xs
xsm
sm
md
lg

เขมรไม่รอ..ฉายเดี่ยวจดทะเบียนพระวิหาร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#00CC66> โดดเดี่ยวบนผาสูง..จะไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นจดทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกแล้ว หลังมีการจัดทำแผนการบริหารจัดการอย่างละเอียด คาดว่ายูเนสโกจะขึ้นบัญชีได้ทันปีนี้</FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน-- รัฐบาลกัมพูชาจะยื่นขอจดทะเบียนเพื่อให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกก่อนวันที่ 1 ก.พ.นี้ โดยไม่รอเสียทักท้วงใดๆ นายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา กล่าวหลังการประชุม ครม.วันเสาร์ (26 ม.ค.) ที่ผ่านมา


หลังการประชุมดังกล่าว รัฐบาลกัมพูชายังได้ออกคำแถลงฉบับหนึ่งประณามความพยายามที่จะยับยั้งมิให้กัมพูชาดำเนินการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารต่อองค์การยูเนสโก (UNESCO) แห่งสหประชาชาติ “โดยใช้ปัญหาพรมแดนที่ไม่ได้เป็นปัญหาจริง" ในการโต้แย้ง

รัฐบาลกัมพูชาไม่ได้เอ่ยถึงชื่อประเทศใดประกอบการกล่าวหาในคำแถลง แต่คู่กรณีในเรื่องนี้คือประเทศไทย

"การใช้ข้อขัดแย้งเรื่องพรมแดนที่ไม่ได้มีอยู่จริงเพื่อโต้แย้ง ในความพยายามขัดขวางกระบวนการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารนั้น เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการละเมิดต่อคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี 2505" สำนักข่าวเอเคพี (Agence Kampuchean-Presse) อ้างคำแถลงดังกล่าว

ศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 แต่บางส่วนในอาณาบริเวณของปราสาทพระวิหารอยู่ในดินไทยในปัจจุบัน

ประเทศไทยได้เสนอให้กัมพูชารวมเอาส่วนทั้งหมดเข้าไว้ในแหล่งมรดกโลกด้วย และร่วมกันพัฒนาทั้งอาณาบริเวณเพื่อประโยชน์ร่วมกันระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้าน
<CENTER><FONT color=#00CC66> ผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศกำลังจะร่วมกันฟื้นฟูบูรณะซากหักพังในอาณาบริเวณปราสาท พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว </FONT></CENTER>
เอเคพีซึ่งเป็นสำนักข่าวของรัฐบาลกล่าวว่า นายโสกอาน (Sok An) กับนายฮอง ประธานคณะกรรมการระดับชาติชุดหนึ่งที่รับผิดชอบในการดำเนินการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารกล่าวว่าจะต้องยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกก่อนวันที่ 1 ก.พ. ตามกำหนด เพื่อให้ทันบรรจุลงในบัญชีมรดกโลกภายในปี 2551 นี้

ก่อนหน้านั้นวันที่ 18 ม.ค.ได้มีการประชุมสำคัญนัดหนึ่งที่สำนักนายกรัฐมนตรีกรุงพนมเปญ เพื่อรับฟังรายงานเกี่ยวกับแผนการอนุรักษ์และการพัฒนาปราสาทพระวิหารโดยมีผู้แทนของ 8 สถาบันจาก 8 ประเทศเข้าร่วม เช่น กัมพูชา เบลเยียม สหรัฐฯ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศไทย

เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ยังประกอบด้วยผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ กองทุน และองค์กรเอกชนที่ไม่สังกัดรัฐบาล รวมทั้ง โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และหน่วยเก็บกู้ระเบิด HALO Trust

เอเคพีกล่าวว่าที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดและเห็นร่วมกันว่าเป็นแผนการที่ดีและมีรายละเอียดดี โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การบริหารจัดปราสาทศักดิ์สิทธิ์ให้มีประสิทธิภาพ

รายงานยังระบุว่าปราสาทพระวิหารมีศักยภาพที่จะอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้แก่ราษฎรในท้องถิ่น ให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนการลดความยากจนของรัฐบาลกัมพูชา

คำแถลงจากที่ประชุม ครม.กัมพูชานัดวันที่ 26 ม.ค. ได้ขอบคุณผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลกจากเบลเยียม สหรัฐฯ ฝรั่งเศส อินเดียที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญจากจีน ญี่ปุ่นและไทยที่เข้าร่วมการประชุมหารือต่างๆ

คณะผู้เชี่ยวชาญต่างชาติทั้งหมดได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญกัมพูชาไปศึกษายังพื้นที่จริงที่บริเวณปราสาทพระวิหาร เพื่อสำรวจตรวจตราทั้งด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ด้านภูมิทัศน์ การเก็บวัตตุระเบิด ตลอดจนการนำเครื่องไฮโดรลิคเข้าไปติดตั้ง เอเคพีกล่าว

คณะกรรมการแห่งชาติของกัมพูชาได้แสดงความหวังว่า ประเทศไทยจะให้การสนับสนุนอย่างแข็งขันและร่วมมือในการดำเนินการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก ดังเช่นที่ผู้แทนของไทยเคยยืนยันต่อสาธารณชนมาหลายครั้ง.
กำลังโหลดความคิดเห็น