xs
xsm
sm
md
lg

“ชาวแหลมงอบ” เกือบร้อยแห่ตักขี้ยอขายพ่อค้าปุ๋ยรายได้งามวันละ 3,000 บาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ตราด - ชาวบ้านแหลมงอบ จังหวัดตราด เกือบร้อยแห่ตักขี้ยอ ขายพ่อค้าปุ๋ยรายได้งามวันละ 3,000 บาท ระบุใส่ต้นยางได้ผลดีเป็นเศษสาหร่าย, วัชพืช อยู่ในทะเล 1 ปีมีครั้งเดียว พบไม่กี่แห่งในประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตราดว่า ที่ริมชายหาดบ้านปากคลองบางกระดาน ต.บางปิด อ.แหลมงอบ จ.ตราดรอยติดต่อกับบ้านจิกใน ต.ท่าโสม อ.เขาสมิง จ.ตราด ปรากฏว่าว่ามีชาวบ้านจำนวนกว่า 50 คน มีทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ คนชรา ทั้งชายและหญิงและคนงานอีกว่า 10 คน ขะมักเขม้นอยู่กับการตักเศษวัชพืชที่ลอยอยู่บริเวณผิว น้ำทะเลที่ซัดขึ้นมาอยู่ริมชายหาดที่มี ลักษณะเป็นสีดำ มีความละเอียด เบา ไม่มีกลิ่น ชาวบ้านเรียกว่า “ขี้ยอ” โดยใช้ตะกร้า และสวิงมาตักแล้วนำมากอง ไว้ริมชายหาดเพื่อรอการบรรจุถุงปุ๋ย รอการขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่จะมารับซื้อ ซึ่ง “ขี้ยอ” จะลอยมากับคลื่น ทะเลและลอยมาติดที่ชายหาดเป็นจำนวนมากในระยะนี้ โดยเมื่อมีการใช้ตะกร้าหรือสวิงมาตักและกองไว้กับพื้นทรายที่มีเรียงรายกว่า 30 กอง

นายจำรัส มันทิกาวิช ชาวบ้าน อ.แหลมง อบจ. ตราด ประกอบ อาชีพประมง เปิดเผยว่า ขี้ยอที่ตนและ ครอบครัวรวมทั้งเพื่อนบ้านออกมาเก็บเพื่อขายให้กับพ่อค้ารับซื้อนั้นเป็นวัชพืชและสาหร่ายทะเลที่เกิดการเน่าเปื่อย และย่อยสลายอยู่ในทะเลเป็นเวลานานหลายสิบปี แล้วถูกคลื่นทะเลซัดขึ้นมา บนชายฝั่งและติดอยู่บริเวณชายหาดจะมีเป็นแนวยาวเกาะอยู่ โดยชาวบ้าน จะใช้ภาชนะหรือสวิงมาตัดขึ้นมาแล้วกองไว้เพื่อเตรียมใส่ถุงปุ๋ยเพื่อรอการ มารับซื้อของพ่อค้าที่จะมารับซื้อซึ่งขี้ยอ เหล่านี้จะเข้ามาที่ฝั่งทุกปี ในช่วงฤดูฝนที่มีลมทะเลพัดเข้าชายฝั่ง และเมื่อหมด ลมทะเลก็จะหมดไป จากนั้นในปีต่อไปก็จะเกิดขึ้นอีกและจะมากหรือมไม่ขึ้น อยู่กับสภาวะอากาศในแต่ละปี

“ผมเป็นชาวประมงพอไม่ สามารถออกทำประมงได้ก็มาตักขี้ยอ เพราะตอนที่รู้ว่าขายได้ก็มาทำรายได้2-3,000 บาท/วัน เป็นอาชีพเสริม แต่ก็ทำได้เพียง 3-4 เดือนเท่านั้นแล้วก็ไม่มีแล้ว ซึ่งพื้นที่บ้านปากคลองบาง กระดานจะมีที่เดียวใน จ.ตราด และมีที่ฝั่งปากแม่น้ำเวฬุ ด้าน อ.ขลุง และ ที่แหลมหญ้า จ.จันทบุรี"


ทางด้าน นายฮวดวงษ์ ไพศาล อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ 1 ต.บางปิด อ.แหลมงอบ จ.ตราดกล่าวว่า ขี้ยอเริ่มเป็นที่รู้จักของเกษตรกร ครั้งแรกเมื่อปี 2550เมื่อมีผู้ลองนำไป ใส่ต้นมังคุด และต้นปาล์ม แล้วได้ผลไม้ ที่มีคุณภาพอีกทั้งราคาก็ไม่แพงเป็น เหมือนปุ๋ยอินทรีย์ พอปีนี้เห็นว่ามีขี้ยอขึ้นมาจากทะเลอีกจึงชวนชาวบ้านมาตัก และนำไปขาย ซึ่งตนเองก็ทั้งตักและทำหน้าที่เป็นผู้ขายปุ๋ยด้วย โดยรับซื้อจากชาวบ้านในราคา 1-1.50 บาท/กิโลกรัม และนำมาขายใน ต.ท่าโสม และชาว สวนผลไม้ทั้งใน อ.เขาสมิงจ.ตราด และ อ.ขลุง นิยมนำไปใช้ ต่อมาชาวสวนยาง พาราและสวนปาล์มนำไปใช้บ้างเพราะ ราคาถูกกว่าปุ๋ยเคมี ซึ่งก็ได้ผลเช่นกันแต่ขี้ยอจะมีความเค็มของน้ำทะเล หากเกษตรกรจะนำมาใช้สามารถใช้น้ำล้างเพื่อลดความเค็มก่อนได้

ขณะที่ นายพงษ์ศักดิ์ อาชีวะ อายุ 47 ปี อยู่บ้านเลขที่ 65/2 หมู่ 3 ต.ท่าโสม อ.เขาสมิง จ.ตราดที่เป็นพ่อค้ารายใหญ่ เปิดเผยว่า ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ชาวบ้านกว่า 10คน มีรายได้จากการเก็บขี้ยอมาขาย มีรายได้เข้าหมู่บ้านมากกว่า 1.5 ล้านบาท แต่ละครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ย 3-4,000 บาท ต่อครัวเรือนตนเองรับซื้อจากชาวบ้าน มากกว่า 50 ตันแล้วในปัจจุบันซึ่งกว่าจะหมดน่าจะมีมากกว่า 100 ตัน ซึ่งหากนำมาขายก็จะได้เงินหลายแสนบาท ทีเดียว

ส่วน คุณลุงแช่ม วัย 67 ปี กล่าวว่า ขี้ยอเกิดจากใบไม้ในป่าชายเลนที่มีการร่วงและสะสมไว้เมื่อเกิดฝนตกหนัก ทำให้ น้ำฝนพัดพาใบไม้เหล่านี้ไหลลงสู่ทะเลและเก็บสะสมเป็นเวลานาน จนเกิดการเน่าเปื่อยผสมเข้ากับซากสาหร่ายที่ตายโดยซากเหล่านี้จะลอยอยู่ใต้ท้องทะเล เมื่อเกิดลมตะเภาพัดเข้าหาฝั่งก็จะหอบเอาซากขี้ยอเหล่านี้ขึ้นมาด้วย และถูกซัดเข้าหาฝั่งและเกิดการสะสมที่บริเวณชายหาด โดยจะเกิดเฉพาะในช่วงของฤดูฝนเท่านั้นโดยที่จังหวัดตราดจะมีอยู่ 2 จุด

จุดแรกที่ปากแม่น้ำเวฬุและบริเวณบ้านยายม่อม ทั้ง 2 แห่งมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์โดยที่ในแต่ละปีจะมีมาก หรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณฝนตกในแต่ละปีว่าชุกขนาดไหน หากปีใดฝนตกหมากไม้โกงกางที่อยู่ตามป่าชายเลนใบก็จะงอกงามดีก็จะมีใบไม้เยอะจะทำให้กลายเป็นขี้ยอเพิ่มขึ้นและตรงกันข้ามหากฝนตกน้อยใบไม้โกงกางก็แตกใบได้น้อยขี้ยอก็จะน้อยลงไป ด้วย

สำหรับชาวบ้านปากคลอง บางกระดานกว่า 100 ครัวเรือน ได้เก็บขี้ยอบรรจุถุงปุ๋ยไว้ภายในบ้านและสวน ผลไม้ของตัวเอง เพื่อใช้ในสวนของตนเองและเพื่อเก็บไว้ขายที่มีมากกว่า 10,000 ถุง




กำลังโหลดความคิดเห็น