ศูนย์ข่าวศรีราชา - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา โหมโครงการ “สะพายกล้องท่องไทย” ตอน “หลงเสน่ห์ ทะเลบูรพา” นำทัพสื่อสัมผัสการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หวังโปรโมทความสวยงามท้องทะเลชายฝั่งตะวันออก ผอ.ททท.ตราดชี้ “เกาะหมาก” หาดสวรรค์สำหรับนักเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชื่อพัฒนาคุณค่ามาก่อนพัฒนามูลค่าทำการท่องเที่ยวไทยยั่งยืนอย่างแท้จริง
ASTV ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา นำโดยนายอัครวิชย์ เทพาสิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ นำสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในเขตเมืองพัทยา อำเภอศรีราชาและจังหวัดชลบุรี ร่วมโครงการ “สะพายกล้องท่องไทย” ตอน “หลงเสน่ห์ ทะเลบูรพา” ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยเดินทางไปตามเส้นทางพัทยา-จันทบุรี-เกาะหมาก-ตราด-พัทยา ทั้งนี้ เพื่อหวังจะเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น
กิจกรรมในโครงการดังกล่าวเป็นการนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวสายจังหวัดชายทะเลตะวันออก โดยใช้เส้นทางถนนเฉลิมบูรพาทิต ผ่านจังหวัดจันทบุรีไปยังท่าเทียบเรือเฟอร์รี่ จังหวัดตราด ก่อนเดินทางด้วยเรือเร็วไปสัมผัสธรรมชาติทางระบบนิเวศของเกาะหมาก ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ พื้นที่ 9,000 ไร่ อยู่ระหว่างเกาะช้างและเกาะกูด ห่างจากชายฝั่งจังหวัดตราดประมาณ 28 กิโลเมตร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว โดยรอบเกาะมีชายหาดที่สวยงามและยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านและชุมชนบนเกาะ และเกาะหมากก็ยังถือว่าเป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดตราดด้วยเช่นกัน
จากการพูดคุยกับ นายวรนิติ์ กายราศ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด (ตราดและหมู่เกาะ) ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประชากรบนเกาะหมากมีประมาณ 450 คนส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน เพราะทั้งหมดเป็นลูกหลานชาวเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเกาะกงหรือเมืองประจันตคีรีเขตรตกเป็นของฝรั่งเศสปี พ.ศ.2447 แต่ด้วยชาวบ้านทั้งหมดมีความรักและห่วงแหนเกาะหมากเป็นอย่างมาก จึงมีการสนับสนุนการรักษาระบบนิเทศทางธรรมชาติบนเกาะมาโดยตลอด และไม่หวังให้มีการพัฒนาเชิงวัตถุมากกว่าการพัฒนาเชิงนิเวศที่ต้องการแค่ความพอเพียงสำหรับชาวบ้านและชุมชนบนเกาะเท่านั้น จึงทำให้สภาพโดยรวมของเกาะหมากยังคงเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่คลั่งไคล้ในการสัมผัสธรรมชาติและความสงบอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ กิจกรรมการท่องเที่ยวของเกาะหมากที่ได้รับความสนใจในอันดับต้นๆ คือกิจกรรมดำน้ำชมธรรมชาติใต้ท้องทะเลตามหมู่เกาะต่างๆ ที่ใกล้เคียงเกาะหมาก อาทิ เกาะเทียน เกาะรัง เกาะยักษ์เล็ก เกาะยักษ์ใหญ่ เกาะผี เกาะระยั้งนอกและเกาะระยั้งใน ซึ่งจะมีทั้งกิจกรรมการดำน้ำตื้นและดำน้ำลึก ซึ่งที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาชื่นชมและสัมผัสความงดงามใต้ท้องทะเลในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ใฝ่หาธรรมชาติและความสงบ และกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพเพราะจะเก็บเกี่ยวความงดงามผ่านประสบการณ์และภาพถ่ายโดยไม่หวังจะทำร้ายธรรมชาติในการท่องเที่ยวแม้แต่นิดเดียว
