ASTV ผู้จัดการรายวัน – “ไทยรับประกันภัยต่อ” เชื่อมั่น “ปี58”...ปีแห่งการฟื้นตัว หลังวิกฤตน้ำท่วมทำฟุบมาตั้งแต่ปี54 ชูผู้ถือหุ้นใหญ่ต่างประเทศหนุนเต็มที่ ส่วนแผนธุรกิจแบบใหม่กระแสตอบรับเกินคาด มั่นใจล้างขาดทุนเกลี้ยง
แม้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปัจจุบัน จะไม่เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง และยังไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจน จนส่งผลให้ผลประกอบการหลายธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง ในรูปแบบปรับลดอัตราการเติบโตทั้งในแง่รายได้ และกำไร
......แต่ในกลุ่มธุรกิจประกัน ....ปี2558 อาจเป็นปีแห่งการกลับมาเติบโตอย่างโดดเด่นอีกครั้งของ **บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) (THRE) หรือ "ไทยรี"** หลังจากเผชิญปัญหาวิกฤตน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 เห็นได้จากบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์หลายค่ายที่พูดถึงบริษัทแห่งนี้
“หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2554 บริษัทประสบปัญหาขาดทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท ทำให้THRE ต้องเพิ่มทุน 2 ครั้งในปี 2555 และ 2557 เพื่อนำเงินจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้แก่บริษัทที่ทำประกันไว้ อย่างไรก็ตามหลังจากจัดการภาระขาดทุนดังกล่าวได้หมดแล้ว พบว่าอัตราการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทกำลังกลับมาอย่างเด่นชัด เช่นผลดำเนินงานในไตรมาส1/58 มีกำไรสุทธิ 2.25 พันล้านบาท จากไตรมาส1/57 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 194 ล้านบาท”.............. **“สุรชัย ศิริวัลลภ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มาหชน) (THRE)** ประเมินสถานการณ์
ขณะที่แนวโน้มธุรกิจในปี 2558 ซีอีโอ THRE เชื่อว่าบริษัทจะมีการเติบโตที่เด่นชัดมากขึ้น เช่นภาพรวม 3 เดือนแรกตลาดประกันวินาศภัยเติบโต0% แต่ของบริษัทเติบโต 23% ซึ่งมาจากการเติบโตของการประกันภัยบุคคล ที่มีกำลังซื้ออยู่ แม้ว่าเศรษฐกิจยังชะลอตัว ขณะที่การประกันภัยในรูปแบบเชิงพาณิชย์ที่ทำกับบริษัทหรือองค์กร ภาพรวมการเติบโตยังไม่ดี
**“ส่วนตัว....ผมมองว่าการประกันภัยถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่คนให้ความสำคัญ เหมือนกับที่เราต้องกินข้าว เจ็บป่วยต้องมีประกันมาช่วยซัพพอร์ต ซื้อรถต้องมีการทำประกันเผื่อไว้ ดังนั้นประกันจึงเป็นสินค้าหรือบริการที่มีความจำเป็นทำให้ หุ้นบริษัทประกันภัย เปรียบเสมือน Defensive Stock หรือหุ้นตั้งรับ คือหากเศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่กระทบต่อธุรกิจมากนัก แต่หากเศรษฐกิจเติบโต เราก็เติบโตตามไปด้วย แม้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกนง.จะมีผลกระทบต่อรายได้จากเงินลงทุนบ้างก็ตาม"**
**ทิศทางธุรกิจในปี2558**
ทั้งนี้ในปี 2558 THRE ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ประมาณ 9-10% ในเงื่อนไขที่ตลาดประกันยังไม่สดใส จากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้โดยภาพรวมอุตสาหกรรมประกันในปีนี้คาดว่าอาจเติบโตเพียง 3.4% ส่วนบริษัทคาดว่าจะเติบโตจากภาพรวมประมาณ 4% ซึ่งหากพิจารณาจากไตรมาสแรกที่ผ่านมาสามารถทำได้แล้ว 2% หรือครึ่งทางของเป้าหมาย **โดยปัจจุบัน THRE มีเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (RBC)ที่ระดับ 305% สูงกว่าที่ คปภ.กำหนดไว้ขั้นต่ำที่ระดับ 104% ทำให้บริษัทมีศักยภาพเพียงพอต่อการเพิ่มไลน์ธุรกิจในด้านอื่นมาก**
“สุรชัย” เชื่อมั่นว่า การประกันสุขภาพจะมีทิศทางการเติบโตต่อเนื่องเป็นระยะยาวกว่า 10ปี และในอนาคตตลาดประกันสุขภาพจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าตลาดประกันภัยรถยนต์ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่คนทุกคนใส่ใจ และให้ความสำคัญมากขึ้น ดังนั้นคาดว่าประกันสุขภาพจะเติบโตเฉลี่ยประมาณ 20%ทุกปี
**กลยุทธ์ในปี2558**
สำหรับ กลยุทธ์ในปี2558 “สุรชัย” ฉายภาพว่า รูปแบบการดำเนินธุรกิจของTHRE เปลี่ยนไปมากแล้ว ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ โดยเดิมทีบริษัทมีสัดส่วนการรับประกันภัยกับบริษัทหรือองค์กรณ์มากถึง 60% แต่ด้วยกระแสการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป อีกทั้งพบว่าสัดส่วนการรับประกันในแบบดังกล่าวซึ่งอยู่ในจำนวนที่มากนั้นมีความเสี่ยงสูง ทำให้บริษัททยอยลดการรับประกันในรูปแบบนี้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในปี 2554 แม้จะลดสัดส่วนการประกันกับดังกล่าวเหลือ 18% จากทั้งหมด แต่พอประสบภัยน้ำท่วม บริษัทยังต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนในจำนวนที่สูงร่วม 1.6 หมื่นล้านบาท
**“ปัจจุบันสัดส่วนการรับประกันกับบริษัทเราเหลือต่ำกว่า 5%ของสัดส่วนลูกค้าทั้งหมด โดยบริษัทเน้นการทำประกันบุคคลมากขึ้น”**
กลับกันTHRE หันมาทำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปมากขึ้น ทั้งประกันสุขภาพ และประกันภัยรถยนต์ รวมถึงการรับประกันภัยรถสปอร์ต ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งในกลุ่มประกันภัยรถยนต์ บริษัทได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คุ้มครองที่เพิ่มความแตกต่าง เช่นออกแบบประกันภัยที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ อาทิ เงินชดเชยรายได้วันละ 3,000 บาท”**
ขณะเดียวกัน THRE มองในเรื่องส่วนต่างของวงเงินคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ เช่นรถยนต์ 1 คันทำประกันชั้น 1 อาจคุ้มครองเพียง 70%ของมูลค่าทั้งหมด แต่THRE สนใจที่จะรับประกันภัยในส่วนที่เหลืออยู่ 30% ซึ่งมีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์นี้่ และนำไปเสนอขายให้กับบริษัทประกันภัยต่างๆ เพื่อให้บริษัทประกันนำไปออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเสนอขายต่อเสนอลูกค้า
