เลี้ยงลูกให้สูงตามเกณฑ์ไม่ใช่เรื่องยาก พญ.เอินฟ้า ณ นคร กุมารแพทย์ ต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลเวชธานี บอกว่า ต้องรู้ถึงอัตราการเจริญเติบโตของเด็กโดยทั่วไปก่อนว่าลูกของเราเข้าเกณฑ์การเจริญที่ปกติหรือไม่ เริ่มจากหยิบสมุดวัคซีน และสมุดพกของลูกมาดูกราฟการเจริญเติบโตได้ว่าความสูงและน้ำหนักของลูกตกเกณฑ์หรือไม่ โดยอัตราการเจริญเติบโตของเด็ก ๆ จะเป็นตามเกณฑ์ด้านล่างนี้
แรกเกิด - 1 ปี อัตราการเพิ่มความสูงต่อปีอยู่ที่ 23 - 27 ซม.
อายุ 1 - 2 ปี อัตราการเพิ่มความสูงต่อปีอยู่ที่ 10 - 12 ซม.
อายุ 2 - 4 ปี อัตราการเพิ่มความสูงต่อปีอยู่ที่ 6 - 7 ซม.
ก่อนเข้าวัยรุ่น อัตราการเพิ่มความสูงต่อปีอยู่ที่ 4 - 5.5 ซม.
ช่วงเข้าวัยรุ่น 2 ปีแรก
- เด็กหญิง อัตราการเพิ่มความสูงต่อปีอยู่ที่ 7 - 10 ซม.
- เด็กชาย อัตราการเพิ่มความสูงต่อปีอยู่ที่ 8 - 12 ซม.
เด็กๆ จะมีความสูงตามเกณฑ์ในข้างต้นจนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีช่วงที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว (Pubertal growth spurt) เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี และเด็กหญิงจะหยุดการเจริญเติบโต เมื่ออายุประมาณ 14 - 16 ปี หรืออายุกระดูก 18 ปีส่วนเด็กผู้ชายจะหยุดการเจริญเติบโต เมื่ออายุประมาณ 16-18 ปี หรือ มีเสียงแตกมาแล้วประมาณ 4 ปี
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
1. ความสูงของพ่อแม่ (กรรมพันธุ์) พ่อแม่สูงลูกย่อมสูงกว่าเด็กที่ พ่อแม่ตัวเล็กค่ะ
2. ภาวะโภชนาการ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และสมดุล
3. การออกกำลังกาย เพื่อการพัฒนาของกระดูกและกล้ามเนื้อ อย่างเต็มประสิทธิภาพ
4. สุขภาพร่างกาย การมีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ หรือ โรคปอดเรื้อรัง ภูมิแพ้เรื้อรัง จะมีผลต่อการเจริญเติบโต
5. ฮอร์โมน เพราะฮอร์โมนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตค่ะ เช่น ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ,ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid Hormone),ฮอร์โมน (Sex Hormone),ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid hormone
สำหรับความสูงของพ่อและแม่สามารถประเมินได้ว่าลูกของเราจะสูงได้ประมาณเท่าไร โดยคิดจากสูตรดังนี้
>>> นำความสูงของคุณพ่อเป็นเซนติเมตรกับความสูงของคุณแม่เป็นเซนติเมตรมาบวกกัน
1.1 ถ้าเป็นเด็กชายให้เอา 13 มาบวกเพิ่ม แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาหารด้วย 2 จะได้ความสูงสุดท้ายที่ควรจะเป็น เป็นเซนติเมตรของเด็กชาย ความเป็นไปได้ของความสูงสุดท้ายจะอยู่ในช่วง+- 10 เซนติเมตร
1.2. ถ้าเป็นเด็กหญิงให้เอา 13 มาลบออก แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาหารด้วย 2 จะได้ความสูงสุดท้ายที่ควรจะเป็น เป็นเซนติเมตรของเด็กหญิง ความเป็นไปได้ของความสูงสุดท้ายจะอยู่ในช่วง+- 9 เซนติเมตร
กระนั้น แม้ลูกจะสูงได้ตามเกณฑ์แล้ว แต่พ่อแม่ทุกคนก็ต้องการให้ลูกสูงที่สุดที่ตามเกณฑ์ศักยภาพความสูงของลูก จริง ๆ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ยากอย่างที่คิด
1. การออกกาลังกายที่จะช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตของร่างกาย ที่สำคัญควรเป็นกิจกรรมที่มีแรงกระแทกจากการกระโดด ซึ่งเป็นเหมือนการกระตุ้นข้อต่อกระดูกให้มีการยืดตัวขึ้น เพิ่มความยาวของกระดูกสันหลัง และเวลาเดียวกันยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้องได้อีกด้วย โดยการออกกำลังกายที่พอเหมาะประมาณ 45 - 60 นาที/วัน ตัวอย่างของการออกกำลังกายที่ช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโต ได้แก่
