน ควรรีบพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันทีเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป” นพ.อภิชาติกล่าว