**“ตรงจุดนี้มีหลายรายสนใจมาก และเริ่มได้รับการตอบรับที่ดี เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องซื้อเพิ่ม แต่จ่ายเพิ่มเพียงเล็กน้อย เช่นเดิมจ่าย 1 หมื่นบาท หากต้องการความคุ้มครองเต็ม 100%ก็ต้องซื้อประกันที่บริษัทคิดเพิ่มอีก 300 บาท ทำให้หลายคนตอบรับ”**
** มุมมองต่อบริษัทร่วมทุนTHREL**
ส่วนการเติบโตของบริษัทร่วมทุนอย่าง บมจ.ไทยรีประกันชีวิต “สุรชัย”มองว่ามีการเติบโตที่โดดเด่นเช่นกัน เห็นได้จาก 3 เดือนแรกของปีมีการเติบโตถึง 8-8.5% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดประกันชีวิตที่เติบโต 8% และมองว่ายังเติบโตได้อีกมาก เพราะตลาดประกันชีวิตในปีนี้จะเติบโตได้ดีกว่าประกันวินาศภัย ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวโดยตรง
สำหรับ THREL ปัจจุบันเปรียบเหมือนบริษัทที่เราเข้าไปร่วมทุน ไม่ได้มีฐานะเป็นบริษัทลูกของTHRE อีกแล้วเพราะบริษัทถือหุ้นอยู่เพียง 27.8% ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการใส่เงินในกองทุนตามระดับป้องกันความเสี่ยง และทำตามเงื่อนไขของ “คปภ.”ที่ไม่อนุญาตให้บริษัทลงทุนในบริษัทอื่นได้เกิน 15%
***“หากยังถือTHRELเท่าเดิม ก็เปรียบเหมือนเราต้องแบกต้นทุนในการลงทุนเท่าตัว ทำให้บริษัทตัดสินใจตัดขายหุ้นที่THRELออกไป เพื่อลดภาระการเพิ่มเงินสำรองในกองทุน อีกทั้งเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจ รวมไปถึงการพิจารณาปรับอันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตในต่างประเทศด้วย เพราะแต่เดิมเราอยู่ในระดับ AA แต่พอประสบปัญหาคราวน้ำท่วมเราถูกปรับลดอันดับเครดิตลงมาอยู่ที่ระดับ BBB+ ทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะดีลงานที่ทำร่วมกลับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย ซึ่งพอเราถูกลดเครดิตจำเป็นต้องยุติกันไป แต่หลายบริษัทพร้อมที่จะกลับมาร่วมธุรกิจกันใหม่หากบริษัทกลับมาได้อันดับเครดิตเท่าเดิม ซึ่งจากจุดนี้ทำให้รายได้ที่ควรจะเข้ามาเป็นของบริษัทหายไปร่วม 1 พันล้านบาท .....ส่วนตัวยอมรับว่าเราเสียดายTHREL เพราะเป็นบริษัทที่ดีและมีศักยภาพ อีกทั้งมีมาร์จิ้นที่สูง และกองทุนสำรองของTHREL ก็มีระดัยที่สูงมากประมาณ 470%"**
**ศักยภาพของผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่**
สัดส่วนการถือหุ้นในTHRE ปัจจุบัน HWIC Asia Fund เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 29.99% โดยกองทุนดังกล่าว เป็นบริษัทในเครือของ Fairfax Financial Holdings Limited ซึ่งเป็นสถาบันลงทุนขนาดใหญ่จากแคนนาดา โดยมี **“Prem Watsa”** ที่ได้รับสมญานามว่า "Canadian Warren Buffett"เป็นผู้บริหาร ซึ่ง "สุรชัย"กล่าวว่า ผู้บริหารใหญ่ของกองทุนอย่าง “Prem Watsa”เคยเดินทางมาประเทศไทย และพูดคุยถึงความต้องการลงทุนในTHRE กับตัวเขาถึงบริษัท เพื่อแสดงความสนใจร่วมลงทุนาก่อนหน้านี้นานแล้ว
