“ไม่ต้องตรวจสุขภาพ... ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ เบี้ยประกันเพียงวันละ...บาท” ก่อนกระชากความรู้สึกด้วยคำพูด “ทำเถอะครับ จะได้ไม่เป็นภาระลูกหลาน!” ทั้งหมดนี้คือข้อความเชิญชวนยอดฮิตของบริษัทประกันในปัจจุบัน ที่ทำให้ผู้สูงอายุจำนวนมากตัดสินใจทำประกันผู้สูงอายุ หากเบื้องหลังถ้อยคำเหล่านั้นมีความจริงอยู่สักเท่าไร
ล่าสุดทาง ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ออกมาเปิดเผยว่า มีผู้ร้องเรียนเข้ามาที่ มพบ. เป็นจำนวนมาก ว่าบริษัทประกันปฏิเสธการจ่ายสินไหมทดแทน ทั้งไม่สามารถเคลมประกันได้เมื่อถึงเวลาเข้าโรง พยาบาล ซ้ำบางรายยังถูกยกเลิกสัญญา ด้วยเหตุผลที่บริษัทประกันให้ว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวมาก่อนที่จะทำประกัน?
ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ข้อแม้เพียบ
“จริงครับ ทำง่าย สมัครง่าย จ่ายค่าเบี้ยง่าย ... แต่ตอนเคลมยากมาก ถึงมากที่สุด ... เพราะท้ายที่สุดในโฆษณามีข้อความตัวเล็กๆ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์”
“สงสารแต่คนแก่ๆ ครับ รู้อยู่แล้วว่าคนแก่เค้ากลัวง่าย ชอบเป็นกังวลก็ไปเล่นกับความกลัวของคนบอก ทำเถอะครับจะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลานเมื่อวันนั้นมาถึง… ถามหน่อยถ้าเกิดคนจะตายขึ้นมาจริงๆ มันก็ไม่ได้เป็นภาระอะไรมากเลยนี่นั่นน่ะถือว่าหมดภาระหมดกังวลทางโลกแล้ว”
เหล่านี้คือข้อความที่ปรากฏในกระทู้หนึ่งของ pantip ที่มีคนมาร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีประกันผู้สูงอายุ
เกี่ยวกับประเด็นนี้ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ในรอบเดือน กย.57- กพ.58 มีผู้ร้องเรียนเข้ามาที่ มพบ. เป็นจำนวนมาก มีทั้งปัญหาการจ่ายผลตอบแทนเมื่อครบสัญญาไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้ ตัวแทนชี้ชวนให้ผู้ทำประกันกู้เงินตามสิทธิ เช่น ตัวแทนหลอกให้ผู้ทำประกันเซ็นเอกสารกู้ยืม โดยตัวแทนเป็นฝ่ายดำเนินการ บริษัทประกันบอกเลิกสัญญา แต่ผู้ทำประกันยังต้องทำต่อเนื่องตามเงื่อนไขเดิม ทั้งการปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม โดยอ้างว่าเป็นโรคร้ายแรงมาก่อน รวมถึงการถูกเปลี่ยนเงื่อนไขในกรมธรรม์ เป็นต้น
ดังเช่นตัวอย่างของลูกค้าท่านหนึ่งที่ทำประกันกับบริษัทแห่งหนึ่งไว้ โดยได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวไว้ใน pantip สะท้อนถึงปัญหาดังกล่าวไว้ว่า “อยากเล่าบางอย่างให้ฟัง... แม่ยายผมเขาทำประกันไว้กับบริษัทประกันแห่งหนึ่ง แล้วเมื่อครบกำหนดกรมธรรม์ น่าจะมาณ 10-20 ปี จำไม่ได้ แล้วได้สอบถามไปทางเจ้าหน้าที่แล้ว พบว่า สามารถเวนเงินคืนได้ ประมาณ 5 หมื่นกว่าบาท แต่ต้องมีการส่งกรมธรรม์ตัวจริง และใบคำร้องของบริษัท ตลอดจนแนบเอกสารส่วนตัวตามรายละเอียดของบริษัทฯ แม่ยายผมก็ได้จัดส่งไปให้ โดยผ่านสำนักงานต่างจังหวัด ต่อมาประมาณ 2 อาทิตย์ได้ติดต่อไปทางคอลเซ็นเตอร์ ปรากฏว่าใบคำร้องมีปัญหา! กรอกรายละเอียดไม่ครบ หรือเอกสารไม่สมบูรณ์ (ทั้งๆ ที่ก่อนส่งก็ได้ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจสอบก่อนแล้วนะ) และได้จัดส่งกลับมาให้สำนักงานตัวแทนแล้ว”
