นวนิยายอิงประวัติศาสตร์
ตำนานนักดาบผู้ก่อกำเนิดสำนักนิเท็นอิจิริว และ คัมภีร์ห้าห่วง
บทประพันธ์ของ โยชิกาวะ เออิจิ (1892-1962)
-แปลและเรียบเรียงโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
ที่นี่คือหุบเขายากิวอาณาจักรอันไพศาลแห่งคัมเบะในยุคโบราณกาล อยู่ในเขตภูเขาคาซางิยามะแต่ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะเรียกได้ว่าหมู่บ้านคาซามิ เพราะนอกจากอาณาเขตอันกว้างใหญ่แล้ว ความอุดมสมบูรณ์และนิวาสถานยังโอ่อ่าเกินความเป็นหมู่บ้านชนบททั่วไป แต่ความที่บ้านเรือนบางตาและไร้ซึ่งความครึกครื้นของบันเทิงสถานจึงไม่อาจจัดว่าเป็นเมือง
หุบเขายากิวคือดินแดนอันสูงล้ำด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมไม่ต่างเท่าไรนักกับทางผ่านบนถนนแห่งเส้นไหม
เรือนหลังใหญ่ล้อมรอบด้วยคันกำแพงหินแบบป้องปราการสมัยโบราณตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่กลางหุบเขาเป็นที่อยู่ของเจ้าของ ที่ดินกว้างใหญ่เทียบได้กับอาณาจักร ได้สืบทอดความเป็นศูนย์กลางการปกครองและวัฒนธรรมของชุมชนมานานนับพันปี อ่อนน้อมต่อจอมทัพโชกุนมาทุกยุคสมัยด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาความสันติสุขในดินแดน แต่ก็มาประมาทที่จะสะสมธนูและคันศรไว้ในคลังเพื่อป้องกันผู้รุกราน และทุกคนในชุมชนที่ต่างสืบสายเลือดรักผืนแผ่นดินมาหลายชั่วคนต่างไม่ลังเลที่จะลุกขึ้นสู้เมื่อศัตรูมา
หลังศึกใหญ่ที่เซกิงาฮาระ ซามูไรไร้นายหลั่งไหลเข้าไปป่วนเมืองนาราที่มีอาณาเขตใกล้ชิดติดกันจนเกือบจะกลายสภาพเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน วัดวาอารามเสื่อมโทรมลงอย่างน่าสลดใจ แต่ความเลวร้ายไม่กล้ำกรายเข้ามาในเขตภูเขาคาซางิและหุบเขายากิวแห่งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งชุมชนที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ในอันที่จะรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของตนเอาไว้
อาณาจักรแห่งหุบเขายากิวอันสุขสงบด้วยความดีงามของเจ้าของที่ดินและบริวารแห่งนี้ ยังเป็นท้องถิ่นแสนงามด้วยทัศนียภาพของภูเขาคาซางิยามรุ่งอรุณและยามเย็นเมื่ออาทิตย์อัสดง น้ำหรือก็บริสุทธิ์ชงชาเลิศรสนัก ดอกไม้นั้นเล่าเดินไปไม่ไกลก็จะได้ชมทุ่งดอกบ๊วยบานตระการตายามฤดูดอกไม้บานที่สึกิงาเซะ นกอูงุยซุร้องเพรียกเรียกคู่กันเสียงใสแจ๋วกว่าน้ำในลำธาร มาตั้งแต่หิมะบนยอดเขาเริ่มละลายจนถึงเมื่อท้องฟ้าเริ่มคะนองครืนคลานยามเปลี่ยนฤดู
กวีโบราณกล่าวไว้ว่า จงดูเถิดป่าเขาและลำน้ำแห่งถิ่นกำเนิดของวีรบุรุษนั้นล้วนสงบและสะอาด คำพูดของกวีจะเป็นเท็จทันใดและความงดงามของป่าเขาและธารน้ำก็จะได้แต่งามแต่ไร้ซึ่งพืชผล หากท้องถิ่นนี้ไม่ให้กำเนิดวีรบุรุษ และเลือดรักผืนแผ่นดินของชุมชนก็คงไม่เข้มข้นมาจนทุกวันนี้