**"เดิมที Prem Watsa เข้ามาซื้อหุ้นเราบนกระดานประมาณ 2-3% ต่อมาเขามาที่เมืองไทย คือตอนที่เรากำลังมองหาผู้ร่วมทุนเพื่อเพิ่มทุน หลังประสบปัญหาตอนวิกฤตน้ำท่วม เขามองว่าอุตสาหกรรมประกันในประเทศไทยถือเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ และ THRE ถือเป็นบริษัทที่ศักยภาพ จึงสนใจเข้ามาร่วมลงทุนกับเรา เขาให้ความช่วยเหลือเต็มที่ ส่งทีมงานเข้ามาช่วย โดยมีเก้าอี้ในตำแหน่งกรรมการบอร์ด 2 ที่นั่ง เขาพอใจกับแนวคิดการทำธุรกิจประกันภัยของเรามาก เพราะไม่เหมือนประเทศอื่นคือเราเดินหน้าไปกับลุกค้า ช่วยคิดช่วยทำ แต่ที่อื่นเขารอรับซื้ออย่างเดียว"**
ขณะเดียวกันหลังจาก Fairfax Financial Holdings ประกาศตัวชัดเจนจะเข้ามาลงทุนในบริษัท ทำให้กองทุนจากฮ่องกง นั่นคือ THE HONGKONG AND SHANGHAI BANKING CORPORATION LIMITED, FUND SERVICES DEPARTMENT แสดงควมจำนงค์เข้าร่วมลงทุนกับบริษัทเช่นกัน โดยขอถือหุ้น 11.87%
**" Prem Watsa เขียนในจดหมายสรุปผลการดำเนินงานประจำปีให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุน Fairfax Financial เกี่ยวกับ THRE ว่า ปีที่ผ่านมาแม้ตลาดโลกไม่ต่อยดีนัก แต่เขาคนพบธุรกิจที่ดีในประเทศไทย และจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยดี จึงถือเป็นโอกาสดีที่เข้ามาลงทุนใน THRE ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีศักยภาพ เห็นได้จากช่วง10ปีก่อนที่เผชิญภัยน้ำท่วมบริษัทมีกำไรเติบโตต่อเนื่องกว่า 10ปี หรือคืดเป็น ROEเฉลี่ย 20% จึงเป็นบริษัทที่น่าลงทุน และเชื่อว่าจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่กองทุนในอนาคต”**
**ภาพรวมธุรกิจประกัน และภาพรวมบริษัท**
“สุรชัย”ให้ภาพรวมของธุรกิจประกันว่า ...ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจประกันของไทยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 11.9% ซึ่งหากแยกเป็นประกันวินาศภัยแล้วจะเติบโต 10.6% ส่วนประกันชีวิตเติบโต 12.6% ถือว่ามีอัตราเติบโตสูงมาก แต่เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทิศทางธุรกิจประกันของไทยยังมีอัตราเติบโตด้วยตัวเลข 2 หลัก ไปอีก 10-20 ปีเป็นอย่างน้อย ทำให้คาดว่าหลังจากนี้อีก 3 ปีข้างหน้า เบี้ยประกันภัยของไทยจะทำได้ถึง 1 ล้านล้านบาทแน่นอน ส่วนประกันชีวิตจะเติบโตได้เร็วกว่ามาก
**“เราคาดว่าในปีนี้จะล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ 1พันล้านบาทได้หมด และเริ่มกลับทำกำไรได้ อีกทั้งบริษัทจะเริ่มกลับมาตั้งเป้าขยายธุรกิจอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยประกันสุขภาพจะเป็นประกันที่เติบโตมากที่สุด เฉลี่ย20%ต่อปีและต่อเนื่องไปถึง 10ปีข้างหน้า ทำให้บริษัทหันมาเพิ่มสัดส่วนในธุรกิจนี้และลดการทำประกันภัยทรัพย์สินกับองค์กรหรือบริษัทลง และมองว่าการประกันภัยทรัพย์สินในปีนี้คงไม่เติบโตมากนัก ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ”**
สำหรับมูลค่า ROAของ THRE ในช่วง 3 ปีก่อนหน้านี้ ได้รับผลจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ปลายปี2554อย่างมาก เห็นได้จาก ROA ในปี2555 อยู่ที่ -17.92% ขณะที่ปี2556อยู่ที่ -11.29% และ -5.32%ในปี2557 ขณะที่ไตรมาสแรกปี2558 พบว่าพลิกกลับมาเป็นกำไร 2.25 พันล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 194 ล้านบาท ทำให้ROA กลับมาเป็นบวกที่ 6.49% เช่นเดียวกับ ROE ซึ่งมีพัฒนาการที่ดีขึ้นจาก -206.91%,-97.38%,-73.34% พลิกกลับมาเป็น 2.83%ตามลำดับ
