ศูนย์ข่าวภาคเหนือ – ยังไร้ผลเช่นเดิม มาตรการเลิกเผา เพื่อลดหมอกควัน คนเหนือยังต้องใช้ชีวิตใต้ม่านฝุ่นที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งกันต่อไป เฉพาะแอ่งกระทะแม่ฮ่องสอน เจอวิกฤตสูงสุดรอบ 20 ปี AQI ใกล้ทะลุมาตรวัด
ดูเหมือนความพยายามที่จะรณรงค์ลดละการเผาทุกชนิด ในองค์กรต่างๆ รวมถึงการที่ประชาชนทั่วไปฉีดพ่นน้ำ ตลอดจนการทำฝนหลวง ฯลฯ เพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อหวังลดปัญหาหมอกควันของภาคเหนือ จนถึงขณะนี้ยังไร้ผลอย่างสิ้นเชิง เมื่อปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10)-ดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI)ของภาคเหนือตอนบน ยังคงเพิ่มระดับความเลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่แม่ฮ่องสอน ที่ล่าสุดใกล้จะทะลุระดับสูงสุดของขั้น “อันตรายแล้ว”
ในรายงานข้อมูลสารพิษค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง คำนวณ ณ 09.00 น.วันนี้ (18 มี.ค.) ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กำลังพยายามจัดประกวดชุมชนลดเลิกการเผาในภาคเหนือ เพื่อช่วยแก้ปัญหาอีกทาง พบว่า พื้นที่แอ่งกระทะแม่ฮ่องสอน สภาพอากาศอยู่ในขั้นเลวร้ายที่สุดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 20 ปีมานี้ โดยวัดค่า PM10 ได้มากถึง 518.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม.สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 5 เท่าตัว -AQI ก็สูงถึง 409.0 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกว่า 4 เท่าตัว ขณะที่ปี 47-48 ระดับ AQI ที่ว่าเลวร้าย ยังอยู่ที่ 180-190 เท่านั้น
กรณี AQI ในพื้นที่แม่ฮ่องสอน ทะลุไปถึง 409 ถือว่าอยู่ในโซนสีแดง หรืออันตราย (AQI 300-500) ต่อเนื่องอีก
เช่นเดียวกับพื้นที่ จ.เชียงใหม่ บริเวณโรงเรียนยุพราชฯ ปรากฏว่า ค่า PM10 ก็ยังคงสูงต่อเนื่อง โดยยืนอยู่ที่ระดับ 187.0 ไมโครกรัม/ลบ.ม. AQI 129.0, ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ก็เช่นกัน โดยค่า PM10 วัดได้ 179.1 ไมโครกรัม/ลบ.ม.AQI 126.0
ที่เมืองชายแดนแม่สาย จนถึงวันนี้ สถานการณ์ก็ยังคงหนักหนา พ่อค้าแม่ขาย และนักท่องเที่ยว ยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่ใต้ท่านหมอกควัน ฝุ่นละอองที่สูงถึง 259.2 ไมโครกรัม/ลบ.ม. – AQI 161.0 แม้ว่าเทศบาลตำบลแม่สาย จ.เชียงราย จะเพียรพยายามฉีดพ่นน้ำ ล้างถนนลดฝุ่นละอองอยู่ตลอดก็ตาม แต่กว่า 1 เดือนแล้ว ที่ประชาชนในพื้นที่แถบนี้ต้องสูดดมฝุ่นละอองเข้าไปทุกวัน แน่นอนว่า ชีวิตพวกเขาเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในระยะยาวด้วย
รวมถึงตัวเมืองเชียงราย ที่แม้ผู้ว่าราชการจังหวัด จะนำทีมให้องค์กรในท้องถิ่นฉีดพ่นน้ำขึ้นฟ้า เพิ่มความชื้นในอากาศ รณรงค์ลดเลิกการเผา ประสานกับประเทศพม่า-ส.ป.ป.ลาว แล้วแต่ทุกอย่างยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนเชียงรายก็ยังต้องสูดดมฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่วัดได้สูงถึง 239.0 ไมโครกรัม/ลบ.ม.-AQI 152.0 ต่อไป
สถานการณ์เช่นนี้ ก็เกิดขึ้นกับเมืองพะเยา ที่มีค่า PM10 สูงทะลุเพดานกันต่อไป โดยวัดได้ 218.4 ไมโครกรัม/ลบ.ม. –AQI 143.0 เหมือนกับจังหวัดลำพูน ที่PM10 ยังยืนอยู่ที่ 212.3 ไมโครกรัม/ลบ.ม.-AQI 140.0
