ศูนย์ข่าวศรีราชา -กลุ่มนักอนุรักษ์และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว แฉโครงการรัฐที่มุ่งพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกสู่ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งโครงการสร้างเขื่อนกันคลื่น ตัวการใหญ่ทำให้ทัศนียภาพทางทะเลภาคตะวันออกเสียหายอย่างหนัก
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวถึงปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายหาดในภาคตะวันออกว่า ปัญหาดังกล่าวเริ่มรุนแรงและต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยเริ่มมีการถมทะเล เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ท่าเทียบเรือ รวมทั้งการขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งโครงการดังกล่าวล้วนแต่มีผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลจ.ระยอง กว่า 20 กิโลเมตร ตั้งแต่บ้านเพ - บ้านฉาง ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเสียหายตลอดชายหาด
รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของภาครัฐที่ ทุ่มงบกว่า 2,000 ล้านบาท ในการทำเขื่อนกันคลื่นเป็นการบดบังทัศนียภาพของหาดทราย ที่ในอดีตเคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม โดยเฉพาะหาดแสงจันทร์ ในอดีตสวยงามมากหาดทรายขาวสะอาด เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของจ.ระยอง แต่ปัจจุบันหาดแสงจันทร์ ไม่หลงเหลือความสวยงามเลย มีเพียงก้อนหินที่นำมาเรียงต่อ ๆ กัน ถือว่าเป็นการทำลายธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง รวมไปถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล ที่ในอดีตชาวบ้านเคยประกอบอาชีพประมงชายฝั่งก็ไม่สามารถทำได้แล้ว
ส่วนที่พัทยา จ.ชลบุรี จะเห็นชัดเจนที่สุด โดยพบปัญหาเดียวกัน คือ ชายหาดหายไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการก่อสร้างท่าเรือ ถมทะเล และการขุดลอกร่องน้ำในพื้นที่แหลมฉบัง ทำให้คลื่นลมและกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางเกิดการกัดเซาะดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐควรที่จะลงมาดูแลปัญหาอย่างจริงจังเสียที เพราะปัญหาทั้งหมดล้วนเกิดจากนโยบายรัฐ ที่ทำให้ธรรมชาติเปลี่ยนไป
ด้านนายวัฒนา พหลแพทย์ ผู้ประกอบการริมหาดแสงจันทร์ จ.ระยอง กล่าวว่า ตนเข้ามาลงทุนสร้างรีสอร์ตเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักผ่อนเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2542-2543โดยมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีชายหาดที่สวยงาม และน้ำทะเลที่ใสสะอาด มีความเป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก
ต่อมาเมื่อมีการขยายโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการถมทะเลก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือ ทำให้ระบบการไหลเวียนของน้ำทะเลเปลี่ยนทิศทาง และเริ่มกัดเซาะชายหาดอย่างต่อเนื่อง ความสวยงามของ ชายหาด บริเวณชายหาดสุชาดา ชายหาดแสงจันทร์ เริ่มหายไป เนื่องจากชายหาดไม่สามารถเล่นน้ำได้ ทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มไม่เข้ามาพักผ่อน
นายวัฒนา กล่าวต่อไปว่า ต่อมาหน่วยงานที่รับผิดชอบได้มีแนวทางเข้ามาแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเล โดยนำหินขนาดใหญ่มาทำแนวกันคลื่น ห่างจากฝั่งประมาณ 10-20 เมตร เพื่อป้องกันการกัดเซาะหรือลดแรงกระแทกของน้ำทะเล ตลอดระยะทางหลาย 10 กิโลเมตร การกระทำดังกล่าวยิ่งทำให้ทัศนียภาพชายทะเลเสียหายอย่างหนัก เพราะแนวหินหรือเขื่อนกันคลื่นดังกล่าว ดูไม่สวยงามและไม่เหมาะสมที่จะมาตั้งอยู่บริเวณริมชายหาดเลย