แม้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปัจจุบัน จะไม่เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดหวัง และยังไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจน จนส่งผลให้ผลประกอบการหลายธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง ในรูปแบบปรับลดอัตราการเติบโตทั้งในแง่รายได้ และกำไร
......แต่ในกลุ่มธุรกิจประกัน ....ปี2558 อาจเป็นปีแห่งการกลับมาเติบโตอย่างโดดเด่นอีกครั้งของ **บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) (THRE) หรือ "ไทยรี"** หลังจากเผชิญปัญหาวิกฤตน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 เห็นได้จากบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์หลายค่ายที่พูดถึงบริษัทแห่งนี้
“หลังจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2554 บริษัทประสบปัญหาขาดทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท ทำให้THRE ต้องเพิ่มทุน 2 ครั้งในปี 2555 และ 2557 เพื่อนำเงินจ่ายชดเชยค่าเสียหายให้แก่บริษัทที่ทำประกันไว้ อย่างไรก็ตามหลังจากจัดการภาระขาดทุนดังกล่าวได้หมดแล้ว พบว่าอัตราการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทกำลังกลับมาอย่างเด่นชัด เช่นผลดำเนินงานในไตรมาส1/58 มีกำไรสุทธิ 2.25 พันล้านบาท จากไตรมาส1/57 ซึ่งมีกำไรสุทธิ 194 ล้านบาท”.............. **“สุรชัย ศิริวัลลภ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มาหชน) (THRE)** ประเมินสถานการณ์
ขณะที่แนวโน้มธุรกิจในปี 2558 ซีอีโอ THRE เชื่อว่าบริษัทจะมีการเติบโตที่เด่นชัดมากขึ้น เช่นภาพรวม 3 เดือนแรกตลาดประกันวินาศภัยเติบโต0% แต่ของบริษัทเติบโต 23% ซึ่งมาจากการเติบโตของการประกันภัยบุคคล ที่มีกำลังซื้ออยู่ แม้ว่าเศรษฐกิจยังชะลอตัว ขณะที่การประกันภัยในรูปแบบเชิงพาณิชย์ที่ทำกับบริษัทหรือองค์กร ภาพรวมการเติบโตยังไม่ดี
**“ส่วนตัว....ผมมองว่าการประกันภัยถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่คนให้ความสำคัญ เหมือนกับที่เราต้องกินข้าว เจ็บป่วยต้องมีประกันมาช่วยซัพพอร์ต ซื้อรถต้องมีการทำประกันเผื่อไว้ ดังนั้นประกันจึงเป็นสินค้าหรือบริการที่มีความจำเป็นทำให้ หุ้นบริษัทประกันภัย เปรียบเสมือน Defensive Stock หรือหุ้นตั้งรับ คือหากเศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่กระทบต่อธุรกิจมากนัก แต่หากเศรษฐกิจเติบโต เราก็เติบโตตามไปด้วย แม้การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกนง.จะมีผลกระทบต่อรายได้จากเงินลงทุนบ้างก็ตาม"**
**ทิศทางธุรกิจในปี2558**
ทั้งนี้ในปี 2558 THRE ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ประมาณ 9-10% ในเงื่อนไขที่ตลาดประกันยังไม่สดใส จากปัญหาเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้โดยภาพรวมอุตสาหกรรมประกันในปีนี้คาดว่าอาจเติบโตเพียง 3.4% ส่วนบริษัทคาดว่าจะเติบโตจากภาพรวมประมาณ 4% ซึ่งหากพิจารณาจากไตรมาสแรกที่ผ่านมาสามารถทำได้แล้ว 2% หรือครึ่งทางของเป้าหมาย **โดยปัจจุบัน THRE มีเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (RBC)ที่ระดับ 305% สูงกว่าที่ คปภ.กำหนดไว้ขั้นต่ำที่ระดับ 104% ทำให้บริษัทมีศักยภาพเพียงพอต่อการเพิ่มไลน์ธุรกิจในด้านอื่นมาก**
“สุรชัย” เชื่อมั่นว่า การประกันสุขภาพจะมีทิศทางการเติบโตต่อเนื่องเป็นระยะยาวกว่า 10ปี และในอนาคตตลาดประกันสุขภาพจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าตลาดประกันภัยรถยนต์ เพราะเรื่องสุขภาพเป็นสิ่งที่คนทุกคนใส่ใจ และให้ความสำคัญมากขึ้น ดังนั้นคาดว่าประกันสุขภาพจะเติบโตเฉลี่ยประมาณ 20%ทุกปี
**กลยุทธ์ในปี2558**
สำหรับ กลยุทธ์ในปี2558 “สุรชัย” ฉายภาพว่า รูปแบบการดำเนินธุรกิจของTHRE เปลี่ยนไปมากแล้ว ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ โดยเดิมทีบริษัทมีสัดส่วนการรับประกันภัยกับบริษัทหรือองค์กรณ์มากถึง 60% แต่ด้วยกระแสการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป อีกทั้งพบว่าสัดส่วนการรับประกันในแบบดังกล่าวซึ่งอยู่ในจำนวนที่มากนั้นมีความเสี่ยงสูง ทำให้บริษัททยอยลดการรับประกันในรูปแบบนี้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในปี 2554 แม้จะลดสัดส่วนการประกันกับดังกล่าวเหลือ 18% จากทั้งหมด แต่พอประสบภัยน้ำท่วม บริษัทยังต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนในจำนวนที่สูงร่วม 1.6 หมื่นล้านบาท
**“ปัจจุบันสัดส่วนการรับประกันกับบริษัทเราเหลือต่ำกว่า 5%ของสัดส่วนลูกค้าทั้งหมด โดยบริษัทเน้นการทำประกันบุคคลมากขึ้น”**
กลับกันTHRE หันมาทำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปมากขึ้น ทั้งประกันสุขภาพ และประกันภัยรถยนต์ รวมถึงการรับประกันภัยรถสปอร์ต ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ซึ่งในกลุ่มประกันภัยรถยนต์ บริษัทได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คุ้มครองที่เพิ่มความแตกต่าง เช่นออกแบบประกันภัยที่คุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ อาทิ เงินชดเชยรายได้วันละ 3,000 บาท”**
ขณะเดียวกัน THRE มองในเรื่องส่วนต่างของวงเงินคุ้มครองประกันภัยรถยนต์ เช่นรถยนต์ 1 คันทำประกันชั้น 1 อาจคุ้มครองเพียง 70%ของมูลค่าทั้งหมด แต่THRE สนใจที่จะรับประกันภัยในส่วนที่เหลืออยู่ 30% ซึ่งมีแผนที่จะออกผลิตภัณฑ์นี้่ และนำไปเสนอขายให้กับบริษัทประกันภัยต่างๆ เพื่อให้บริษัทประกันนำไปออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเสนอขายต่อเสนอลูกค้า