ผู้สืบตระกูลยากิวหลายรุ่นได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษ อีกทั้งบริวารหลายคนที่ทิ้งจอบทิ้งเสียมออกศึกและดำรงยศฐานะบรรดาศักดิ์เป็นชนชั้นปกครองที่เลื่องลือในความสามารถและซื่อสัตย์สุจริต ทิ้งสิ้นทั้งปวงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหุบเขานากิว ท่ามกลาง ป่าเขา ธารน้ำ และเสียงนกอูงุยซู
ทุกวันนี้ ยากิว มูเนโยชิ เซกิชูไซ ประมุขแห่งตระกูลเกษียณอายุจากตำแหน่งทางการ เปลี่ยนชื่อให้เรียกง่ายลงเป็นเซกิชูไซ และย้ายไปใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบเงียบในเรือนเล็กหลังเคหาสน์กำแพงหิน แม้จะยังดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอยู่ในระเบียนเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของแว่นแคว้นแต่ก็ไม่มีใครรู้ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องอะไร ความที่ท่านเซกิชูไซมีลูกหลานที่ดีหลายคน ทั้งยังมีบริวารที่พึ่งพาได้อีกเป็นจำนวนมาก ทำให้การปกครองชุมชนหุบเขายากิวเป็นไปอย่างราบรื่นดังเดิม
มูซาชิเดินทางมาถึงหุบเขายากิวหลังเหตุการณ์ที่ทุ่งฮันเนียได้ราวสิบวัน
ระหว่างทางนักดาบหนุ่มแวะเยือนวัดคาซางิ วัดโจรูริ ซากหักพังเค็มมุที่มีชื่อเสียง และเมื่อมาถึงที่นี่จึงหาโรงเตี๊ยมได้แห่งหนึ่งเพื่ออาศัยเป็นที่พักผ่อนให้คลายเหนื่อยล้าก่อนออกเดินทางไกลต่อไป
พอเข้าพักเป็นที่เป็นทางแล้วก็ลุกขึ้นจัดเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้ดูลำลองแล้วจึงออกไปเดินเล่นรอบ ๆ โดยมีโจทาโรเดินตามหลังมาติด ๆ ตามเคย
“แปลก”
มูซาชิมองดูชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน พืชผลตามไร่นา และผู้คนที่เดินสวนกันไป แล้วพึมพำไม่ขาดปากมาตลอดทางตั้งแต่ย่างเข้าเขตหุบเขา
“แปลก”
“แปลกอะไรหรือครู”
โจทาโรขมวดคิ้วถามขึ้นอย่างอดรนทนไม่ได้ เพราะเห็นว่าครูของตนนั่นแหละแปลก ที่บ่นอยู่ได้ว่าแปลก

2
“ตั้งแต่ออกมาจากบ้านเกิด ข้าเดินทางผ่านมาหลายแว่นแคว้นไม่ว่าจะเป็นเซตสึ คาวาจิ อิซูมิ และอีกหลายแห่ง ไม่เคยเห็นอะไรอย่างนี้มาก่อน ถึงได้บอกว่าแปลกไง”
“ครู แปลกตรงไหนเหรอ”
“บนภูเขามีต้นไม้มากมาย”
โจทาโรได้ยินแล้วหัวเราะก้าก
“ครู ต้นไม้น่ะที่ไหน ๆ ก็มีเยอะแยะ”
“แต่ต้นไม้แทบทุกต้นบนภูเขาที่นี่ต่างจากที่อื่นคือมีอายุเก่าแก่มาก แสดงว่าดินแดนแถบนี้ไม่เคยถูกไฟสงคราม ไม่เคยถูกข้าศึกศัตรูบุกเข้ามารุกรานย่ำยี เจ้าของที่ดินและบริวารไม่เคยประสบกับภาวะข้าวยากหมากแพงตลอดประวัติศาสตร์ยาวนาน”
“แล้ว...”