“หลังจากนั้นแม่ยายจึงได้ไปรับและได้แก้ไขเอกสาร แล้วจัดส่งไปทางไปรษณีย์ อีกประมาณ 1 อาทิตย์ จึงได้สอบถามไปทางคอลเซ็นเตอร์อีกที ปรากฏว่า ใบคำร้องที่ส่งให้ใหม่ได้รับแล้ว แต่กรมธรรม์ตัวจริงทางบริษัทส่งกลับมาให้ตัวแทนแล้ว (แล้วทำไมมันไม่ส่งมาพร้อมกันครั้งแรกเลย) อ้าว...งานงอกสิครับ แล้วพอสอบถามไปที่สำนักงานตัวแทนเขาบอกว่าไม่สามารถจัดส่งให้ได้ ต้องให้เราไปรับคืนเอง...(แล้วทำไมครั้งแรกมันส่งไปได้ฟะ) .... เอาละสิ ไม่ได้คิดอะไร เลยไปรับที่สำนักงานตัวแทน แล้วจัดส่งให้ไปรษณีย์อีก...อีก 2 วัน ปรากฏว่า มันบอกส่งเอกสารคำร้องคืนมาอีกแล้ว.....ถามกันไปถามกันมาทั้งๆ ที่บอกไปทางคอลเซ็นเตอร์แล้วว่า ให้เก็บเอกสารนั้นไว้ เดี๋ยวเราจะส่งเอกสารอีกชุดไปให้ จนปัจจุบัน แม่ยายผมยังไม่ได้รับเงินคืน เรื่องนี้แม่ยายผมเองก็ผิดที่กรอกเอกสารผิดครั้งแรก แต่เรื่องเอกสารส่งกันไป ส่งกันมา ตั้งหลายรอบ...ไม่เข้าใจว่า ทางบริษัทตั้งแง่จะไม่คืนเงินตั้งแต่แรกหรือเปล่า....อันนี้แค่ตั้งข้อสังเกตุ ว่าทำไมไม่คืนเอกสารมาทั้งชุด ตั้งแต่ทีแรก.....หรือแจ้งให้เจ้าของกรมธรรม์รู้ว่ามีเอกสารตีกลับ ต้องให้แม่ยายผมตามเองตลอด....น่าคิดนะ วอนผู้บริหารดูแลด้วยนะครับ”
เน้นขายดราม่า! อย่าเชื่อทุกคำพูด
จากการสอบถามไปยัง คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ได้ให้ข้อมูลว่า บริษัทประกันมักใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อด้วยข้อความที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกกับลูกค้า โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีความคิดเห็นคล้อยตามง่าย ด้วยคำว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ” ที่ถือว่าเป็นการสร้างข้อความจูงใจใหม่ที่ทำลายข้อจำกัดเดิมของระบบประกันที่เคยมีเรื่องการตรวจสุขภาพก่อนการทำสัญญา จึงทำให้มีผู้สนใจหันมาทำประกันผู้สูงอายุมากขึ้น ประกอบกับการที่เมืองไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยในปี 2555 จำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทยคิดเป็นประมาณร้อยละ 12.7 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 8.6 ล้านคน