“ผลกระทบที่ตามมาคือ สภาพชายหาดเปลี่ยนไปนักท่องเที่ยวลดลงไม่มาพักผ่อน จนตนต้องปิดกิจการรีสอร์ตที่ลงทุนไปกว่า 20 ล้าน ถือว่าเป็นความโชคร้ายของประชาชน ที่ต้องมารับกรรมจากการกระทำของผู้มีอำนาจ และไม่ทราบจะทำอย่างไรต่อไป โดยได้แต่ยืนมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น”นายวัฒนา กล่าว
นายสุทธิ อัชฌาศัย ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก กล่าวถึงปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายหาดในภาคตะวันออกว่า ปัญหาดังกล่าวเริ่มรุนแรงและต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด โดยเริ่มมีการถมทะเล เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ท่าเทียบเรือ รวมทั้งการขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งโครงการดังกล่าวล้วนแต่มีผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะชายฝั่งทะเลจ.ระยอง กว่า 20 กิโลเมตร ตั้งแต่บ้านเพ - บ้านฉาง ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเสียหายตลอดชายหาด
รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของภาครัฐที่ ทุ่มงบกว่า 2,000 ล้านบาท ในการทำเขื่อนกันคลื่นเป็นการบดบังทัศนียภาพของหาดทราย ที่ในอดีตเคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม โดยเฉพาะหาดแสงจันทร์ ในอดีตสวยงามมากหาดทรายขาวสะอาด เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของจ.ระยอง แต่ปัจจุบันหาดแสงจันทร์ ไม่หลงเหลือความสวยงามเลย มีเพียงก้อนหินที่นำมาเรียงต่อ ๆ กัน ถือว่าเป็นการทำลายธรรมชาติอย่างสิ้นเชิง รวมไปถึงผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมชายฝั่งทะเล ที่ในอดีตชาวบ้านเคยประกอบอาชีพประมงชายฝั่งก็ไม่สามารถทำได้แล้ว
ส่วนที่พัทยา จ.ชลบุรี จะเห็นชัดเจนที่สุด โดยพบปัญหาเดียวกัน คือ ชายหาดหายไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากโครงการก่อสร้างท่าเรือ ถมทะเล และการขุดลอกร่องน้ำในพื้นที่แหลมฉบัง ทำให้คลื่นลมและกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางเกิดการกัดเซาะดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐควรที่จะลงมาดูแลปัญหาอย่างจริงจังเสียที เพราะปัญหาทั้งหมดล้วนเกิดจากนโยบายรัฐ ที่ทำให้ธรรมชาติเปลี่ยนไป
ด้านนายวัฒนา พหลแพทย์ ผู้ประกอบการริมหาดแสงจันทร์ จ.ระยอง กล่าวว่า ตนเข้ามาลงทุนสร้างรีสอร์ตเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักผ่อนเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2542-2543โดยมีนักท่องเที่ยวมาพักผ่อนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีชายหาดที่สวยงาม และน้ำทะเลที่ใสสะอาด มีความเป็นธรรมชาติที่สวยงามมาก
ต่อมาเมื่อมีการขยายโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการถมทะเลก่อสร้างสะพานท่าเทียบเรือ ทำให้ระบบการไหลเวียนของน้ำทะเลเปลี่ยนทิศทาง และเริ่มกัดเซาะชายหาดอย่างต่อเนื่อง ความสวยงามของ ชายหาด บริเวณชายหาดสุชาดา ชายหาดแสงจันทร์ เริ่มหายไป เนื่องจากชายหาดไม่สามารถเล่นน้ำได้ ทำให้นักท่องเที่ยวเริ่มไม่เข้ามาพักผ่อน
นายวัฒนา กล่าวต่อไปว่า ต่อมาหน่วยงานที่รับผิดชอบได้มีแนวทางเข้ามาแก้ไขการกัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเล โดยนำหินขนาดใหญ่มาทำแนวกันคลื่น ห่างจากฝั่งประมาณ 10-20 เมตร เพื่อป้องกันการกัดเซาะหรือลดแรงกระแทกของน้ำทะเล ตลอดระยะทางหลาย 10 กิโลเมตร การกระทำดังกล่าวยิ่งทำให้ทัศนียภาพชายทะเลเสียหายอย่างหนัก เพราะแนวหินหรือเขื่อนกันคลื่นดังกล่าว ดูไม่สวยงามและไม่เหมาะสมที่จะมาตั้งอยู่บริเวณริมชายหาดเลย
“ผลกระทบที่ตามมาคือ สภาพชายหาดเปลี่ยนไปนักท่องเที่ยวลดลงไม่มาพักผ่อน จนตนต้องปิดกิจการรีสอร์ตที่ลงทุนไปกว่า 20 ล้าน ถือว่าเป็นความโชคร้ายของประชาชน ที่ต้องมารับกรรมจากการกระทำของผู้มีอำนาจ และไม่ทราบจะทำอย่างไรต่อไป โดยได้แต่ยืนมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น”นายวัฒนา กล่าว