แน่นอนว่า ภายใต้ม่านหมอกควันปกคลุมภาคเหนือนี้ นอกจากทำให้ไร้นักท่องเที่ยวแล้ว ที่อาจจะกระทบยาวไปถึงสงกรานต์ปีนี้แล้ว ยังทำให้คนในท้องถิ่นเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคผิวหนัง-ดวงตา จังหวัดละนับแสนคนแล้ว
ดูเหมือนความพยายามที่จะรณรงค์ลดละการเผาทุกชนิด ในองค์กรต่างๆ รวมถึงการที่ประชาชนทั่วไปฉีดพ่นน้ำ ตลอดจนการทำฝนหลวง ฯลฯ เพิ่มความชื้นในอากาศ เพื่อหวังลดปัญหาหมอกควันของภาคเหนือ จนถึงขณะนี้ยังไร้ผลอย่างสิ้นเชิง เมื่อปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10)-ดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI)ของภาคเหนือตอนบน ยังคงเพิ่มระดับความเลวร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะที่แม่ฮ่องสอน ที่ล่าสุดใกล้จะทะลุระดับสูงสุดของขั้น “อันตรายแล้ว”
ในรายงานข้อมูลสารพิษค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง คำนวณ ณ 09.00 น.วันนี้ (18 มี.ค.) ของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่กำลังพยายามจัดประกวดชุมชนลดเลิกการเผาในภาคเหนือ เพื่อช่วยแก้ปัญหาอีกทาง พบว่า พื้นที่แอ่งกระทะแม่ฮ่องสอน สภาพอากาศอยู่ในขั้นเลวร้ายที่สุดอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 20 ปีมานี้ โดยวัดค่า PM10 ได้มากถึง 518.5 ไมโครกรัม/ลบ.ม.สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 5 เท่าตัว -AQI ก็สูงถึง 409.0 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานกว่า 4 เท่าตัว ขณะที่ปี 47-48 ระดับ AQI ที่ว่าเลวร้าย ยังอยู่ที่ 180-190 เท่านั้น
กรณี AQI ในพื้นที่แม่ฮ่องสอน ทะลุไปถึง 409 ถือว่าอยู่ในโซนสีแดง หรืออันตราย (AQI 300-500) ต่อเนื่องอีก
เช่นเดียวกับพื้นที่ จ.เชียงใหม่ บริเวณโรงเรียนยุพราชฯ ปรากฏว่า ค่า PM10 ก็ยังคงสูงต่อเนื่อง โดยยืนอยู่ที่ระดับ 187.0 ไมโครกรัม/ลบ.ม. AQI 129.0, ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ก็เช่นกัน โดยค่า PM10 วัดได้ 179.1 ไมโครกรัม/ลบ.ม.AQI 126.0
ที่เมืองชายแดนแม่สาย จนถึงวันนี้ สถานการณ์ก็ยังคงหนักหนา พ่อค้าแม่ขาย และนักท่องเที่ยว ยังคงต้องใช้ชีวิตอยู่ใต้ท่านหมอกควัน ฝุ่นละอองที่สูงถึง 259.2 ไมโครกรัม/ลบ.ม. – AQI 161.0 แม้ว่าเทศบาลตำบลแม่สาย จ.เชียงราย จะเพียรพยายามฉีดพ่นน้ำ ล้างถนนลดฝุ่นละอองอยู่ตลอดก็ตาม แต่กว่า 1 เดือนแล้ว ที่ประชาชนในพื้นที่แถบนี้ต้องสูดดมฝุ่นละอองเข้าไปทุกวัน แน่นอนว่า ชีวิตพวกเขาเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในระยะยาวด้วย
รวมถึงตัวเมืองเชียงราย ที่แม้ผู้ว่าราชการจังหวัด จะนำทีมให้องค์กรในท้องถิ่นฉีดพ่นน้ำขึ้นฟ้า เพิ่มความชื้นในอากาศ รณรงค์ลดเลิกการเผา ประสานกับประเทศพม่า-ส.ป.ป.ลาว แล้วแต่ทุกอย่างยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง คนเชียงรายก็ยังต้องสูดดมฝุ่นละอองขนาดเล็ก ที่วัดได้สูงถึง 239.0 ไมโครกรัม/ลบ.ม.-AQI 152.0 ต่อไป
สถานการณ์เช่นนี้ ก็เกิดขึ้นกับเมืองพะเยา ที่มีค่า PM10 สูงทะลุเพดานกันต่อไป โดยวัดได้ 218.4 ไมโครกรัม/ลบ.ม. –AQI 143.0 เหมือนกับจังหวัดลำพูน ที่PM10 ยังยืนอยู่ที่ 212.3 ไมโครกรัม/ลบ.ม.-AQI 140.0
แน่นอนว่า ภายใต้ม่านหมอกควันปกคลุมภาคเหนือนี้ นอกจากทำให้ไร้นักท่องเที่ยวแล้ว ที่อาจจะกระทบยาวไปถึงสงกรานต์ปีนี้แล้ว ยังทำให้คนในท้องถิ่นเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ โรคผิวหนัง-ดวงตา จังหวัดละนับแสนคนแล้ว