บริษัทประกันชีวิตจึงได้หันมาให้ความสำคัญและความสนใจกับลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุในฐานะที่เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ (Potential Customer ) ส่วนลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุเองก็มองเห็นถึงความจำเป็นและมีความต้องการที่จะทำประกันชีวิตไว้เป็นหลักประกันความคุ้มครองและการออมเงิน เพื่อเก็บไว้เป็นมรดกให้แก่ลูกหลานและไม่ต้องการเป็นภาระของลูกหลานหากตนเองเสียชีวิต
ดังนั้นในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทประกันชีวิตหลายแห่งจึงเริ่มหันมาพัฒนาแบบประกันที่เน้นกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ โดยเมื่อมองเจาะจงเฉพาะประกันชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น จะมีทั้งเฉพาะประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวและส่วนที่ประกันสุขภาพ หากมองเฉพาะในส่วนของประกันชีวิตเพียงอย่างเดียว ที่นำเอาดารามาโฆษณาในตลาดขณะนี้มี 3 รายหลักประกอบด้วย เอไอเอ เมืองไทยประกันชีวิต และอลิอันซ์ อยุธยา
โดย เอไอเอ (AIA) นับเป็นบริษัทประกันชีวิตรายแรกที่ออกโฆษณาสำหรับผู้สูงอายุ “อาวุโส โอเค” โดยมี คุณเศรษฐา ศิรฉายา เป็นพรีเซ็นเตอร์ หลังจากนั้นก็มีบริษัทประกันชีวิตอื่นๆ ทยอยออกแบบประกันเฉพาะผู้สูงอายุมา จากนั้นค่ายเมืองไทยประกันชีวิต ออกผลิตภัณฑ์ “เมืองไทยวัยเก๋า” ดึงเอา วิทวัส สุนทรวิเนตร์ พิธีกรชื่อดังมาเป็นต้นแบบ อีกค่ายที่ตามมาคืออลิอันซ์ อยุธยา ออกผลิตภัณฑ์ “สูงวัย ใช่เลย” ได้ นพพล โกมารชุน นักแสดงรุ่นใหญ่มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ จากนั้นเอไอเอได้ออกผลิตภัณฑ์อีกตัวคือ “เอไอเอ 50 อัพ” มี นิรุตติ์ ศิริจรรยา ดาราอาวุโสมาเป็นต้นแบบ
ทั้งนี้ แบบประกันของทั้งสามบริษัทมีความแตกต่างกันตามแต่กลยุทธ์ หากบริษัททั้งหมดก็มีสิ่งที่เหมือนกันคือ เรื่องอายุขณะเอาประกัน (อายุที่ถูกคำนวณ ณ วันที่ซื้อประกัน) 50 -70 ปี ยกเว้นแบบประกัน “เมืองไทยวัยเก๋า” และ “วัยเก๋าทั่วไทย” ที่รับประกันอายุ40 - 75 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ และไม่มีการถามคำถามสุขภาพ (ยกเว้นแบบประกัน “สูงวัยใช่เลย” ของอลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิตที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่มีคำถามสุขภาพ) คุ้มครองจนถึงอายุ 90 ปี จ่ายเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาที่ต้องจ่ายเบี้ย และเรื่องของความคุ้มครองจากกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 2 ปีแรก โดยไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายสินไหม 102% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้ว โดยไม่ใช่การจ่ายตามทุนประกัน และเมื่อมองดูทั้งหมดแล้วทุกบริษัทก็มีการปิดบังรายละเอียดบางอย่าง หากผู้ทำประกันไม่ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดจริงๆ ก็จะทำให้หลงเชื่อตามคำโฆษณาทุกประการ
ผู้ทำประกันต้องรู้ทัน!
เกี่ยวกับประเด็นนี้ตัวแทนจากทาง คปภ. ได้เปิดเผยว่า “ความจริงแล้ว ทาง คปภ. มีระเบียบเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนอยู่แล้ว โดยมีกรอบโฆษณาเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย โดยมีสาระสำคัญว่า ข้อความที่โฆษณาต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง ข้อความที่โฆษณาต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่กำกวม
นอกจากนี้ข้อความที่โฆษณาต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์หรือการจ่ายผลประโยชน์ รวมถึงในการโฆษณาที่ระบุ “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” จะต้องมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่าต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัย/ชีวิตด้วยหรือไม่ หากมีการแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ ต้องระบุเพิ่มด้วยว่า การแถลงสุขภาพเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย/ชีวิต และต้องให้มีการระบุคำเตือน โดยใช้ข้อความว่า “ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง” หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองลึกลงไปอย่างรู้ทันข้อกฎหมาย ตามมาตรา 865 และมาตรา 893 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ระบุเรื่องหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริงในเวลาทำสัญญาประกันไว้ว่า
“ผู้ทำสัญญาหรือผู้เอาประกันชีวิต รวมถึงผู้ที่ใช้ความตายของตนเป็นเงื่อนไขการใช้เงิน จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่มีผลจูงใจให้บริษัทผู้รับประกันชีวิตนั้นเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรืออาจบอกปัดไม่ทำสัญญา เนื่องจากในกฎหมายระบุให้ผู้เอาประกันชีวิตจะต้องใช้ความสุจริตอย่างยิ่ง โดยมีหน้าที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงให้บริษัทผู้รับประกันภัยได้ทราบ”
“กรณีผู้ที่ใช้ความตายของเขาเป็นเงื่อนไข การใช้เงินก็ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าว เมื่อมองรายละเอียด ดังนั้นนอกจากผู้เอาประกัน ผู้ที่ใช้ความตายของบุคคลนั้นเป็นเงื่อนไขการใช้เงินก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่จะต้องบอกข้อเท็จจริงว่าตนมีโรคประจำตัวอย่างไรบ้าง หรือบอกปัจจัยอื่นที่มีผลทำให้ผู้รับประกันเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรืออาจบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาถ้าได้รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะกฎหมายระบุให้ผู้เอาประกันชีวิตจะต้องใช้ความสุจริตอย่างยิ่งในการที่จะต้องบอกข้อเท็จจริงดังกล่าวให้กับบริษัทประกันชีวิต”
ท้ายสุด หากผู้ที่มีหน้าที่ไม่ทำหน้าที่ดังกล่าว บริษัทผู้รับประกันมีสิทธิที่จะลดจำนวนเงินที่ผู้รับประกันจะต้องจ่ายหรือบอกล้างสัญญา และไม่ยอมใช้เงินประกันตามสัญญาได้ แต่ถ้าเป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิตที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันชีวิตก็ไม่มีหน้าที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้รู้แต่ไม่บอกก็ไม่มีผลใดๆ ต่อสัญญาประกันชีวิต
ดังนั้น แม้ไม่ถามเรื่องสุขภาพก็ต้องตอบเรื่องสุขภาพอยู่นั่นเอง และบริษัทประกันก็อาจอ้างเหตุที่ปกปิดไม่แจ้งข้อเท็จจริงไม่จ่ายเงินได้เช่นเคย ดังนั้นเวลาทำสัญญาประกันผู้บริโภคจะต้องใช้ความระมัดระวังแจ้งข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาที่เอาความสะดวกมานำเสนอและหาประโยชน์กับความไม่รู้ของผู้บริโภค
“ไม่ต้องตรวจสุขภาพ..ทำเถอะจะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลาน” คราวหน้าหากคุณได้ยินประโยคนี้อีก คุณอาจจะบอกผู้ใหญ่ใกล้ตัวด้วยมุมมองที่เปลี่ยนไป
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการLive
รายละเอียดเพิ่มเติม (คลิก)>>> ตัวอย่างงานในเซ็กชั่น "ASTVผู้จัดการ Live"
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"ASTVผู้จัดการ Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารและเรื่องราวร้องทุกข์ในสังคมมาได้: astvmanager.live.lite@gmail.com
หรือ โทร.0-2629-4488 ต่อ 1477, Fax 0-2629-4754
ล่าสุดทาง ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ออกมาเปิดเผยว่า มีผู้ร้องเรียนเข้ามาที่ มพบ. เป็นจำนวนมาก ว่าบริษัทประกันปฏิเสธการจ่ายสินไหมทดแทน ทั้งไม่สามารถเคลมประกันได้เมื่อถึงเวลาเข้าโรง พยาบาล ซ้ำบางรายยังถูกยกเลิกสัญญา ด้วยเหตุผลที่บริษัทประกันให้ว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวมาก่อนที่จะทำประกัน?
ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แต่ข้อแม้เพียบ
“จริงครับ ทำง่าย สมัครง่าย จ่ายค่าเบี้ยง่าย ... แต่ตอนเคลมยากมาก ถึงมากที่สุด ... เพราะท้ายที่สุดในโฆษณามีข้อความตัวเล็กๆ เงื่อนไขเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์”
“สงสารแต่คนแก่ๆ ครับ รู้อยู่แล้วว่าคนแก่เค้ากลัวง่าย ชอบเป็นกังวลก็ไปเล่นกับความกลัวของคนบอก ทำเถอะครับจะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลานเมื่อวันนั้นมาถึง… ถามหน่อยถ้าเกิดคนจะตายขึ้นมาจริงๆ มันก็ไม่ได้เป็นภาระอะไรมากเลยนี่นั่นน่ะถือว่าหมดภาระหมดกังวลทางโลกแล้ว”
เหล่านี้คือข้อความที่ปรากฏในกระทู้หนึ่งของ pantip ที่มีคนมาร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีประกันผู้สูงอายุ
เกี่ยวกับประเด็นนี้ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ในรอบเดือน กย.57- กพ.58 มีผู้ร้องเรียนเข้ามาที่ มพบ. เป็นจำนวนมาก มีทั้งปัญหาการจ่ายผลตอบแทนเมื่อครบสัญญาไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้ ตัวแทนชี้ชวนให้ผู้ทำประกันกู้เงินตามสิทธิ เช่น ตัวแทนหลอกให้ผู้ทำประกันเซ็นเอกสารกู้ยืม โดยตัวแทนเป็นฝ่ายดำเนินการ บริษัทประกันบอกเลิกสัญญา แต่ผู้ทำประกันยังต้องทำต่อเนื่องตามเงื่อนไขเดิม ทั้งการปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม โดยอ้างว่าเป็นโรคร้ายแรงมาก่อน รวมถึงการถูกเปลี่ยนเงื่อนไขในกรมธรรม์ เป็นต้น
ดังเช่นตัวอย่างของลูกค้าท่านหนึ่งที่ทำประกันกับบริษัทแห่งหนึ่งไว้ โดยได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวไว้ใน pantip สะท้อนถึงปัญหาดังกล่าวไว้ว่า “อยากเล่าบางอย่างให้ฟัง... แม่ยายผมเขาทำประกันไว้กับบริษัทประกันแห่งหนึ่ง แล้วเมื่อครบกำหนดกรมธรรม์ น่าจะมาณ 10-20 ปี จำไม่ได้ แล้วได้สอบถามไปทางเจ้าหน้าที่แล้ว พบว่า สามารถเวนเงินคืนได้ ประมาณ 5 หมื่นกว่าบาท แต่ต้องมีการส่งกรมธรรม์ตัวจริง และใบคำร้องของบริษัท ตลอดจนแนบเอกสารส่วนตัวตามรายละเอียดของบริษัทฯ แม่ยายผมก็ได้จัดส่งไปให้ โดยผ่านสำนักงานต่างจังหวัด ต่อมาประมาณ 2 อาทิตย์ได้ติดต่อไปทางคอลเซ็นเตอร์ ปรากฏว่าใบคำร้องมีปัญหา! กรอกรายละเอียดไม่ครบ หรือเอกสารไม่สมบูรณ์ (ทั้งๆ ที่ก่อนส่งก็ได้ให้เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจสอบก่อนแล้วนะ) และได้จัดส่งกลับมาให้สำนักงานตัวแทนแล้ว”
“หลังจากนั้นแม่ยายจึงได้ไปรับและได้แก้ไขเอกสาร แล้วจัดส่งไปทางไปรษณีย์ อีกประมาณ 1 อาทิตย์ จึงได้สอบถามไปทางคอลเซ็นเตอร์อีกที ปรากฏว่า ใบคำร้องที่ส่งให้ใหม่ได้รับแล้ว แต่กรมธรรม์ตัวจริงทางบริษัทส่งกลับมาให้ตัวแทนแล้ว (แล้วทำไมมันไม่ส่งมาพร้อมกันครั้งแรกเลย) อ้าว...งานงอกสิครับ แล้วพอสอบถามไปที่สำนักงานตัวแทนเขาบอกว่าไม่สามารถจัดส่งให้ได้ ต้องให้เราไปรับคืนเอง...(แล้วทำไมครั้งแรกมันส่งไปได้ฟะ) .... เอาละสิ ไม่ได้คิดอะไร เลยไปรับที่สำนักงานตัวแทน แล้วจัดส่งให้ไปรษณีย์อีก...อีก 2 วัน ปรากฏว่า มันบอกส่งเอกสารคำร้องคืนมาอีกแล้ว.....ถามกันไปถามกันมาทั้งๆ ที่บอกไปทางคอลเซ็นเตอร์แล้วว่า ให้เก็บเอกสารนั้นไว้ เดี๋ยวเราจะส่งเอกสารอีกชุดไปให้ จนปัจจุบัน แม่ยายผมยังไม่ได้รับเงินคืน เรื่องนี้แม่ยายผมเองก็ผิดที่กรอกเอกสารผิดครั้งแรก แต่เรื่องเอกสารส่งกันไป ส่งกันมา ตั้งหลายรอบ...ไม่เข้าใจว่า ทางบริษัทตั้งแง่จะไม่คืนเงินตั้งแต่แรกหรือเปล่า....อันนี้แค่ตั้งข้อสังเกตุ ว่าทำไมไม่คืนเอกสารมาทั้งชุด ตั้งแต่ทีแรก.....หรือแจ้งให้เจ้าของกรมธรรม์รู้ว่ามีเอกสารตีกลับ ต้องให้แม่ยายผมตามเองตลอด....น่าคิดนะ วอนผู้บริหารดูแลด้วยนะครับ”
เน้นขายดราม่า! อย่าเชื่อทุกคำพูด
จากการสอบถามไปยัง คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ได้ให้ข้อมูลว่า บริษัทประกันมักใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อด้วยข้อความที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกกับลูกค้า โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีความคิดเห็นคล้อยตามง่าย ด้วยคำว่า “ไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ” ที่ถือว่าเป็นการสร้างข้อความจูงใจใหม่ที่ทำลายข้อจำกัดเดิมของระบบประกันที่เคยมีเรื่องการตรวจสุขภาพก่อนการทำสัญญา จึงทำให้มีผู้สนใจหันมาทำประกันผู้สูงอายุมากขึ้น ประกอบกับการที่เมืองไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยในปี 2555 จำนวนผู้สูงอายุของประเทศไทยคิดเป็นประมาณร้อยละ 12.7 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศหรือประมาณ 8.6 ล้านคน
บริษัทประกันชีวิตจึงได้หันมาให้ความสำคัญและความสนใจกับลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุในฐานะที่เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพ (Potential Customer ) ส่วนลูกค้ากลุ่มผู้สูงอายุเองก็มองเห็นถึงความจำเป็นและมีความต้องการที่จะทำประกันชีวิตไว้เป็นหลักประกันความคุ้มครองและการออมเงิน เพื่อเก็บไว้เป็นมรดกให้แก่ลูกหลานและไม่ต้องการเป็นภาระของลูกหลานหากตนเองเสียชีวิต
ดังนั้นในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทประกันชีวิตหลายแห่งจึงเริ่มหันมาพัฒนาแบบประกันที่เน้นกลุ่มลูกค้าผู้สูงอายุ โดยเมื่อมองเจาะจงเฉพาะประกันชีวิตในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น จะมีทั้งเฉพาะประกันชีวิตเพียงอย่างเดียวและส่วนที่ประกันสุขภาพ หากมองเฉพาะในส่วนของประกันชีวิตเพียงอย่างเดียว ที่นำเอาดารามาโฆษณาในตลาดขณะนี้มี 3 รายหลักประกอบด้วย เอไอเอ เมืองไทยประกันชีวิต และอลิอันซ์ อยุธยา
โดย เอไอเอ (AIA) นับเป็นบริษัทประกันชีวิตรายแรกที่ออกโฆษณาสำหรับผู้สูงอายุ “อาวุโส โอเค” โดยมี คุณเศรษฐา ศิรฉายา เป็นพรีเซ็นเตอร์ หลังจากนั้นก็มีบริษัทประกันชีวิตอื่นๆ ทยอยออกแบบประกันเฉพาะผู้สูงอายุมา จากนั้นค่ายเมืองไทยประกันชีวิต ออกผลิตภัณฑ์ “เมืองไทยวัยเก๋า” ดึงเอา วิทวัส สุนทรวิเนตร์ พิธีกรชื่อดังมาเป็นต้นแบบ อีกค่ายที่ตามมาคืออลิอันซ์ อยุธยา ออกผลิตภัณฑ์ “สูงวัย ใช่เลย” ได้ นพพล โกมารชุน นักแสดงรุ่นใหญ่มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ จากนั้นเอไอเอได้ออกผลิตภัณฑ์อีกตัวคือ “เอไอเอ 50 อัพ” มี นิรุตติ์ ศิริจรรยา ดาราอาวุโสมาเป็นต้นแบบ
ทั้งนี้ แบบประกันของทั้งสามบริษัทมีความแตกต่างกันตามแต่กลยุทธ์ หากบริษัททั้งหมดก็มีสิ่งที่เหมือนกันคือ เรื่องอายุขณะเอาประกัน (อายุที่ถูกคำนวณ ณ วันที่ซื้อประกัน) 50 -70 ปี ยกเว้นแบบประกัน “เมืองไทยวัยเก๋า” และ “วัยเก๋าทั่วไทย” ที่รับประกันอายุ40 - 75 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ และไม่มีการถามคำถามสุขภาพ (ยกเว้นแบบประกัน “สูงวัยใช่เลย” ของอลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิตที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่มีคำถามสุขภาพ) คุ้มครองจนถึงอายุ 90 ปี จ่ายเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาที่ต้องจ่ายเบี้ย และเรื่องของความคุ้มครองจากกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 2 ปีแรก โดยไม่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายสินไหม 102% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระแล้ว โดยไม่ใช่การจ่ายตามทุนประกัน และเมื่อมองดูทั้งหมดแล้วทุกบริษัทก็มีการปิดบังรายละเอียดบางอย่าง หากผู้ทำประกันไม่ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดจริงๆ ก็จะทำให้หลงเชื่อตามคำโฆษณาทุกประการ
ผู้ทำประกันต้องรู้ทัน!
เกี่ยวกับประเด็นนี้ตัวแทนจากทาง คปภ. ได้เปิดเผยว่า “ความจริงแล้ว ทาง คปภ. มีระเบียบเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนอยู่แล้ว โดยมีกรอบโฆษณาเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต ประกันวินาศภัย โดยมีสาระสำคัญว่า ข้อความที่โฆษณาต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง ข้อความที่โฆษณาต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่กำกวม
นอกจากนี้ข้อความที่โฆษณาต้องไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์หรือการจ่ายผลประโยชน์ รวมถึงในการโฆษณาที่ระบุ “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ” จะต้องมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่าต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัย/ชีวิตด้วยหรือไม่ หากมีการแถลงเกี่ยวกับสุขภาพ ต้องระบุเพิ่มด้วยว่า การแถลงสุขภาพเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย/ชีวิต และต้องให้มีการระบุคำเตือน โดยใช้ข้อความว่า “ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง” หรือข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองลึกลงไปอย่างรู้ทันข้อกฎหมาย ตามมาตรา 865 และมาตรา 893 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ระบุเรื่องหลักเกณฑ์ในการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริงในเวลาทำสัญญาประกันไว้ว่า
“ผู้ทำสัญญาหรือผู้เอาประกันชีวิต รวมถึงผู้ที่ใช้ความตายของตนเป็นเงื่อนไขการใช้เงิน จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงที่มีผลจูงใจให้บริษัทผู้รับประกันชีวิตนั้นเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรืออาจบอกปัดไม่ทำสัญญา เนื่องจากในกฎหมายระบุให้ผู้เอาประกันชีวิตจะต้องใช้ความสุจริตอย่างยิ่ง โดยมีหน้าที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงให้บริษัทผู้รับประกันภัยได้ทราบ”
“กรณีผู้ที่ใช้ความตายของเขาเป็นเงื่อนไข การใช้เงินก็ต้องมีหน้าที่ที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าว เมื่อมองรายละเอียด ดังนั้นนอกจากผู้เอาประกัน ผู้ที่ใช้ความตายของบุคคลนั้นเป็นเงื่อนไขการใช้เงินก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่จะต้องบอกข้อเท็จจริงว่าตนมีโรคประจำตัวอย่างไรบ้าง หรือบอกปัจจัยอื่นที่มีผลทำให้ผู้รับประกันเรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรืออาจบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาถ้าได้รู้ข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะกฎหมายระบุให้ผู้เอาประกันชีวิตจะต้องใช้ความสุจริตอย่างยิ่งในการที่จะต้องบอกข้อเท็จจริงดังกล่าวให้กับบริษัทประกันชีวิต”
ท้ายสุด หากผู้ที่มีหน้าที่ไม่ทำหน้าที่ดังกล่าว บริษัทผู้รับประกันมีสิทธิที่จะลดจำนวนเงินที่ผู้รับประกันจะต้องจ่ายหรือบอกล้างสัญญา และไม่ยอมใช้เงินประกันตามสัญญาได้ แต่ถ้าเป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิตที่ไม่ใช่ผู้เอาประกันชีวิตก็ไม่มีหน้าที่จะต้องแจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าว แม้รู้แต่ไม่บอกก็ไม่มีผลใดๆ ต่อสัญญาประกันชีวิต
ดังนั้น แม้ไม่ถามเรื่องสุขภาพก็ต้องตอบเรื่องสุขภาพอยู่นั่นเอง และบริษัทประกันก็อาจอ้างเหตุที่ปกปิดไม่แจ้งข้อเท็จจริงไม่จ่ายเงินได้เช่นเคย ดังนั้นเวลาทำสัญญาประกันผู้บริโภคจะต้องใช้ความระมัดระวังแจ้งข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาที่เอาความสะดวกมานำเสนอและหาประโยชน์กับความไม่รู้ของผู้บริโภค
“ไม่ต้องตรวจสุขภาพ..ทำเถอะจะได้ไม่เป็นภาระของลูกหลาน” คราวหน้าหากคุณได้ยินประโยคนี้อีก คุณอาจจะบอกผู้ใหญ่ใกล้ตัวด้วยมุมมองที่เปลี่ยนไป
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการLive
มาสร้างแรงบันดาลใจไปด้วยกัน!!ตัวอย่างงานในเซ็กชั่นทั้งหมด>>>...
Posted by ASTV ผู้จัดการ Live on Friday, August 21, 2015
รายละเอียดเพิ่มเติม (คลิก)>>> ตัวอย่างงานในเซ็กชั่น "ASTVผู้จัดการ Live"
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"ASTVผู้จัดการ Live" และ "@manager_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารและเรื่องราวร้องทุกข์ในสังคมมาได้: astvmanager.live.lite@gmail.com
หรือ โทร.0-2629-4488 ต่อ 1477, Fax 0-2629-4754