“ท้องนาเขียวชอุ่ม ต้นข้าวสาลีหยั่งรากลึกลำต้นแข็งแรง มีเสียงปั่นเส้นด้ายดังมาจากทุกครัวเรือน พวกชาวนาเห็นผู้คนแคว้นอื่นแต่งกายหรูหราสวยงามผ่านมา ก็ไม่ได้หยุดมือที่ทำงานอยู่แล้วมองตาค้างด้วยความอิจฉา”
“แค่เนี้ย ?”
“ยังมีอีก ที่ต่างจากแคว้นอื่นที่เคยเห็นคือที่นี่มีสาวทำงานในนากันหนาตา ---ผู้หญิงคาดโอบิสีแดงที่แสดงว่ายังเป็นสาวพวกนี้ทำนาอยู่ที่บ้านเกิดของตน ไม่ต้องออกไปทำงานหารายได้ที่แคว้นอื่น ก็เพราะดินแดนนี้อุดมสมบูรณ์มีรายได้พอกินพอใช้ มีลูกก็เลี้ยงลูกให้เติบโตแข็งแรงเป็นคนดี เคารพนับถือผู้มีอาวุโสสูงวัย เมื่อท้องถิ่นของตนมีความอยู่ดีกินดีและที่สำคัญคือมีผู้ปกครองที่เที่ยงธรรมไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน รักและปรารถนาดีต่อทุกคนที่อยู่ในความปกครอง พวกหนุ่มสาวก็ไม่มีใครคิดที่จะทิ้งถิ่นไปทำงานที่อื่นด้วยความหวังว่ามีชีวิตที่สุขสบายกว่า เห็นแล้วเข้าใจได้เลยว่าท่านเจ้าของที่ดินแห่งนี้จะต้องมั่งคั่งทั้งทรัพย์สินและร่ำรวยน้ำใจ คลังอาวุธทั้งดาบและปืนจะต้องได้รับการขัดถูดูแลรักษาเป็นอย่างดี”
“โธ่เอ้ย นึกว่าจะมีอะไรสนุก ๆ”
“อือ ข้าก็คิดเหมือนกันว่าเจ้าคงไม่สนใจ”
“แต่ครูบอกเองไม่ใช่หรือว่า ที่มาหุบเขายากิวนี่ก็เพื่อประลองฝีมือกับพวกคนในสำนักดาบของตระกูลยากิว”
“โจทาโร การเดินทางฝึกวิทยายุทธ์ของนักดาบไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การประลองฝีมืออย่างเดียว คนที่แบกดาบไม้เดินทางไปพักไปและดื่มกินไป เจอใครก็ท้าดวลไม่เลือกหน้านั้นก็เป็นได้แค่ซามูไรพเนจร คนที่จะเรียกได้ว่านักดาบที่แท้จริงได้นั้นคือคนที่มุ่งฝึกจิตใจมากกว่าฝึกฝนฝีมือดาบ
ยุทธศาสตร์ของนักดาบคือการหยั่งรู้ตื้นลึกหนาบางของแว่นแคว้นที่เดินทางผ่าน สังเกตภูมิประเทศ การทดน้ำใช้ในไร่นาและครัวเรือน รู้นิสัยใจคอของชาวบ้านพร้อมทั้งขนบประเพณี ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ครองแคว้นและพลเมืองว่าปฏิบัติต่อกันและกันอย่างไร คือต้องมองให้ลึกเข้าไปถึงในปราสาทและในครัวเรือน ย่ำด้วยเท้าและมองด้วยใจไปทั่วทุกหัวระแหงทั้งบนบกและไกลออกไปในท้องทะเล นั่นแหละคือนักดาบที่แท้จริง”
