อุดรธานี - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดึงทุกภาคีภาคอีสาน ร่วมเวทีระดมสมอง หามาตรการป้องกันและคุ้มครองประชาชนจากภัยคุกคาม หวังกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี นายสุจารี สวนโท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดจากตัวแทนทุกภาคส่วนสาขาต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน ร่วมกำหนดประเด็นโอกาสของภาวะเสียงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งร่วมกันหามาตรการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากภัยคุกคาม
นางกานดา วัชราภัย รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับหลักการความมั่นคงของมนุษย์ โดยเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่ปี 2542 และจัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขึ้นเมื่อปี 2545 เน้นมุมมองความปลอดภัยจากการถูกคุกคาม และการคุ้มครองจากภัยคุกคาม ซึ่ง UNDP ได้เสนอตัวชี้วัดไว้ 7 ประการมาทำการศึกษาวิจัย เพื่อจัดทำมาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ โดยกำหนดตัวชี้วัดไว้ 10 มิติ
การประชุมครั้งนี้นับเป็นก้าวแรก และก้าวสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ใน 2 ประการ คือ สร้างความชัดเจนประเด็นที่ท้าทายต่อความมั่นคงของมนุษย์ ในช่วง 4 ปีข้างหน้าและผลจากการทำงานร่วมกันจะเป็นเสมือนข้อมูลที่จุดประกายให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความเสี่ยง หรือภัยคุกคาม และร่วมกันพิจารณาหาหนทางที่จะจัดการกับภาวะเหล่านั้น
ประการสุดท้าย กระทรวงจะใช้กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ในรูปของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการเป็นหุ้นส่วนในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์อย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการคิด การตัดสินใจ การดำเนินงานและการประเมินผลร่วมกัน
วันนี้ (18 มี.ค.) ที่โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี นายสุจารี สวนโท ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อเป็นเวทีระดมความคิดจากตัวแทนทุกภาคส่วนสาขาต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน ร่วมกำหนดประเด็นโอกาสของภาวะเสียงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งร่วมกันหามาตรการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากภัยคุกคาม
นางกานดา วัชราภัย รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับหลักการความมั่นคงของมนุษย์ โดยเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ ตั้งแต่ปี 2542 และจัดตั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขึ้นเมื่อปี 2545 เน้นมุมมองความปลอดภัยจากการถูกคุกคาม และการคุ้มครองจากภัยคุกคาม ซึ่ง UNDP ได้เสนอตัวชี้วัดไว้ 7 ประการมาทำการศึกษาวิจัย เพื่อจัดทำมาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ โดยกำหนดตัวชี้วัดไว้ 10 มิติ
การประชุมครั้งนี้นับเป็นก้าวแรก และก้าวสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ใน 2 ประการ คือ สร้างความชัดเจนประเด็นที่ท้าทายต่อความมั่นคงของมนุษย์ ในช่วง 4 ปีข้างหน้าและผลจากการทำงานร่วมกันจะเป็นเสมือนข้อมูลที่จุดประกายให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความเสี่ยง หรือภัยคุกคาม และร่วมกันพิจารณาหาหนทางที่จะจัดการกับภาวะเหล่านั้น
ประการสุดท้าย กระทรวงจะใช้กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ในรูปของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการเป็นหุ้นส่วนในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์อย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการคิด การตัดสินใจ การดำเนินงานและการประเมินผลร่วมกัน