สธ.กำชับ สสจ.ทั่วประเทศ คุมเข้มโรคไข้เลือดออก เน้นวินิจฉัยเร็ว และหากผู้ป่วยมาโรงพยาบาลก่อนช็อก ช่วยลดอัตราการตายได้ เร่งประสาน อสม.-อปท.จัดบิ๊กคลีนนิงเดย์ กำจัดลูกน้ำยุงลาย “หมอพรเทพ” ร่อนหนังสือแจ้งสำนักปลัด สธ.ย้ำ การอบรมแพทย์ พยาบาลในการวินิจฉัย
วันนี้ (1 ส.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีปี 2555 มียอดผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวน 27 ราย ว่า จากการเปรียบเทียบสถานการณ์ที่ผ่านมา หากดูข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี จะพบว่า ในปี 2551 มีผู้ป่วยตายจากโรคนี้ 102 ราย ปี 2552 จำนวน 50 ราย ปี 2553 จำนวน 139 ราย ปี 2554 จำนวน 59 ราย และปี 2555 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม มีผู้ป่วยตาย จำนวน 27 ราย ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลาเดียวกัน พบผู้ป่วยตาย 24 ราย สธ.จึงมีนโยบายลดการป่วยตายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือ ผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดก่อนที่จะมีอาการช็อก และสถานพยาบาลต้องรีบวินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงที จึงจะสามารถลดอัตราการป่วยตายได้ ซึ่งเรื่องนี้ สธ.ได้แจ้งเตือนไปยังเครือข่ายการดำเนินงานในพื้นที่ คือ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่งแล้ว ตั้งแต่ก่อนฤดูการระบาดให้เตรียมตัวรับมือโรคไข้เลือดออก
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า เมื่อเข้าฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงการระบาดมากของทุกปี สธ.ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้ สสจ.ทุกแห่งป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มข้น เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราป่วยตายให้ได้มากที่สุด โดยเน้น 5 มาตรการ ได้แก่ 1.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เข้าควบคุมโรคอย่างทันท่วงทีเมื่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออก กำชับป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำในพื้นที่เดิม การเข้าถึงบริการรักษาต้องรวดเร็ว สื่อสารกับประชาชนให้ชัดเจนเกิดความร่วมมือในการป้องกันโรค และหากป่วยต้องรีบเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อลดอัตราป่วยตาย และให้หน่วยงานสาธารณสุขร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ
2.ได้สั่งการไปยังสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง ให้จัดทำทำเนียบผู้เชี่ยวชาญและอบรมฟื้นฟูวิชาการแพทย์ โดยเน้นด้านตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ให้แก่แพทย์ในโรงพยาบาลทุกแห่งอย่างน้อยแห่งละ 1 คน เพื่อให้มีความรู้ในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
3.ขอความร่วมมือกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผนึกกำลังกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ชุมชนทำ Big Cleaning Day อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วิธี 5 ป.(ปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้สนิท เปลี่ยนน้ำ ในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และปฏิบัติตามมาตรการเป็นประจำต่อเนื่องทุก 7 วัน รวมทั้งแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด
4.ขอความร่วมมือสถานพยาบาลทุกแห่ง ทั้งภาครัฐ และเอกชน หากพบผู้ป่วยมีอาการไข้ ให้พิจารณาถึงโรคไข้เลือดออกด้วย เพื่อการเฝ้าระวังเข้าถึงบริการรักษาโรคไข้เลือดออกที่รวดเร็ว เพื่อลดการเสียชีวิต และ 5.ประสานกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ อปท.ทุกจังหวัดป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดอย่างเข้มแข็ง และดำเนินการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่รับผิดชอบโดยเฉพาะในโรงเรียน โรงแรม รีสอร์ต และชุมชน
“กรมควบคุมโรค ได้มีหนังสือถึงสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำเรื่องการอบรมแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เรื่องการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก เพื่อลดอัตราป่วยตายจากโรคดังกล่าว อย่างไรก็ตามพบผู้ป่วยมีไข้สูงติดต่อกัน 2 วัน แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย หากผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เสียชีวิต” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