2.1 การวิ่ง แต่หากวิ่งมากเกินไปอาจทาให้เกิดอาการปวดบวม หรือหกล้มได้ในเด็กเล็ก ดังนั้นอาจเลือกเป็นวิ่งบนพื้นดิน หรือสนามหญ้าเป็นต้น
2.2 การกระโดด ยืนตรงแยกขาออกเล็กน้อย จากนั้นกระโดดด้วยเท้าเพียงข้างเดียวให้สุด ทาซ้าแบบเดียวกันประมาณ 10 ครั้ง สลับทั้งสองข้าง
2.3 การขี่จักรยาน เป็นกิจกรรมที่ทาให้เท้าของเรายืดเหยียดตลอดระยะเวลาที่ปั่นจักรยาน
2.4 การว่ายน้ำ โดยว่ายท่าผีเสื้อเป็นเวลา 20 นาที เป็นท่าที่เหมาะสมที่สุดเพราะร่างกายได้ออกกาลังช่วงหลัง ไหล่ และช่วงแขนอย่างเต็มที่ แต่ถ้าไม่สะดวกท่าอื่นๆ ก็สามารถช่วยได้เช่นเดียวกัน
2.5 กระโดดเชือก โดยเป็นการกระโดดทั้งตัว ซึ่งจะทาให้ช่วงขา และช่วงหลังได้ยืดเหยียดไปพร้อมๆ กัน
โหนบาร์ เป็นการยืดกล้ามเนื้อหลังอย่างเต็มที่ รวมช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ และแขนได้เป็นอย่างดี
2.6 การเตะขา เพียงแค่ยืนแยกขาออกแล้วเตะขาข้างหนึ่งไปด้านหน้า ทาแบบนี้อย่างน้อยข้างละ 20 ครั้ง ก็ช่วยยืดกระดูกช่วงหน้าแข้งได้เช่นเดียวกัน
2.7 การใช้แทรมโพลีน (Trampoline) เป็นการออกกาลังกายโดยอาศัยเทคนิคการกระตุ้นในแนวดิ่ง ซึ่งจากการอ้างอิงขององค์การนาซ่า (NASA) ระบุว่าเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด เพราะถือเป็นการออกกาลังกายของเซลล์ในทุกส่วนของร่างกาย เพียงแค่วันละ 20 นาที ซึ่งการออกกาลังกายจากการกระโดดบนแทรมโพลีนจะช่วยยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมสาหรับการเพิ่มความสูง (Proper Stretching and Exercising Techniques) เพราะจะทำให้กระดูกหนาและแข็งแรงขึ้นจากการกระตุ้นการหลั่งสาร Growth Hormone ทำให้ความหนาที่เพิ่มขึ้นของกระดูกขาจะช่วยเพิ่มความสูงได้อย่างน้อย 2.5 เซนติเมตร ซึ่งถ้าหากออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และเหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มความสูงได้มากถึง 5 เซนติเมตร
2. โภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารประเภทโปรตีน เนื้อสัตว์ ไข่ นม ดื่มนมวัว เนื่องจากมีแคลเซียมสูงวันละ 2-3 กล่อง จะทำให้ได้แคลเซียมปริมาณที่เหมาะสมที่จะช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง และแนะนาให้ลดอาหารประเภท แป้ง น้ำตาล เช่น ขนมถุง น้ำหวาน และประเภทไขมัน เพราะจะทำให้สะสมในรูปไขมันส่วนเกินได้
3. ควรนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ในวัยรุ่นไม่ควรน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะหลั่งได้ดีช่วงนอนหลับสนิท และควรเข้านอนแต่หัวค่ำ ไม่ควรเกิน 22.00 น.
หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใด ลองตรวจสอบกราฟความสูงของลูกแล้วพบว่าลูกตัวเล็ก หรือเตี้ยกว่าเกณฑ์ ไม่ควรหลงเชื่อ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ขายอยู่ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ แต่ควรปรึกษากับกุมารแพทย์ประจำของลูกหรือพบกุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ
เรื่องโดย : ASTVผู้จัดการ Live
มาตามติด Facebook Fanpage และ Instagram
"ASTVผู้จัดการ Live" และ "@astv_live" กันได้ที่นี่!!
และสามารถส่งข่าวสารและเรื่องราวร้องทุกข์ในสังคมมาได้: astvmanager.live.lite@gmail.com
หรือ โทร.0-2629-4488 ต่อ 1477, Fax 0-2629-4754