**“ตรงจุดนี้มีหลายรายสนใจมาก และเริ่มได้รับการตอบรับที่ดี เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องซื้อเพิ่ม แต่จ่ายเพิ่มเพียงเล็กน้อย เช่นเดิมจ่าย 1 หมื่นบาท หากต้องการความคุ้มครองเต็ม 100%ก็ต้องซื้อประกันที่บริษัทคิดเพิ่มอีก 300 บาท ทำให้หลายคนตอบรับ”**
** มุมมองต่อบริษัทร่วมทุนTHREL**
ส่วนการเติบโตของบริษัทร่วมทุนอย่าง บมจ.ไทยรีประกันชีวิต “สุรชัย”มองว่ามีการเติบโตที่โดดเด่นเช่นกัน เห็นได้จาก 3 เดือนแรกของปีมีการเติบโตถึง 8-8.5% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดประกันชีวิตที่เติบโต 8% และมองว่ายังเติบโตได้อีกมาก เพราะตลาดประกันชีวิตในปีนี้จะเติบโตได้ดีกว่าประกันวินาศภัย ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวโดยตรง
สำหรับ THREL ปัจจุบันเปรียบเหมือนบริษัทที่เราเข้าไปร่วมทุน ไม่ได้มีฐานะเป็นบริษัทลูกของTHRE อีกแล้วเพราะบริษัทถือหุ้นอยู่เพียง 27.8% ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนการใส่เงินในกองทุนตามระดับป้องกันความเสี่ยง และทำตามเงื่อนไขของ “คปภ.”ที่ไม่อนุญาตให้บริษัทลงทุนในบริษัทอื่นได้เกิน 15%
***“หากยังถือTHRELเท่าเดิม ก็เปรียบเหมือนเราต้องแบกต้นทุนในการลงทุนเท่าตัว ทำให้บริษัทตัดสินใจตัดขายหุ้นที่THRELออกไป เพื่อลดภาระการเพิ่มเงินสำรองในกองทุน อีกทั้งเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารธุรกิจ รวมไปถึงการพิจารณาปรับอันดับเครดิตจากสถาบันจัดอันดับเครดิตในต่างประเทศด้วย เพราะแต่เดิมเราอยู่ในระดับ AA แต่พอประสบปัญหาคราวน้ำท่วมเราถูกปรับลดอันดับเครดิตลงมาอยู่ที่ระดับ BBB+ ทำให้มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะดีลงานที่ทำร่วมกลับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย ซึ่งพอเราถูกลดเครดิตจำเป็นต้องยุติกันไป แต่หลายบริษัทพร้อมที่จะกลับมาร่วมธุรกิจกันใหม่หากบริษัทกลับมาได้อันดับเครดิตเท่าเดิม ซึ่งจากจุดนี้ทำให้รายได้ที่ควรจะเข้ามาเป็นของบริษัทหายไปร่วม 1 พันล้านบาท .....ส่วนตัวยอมรับว่าเราเสียดายTHREL เพราะเป็นบริษัทที่ดีและมีศักยภาพ อีกทั้งมีมาร์จิ้นที่สูง และกองทุนสำรองของTHREL ก็มีระดัยที่สูงมากประมาณ 470%"**
**ศักยภาพของผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่**
สัดส่วนการถือหุ้นในTHRE ปัจจุบัน HWIC Asia Fund เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 29.99% โดยกองทุนดังกล่าว เป็นบริษัทในเครือของ Fairfax Financial Holdings Limited ซึ่งเป็นสถาบันลงทุนขนาดใหญ่จากแคนนาดา โดยมี **“Prem Watsa”** ที่ได้รับสมญานามว่า "Canadian Warren Buffett"เป็นผู้บริหาร ซึ่ง "สุรชัย"กล่าวว่า ผู้บริหารใหญ่ของกองทุนอย่าง “Prem Watsa”เคยเดินทางมาประเทศไทย และพูดคุยถึงความต้องการลงทุนในTHRE กับตัวเขาถึงบริษัท เพื่อแสดงความสนใจร่วมลงทุนาก่อนหน้านี้นานแล้ว