นายวรนิติ์ ยังแสดงทรรศนะด้านการท่องเที่ยวด้วยว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น ควรให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาทางด้านคุณค่ามากกว่าการพัฒนาทางด้านมูลค่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอาจจะไม่สามารถดึงดูดเม็ดเงินด้านการท่องเที่ยวได้มากกว่าหรือเทียบเท่าการท่องเที่ยวเพื่อความบันเทิง หรือการท่องเที่ยวแบบอื่น แต่เชื่อแน่ว่าการพัฒนาด้านคุณค่านั้นจะทำให้การท่องเที่ยวของไทยมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในหมู่เกาะต่างๆ ของประเทศไทยยังมีอีกมากและหากชาวบ้านและชุมชนอื่นมีความร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์พื้นที่ท่องเที่ยวและส่งเสริมในทิศทางที่ถูกต้องอย่างแท้จริงโดยหวังผลประโยชน์ด้านการเงินเพียงอย่างเดียวเหมือนคนเกาะหมากแล้ว ก็จะส่งผลถึงความยั่งยืนอื่นๆ ตามมาทั้งเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนนั้น และส่งผลในทางที่ดีในภาพรวมของภูมิภาคด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในเขตจังหวัดภาคตะวันออก 4 แห่ง ทั้ง ททท.สำนักงานพัทยา-ชลบุรี, ททท.สำนักงานตราด, ททท.สำนักงานจันทบุรีและ ททท.สำนักงานระยอง ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการเชื่อมโยงภูมิภาคแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้คอนเซ็ปต์ “สีสันตะวันออก” ที่หวังจะพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแห่งนี้ให้เชื่อมโยงกันอย่างยั่งยืน ซึ่งแต่ละสำนักงานต่างระดมสมองจัดกิจกรรมสานแนวทางนโยบายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
ASTV ผู้จัดการออนไลน์ รายงานว่า การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพัทยา นำโดยนายอัครวิชย์ เทพาสิต ผู้ช่วยผู้อำนวยการฯ นำสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ในเขตเมืองพัทยา อำเภอศรีราชาและจังหวัดชลบุรี ร่วมโครงการ “สะพายกล้องท่องไทย” ตอน “หลงเสน่ห์ ทะเลบูรพา” ระหว่างวันที่ 25-27 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยเดินทางไปตามเส้นทางพัทยา-จันทบุรี-เกาะหมาก-ตราด-พัทยา ทั้งนี้ เพื่อหวังจะเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวภาคตะวันออกให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายเพิ่มมากขึ้น
กิจกรรมในโครงการดังกล่าวเป็นการนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวสายจังหวัดชายทะเลตะวันออก โดยใช้เส้นทางถนนเฉลิมบูรพาทิต ผ่านจังหวัดจันทบุรีไปยังท่าเทียบเรือเฟอร์รี่ จังหวัดตราด ก่อนเดินทางด้วยเรือเร็วไปสัมผัสธรรมชาติทางระบบนิเวศของเกาะหมาก ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ พื้นที่ 9,000 ไร่ อยู่ระหว่างเกาะช้างและเกาะกูด ห่างจากชายฝั่งจังหวัดตราดประมาณ 28 กิโลเมตร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว โดยรอบเกาะมีชายหาดที่สวยงามและยังคงสภาพความเป็นธรรมชาติได้อย่างดีเยี่ยมจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านและชุมชนบนเกาะ และเกาะหมากก็ยังถือว่าเป็นพื้นที่ปลูกมะพร้าวสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดตราดด้วยเช่นกัน
