นักวิจัย วพ.ฟุ้ง น้ำกากชูรสเหลือทิ้งในอุตสาหกรรม ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตแบคทีเรียบีทีได้ ช่วยกำจัดลูกน้ำยุงลายได้ใกล้เคียงแบคทีเรียมาตรฐาน เผยต้นทุนต่ำกว่า ช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เตรียมทำเป็นผลิตภัณฑ์ใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายโดยเฉพาะ
นายแพทย์ บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กล่าวว่า ในแต่ละปีมีประชาชนป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคจำนวนมาก เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย และ โรคเท้าช้าง ฯลฯ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกำลังระบาด และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยใช้น้ำกากชูรสที่เป็นสิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตผงชูรส มาใช้เป็นวัตถุดิบในการเพาะเลี้ยงเซลล์ แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis) หรือ บีที ซึ่งเป็นแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงลาย จากการศึกษาพบว่า น้ำกากชูรสสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์แบคทีเรียได้ และมีประสิทธิภาพกำจัดลูกน้ำยุงลายใกล้เคียงกับแบคทีเรียมาตรฐาน ในอนาคตอาจนำไปสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายต่อไป
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แบคทีเรียที่ได้รับการยอมรับให้นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงลายนั้นมี 2 ชนิด คือ Bacillus thuringiensis subsp.israelensis เป็นแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการฆ่าลูกน้ำยุงได้หลายชนิด โดยเฉพาะการใช้กำจัดลูกน้ำยุงลาย รวมทั้งริ้นดำ และบาซิลลัส สเฟียริคัส (Bacillus sphaericus) เป็นแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงก้นปล่องและยุงรำคาญได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนา Bacillus thuringiensis subsp.israelensis เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าหลายชนิดในต่างประเทศ แต่มีราคาสูง ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เห็นว่า น้ำกากชูรสเหลือทิ้งสามารถสร้างงานวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือทิ้งได้หลายสาขา จึงได้มีการศึกษาและพัฒนาเป็นอาหารเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis เพื่อนำไปสู่การทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายต่อไป ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า รวมทั้งช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
นพ.สมชาย แสงกิจพร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้ได้วิจัยเกี่ยวกับ 1.การศึกษาผลของอุณหภูมิ ปริมาณอากาศ และความเป็นกรด-ด่าง ต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย 2.การพัฒนาอาหารเพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำกากชูรส 3.การศึกษาประสิทธิภาพฆ่าลูกน้ำ 4.การเพาะเลี้ยงในถังหมัก 5.รูปแบบผลิตภัณฑ์ 6.ความคงตัวของผลิตภัณฑ์ และ 7.การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์แบบจำลองธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า การนำน้ำกาก ชูรสมาเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis นั้น สามารถดำเนินการได้จริง แต่ต้องปรับระดับความเข้มข้นของน้ำกากชูรสรวมทั้งเติมสารอื่นๆในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ เนื่องจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis สายพันธุ์แพร่ เจริญเติบโตได้ดีในช่วงกว้างของอุณหภูมิและความเป็นกรด-ด่าง จึงไม่ค่อยยุ่งยากในการเพาะเลี้ยง แต่เป็นแบคทีเรียที่ต้องการอากาศจึงต้องให้อากาศในปริมาณที่เพียงพอ ถ้าเก็บเกี่ยวเซลล์ในช่วงที่เหมาะสม จะได้เซลล์ที่มีประสิทธิภาพกำจัดลูกน้ำยุงลายใกล้เคียงกับแบคทีเรียมาตรฐาน และมีต้นทุนต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศอีกด้วย
นายแพทย์ บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (วพ.) กล่าวว่า ในแต่ละปีมีประชาชนป่วยด้วยโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรคจำนวนมาก เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย และ โรคเท้าช้าง ฯลฯ โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกำลังระบาด และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่สนับสนุนงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ จึงได้มีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถกำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยใช้น้ำกากชูรสที่เป็นสิ่งเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมผลิตผงชูรส มาใช้เป็นวัตถุดิบในการเพาะเลี้ยงเซลล์ แบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส (Bacillus thuringiensis) หรือ บีที ซึ่งเป็นแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงลาย จากการศึกษาพบว่า น้ำกากชูรสสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์แบคทีเรียได้ และมีประสิทธิภาพกำจัดลูกน้ำยุงลายใกล้เคียงกับแบคทีเรียมาตรฐาน ในอนาคตอาจนำไปสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายต่อไป
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แบคทีเรียที่ได้รับการยอมรับให้นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดลูกน้ำยุงลายนั้นมี 2 ชนิด คือ Bacillus thuringiensis subsp.israelensis เป็นแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการฆ่าลูกน้ำยุงได้หลายชนิด โดยเฉพาะการใช้กำจัดลูกน้ำยุงลาย รวมทั้งริ้นดำ และบาซิลลัส สเฟียริคัส (Bacillus sphaericus) เป็นแบคทีเรียที่มีศักยภาพในการกำจัดลูกน้ำยุงก้นปล่องและยุงรำคาญได้ดี ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนา Bacillus thuringiensis subsp.israelensis เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าหลายชนิดในต่างประเทศ แต่มีราคาสูง ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เห็นว่า น้ำกากชูรสเหลือทิ้งสามารถสร้างงานวิจัย เพื่อใช้ประโยชน์จากสิ่งเหลือทิ้งได้หลายสาขา จึงได้มีการศึกษาและพัฒนาเป็นอาหารเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis เพื่อนำไปสู่การทำผลิตภัณฑ์เพื่อใช้กำจัดลูกน้ำยุงลายต่อไป ซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า รวมทั้งช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
นพ.สมชาย แสงกิจพร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้ได้วิจัยเกี่ยวกับ 1.การศึกษาผลของอุณหภูมิ ปริมาณอากาศ และความเป็นกรด-ด่าง ต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย 2.การพัฒนาอาหารเพาะเลี้ยงโดยใช้น้ำกากชูรส 3.การศึกษาประสิทธิภาพฆ่าลูกน้ำ 4.การเพาะเลี้ยงในถังหมัก 5.รูปแบบผลิตภัณฑ์ 6.ความคงตัวของผลิตภัณฑ์ และ 7.การทดสอบประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์แบบจำลองธรรมชาติ ผลการศึกษาพบว่า การนำน้ำกาก ชูรสมาเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis นั้น สามารถดำเนินการได้จริง แต่ต้องปรับระดับความเข้มข้นของน้ำกากชูรสรวมทั้งเติมสารอื่นๆในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ เนื่องจากแบคทีเรีย Bacillus thuringiensis สายพันธุ์แพร่ เจริญเติบโตได้ดีในช่วงกว้างของอุณหภูมิและความเป็นกรด-ด่าง จึงไม่ค่อยยุ่งยากในการเพาะเลี้ยง แต่เป็นแบคทีเรียที่ต้องการอากาศจึงต้องให้อากาศในปริมาณที่เพียงพอ ถ้าเก็บเกี่ยวเซลล์ในช่วงที่เหมาะสม จะได้เซลล์ที่มีประสิทธิภาพกำจัดลูกน้ำยุงลายใกล้เคียงกับแบคทีเรียมาตรฐาน และมีต้นทุนต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ของต่างประเทศอีกด้วย