ถึงจะรู้ว่าสาธยายไปก็ไร้ประโยชน์เพราะคนฟังเป็นแค่เจ้าเด็กตัวน้อย แต่เมื่อถูกถามก็ไม่อาจตอบอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ มูซาชิไม่แสดงว่าเหนื่อยหน่ายหรือรำคาญเมื่อถูกโจทะโรซัก และตอบด้วยความเต็มใจระหว่างเดินไปด้วยกัน
ขณะที่เดินดูโน่นดูนี่กันเพลิน ๆ นั้นเอง ครูกับศิษย์ตัวน้อยก็ได้ยินเสียงม้าควบใกล้เข้ามาพร้อมกับเสียงตะโกนให้หลบเข้าข้างทาง
“หลีกไป หลีกไป”
และพอจะผ่านไป โจทาโรที่มองขึ้นไปบนหลังม้าก็ร้องออกมาว่า
“อ้าวนั่นท่านโชดะนี่”
โจทาโรจำซามูไรที่ชื่อโชจิคนนี้ได้ดีเพราะมีหนวดดกดำราวกับหมี และเป็นคนเก็บกระบอกไม้ไผ่ใส่จดหมายที่ตนคิดว่าทำหายระหว่างที่เดินผ่านสะพานอุจิบาชิบนเส้นทางยามาโตจิ
โชดะ คิซาเอมอนบนหลังม้าหันมามองเมื่อได้ยินเสียงเรียก
“อ้าว เจ้าหนูน้อย”
แล้วยิ้มให้ก่อนควบม้าหายลับเข้าไปในเนินกำแพงหินของเคหาสน์ยากิว
3
“โจทาโรคนบนหลังม้าที่หัวเราะให้เจ้าคือใคร”
“ท่านโชดะ เป็นบริวารของตระกูลยากิว”
“เจ้าไปรู้จักกับเขาได้ยังไง”
“เจอกันระหว่างทางไปนารา เขาใจดีกับข้ามากเลย”
“หือ”
“เขาเดินมากับผู้หญิงคนนึง ข้าก็เลยเดินไปด้วยจนถึงท่าข้ามฟากแม่น้ำคิซุ”
มูซาชิเดินสำรวจรอบ ๆ ปราสาทโคยากิวและพื้นที่บริเวณหุบเขายากิวรอบหนึ่งแล้วจึงชวนโจทาโรเดินกลับ
ที่พักของมูซาชิกับโจทาโรเป็นโรงเตี๊ยมใหญ่แห่งเดียวในแถบนี้
ตั้งอยู่ริมทางหลวงอิงะ จึงเป็นที่พักแรมของพวกที่เดินทางมาสักการะวัดโจรูริและวัดคาซางิ พอตกเย็นคนจูงม้าจะต้องนำม้าที่ใช้บรรทุกสัมภาระมาผูกไว้ที่ใต้ต้นไม้และที่ชายคาเรือนราวสิบตัว แล้วพากันเอาข้าวมาซาวน้ำในลำธารเพื่อหุงหาอาหารกันกินกันเอะอะอยู่ตรงนั้น
“ไปไหนกันมาเจ้าคะ”
พอเข้าไปในห้องพัก เด็กหญิงนุ่งกางเกงใส่เสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงินเหมือนผู้ชายมีผ้าคาดเอวสีแดงเท่านี้ที่บอกว่าเป็นหญิง เดินตามเข้ามาถาม และยังไม่ทันจะมีใครตอบนางก็บอกขึ้นก่อนว่า “ไปอาบน้ำเลยดีไหม”
โจทาโรยิ้มย่องที่พบเด็กรุ่นเดียวกัน
“เจ้าชื่อไร”
“ไม่รู้”
“บ้าเหรอ ไม่รู้ชื่อตัวเอง”
“อ๋อ ชื่อโคจะ”
“ชื่อตลกจัง”
“ไม่ใช่เรื่องของเจ้า” โคจะทุบให้