วันนี้ (1 ส.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีปี 2555 มียอดผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก จำนวน 27 ราย ว่า จากการเปรียบเทียบสถานการณ์ที่ผ่านมา หากดูข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี จะพบว่า ในปี 2551 มีผู้ป่วยตายจากโรคนี้ 102 ราย ปี 2552 จำนวน 50 ราย ปี 2553 จำนวน 139 ราย ปี 2554 จำนวน 59 ราย และปี 2555 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 24 กรกฎาคม มีผู้ป่วยตาย จำนวน 27 ราย ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในช่วงเวลาเดียวกัน พบผู้ป่วยตาย 24 ราย สธ.จึงมีนโยบายลดการป่วยตายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือ ผู้ป่วยต้องมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดก่อนที่จะมีอาการช็อก และสถานพยาบาลต้องรีบวินิจฉัยและรักษาให้ทันท่วงที จึงจะสามารถลดอัตราการป่วยตายได้ ซึ่งเรื่องนี้ สธ.ได้แจ้งเตือนไปยังเครือข่ายการดำเนินงานในพื้นที่ คือ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1-12 และ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทุกแห่งแล้ว ตั้งแต่ก่อนฤดูการระบาดให้เตรียมตัวรับมือโรคไข้เลือดออก
นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า เมื่อเข้าฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงการระบาดมากของทุกปี สธ.ได้ดำเนินการ ดังนี้ 1.ให้ สสจ.ทุกแห่งป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มข้น เพื่อลดอัตราการป่วยและอัตราป่วยตายให้ได้มากที่สุด โดยเน้น 5 มาตรการ ได้แก่ 1.ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เข้าควบคุมโรคอย่างทันท่วงทีเมื่อพบผู้ป่วยไข้เลือดออก กำชับป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำในพื้นที่เดิม การเข้าถึงบริการรักษาต้องรวดเร็ว สื่อสารกับประชาชนให้ชัดเจนเกิดความร่วมมือในการป้องกันโรค และหากป่วยต้องรีบเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ เพื่อลดอัตราป่วยตาย และให้หน่วยงานสาธารณสุขร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ
2.ได้สั่งการไปยังสำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง ให้จัดทำทำเนียบผู้เชี่ยวชาญและอบรมฟื้นฟูวิชาการแพทย์ โดยเน้นด้านตรวจวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ให้แก่แพทย์ในโรงพยาบาลทุกแห่งอย่างน้อยแห่งละ 1 คน เพื่อให้มีความรู้ในการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
3.ขอความร่วมมือกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผนึกกำลังกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ชุมชนทำ Big Cleaning Day อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วิธี 5 ป.(ปิดฝาภาชนะใส่น้ำให้สนิท เปลี่ยนน้ำ ในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ทุก 7 วัน ปล่อยปลากินลูกน้ำ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และปฏิบัติตามมาตรการเป็นประจำต่อเนื่องทุก 7 วัน รวมทั้งแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด
4.ขอความร่วมมือสถานพยาบาลทุกแห่ง ทั้งภาครัฐ และเอกชน หากพบผู้ป่วยมีอาการไข้ ให้พิจารณาถึงโรคไข้เลือดออกด้วย เพื่อการเฝ้าระวังเข้าถึงบริการรักษาโรคไข้เลือดออกที่รวดเร็ว เพื่อลดการเสียชีวิต และ 5.ประสานกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ อปท.ทุกจังหวัดป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดอย่างเข้มแข็ง และดำเนินการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่รับผิดชอบโดยเฉพาะในโรงเรียน โรงแรม รีสอร์ต และชุมชน
“กรมควบคุมโรค ได้มีหนังสือถึงสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำเรื่องการอบรมแพทย์ ในโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่ง เรื่องการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออก เพื่อลดอัตราป่วยตายจากโรคดังกล่าว อย่างไรก็ตามพบผู้ป่วยมีไข้สูงติดต่อกัน 2 วัน แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย หากผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เสียชีวิต” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว