คปภ.สรุปช่วยบริษัทประกันวินาศภัยตีหนี้สูญน้ำท่วมประกันภัยต่อ หลังยังเคลมเงินไม่ได้ เตรียมปรับเป็นค่าใช้จ่ายหักภาษี ระบุมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2555
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประจำเดือนมิถุนายน 2558 เรื่อง การพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อกรณีภาวะอุทกภัย ปี พ.ศ. 2554
ทั้งนี้ เนื่องจากมีบริษัทประกันภัยต่อจำนวนหนึ่งไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทประกันวินาศภัยได้ครบถ้วน ส่งผลให้บริษัทฯ ประสบปัญหาในการเรียกคืนสินไหมทดแทนจากการเอาประกันภัยต่อไม่ได้ และส่วนที่เรียกคืนไม่ได้บริษัทฯ ต้องเผื่อการด้อยค่า หรือต้องตีเป็นหนี้สูญ ทั้งแม้จะมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วกว่าร้อยละ 97 ของค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดจากเหตุการณ์น้ำท่วม
โดยล่าสุดสำนักงาน คปภ.จึงได้หารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมสรรพากร เพื่อกำหนดกรอบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อ และได้เห็นชอบหลักการร่างประกาศของสำนักงาน คปภ. โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วมที่เกิดขึ้นจากเหตุอุทกภัยในระหว่างวันที่ 1 ก.ค. 54 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 54 โดยสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วมที่บริษัทมีสิทธิได้รับคืนจากบริษัทประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อ และบริษัทต้องมีนโยบายและมาตรการในการติดตามค่าสินไหมฯ เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยมีเหตุและความจำเป็นในการด้อยค่าสินทรัพย์ฯ รวมถึงต้องจัดทำรายงานการพิจารณาด้อยค่าสินทรัพย์ฯ ตามแบบที่แนบท้ายประกาศฯ กำหนด และนำส่งพร้อมงบการเงินแก่สำนักงาน คปภ. เป็นต้น
2. การด้อยค่าสินทรัพย์ ต้องเป็นหนี้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประกาศ สำนักงาน คปภ. เช่น บริษัทประกันภัยต่อเลิกกิจการและไม่สามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฯ ได้ หรือบริษัทได้มีการทำสัญญาประนีประนอม ค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วมกับบริษัทประกันภัยต่อเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบริษัทใช้สิทธิทางศาลหรือกระทำการอย่างใดซึ่งถือได้ว่ามีการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศสิงคโปร์ เช่น มูลหนี้ค่าสินไหมฯ ที่มีจำนวนไม่แน่นอน ให้สามารถด้อยค่าสินทรัพย์ฯ ได้เมื่อศาลรับคำฟ้อง หรือรับคำขอรับชำระหนี้หรือมอบข้อพิพาท เป็นต้น
สำหรับประมาณหนี้สูญจากการประกันภัยต่อ ณ เดือนมีนาคม 2558 ของบริษัทประกันวินาศภัย มีจำนวน 3,202 ล้านบาท มีผลกระทบด้านภาษีอากร จำนวน 640 ล้านบาท และบริษัทได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว 398,769 ล้านบาท ในจำนวนนี้บริษัทฯ ได้ดำเนินการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้หรือด้อยค่าสินทรัพย์ฯ ไปแล้วเป็นจำนวน 1,211 ล้านบาท (ร้อยละ 37.82 ของประมาณการหนี้สูญฯ)
ทั้งนี้ เมื่อได้ออกประกาศสำนักงาน คปภ.แล้ว กรมสรรพากรจะได้นำเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศสำนักงาน คปภ.ว่าด้วยการด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อ ให้สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ โดยจะให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้ครอบคลุมบริษัทฯ ที่ได้ดำเนินการด้อยค่าสินทรัพย์ฯ ไปแล้ว ก่อนที่ประกาศสำนักงานฯ มีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงการด้อยค่าสินทรัพย์ฯ กรณีมูลหนี้มีจำนวนไม่เกิน 10 ล้านบาท
นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประจำเดือนมิถุนายน 2558 เรื่อง การพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อกรณีภาวะอุทกภัย ปี พ.ศ. 2554
ทั้งนี้ เนื่องจากมีบริษัทประกันภัยต่อจำนวนหนึ่งไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทประกันวินาศภัยได้ครบถ้วน ส่งผลให้บริษัทฯ ประสบปัญหาในการเรียกคืนสินไหมทดแทนจากการเอาประกันภัยต่อไม่ได้ และส่วนที่เรียกคืนไม่ได้บริษัทฯ ต้องเผื่อการด้อยค่า หรือต้องตีเป็นหนี้สูญ ทั้งแม้จะมีการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้วกว่าร้อยละ 97 ของค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดจากเหตุการณ์น้ำท่วม
โดยล่าสุดสำนักงาน คปภ.จึงได้หารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมสรรพากร เพื่อกำหนดกรอบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาค่าเผื่อการด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อ และได้เห็นชอบหลักการร่างประกาศของสำนักงาน คปภ. โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วมที่เกิดขึ้นจากเหตุอุทกภัยในระหว่างวันที่ 1 ก.ค. 54 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 54 โดยสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วมที่บริษัทมีสิทธิได้รับคืนจากบริษัทประกันภัยต่อตามสัญญาประกันภัยต่อ และบริษัทต้องมีนโยบายและมาตรการในการติดตามค่าสินไหมฯ เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท โดยมีเหตุและความจำเป็นในการด้อยค่าสินทรัพย์ฯ รวมถึงต้องจัดทำรายงานการพิจารณาด้อยค่าสินทรัพย์ฯ ตามแบบที่แนบท้ายประกาศฯ กำหนด และนำส่งพร้อมงบการเงินแก่สำนักงาน คปภ. เป็นต้น
2. การด้อยค่าสินทรัพย์ ต้องเป็นหนี้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งในประกาศ สำนักงาน คปภ. เช่น บริษัทประกันภัยต่อเลิกกิจการและไม่สามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฯ ได้ หรือบริษัทได้มีการทำสัญญาประนีประนอม ค่าสินไหมทดแทนน้ำท่วมกับบริษัทประกันภัยต่อเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบริษัทใช้สิทธิทางศาลหรือกระทำการอย่างใดซึ่งถือได้ว่ามีการมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย หรือประเทศสิงคโปร์ เช่น มูลหนี้ค่าสินไหมฯ ที่มีจำนวนไม่แน่นอน ให้สามารถด้อยค่าสินทรัพย์ฯ ได้เมื่อศาลรับคำฟ้อง หรือรับคำขอรับชำระหนี้หรือมอบข้อพิพาท เป็นต้น
สำหรับประมาณหนี้สูญจากการประกันภัยต่อ ณ เดือนมีนาคม 2558 ของบริษัทประกันวินาศภัย มีจำนวน 3,202 ล้านบาท มีผลกระทบด้านภาษีอากร จำนวน 640 ล้านบาท และบริษัทได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว 398,769 ล้านบาท ในจำนวนนี้บริษัทฯ ได้ดำเนินการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้หรือด้อยค่าสินทรัพย์ฯ ไปแล้วเป็นจำนวน 1,211 ล้านบาท (ร้อยละ 37.82 ของประมาณการหนี้สูญฯ)
ทั้งนี้ เมื่อได้ออกประกาศสำนักงาน คปภ.แล้ว กรมสรรพากรจะได้นำเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามประกาศสำนักงาน คปภ.ว่าด้วยการด้อยค่าสินทรัพย์จากการประกันภัยต่อ ให้สามารถถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้ โดยจะให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้ครอบคลุมบริษัทฯ ที่ได้ดำเนินการด้อยค่าสินทรัพย์ฯ ไปแล้ว ก่อนที่ประกาศสำนักงานฯ มีผลบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม ไม่รวมถึงการด้อยค่าสินทรัพย์ฯ กรณีมูลหนี้มีจำนวนไม่เกิน 10 ล้านบาท