xs
xsm
sm
md
lg

รถเต่า…ความคลาสสิกบนท้องถนน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ยุคแห่งอิสรชน วัยรุ่นที่ขบถต่อสังคม คือนิยามของ “ยุคฮิปปี้” ในอเมริกา หากเปรียบเทียบวัยรุ่นยุคนั้นสถานภาพใกล้เคียงกับ “เด็กแนว” (ทางความคิด) ในบ้านเรา ต่างก็แต่การยอมรับต่อสภาพที่เป็นอยู่ และไม่พยายามดิ้นรนจนเกินพอดี ถูกแต่งแต้มด้วยสัญลักษณ์แห่งการปลดเปลื้องพันธนาการทางสังคม บทเพลงอันไร้สรีระ โหยหาอิสรเสรี เดอะบีทเทิลส์ บ็อบดีแลน ผมเผ้ารุงรัง ลากแตะ สุมอยู่ในร้านหนังสือเก๋ๆ ดอกไม้ และ “รถเต่า” หรือ Volkswagen เต็มท้องถนน เกี่ยวข้องกันอย่างไร M future มีคำตอบ

บีทเทิลส์แห่งอาณาจักรไรซ์ที่ 3
       จุดเริ่มต้นของโฟล์คเต่าย้อนกลับไปในปี 1933 ดร.ปอร์เช่ (Dr.Ferdinand Porsche) วิศวกรมือหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ เจ้าของฝีมือในการออกแบบ และผลิตรถยนต์ Porsche (รถในฝันของหนุ่มสาว), Auto Union, N.S.U., Audi แม้กระทั่ง Benz ได้เสนอแนวความคิด ที่จะออกแบบรถยนต์ขนาดเล็ก ราคาถูก ประหยัดน้ำมัน แล้วก็คงทน ออกมาขายให้คนระดับล่าง เพื่อออกมาพยุงอุตสาหกรรม รถยนต์ในขณะนั้น

แนวความคิดเหล่านี้ ได้ถูกเสนอไปตามบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆ ในเยอรมนี แต่ถูกปฏิเสธจากบริษัทเหล่านั้น ทว่า ดร.ปอร์เช่ ก็ไม่ได้ละความพยายาม ได้เสนอแผนเหล่านี้ให้กับรัฐบาลเยอรมนี เกิดไปถูกใจ และตรงกับแนวคิดของ
ฮิตเลอร์ ซึ่งกำลัง เป็นผู้นำประเทศ

ฮิตเลอร์ จึงอนุมัติและให้ดำเนินการโครงการขึ้นเมื่อ 22 มิถุนายน 1934 เมื่อคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติเยอรมนี หรือ RDA-Reichsverband Der Deutschan Automobilindustrie ได้มอบหมายให้ ดร.เฟอร์ดินัน พอร์ช ออกแบบรถยนต์ของประชาชน (People’s car) รถเต่า รถโฟล์ค หรือ Volkswagen มาจาก คำว่า Volk ในภาษาเยอรมัน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ประชาชน ส่วนคำว่า Wagen นั้นแปลว่า รถยนต์ Volkswagen จึง = รถสำหรับประชาชน นั่นเอง

ดร.ปอร์เช่ ได้ใช้เวลาประมาณ 1ปี จำลองรถต้นแบบออกมา ในการจำลองรถต้นแบบออกมาเป็น รถแบบ รถ 4สูบ 2 จังหวะ ตามแนวนอน และการระบายความร้อนด้วยอากาศออกมา แต่ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจ จึงคิดจะพัฒนาต่อ

เนื่องจากเวลามีน้อย จึงได้เปลี่ยนแบบมาประดิษฐ์ 4 สูบ 4 จังหวะ แบบลูกสูบนอนยัน และระบายความร้อนด้วยอากาศแทน ซึ่งรถแบบนี้เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็จะตกประมาณคันละ 1,550 มาร์ค ซึ่งฮิตเลอร์บอกว่าแพงเกินไป เพราะแนวความคิดของฮิตเลอร์ ต้องการจะสร้างสำหรับประชาชน ราคาต้องใกล้เคียงราคามอเตอร์ไซค์

หลังจากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็มาลงตัว เมื่อในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ปี 1936 ดร.ปอร์เช่ ได้สร้างรถต้นแบบ เพื่อทดสอบมา 30 คัน โดยใช้ชื่อว่า VW30 บริษัทที่รับจ้างสร้างคือ บริษัท Daimler Benz และลงมือผลิตได้จริงจัง หลังจากทดสอบ แล้วก็มาพัฒนาเป็นรุ่น VW38 โดยใช้ชื่อเรียกว่า “ไครฟ์วาเกน” Kraft Wagen ให้ตรงกับชื่อเมืองที่ใช้ตั้งโรงงาน เสร็จสิ้นโครงการรถยนต์เพื่อประชาชนลง

โลดแล่นในสงคราม
      ปี 1940 ผลิต ไครฟ์วาเกนได้ไม่นานก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้โรงงานต้องหันไปผลิตรถเพื่อใช้ในการทหาร โดยใช้ชื่อว่า “คารเบลวาเกน” Kabel Wagen เป็นรถจิ๊ป 4 ประตู รถนี้สร้างชื่อเสียงในการรบเป็นอย่างมาก

เนื่องจากความมหัศจรรย์ของ คาเบลวาเกน รถที่เครื่องยนต์สามารถระบายความร้อนด้วยอากาศ จึงไม่มีปัญหา ในเรื่องต้องหาน้ำหล่อเย็น แม้จะอยู่ในอุณหภูมิสูง อย่างทะเลทรายหรืออากาศหนาวในแถบรัสเซีย รถอื่นมีปัญหาแต่เจ้าคารเบลวาเกนกับสามารถวิ่งได้สบาย เนื่องจากไม่มีสภาวะจุดแข็งของน้ำในหม้อน้ำ เพราะมันไม่มีหม้อน้ำ แถมน้ำหนักเบา สามารถลุยหิมะ ปะทะทะเลทรายได้เป็นอย่างทรหดอดทน ติดหล่ม ติดหลุมยกออกได้ง่าย

ภายหลังจากเยอรมนี แพ้สงคราม โรงงานโฟล์คเสียหายถึงเกือบ 60% จากสงคราม และตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอังกฤษ มาเริ่มผลิตอีกครั้งในปี 1949 โดยแต่งตั้ง ให้ นาย Heinz Nordoff เข้าไปจัดการฟื้นฟู และบริหารโรงงาน แต่ก็มีเศรษฐีนักเล่นรถแถบยุโรปในสมัยนั้น นิยมซื้อโครง Classis มาต่อตัวถัง ได้ เอาโครง Classis ของรถ Kabel Wagen มาให้ Wilhelm Karmand นักออกแบบรถชื่อดัง ออกแบบให้ ได้ออกแบบรถเต่า แบบหลังคาเปิด

ต่อมาทางโรงงานผลิต ดู Heinz Nordoff เกิดชอบอก ชอบใจ ในรถเต่า เลยวางแผนผลิตตามแบบนั้นออกมา 1,000 คัน ในปี1955 เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า

จนเมื่อ Luigi Segre เจ้าของโรงงานออกแบบ Ghia Studio ได้ออกแบบ รูปทรงรถโฟล์คให้เป็นแบบกึ่งสปอร์ต เพรียวลม ทำให้รถวิ่งเร็วขึ้นอีก 15 กม. /ชม. รถรุ่นนี้จึงใช้ชื่อ “คามานเกียร์” ตามชื่อนักออกแบบคนแรก รถก็ขายดิบขายดี เหมือนเทน้ำเทท่าจนสามารถส่งไปขายถึงอเมริกาที่เป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรมผลิตรถของโลก

รสนิยมเต่าๆ
หลายคนอาจจะคิดว่าเจ้ารถโฟล์คทำไมถึงได้โด่งดังในอเมริกา ทั้งเครื่องก็ไม่แรง ไม่มีระบบออโต้ แคบ และยังไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกอะไรมากมายอีก นั้นก็เป็นเพราะรูปทรงที่แสนน่ารัก กะทัดรัด และคงไม่ต้องใช้เหตุผลอะไรมามากมายสำหรับคนรวยที่จะชื่นชอบอะไรสักอย่าง

ในความโด่งดังอันมีเอกลักษณ์ของรถเต่าหรือโฟล์คนั้นได้ถูกหยิบไปใช้ประกอบทำภาพยนตร์หลายเรื่อง ด้วยความที่เป็นอีกหนึ่งแนวคิดของนาซี กลิ่นอายของความเป็นโฟล์คจึงแปลกแตกต่าง

ปี1965 วงดนตรีชื่อก้องโลกอย่างเดอะบีทเทิลส์ (The Beatles) นำรถเต่าทองมาเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวง ทำให้ผู้คนขนานนามรถโฟล์คเต่าว่า “รถเดอะบีทเทิลส์” จึงเป็นการตอกย้ำให้ผู้ที่มีรถเต่าใช้เป็นผู้มีรสนิยมไปด้วย

จุดสิ้นสุดแห่งยุคโฟล์คเต่าสำหรับตลาดยุโรปเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 เมื่อโฟล์คสวาเกนเปิดตัวรถยนต์รุ่นกอล์ฟออกมา ซึ่งทำให้ลูกค้าในยุโรปเริ่มหันไปสนใจกับผู้มาใหม่รุ่นนี้กันมากขึ้น จนทำให้โฟล์คสวาเกนตัดสินใจยุติการผลิตของโรงงาน Wolfsburg ในปี 1974 และเอมเดนในปี 1978 โดยโฟล์คเต่าคันสุดท้ายที่ผลิตในเอมเดนเมื่อวันที่ 19 มกราคม ถูกส่งเข้าไปเก็บในพิพิธภัณฑ์เมือง Wolfsburg

ส่วนรุ่นเปิดประทุนคันสุดท้ายออกจากสายการผลิตของโรงงานคามานน์ในออสนาบรัก เมื่อวันที่ 10 มกราคม 1979 รวมแล้วรุ่นเปิดประทุนถูกผลิตออกสู่ตลาด 330,281 คัน

แม้ว่าในยุโรปจะเลิก แต่โรงงานในเม็กซิโกที่เริ่มเดินเครื่องมาตั้งแต่ปี 1965 ก็ยังทำหน้าที่ผลิตต่อไปและวันที่ 15 พฤษภาคม 1981 ฉลองการผลิตครบ 20 ล้านคันที่โรงงานแห่งนี้

อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2003 ถือเป็นอีกวันที่แฟนๆ ผู้คลั่งไคล้บีทเทิลส์ต้องจดจำเพราะว่าจะเป็นวันสุดท้ายของการผลิต โฟล์คเต่าที่โรงงานในเมือง Puebla เม็กซิโก ซึ่งเป็นโรงงานแห่งเดียวที่ยังผลิตอยู่

โฟล์ค "เต่าทอง" คันสุดท้ายถูกส่งไปยังพิพิธภัณฑ์ในเมือง Wolfsburg ประเทศเยอรมนี สำนักงานใหญ่ของโฟล์คสวาเกน

ด้วยการกำเนิดในช่วงของ “ยุคบุปผาชน” จึงไม่แปลกที่รถโฟล์คหรือน้องเต่าจะถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งยุค 60-70’s ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับอุดมการณ์หรือถูกเลือกให้เป็นอัตลักษณ์แห่งยุคแต่ประการใด ความดังของรถเต่าจึงเป็นเรื่องของรสนิยมล้วนๆ

จะว่าไปแล้วถึงรถเต่าจะเลิกผลิตไปแต่ก็มีบีทเทิลส์รุ่นใหม่เข้ามาแทนที่ เสน่ห์ของรถเต่าแอนติกที่ดูยังไงก็น่ารัก ไม่อาจเลือนหายไปตามถนนหนทางแม้กาลเวลาจะเลื่อนไหลไปเพียงใดก็ตาม


+++++++++
.
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากชมรมโฟล์คสยาม





Ferdinand Porsche

กำลังโหลดความคิดเห็น