กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับโครงการพัฒนาสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP) เผย รายงานสถิติจำแนกเพศของประเทศไทย ปี 2551 ภายใต้โครงการจัดทำระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลจำแนกเพศของประเทศไทย พบสถิติสาวไทยน่าห่วงทั้ง การศึกษา บทบาททางการเมือง ความรุนแรง มีอัตราที่น้อยอยู่
นางปาริชาต ศิวะรักษ์ ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า การจัดทำสถิติจำแนกเพศของประเทศไทยปี 2551 นั้น เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลในรายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพของผู้หญิงในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งระดับจังหวัด ระดับภาค และเขตเทศบาล ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะเป็นฐานข้อมูลกลาง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน
ในส่วนการจัดเก็บข้อมูลนั้น นางปาริชาติ กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลสถิติปัจจุบันจากทั่วประเทศ แต่ได้มีการนำมาประมวลผลใหม่และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อจะได้มีการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ที่สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกถึงระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญของการวิเคราะห์และการตัดสินใจนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ
“หากมองจากสถิติแล้วจะพบว่าประเด็นในเรื่องบทบาททางการเมือง การบริหาร การศึกษา และเรื่องความรุนแรง เป็นประเด็นที่น่าห่วงที่สุด เพราะหญิงไทยรับภาระหลายเรื่องทั้งทำงาน ดูแลครอบครัวจึงทำให้โอกาสในการอ่านหนังสือน้อย และเรื่องที่มีผลกระทบกับผู้หญิงที่น่าห่วงในด้านของอนามัย การเจริญพันธุ์จะอยู่ที่ภาคใต้ เนื่องจากการทำความเข้าใจยากเพราะติดในเรื่องของศาสนา และการเข้าถึงของแพทย์ก็เป็นไปได้น้อยเช่นกัน แต่ถึงอย่างไรในสายตาของต่างชาติหญิงไทยยังเป็นหญิงเก่งเสมอ” ที่ปรึกษาโครงการ กล่าว
สำหรับข้อมูลสถิติที่น่าสนใจนั้นมีหลายประเด็น อาทิ ประเด็นผู้หญิงกับการศึกษา จากสถิติพบว่า อัตราการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา-ม.ต้นของทั้งหญิงและชายมีความใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเรียนไปจนถึงช่วงของ ม.ปลาย-อุดมศึกษาผู้ชายกลับมีอัตราสูงกว่าผู้หญิง โดยในระดับ ม.ปลาย นั้นผู้ชายอยู่ที่ 72% ผู้หญิง 60% เช่นเดียวกับระดับอุดมศึกษาที่อัตราของการเข้าเรียนต่อของผู้ชายสูงถึง 75% และผู้หญิงเพียง 61% สำหรับอัตราความสามารถในการเขียน อ่าน นั้นผู้หญิงมี 91% ซึ่งน้อยกว่าผู้ชายที่มี 96% และผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปในเขตชนบทภาคเหนือมีอัตราต่ำสุดที่ 76%
ด้านประเด็นของสุขภาพ อัตราการสูบบุหรี่ผู้หญิงอยู่ที่ 38.8% มากกว่าผู้ชายที่มีเพียง 2.6% ในขณะที่ผู้ชายมีอัตราการสูบบุหรี่ที่ลดลง แต่ผู้หญิงกลับมีอัตราที่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผู้หญิงและผู้ชาย มีการดื่มเพิ่มขึ้นที่ 9.1-50.3% ในเรื่องของอัตราการเจ็บป่วยผู้หญิง 18.1% สูงกว่าผู้ชายที่มี 14.5% และคนในชนบทภาคเหนือนั้นมีอัตราการเจ็บป่วยสูงสุด เรื่องจำนวนผู้พิการทั่วประเทศกว่า 1.1 ล้านคน เป็นชาย 50.4% ผู้หญิง 49.6% โดยภาคอีสานมีอัตราประชากรพิการสูงที่สุดที่ 2.4% และผู้สูงอายุทั่วประเทศกว่า 6 ล้านคน เป็นหญิง 54% ชาย 46% มีผู้สูงอายุที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวถึง 373,515 คน และ 2 ใน 3 เป็นผู้หญิง แต่ผู้ชายกลับมีอายุเฉลี่ยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตาย 68.4% ซึ่งน้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 75.4%
ส่วนภาระความเสี่ยงของเพศแม่ นั้นผู้หญิงที่สมรสแล้วนั้นคุมกำเนิด 81% โดยที่ภาคใต้มีอัตราต่ำสุดที่ 70% ในฝ่ายชายมีอัตราการคุมกำเนิดพียงแค่ 1.1% เท่านั้น ในสัดส่วนของมารดาที่มีอายุน้อยจากสถิติปี 2545 ที่ 13.9% เพิ่มเป็น 14.7% ในปี 2549 อัตราสูงสุดอยู่ที่ภาคเหนือ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์นั้นสูงสุดอยู่ที่ภาคกลาง 1.14% รองลงมา ภาคใต้ 0.83% อีสานต่ำสุดที่ 0.51% และสำหรับภาคใต้นั้นมีอัตราการตายของมารดาในการคลอดบุตรต่อแสนคนสูงสุดที่ 18.7%
ประเด็นการทำงาน ในจำนวนผู้ที่เข้ารับการพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 103,846 คน ในปี 2549 เป็นผู้หญิง 48% ผู้ชาย 52% แต่ฝ่ายหญิงกลับได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 59% ซึ่งมากกว่าผู้ชายที่มีเพียง 41% สำหรับการมีบทบาทในงานการเมืองนั้น ผู้หญิงมีอัตราการเข้ามาเกี่ยวข้องในวงการเมืองคืออยู่ในชุด ครม.5.6% ในปี 2548 และในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 8.6% ส่วนสื่อสารมวลชนมีการอัตราการทำงานของผู้หญิงเพิ่มขึ้นจาก 26% ในปี 2545 เป็น 38% ในปี 2549
และประเด็นด้านความรุนแรง พบว่า ผู้หญิงที่สมรสในช่วงอายุ 15-49 ปี เคยถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจในรอบเดือนที่ผ่านมามากกว่า 1 ล้านคน และมีคดีข่มขืนกระทำชำเราที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเสร็จเพิ่มจาก 4,896 คดี ในปี 2545 เป็น 9,653 คดี ในปี 2549
นางปาริชาต ศิวะรักษ์ ที่ปรึกษาโครงการ กล่าวว่า การจัดทำสถิติจำแนกเพศของประเทศไทยปี 2551 นั้น เพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลในรายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพของผู้หญิงในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งระดับจังหวัด ระดับภาค และเขตเทศบาล ซึ่งฐานข้อมูลนี้จะเป็นฐานข้อมูลกลาง ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้เป็นระบบเดียวกัน
ในส่วนการจัดเก็บข้อมูลนั้น นางปาริชาติ กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่จัดเก็บเป็นข้อมูลสถิติปัจจุบันจากทั่วประเทศ แต่ได้มีการนำมาประมวลผลใหม่และพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อจะได้มีการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ที่สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกถึงระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญของการวิเคราะห์และการตัดสินใจนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ
“หากมองจากสถิติแล้วจะพบว่าประเด็นในเรื่องบทบาททางการเมือง การบริหาร การศึกษา และเรื่องความรุนแรง เป็นประเด็นที่น่าห่วงที่สุด เพราะหญิงไทยรับภาระหลายเรื่องทั้งทำงาน ดูแลครอบครัวจึงทำให้โอกาสในการอ่านหนังสือน้อย และเรื่องที่มีผลกระทบกับผู้หญิงที่น่าห่วงในด้านของอนามัย การเจริญพันธุ์จะอยู่ที่ภาคใต้ เนื่องจากการทำความเข้าใจยากเพราะติดในเรื่องของศาสนา และการเข้าถึงของแพทย์ก็เป็นไปได้น้อยเช่นกัน แต่ถึงอย่างไรในสายตาของต่างชาติหญิงไทยยังเป็นหญิงเก่งเสมอ” ที่ปรึกษาโครงการ กล่าว
สำหรับข้อมูลสถิติที่น่าสนใจนั้นมีหลายประเด็น อาทิ ประเด็นผู้หญิงกับการศึกษา จากสถิติพบว่า อัตราการเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา-ม.ต้นของทั้งหญิงและชายมีความใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเรียนไปจนถึงช่วงของ ม.ปลาย-อุดมศึกษาผู้ชายกลับมีอัตราสูงกว่าผู้หญิง โดยในระดับ ม.ปลาย นั้นผู้ชายอยู่ที่ 72% ผู้หญิง 60% เช่นเดียวกับระดับอุดมศึกษาที่อัตราของการเข้าเรียนต่อของผู้ชายสูงถึง 75% และผู้หญิงเพียง 61% สำหรับอัตราความสามารถในการเขียน อ่าน นั้นผู้หญิงมี 91% ซึ่งน้อยกว่าผู้ชายที่มี 96% และผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปในเขตชนบทภาคเหนือมีอัตราต่ำสุดที่ 76%
ด้านประเด็นของสุขภาพ อัตราการสูบบุหรี่ผู้หญิงอยู่ที่ 38.8% มากกว่าผู้ชายที่มีเพียง 2.6% ในขณะที่ผู้ชายมีอัตราการสูบบุหรี่ที่ลดลง แต่ผู้หญิงกลับมีอัตราที่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผู้หญิงและผู้ชาย มีการดื่มเพิ่มขึ้นที่ 9.1-50.3% ในเรื่องของอัตราการเจ็บป่วยผู้หญิง 18.1% สูงกว่าผู้ชายที่มี 14.5% และคนในชนบทภาคเหนือนั้นมีอัตราการเจ็บป่วยสูงสุด เรื่องจำนวนผู้พิการทั่วประเทศกว่า 1.1 ล้านคน เป็นชาย 50.4% ผู้หญิง 49.6% โดยภาคอีสานมีอัตราประชากรพิการสูงที่สุดที่ 2.4% และผู้สูงอายุทั่วประเทศกว่า 6 ล้านคน เป็นหญิง 54% ชาย 46% มีผู้สูงอายุที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวถึง 373,515 คน และ 2 ใน 3 เป็นผู้หญิง แต่ผู้ชายกลับมีอายุเฉลี่ยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตาย 68.4% ซึ่งน้อยกว่าผู้หญิงที่มีอายุเฉลี่ย 75.4%
ส่วนภาระความเสี่ยงของเพศแม่ นั้นผู้หญิงที่สมรสแล้วนั้นคุมกำเนิด 81% โดยที่ภาคใต้มีอัตราต่ำสุดที่ 70% ในฝ่ายชายมีอัตราการคุมกำเนิดพียงแค่ 1.1% เท่านั้น ในสัดส่วนของมารดาที่มีอายุน้อยจากสถิติปี 2545 ที่ 13.9% เพิ่มเป็น 14.7% ในปี 2549 อัตราสูงสุดอยู่ที่ภาคเหนือ สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์นั้นสูงสุดอยู่ที่ภาคกลาง 1.14% รองลงมา ภาคใต้ 0.83% อีสานต่ำสุดที่ 0.51% และสำหรับภาคใต้นั้นมีอัตราการตายของมารดาในการคลอดบุตรต่อแสนคนสูงสุดที่ 18.7%
ประเด็นการทำงาน ในจำนวนผู้ที่เข้ารับการพัฒนาฝีมือแรงงานจำนวน 103,846 คน ในปี 2549 เป็นผู้หญิง 48% ผู้ชาย 52% แต่ฝ่ายหญิงกลับได้รับการบรรจุเข้าทำงาน 59% ซึ่งมากกว่าผู้ชายที่มีเพียง 41% สำหรับการมีบทบาทในงานการเมืองนั้น ผู้หญิงมีอัตราการเข้ามาเกี่ยวข้องในวงการเมืองคืออยู่ในชุด ครม.5.6% ในปี 2548 และในปี 2549 เพิ่มขึ้นเป็น 8.6% ส่วนสื่อสารมวลชนมีการอัตราการทำงานของผู้หญิงเพิ่มขึ้นจาก 26% ในปี 2545 เป็น 38% ในปี 2549
และประเด็นด้านความรุนแรง พบว่า ผู้หญิงที่สมรสในช่วงอายุ 15-49 ปี เคยถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจในรอบเดือนที่ผ่านมามากกว่า 1 ล้านคน และมีคดีข่มขืนกระทำชำเราที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเสร็จเพิ่มจาก 4,896 คดี ในปี 2545 เป็น 9,653 คดี ในปี 2549