**"เดิมที Prem Watsa เข้ามาซื้อหุ้นเราบนกระดานประมาณ 2-3% ต่อมาเขามาที่เมืองไทย คือตอนที่เรากำลังมองหาผู้ร่วมทุนเพื่อเพิ่มทุน หลังประสบปัญหาตอนวิกฤตน้ำท่วม เขามองว่าอุตสาหกรรมประกันในประเทศไทยถือเป็นอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ และ THRE ถือเป็นบริษัทที่ศักยภาพ จึงสนใจเข้ามาร่วมลงทุนกับเรา เขาให้ความช่วยเหลือเต็มที่ ส่งทีมงานเข้ามาช่วย โดยมีเก้าอี้ในตำแหน่งกรรมการบอร์ด 2 ที่นั่ง เขาพอใจกับแนวคิดการทำธุรกิจประกันภัยของเรามาก เพราะไม่เหมือนประเทศอื่นคือเราเดินหน้าไปกับลุกค้า ช่วยคิดช่วยทำ แต่ที่อื่นเขารอรับซื้ออย่างเดียว"**
ขณะเดียวกันหลังจาก Fairfax Financial Holdings ประกาศตัวชัดเจนจะเข้ามาลงทุนในบริษัท ทำให้กองทุนจากฮ่องกง นั่นคือ THE HONGKONG AND SHANGHAI BANKING CORPORATION LIMITED, FUND SERVICES DEPARTMENT แสดงควมจำนงค์เข้าร่วมลงทุนกับบริษัทเช่นกัน โดยขอถือหุ้น 11.87%
**" Prem Watsa เขียนในจดหมายสรุปผลการดำเนินงานประจำปีให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุน Fairfax Financial เกี่ยวกับ THRE ว่า ปีที่ผ่านมาแม้ตลาดโลกไม่ต่อยดีนัก แต่เขาคนพบธุรกิจที่ดีในประเทศไทย และจากเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยดี จึงถือเป็นโอกาสดีที่เข้ามาลงทุนใน THRE ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทที่มีศักยภาพ เห็นได้จากช่วง10ปีก่อนที่เผชิญภัยน้ำท่วมบริษัทมีกำไรเติบโตต่อเนื่องกว่า 10ปี หรือคืดเป็น ROEเฉลี่ย 20% จึงเป็นบริษัทที่น่าลงทุน และเชื่อว่าจะช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่กองทุนในอนาคต”**
**ภาพรวมธุรกิจประกัน และภาพรวมบริษัท**
“สุรชัย”ให้ภาพรวมของธุรกิจประกันว่า ...ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจประกันของไทยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 11.9% ซึ่งหากแยกเป็นประกันวินาศภัยแล้วจะเติบโต 10.6% ส่วนประกันชีวิตเติบโต 12.6% ถือว่ามีอัตราเติบโตสูงมาก แต่เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ทิศทางธุรกิจประกันของไทยยังมีอัตราเติบโตด้วยตัวเลข 2 หลัก ไปอีก 10-20 ปีเป็นอย่างน้อย ทำให้คาดว่าหลังจากนี้อีก 3 ปีข้างหน้า เบี้ยประกันภัยของไทยจะทำได้ถึง 1 ล้านล้านบาทแน่นอน ส่วนประกันชีวิตจะเติบโตได้เร็วกว่ามาก
**“เราคาดว่าในปีนี้จะล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ 1พันล้านบาทได้หมด และเริ่มกลับทำกำไรได้ อีกทั้งบริษัทจะเริ่มกลับมาตั้งเป้าขยายธุรกิจอย่างจริงจังอีกครั้ง โดยประกันสุขภาพจะเป็นประกันที่เติบโตมากที่สุด เฉลี่ย20%ต่อปีและต่อเนื่องไปถึง 10ปีข้างหน้า ทำให้บริษัทหันมาเพิ่มสัดส่วนในธุรกิจนี้และลดการทำประกันภัยทรัพย์สินกับองค์กรหรือบริษัทลง และมองว่าการประกันภัยทรัพย์สินในปีนี้คงไม่เติบโตมากนัก ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ”**
สำหรับมูลค่า ROAของ THRE ในช่วง 3 ปีก่อนหน้านี้ ได้รับผลจากปัญหาน้ำท่วมใหญ่ปลายปี2554อย่างมาก เห็นได้จาก ROA ในปี2555 อยู่ที่ -17.92% ขณะที่ปี2556อยู่ที่ -11.29% และ -5.32%ในปี2557 ขณะที่ไตรมาสแรกปี2558 พบว่าพลิกกลับมาเป็นกำไร 2.25 พันล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 194 ล้านบาท ทำให้ROA กลับมาเป็นบวกที่ 6.49% เช่นเดียวกับ ROE ซึ่งมีพัฒนาการที่ดีขึ้นจาก -206.91%,-97.38%,-73.34% พลิกกลับมาเป็น 2.83%ตามลำดับ