ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กระทรวงพัฒนาสังคมฯ ระดมสมองทุกภาคส่วนในภาคใต้ จัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ หลังจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน นักวิชาการและองค์กรเอกชนทุกภาค หวังลดภาวะความเสี่ยงความมั่นคงของมนุษย์
วันนี้ (4 มี.ค.) ที่โรงแรมเมโทรโพล ภูเก็ต กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ยุทธศาสตร์ความมั่งคงของมนุษย์” เพื่อเป็นเวทีสำหรับระดมความคิดเห็นจากตัวแทนทุกภาคส่วนสาขาต่างๆ ในภาคใต้ ร่วมกันกำหนดประเด็นโอกาสของภาวะเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับความมั่งคงของมนุษย์ รวมทั้งร่วมกันหามาตรการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากภัยคุกคามต่างๆ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ สื่อมวลชน และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ เข้าร่วมประชุม
นางกานดา วัชราภัย รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผย ว่า รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับหลักการความมั่นคงของมนุษย์ โดยเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network : HSN) ตั้งแต่ปี 2542 และจัดตั้งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขึ้นในปี 2545
โดยในชั้นต้นกระทรวงได้นำมุมมองเรื่องความปลอดภัยจากการถูกคุกคามและการคุ้มครองจากภัยคุกคาม ซึ่ง UNDP ได้เสนอตัวชี้วัดไว้ 7 ประการมาทำการศึกษาวิจัย เพื่อจัดทำมาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ โดยกำหนดตัวชี้วัดไว้ 10 มิติ คือ มิติที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย การศึกษา การมีงานทำและรายได้ ความมั่นคงส่วนบุคคล ครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม สังคม-วัฒนธรรม และมิติการเมืองและธรรมมาภิบาล
โดยในระยะต่อมามุมมองความมั่งคงของมนุษย์ ได้รับความสนใจมากขึ้นจากนักวิชาการสาขาต่างๆ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน และองค์การภาคประชาชน ในกรอบของสิทธิมนุษยชน การพัฒนาที่ยั่งยืนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเอง ชีวิตที่เป็นสุข ความมั่นคงทางจิตใจ สันติและพึงพากันและกันในระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าภายใต้สภาวะแวดล้อมใหม่ ล้วนได้รับผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ในรูปของภาวะเสี่ยงที่ต้องเผชิญและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และความเป็นมนุษย์หลายด้าน
เช่น ด้านการระเมิดสิทธิมนุษยชน ความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งในเรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมือง ภาวะโรคระบาดทั้งในคนและสัตว์ พฤติกรรมการบริโภคด้านวัฒนธรรม เป็นต้น
นางกานดา กล่าวต่อว่า การประชุมสัมมนาในวันนี้ ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ 2 ประการ คือ ประการแรก เป็นการสร้างความชัดเจนประเด็นที่ท้าทายต่อความมั่นคงของมนุษย์ในช่วง 4 ปีข้างหน้า
ผลจากการทำงานร่วมกันจะเป็นเสหมือนข้อมูลที่จุดประกายให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความเสี่ยงหรือภัยคุกคาม และร่วมกันพิจารณาหาแนวทางที่จัดการกับภาวะเหล่านั้น ประการที่สอง กระทรวงฯจะได้ใช้กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ในรูปแบบของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการเป็นหุ้นส่วนในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์อย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการคิด การตัดสินใจ การดำเนินงาน และการประเมินผลร่วมกัน
โดยทางกระทรวงฯ จะได้นำผลจากการระดมความคิดเห็นจากเวทีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2551 เวทีภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 22-23 มกราคม 2551 เวทีภาคกลาง ที่จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2551 และวันนี้เป็นเวทีของภาคใต้ ที่จังหวัดภูเก็ต เวทีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุดรธานี วันที่ 18-19 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นเวทีสุดท้ายสำหรับภาคประชาชน และปิดท้ายด้วยเวทีสำหรับข้าราชการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ วันที่ 27 มีนาคม 2551
จากนั้นก็จะนำประเด็นทั้งหมดจากทุกเวทีมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อความรอบคอบและหาความชัดเจนที่สุด ก่อนที่จะยกร่างเป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ ที่ทุกฝ่ายยอมรับและร่วมมือกันขับเคลื่อนและประเมินผลความก้าวหน้าร่วมกันต่อไป
ด้าน นางสุจารีย์ สวงโท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์นั้นคาดว่าจะยกร่างเสร็จประมาณเดือน พ.ค.นี้ หลังจากนั้นก็จะเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่จะเสนอขอความคิดเห็นจากคณะรัฐมนตรีในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อที่จะให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณขับเคลื่อนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดภายในเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2554 ต่อไป