จากการพูดคุยกับ นายวรนิติ์ กายราศ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตราด (ตราดและหมู่เกาะ) ทำให้ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประชากรบนเกาะหมากมีประมาณ 450 คนส่วนใหญ่เป็นเครือญาติกัน เพราะทั้งหมดเป็นลูกหลานชาวเขมรเชื้อชาติไทยที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อครั้งเกาะกงหรือเมืองประจันตคีรีเขตรตกเป็นของฝรั่งเศสปี พ.ศ.2447 แต่ด้วยชาวบ้านทั้งหมดมีความรักและห่วงแหนเกาะหมากเป็นอย่างมาก จึงมีการสนับสนุนการรักษาระบบนิเทศทางธรรมชาติบนเกาะมาโดยตลอด และไม่หวังให้มีการพัฒนาเชิงวัตถุมากกว่าการพัฒนาเชิงนิเวศที่ต้องการแค่ความพอเพียงสำหรับชาวบ้านและชุมชนบนเกาะเท่านั้น จึงทำให้สภาพโดยรวมของเกาะหมากยังคงเต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ซึ่งเหมาะกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่คลั่งไคล้ในการสัมผัสธรรมชาติและความสงบอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ กิจกรรมการท่องเที่ยวของเกาะหมากที่ได้รับความสนใจในอันดับต้นๆ คือกิจกรรมดำน้ำชมธรรมชาติใต้ท้องทะเลตามหมู่เกาะต่างๆ ที่ใกล้เคียงเกาะหมาก อาทิ เกาะเทียน เกาะรัง เกาะยักษ์เล็ก เกาะยักษ์ใหญ่ เกาะผี เกาะระยั้งนอกและเกาะระยั้งใน ซึ่งจะมีทั้งกิจกรรมการดำน้ำตื้นและดำน้ำลึก ซึ่งที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาชื่นชมและสัมผัสความงดงามใต้ท้องทะเลในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่ใฝ่หาธรรมชาติและความสงบ และกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพเพราะจะเก็บเกี่ยวความงดงามผ่านประสบการณ์และภาพถ่ายโดยไม่หวังจะทำร้ายธรรมชาติในการท่องเที่ยวแม้แต่นิดเดียว
นายวรนิติ์ ยังแสดงทรรศนะด้านการท่องเที่ยวด้วยว่า การพัฒนาการท่องเที่ยวนั้น ควรให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาทางด้านคุณค่ามากกว่าการพัฒนาทางด้านมูลค่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติอาจจะไม่สามารถดึงดูดเม็ดเงินด้านการท่องเที่ยวได้มากกว่าหรือเทียบเท่าการท่องเที่ยวเพื่อความบันเทิง หรือการท่องเที่ยวแบบอื่น แต่เชื่อแน่ว่าการพัฒนาด้านคุณค่านั้นจะทำให้การท่องเที่ยวของไทยมีความยั่งยืนอย่างแท้จริง เพราะสภาพแวดล้อมของธรรมชาติในหมู่เกาะต่างๆ ของประเทศไทยยังมีอีกมากและหากชาวบ้านและชุมชนอื่นมีความร่วมมือร่วมใจในการอนุรักษ์พื้นที่ท่องเที่ยวและส่งเสริมในทิศทางที่ถูกต้องอย่างแท้จริงโดยหวังผลประโยชน์ด้านการเงินเพียงอย่างเดียวเหมือนคนเกาะหมากแล้ว ก็จะส่งผลถึงความยั่งยืนอื่นๆ ตามมาทั้งเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของชุมชนนั้น และส่งผลในทางที่ดีในภาพรวมของภูมิภาคด้วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในเขตจังหวัดภาคตะวันออก 4 แห่ง ทั้ง ททท.สำนักงานพัทยา-ชลบุรี, ททท.สำนักงานตราด, ททท.สำนักงานจันทบุรีและ ททท.สำนักงานระยอง ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการเชื่อมโยงภูมิภาคแหล่งท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้คอนเซ็ปต์ “สีสันตะวันออก” ที่หวังจะพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแห่งนี้ให้เชื่อมโยงกันอย่างยั่งยืน ซึ่งแต่ละสำนักงานต่างระดมสมองจัดกิจกรรมสานแนวทางนโยบายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน