สพท.เตรียมชงเรื่อง อ้อน “วีระศักดิ์” ช่วยบูมโฮมสเตย์ เสนอ ครม.ออกหนังสือเวียนถึงหน่วยงานรัฐและสถานศึกษา ขอความร่วมมือเข้าพักโฮมสเตย์ ในกรณีเดินทางเพื่อสำรวจและวิจัย ชี้ได้ประโยชน์ 2 เด้ง ทั้ง ประหยัดงบประมาณ เพราะราคาถูกกว่า โรงแรมกว่า เท่าตัว และยังสร้างรายได้สายตรงสู่รากหญ้า เผยตัวเลขรายได้จากโฮมสเตย์ โตต่อเนื่อง ล่าสุด ปี 2550 มีรายได้เฉลี่ย 1.7 แสนบาท ต่อชุมชนต่อปี ภาคใต้แชมป์รับรายได้สูงสุด เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เพื่อนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความเป็นไปได้ที่จะช่วยออกหนังสือขอความร่วมมือในนามของรัฐบาลส่งไปยังหน่วยงานราชการและสถานศึกษาทั่วประเทศ ให้หันมาใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ ในกรณีที่ต้องเดินทางไปสำรวจ ทำวิจัย และเก็บข้อมูล เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ชาวบ้านตามชุมชนมีความตื่นตัวในเรื่องของ การจัดบริการที่พักแบบโฮมสเตย์ให้ได้มาตรฐานมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นรางวัลให้แก่ที่พัก โฮมสเตย์ ที่ได้ตราสัญลักษณ์มาตรฐานจาก สพท.ด้วย
“ขั้นตอนการดำเนินการ จะนำเข้าหารือในที่ประชุม คณะกรรมการจัดทำมาตรฐานโฮมสเตย์ เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอต่อไปยัง สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อเสนอต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ครม.ตามลำดับ”
*** พักโฮมสเตย์ประหยัดงบประมาณ***
ทั้งนี้ ที่เสนอให้เป็นกลุ่มที่เดินทางเพื่อสำรวจ วิจัย และ เก็บข้อมูล ใช้บริการโฮมสเตย์ แทนการพักโรงแรม เพราะกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ห้องจัดสัมมนา เพียงแค่มีที่พัก ที่สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ก็เพียงพอแล้ว และยังช่วยประหยัดงบประมาณที่จะใช้เดินทางด้วย เพราะราคาที่พักโฮมสเตย์ จะถูกกว่าโรงแรมเป็นเท่าตัว เช่น โฮมสเตย์ จะมีราคาที่พักอยู่ในราว 100-300 บาทต่อคืน หรือถ้ามีเครื่องปรับอากาศ ก็จะไม่เกินคืนละ 600-800 บาท ขึ้นอยู่กับจังหวัด และสถานที่ ขณะที่โรงแรม ราคาจะอยู่ประมาณ คืนละ 800-1,800 บาท และเป็นโรงแรม 3-4 ดาวเท่านั้น
สำหรับข้อมูลเบื้องต้น พบว่า กลุ่มที่เดินทางเพื่อสำรวจ และทำวิจัย สูงสุด คือ กลุ่มสถานบันการศึกษา ซึ่งมีทั้งอาจารย์ และ นักศึกษา โดยในแต่ละปี มีจำนวนค่อยข้างมาก ที่ผ่านมา สพท.ซึ่งเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ ในระบบราชการ ดำเนินการได้เพียง นำรายชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ ของโฮมสเตย์ ที่ได้ตรามาตรฐาน ขึ้นในเว็บไซต์ ของ สพท.และ ททท.เท่านั้น จึงยังเป็นตลาดที่แคบ แต่หากทำในนามของกระทรวง หรือ ครม.ออกเป็นหนังสือขอความร่วมมือ จะได้ตลาดที่กว้างขึ้น เป็นการช่วยเหลือชาวบ้าน และชุมชน โฮมสเตย์ ได้มีกำลังใจในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพราะการให้มาตรฐาน สพท.จะมีการตรวจสอบทุก 2 ปี ปัจจุบันมีชุมชนที่ได้รับมาตรฐานแล้ว รวม 80 แห่ง จากโฮมสเตย์ทั้งหมดกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ
***โฮมเสตย์ภาคใต้แชมป์รายได้สูงสุด****
อย่างไรก็ตาม การเติบโตด้านรายได้ของโฮมสเตย์มีต่อเนื่อง โดยปี 2549 ตัวเลขเฉลี่ยรายได้โฮมสเตย์ทั้งประเทศอยู่ที่ 1.5 แสนบาท ต่อชุมชนต่อปี และปี 2550 รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.7 แสนบาท ต่อชุมชนต่อปี โดยโฮมสเตย์ภาคใต้ เช่น ภูเก็ต หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช กระบี่ มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดกว่าทุกภาค คือประมาณ 5.2 หมื่นบาทต่อครัวเรือนต่อปี เนื่องจาก ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และต่างชาติ เริ่มหันมานิยม เลือกหาที่พักแบบโฮมสเตย์มากขึ้น
ส่วนภาคอีสาน มีรายได้ต่ำสุด คือ อยู่ที่ 9.3 พันบาท ต่อครัวเรือนต่อปี ถ้าภาครัฐมีส่วนผลักดันให้เกิดการรับรู้ในบริการโฮมสเตย์ที่มีมาตรฐาน เป็นการสร้างตลาดให้แก่โฮมสเตย์ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ก็จะช่วยสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน และ รากหญ้าอย่างแท้จริง เพราะเมื่อนักท่องเที่ยว หรือ กลุ่มสำรวจวิจัย เข้าพัก ก็จะเกิดการค้าขายขึ้นในชุมชมได้อีกทางหนึ่ง ส่วน สพท. ก็มีหน้าที่ให้ความรู้ในการจัดทำมาตรฐานที่พัก และการบริหารจัดการภายในชุมชนให้เข้มแข็ง
นางธนิฎฐา กล่าวมั่นใจว่า รมว.จะเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะจะเป็นการช่วยสร้างรายได้กระจายสู่ชุมชนอย่างแท้จริง โดยที่ผ่านมา สพท.ก็เสนอให้ช่วยสนับสนุน ให้หน่วยราชการเลือกเข้าพักในโรงแรมที่ได้ตรามาตรฐานจาก สพท.ซึ่งขณะนี้มีอยู่ราว 110 แห่ง ทั่วประเทศ แต่อาจเป็นไปได้ ที่ ครม.มีเรื่องต้องพิจารณาเร่งด่วน ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้เรื่องที่เสนอไปยังได้ได้หยิบมาพิจารณา
นางธนิฎฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จะเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เพื่อนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงความเป็นไปได้ที่จะช่วยออกหนังสือขอความร่วมมือในนามของรัฐบาลส่งไปยังหน่วยงานราชการและสถานศึกษาทั่วประเทศ ให้หันมาใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ ในกรณีที่ต้องเดินทางไปสำรวจ ทำวิจัย และเก็บข้อมูล เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ชาวบ้านตามชุมชนมีความตื่นตัวในเรื่องของ การจัดบริการที่พักแบบโฮมสเตย์ให้ได้มาตรฐานมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นรางวัลให้แก่ที่พัก โฮมสเตย์ ที่ได้ตราสัญลักษณ์มาตรฐานจาก สพท.ด้วย
“ขั้นตอนการดำเนินการ จะนำเข้าหารือในที่ประชุม คณะกรรมการจัดทำมาตรฐานโฮมสเตย์ เพื่อขอความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอต่อไปยัง สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อเสนอต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวฯ และ ครม.ตามลำดับ”
*** พักโฮมสเตย์ประหยัดงบประมาณ***
ทั้งนี้ ที่เสนอให้เป็นกลุ่มที่เดินทางเพื่อสำรวจ วิจัย และ เก็บข้อมูล ใช้บริการโฮมสเตย์ แทนการพักโรงแรม เพราะกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ห้องจัดสัมมนา เพียงแค่มีที่พัก ที่สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ก็เพียงพอแล้ว และยังช่วยประหยัดงบประมาณที่จะใช้เดินทางด้วย เพราะราคาที่พักโฮมสเตย์ จะถูกกว่าโรงแรมเป็นเท่าตัว เช่น โฮมสเตย์ จะมีราคาที่พักอยู่ในราว 100-300 บาทต่อคืน หรือถ้ามีเครื่องปรับอากาศ ก็จะไม่เกินคืนละ 600-800 บาท ขึ้นอยู่กับจังหวัด และสถานที่ ขณะที่โรงแรม ราคาจะอยู่ประมาณ คืนละ 800-1,800 บาท และเป็นโรงแรม 3-4 ดาวเท่านั้น
สำหรับข้อมูลเบื้องต้น พบว่า กลุ่มที่เดินทางเพื่อสำรวจ และทำวิจัย สูงสุด คือ กลุ่มสถานบันการศึกษา ซึ่งมีทั้งอาจารย์ และ นักศึกษา โดยในแต่ละปี มีจำนวนค่อยข้างมาก ที่ผ่านมา สพท.ซึ่งเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ ในระบบราชการ ดำเนินการได้เพียง นำรายชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ ของโฮมสเตย์ ที่ได้ตรามาตรฐาน ขึ้นในเว็บไซต์ ของ สพท.และ ททท.เท่านั้น จึงยังเป็นตลาดที่แคบ แต่หากทำในนามของกระทรวง หรือ ครม.ออกเป็นหนังสือขอความร่วมมือ จะได้ตลาดที่กว้างขึ้น เป็นการช่วยเหลือชาวบ้าน และชุมชน โฮมสเตย์ ได้มีกำลังใจในการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เพราะการให้มาตรฐาน สพท.จะมีการตรวจสอบทุก 2 ปี ปัจจุบันมีชุมชนที่ได้รับมาตรฐานแล้ว รวม 80 แห่ง จากโฮมสเตย์ทั้งหมดกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ
***โฮมเสตย์ภาคใต้แชมป์รายได้สูงสุด****
อย่างไรก็ตาม การเติบโตด้านรายได้ของโฮมสเตย์มีต่อเนื่อง โดยปี 2549 ตัวเลขเฉลี่ยรายได้โฮมสเตย์ทั้งประเทศอยู่ที่ 1.5 แสนบาท ต่อชุมชนต่อปี และปี 2550 รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.7 แสนบาท ต่อชุมชนต่อปี โดยโฮมสเตย์ภาคใต้ เช่น ภูเก็ต หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช กระบี่ มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดกว่าทุกภาค คือประมาณ 5.2 หมื่นบาทต่อครัวเรือนต่อปี เนื่องจาก ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทย และต่างชาติ เริ่มหันมานิยม เลือกหาที่พักแบบโฮมสเตย์มากขึ้น
ส่วนภาคอีสาน มีรายได้ต่ำสุด คือ อยู่ที่ 9.3 พันบาท ต่อครัวเรือนต่อปี ถ้าภาครัฐมีส่วนผลักดันให้เกิดการรับรู้ในบริการโฮมสเตย์ที่มีมาตรฐาน เป็นการสร้างตลาดให้แก่โฮมสเตย์ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ก็จะช่วยสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน และ รากหญ้าอย่างแท้จริง เพราะเมื่อนักท่องเที่ยว หรือ กลุ่มสำรวจวิจัย เข้าพัก ก็จะเกิดการค้าขายขึ้นในชุมชมได้อีกทางหนึ่ง ส่วน สพท. ก็มีหน้าที่ให้ความรู้ในการจัดทำมาตรฐานที่พัก และการบริหารจัดการภายในชุมชนให้เข้มแข็ง
นางธนิฎฐา กล่าวมั่นใจว่า รมว.จะเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะจะเป็นการช่วยสร้างรายได้กระจายสู่ชุมชนอย่างแท้จริง โดยที่ผ่านมา สพท.ก็เสนอให้ช่วยสนับสนุน ให้หน่วยราชการเลือกเข้าพักในโรงแรมที่ได้ตรามาตรฐานจาก สพท.ซึ่งขณะนี้มีอยู่ราว 110 แห่ง ทั่วประเทศ แต่อาจเป็นไปได้ ที่ ครม.มีเรื่องต้องพิจารณาเร่งด่วน ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ทำให้เรื่องที่เสนอไปยังได้ได้หยิบมาพิจารณา