สำหรับประเด็นปัญหาความไม่มั่นคงที่ประชาชนแต่ละพื้นที่นำเสนอนั้น มีความแตกต่างกัน เช่น ปัญหาการเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารในการดำรงชีวิต ปัญหาด้านการศึกษา เป็นต้น
วันนี้ (4 มี.ค.) ที่โรงแรมเมโทรโพล ภูเก็ต กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์ จัดประชุมสัมมนาเรื่อง “ยุทธศาสตร์ความมั่งคงของมนุษย์” เพื่อเป็นเวทีสำหรับระดมความคิดเห็นจากตัวแทนทุกภาคส่วนสาขาต่างๆ ในภาคใต้ ร่วมกันกำหนดประเด็นโอกาสของภาวะเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับความมั่งคงของมนุษย์ รวมทั้งร่วมกันหามาตรการปกป้องคุ้มครองประชาชนจากภัยคุกคามต่างๆ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ สื่อมวลชน และตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ เข้าร่วมประชุม
นางกานดา วัชราภัย รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผย ว่า รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับหลักการความมั่นคงของมนุษย์ โดยเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security Network : HSN) ตั้งแต่ปี 2542 และจัดตั้งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขึ้นในปี 2545
โดยในชั้นต้นกระทรวงได้นำมุมมองเรื่องความปลอดภัยจากการถูกคุกคามและการคุ้มครองจากภัยคุกคาม ซึ่ง UNDP ได้เสนอตัวชี้วัดไว้ 7 ประการมาทำการศึกษาวิจัย เพื่อจัดทำมาตรฐานและตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ โดยกำหนดตัวชี้วัดไว้ 10 มิติ คือ มิติที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย การศึกษา การมีงานทำและรายได้ ความมั่นคงส่วนบุคคล ครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม สังคม-วัฒนธรรม และมิติการเมืองและธรรมมาภิบาล
โดยในระยะต่อมามุมมองความมั่งคงของมนุษย์ ได้รับความสนใจมากขึ้นจากนักวิชาการสาขาต่างๆ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน และองค์การภาคประชาชน ในกรอบของสิทธิมนุษยชน การพัฒนาที่ยั่งยืนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเอง ชีวิตที่เป็นสุข ความมั่นคงทางจิตใจ สันติและพึงพากันและกันในระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าภายใต้สภาวะแวดล้อมใหม่ ล้วนได้รับผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ในรูปของภาวะเสี่ยงที่ต้องเผชิญและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และความเป็นมนุษย์หลายด้าน
เช่น ด้านการระเมิดสิทธิมนุษยชน ความขัดแย้งจากการใช้ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งในเรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ การลักลอบเข้าเมือง ภาวะโรคระบาดทั้งในคนและสัตว์ พฤติกรรมการบริโภคด้านวัฒนธรรม เป็นต้น
นางกานดา กล่าวต่อว่า การประชุมสัมมนาในวันนี้ ถือเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ 2 ประการ คือ ประการแรก เป็นการสร้างความชัดเจนประเด็นที่ท้าทายต่อความมั่นคงของมนุษย์ในช่วง 4 ปีข้างหน้า
ผลจากการทำงานร่วมกันจะเป็นเสหมือนข้อมูลที่จุดประกายให้กับประชาชนกลุ่มต่างๆ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ความเสี่ยงหรือภัยคุกคาม และร่วมกันพิจารณาหาแนวทางที่จัดการกับภาวะเหล่านั้น ประการที่สอง กระทรวงฯจะได้ใช้กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ในรูปแบบของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ด้วยการเป็นหุ้นส่วนในเรื่องความมั่นคงของมนุษย์อย่างครบวงจร ตั้งแต่กระบวนการคิด การตัดสินใจ การดำเนินงาน และการประเมินผลร่วมกัน
โดยทางกระทรวงฯ จะได้นำผลจากการระดมความคิดเห็นจากเวทีการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2551 เวทีภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 22-23 มกราคม 2551 เวทีภาคกลาง ที่จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ 2551 และวันนี้เป็นเวทีของภาคใต้ ที่จังหวัดภูเก็ต เวทีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุดรธานี วันที่ 18-19 มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นเวทีสุดท้ายสำหรับภาคประชาชน และปิดท้ายด้วยเวทีสำหรับข้าราชการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ วันที่ 27 มีนาคม 2551
จากนั้นก็จะนำประเด็นทั้งหมดจากทุกเวทีมาพิจารณาร่วมกัน เพื่อความรอบคอบและหาความชัดเจนที่สุด ก่อนที่จะยกร่างเป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ ที่ทุกฝ่ายยอมรับและร่วมมือกันขับเคลื่อนและประเมินผลความก้าวหน้าร่วมกันต่อไป
ด้าน นางสุจารีย์ สวงโท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า การจัดทำยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์นั้นคาดว่าจะยกร่างเสร็จประมาณเดือน พ.ค.นี้ หลังจากนั้นก็จะเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็นอีกรอบหนึ่ง ก่อนที่จะเสนอขอความคิดเห็นจากคณะรัฐมนตรีในเดือน ก.ค.นี้ เพื่อที่จะให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณขับเคลื่อนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดภายในเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2554 ต่อไป
สำหรับประเด็นปัญหาความไม่มั่นคงที่ประชาชนแต่ละพื้นที่นำเสนอนั้น มีความแตกต่างกัน เช่น ปัญหาการเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารในการดำรงชีวิต ปัญหาด้านการศึกษา เป็นต้น