ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ – ปศุสัตว์เชียงใหม่จัดโครงการ “เนื้อสัตว์ปีกปลอดภัย” ติดสายรัดให้กับเนื้อสัตว์ปีกที่เข้าร่วมโครงการและผ่านการรับรองมาตรฐาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชาวไทยเชื้อสายจีนในการซื้อสัตว์ปีกไหว้ตรุษจีน พร้อมยืนยัน 8 จังหวัดภาคเหนือปลอดเชื้อไข้หวัดนกแน่นอน
วันนี้ (20 ม.ค.) ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ นายสัตวแพทย์ สมบุญ หลิมวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 5 พร้อม สัตวแพทย์หญิง อรสา ยอดศรี นายสัตวแพทย์ระดับชำนาญการพิเศษรักษาราชการแทนปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันปล่อยขบวนรถประชาสัมพันธ์ และแถลงข่าวโครงการเนื้อสัตว์ปีกปลอดภัย ฉลองตรุษจีนจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2552
นายสัตวแพทย์ สมบุญ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตเนื้อสัตว์ปีกที่ใช้ในพิธีไหว้เจ้าและบรพบุรุษ ช่วงตรุษจีนให้มีความสะอาดปลอดภัยต่อการบริโภค และเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีกที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์
ปีนี้มีผู้ประกอบการในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ฟาร์มไก่เนื้อ 130 แห่ง โรงฆ่ามาตรฐาน 95 แห่ง และร้านจำหน่าย 202 แห่ง ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 29 แห่ง
ทั้งนี้ เนื้อสัตว์ปีกจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ที่วางจำหน่ายจะมีการติดสายรัดขาสัตว์ปีกพร้อมรหัส E ตามด้วยหมายเลข 6 หลักกำกับไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถย้อนตรวจหาแหล่งที่มา และการผลิตได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลี้ยง การชำแหละ จนมาถึงการวางจำหน่าย โดยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือนั้น ได้รับสายรัดดังกล่าวมาทั้งสิ้น 34,500 ชิ้น จัดสรรให้จังหวัดเชียงใหม่ 16,000 ชิ้น ส่วนที่เหลือกระจายไปตามจังหวัดที่เหลืออีก 7 จังหวัด
นอกจากนี้ นายสัตวแพทย์ สมบุญ กล่าวเพิ่มเติมว่า การติดสายรัดขาดสัตว์ปีกให้กับเนื้อสัตว์ปีกจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนี้เป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคในเรื่องของความสะอาดปลอดภัยอีกระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเนื้อสัตว์ปีกจากผู้ประกอบการรายอื่นไม่ปลอดภัยแต่อย่างใด
ส่วนการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ผู้อำนวยการสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 5 กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ซึ่งจนถึงเวลานี้ยังไม่พบว่ามีเชื้อไข้หวัดนกในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม จะยังคงมีการดำเนินการมาตรการที่เข้มข้นอย่างต่อเนื่องต่อไป
วันนี้ (20 ม.ค.) ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ นายสัตวแพทย์ สมบุญ หลิมวัฒนา ผู้อำนวยการสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 5 พร้อม สัตวแพทย์หญิง อรสา ยอดศรี นายสัตวแพทย์ระดับชำนาญการพิเศษรักษาราชการแทนปศุสัตว์จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันปล่อยขบวนรถประชาสัมพันธ์ และแถลงข่าวโครงการเนื้อสัตว์ปีกปลอดภัย ฉลองตรุษจีนจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2552
นายสัตวแพทย์ สมบุญ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตเนื้อสัตว์ปีกที่ใช้ในพิธีไหว้เจ้าและบรพบุรุษ ช่วงตรุษจีนให้มีความสะอาดปลอดภัยต่อการบริโภค และเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ในการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีกที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์
ปีนี้มีผู้ประกอบการในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือเข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย ฟาร์มไก่เนื้อ 130 แห่ง โรงฆ่ามาตรฐาน 95 แห่ง และร้านจำหน่าย 202 แห่ง ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 29 แห่ง
ทั้งนี้ เนื้อสัตว์ปีกจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ที่วางจำหน่ายจะมีการติดสายรัดขาสัตว์ปีกพร้อมรหัส E ตามด้วยหมายเลข 6 หลักกำกับไว้ ซึ่งจะทำให้สามารถย้อนตรวจหาแหล่งที่มา และการผลิตได้ทุกขั้นตอนตั้งแต่การเลี้ยง การชำแหละ จนมาถึงการวางจำหน่าย โดยในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือนั้น ได้รับสายรัดดังกล่าวมาทั้งสิ้น 34,500 ชิ้น จัดสรรให้จังหวัดเชียงใหม่ 16,000 ชิ้น ส่วนที่เหลือกระจายไปตามจังหวัดที่เหลืออีก 7 จังหวัด
นอกจากนี้ นายสัตวแพทย์ สมบุญ กล่าวเพิ่มเติมว่า การติดสายรัดขาดสัตว์ปีกให้กับเนื้อสัตว์ปีกจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนี้เป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคในเรื่องของความสะอาดปลอดภัยอีกระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายความว่าเนื้อสัตว์ปีกจากผู้ประกอบการรายอื่นไม่ปลอดภัยแต่อย่างใด
ส่วนการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไข้หวัดนก ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือ ผู้อำนวยการสำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 5 กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการมาตรการเฝ้าระวังและตรวจสอบอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ซึ่งจนถึงเวลานี้ยังไม่พบว่ามีเชื้อไข้หวัดนกในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม จะยังคงมีการดำเนินการมาตรการที่เข้มข้นอย่างต่อเนื่องต่อไป