“ทุบข้า จะเอาเรื่องรึ”
พอดีมูซาชิที่เดินออกไปก่อนหันมาถาม
“โคจะ ห้องอาบน้ำไปทางไหน ---ทางขวาข้างหน้านี้รึ รู้แล้วขอบใจ”
บนชั้นในห้องปูไม้กระดาน มีเสื้อผ้าถอดเอาไว้สามชุด และพอมูซาชิถอดของตนขึ้นไปวางด้วยจึงรวมเป็นสี่ชุด
มูซาชิเลื่อนประตูห้องอาบน้ำเข้าไปก็พบชายสามคนกำลังคุยกันสนุกสนาน
เสียงพูดคุยเงียบลงทันควันเพราะต่างอ้าปากค้างมองมาที่ร่างสูงใหญ่เปลือยเปล่าของผู้มาใหม่เป็นตาเดียวกัน ทำหน้าราวกับเห็นมนุษย์คนละชาติพันธุ์หลงฝูงพลัดเข้ามา
มูซาชิไม่สนใจ เดินอาด ๆ พาร่างสูงเกือบหกศอกก้าวลงไปในบ่อน้ำแช่
น้ำล้นขึ้นไปจนเกือบซัดชายสามคนที่กำลังนั่งถูหน้าแข้งอยู่นอกอ่างลอยไปติดข้างฝา
“...?.. ...”
คนหนึ่งหันมามอง และพอเห็นมูซาชิที่หนุนขอบอ่างแทนหมอนหลับตาพริ้มอยู่
จึงนอนใจและชวนกันคุยต่อ---
“ซามูไรบริวารของตระกูลยากิวที่มาเมื่อกี้ชื่ออะไรนะ”
“โชดะ คิซาเอมอน ไงละ”
“อ้อ---ยากิวใช้บริวารมาปฏิเสธคำท้าแบบนี้ ฝีมือคงจะไม่แน่จริงอย่างที่เล่าลือกันละมัง”
“เห็นโชดะบอกว่าท่านเซกิชูไซเกษียณแล้ว ส่วนลูกชายก็ไปประจำอยู่ที่เอโดะ จึงไม่รับท้าประลองฝีมือกับใครทั้งนั้น”
“ไม่จริงหรอก ที่ปฏิเสธก็เพราะคนท้าคือลูกชายคนที่สองของตระกูลโยชิโอกะมากกว่า คงไม่พร้อมเสี่ยง”
“แต่ก็ยังวางท่าไม่เลว ส่งขนมมาให้ด้วยความหวังว่าจะช่วยให้เราเพลิดเพลินขึ้นบ้างระหว่างการเดินทาง”
เห็นแต่ด้านหลัง แต่ก็รู้ว่าทุกคนผิวขาวเนียน กล้ามเนื้อนุ่มนิ่ม พูดจาแบบชาวกรุงมีลูกเล่นและไหวพริบแพรวพราว เฉียบแหลมและฉับไว
...โยชิโอกะ ?
ชื่อนั้นสะดุดหูจนต้องเหลียวไปมอง
ตำนานนักดาบผู้ก่อกำเนิดสำนักนิเท็นอิจิริว และ คัมภีร์ห้าห่วง
บทประพันธ์ของ โยชิกาวะ เออิจิ (1892-1962)
-แปลและเรียบเรียงโดย ฉวีวงศ์ อัศวเสนา
ที่นี่คือหุบเขายากิวอาณาจักรอันไพศาลแห่งคัมเบะในยุคโบราณกาล อยู่ในเขตภูเขาคาซางิยามะแต่ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะเรียกได้ว่าหมู่บ้านคาซามิ เพราะนอกจากอาณาเขตอันกว้างใหญ่แล้ว ความอุดมสมบูรณ์และนิวาสถานยังโอ่อ่าเกินความเป็นหมู่บ้านชนบททั่วไป แต่ความที่บ้านเรือนบางตาและไร้ซึ่งความครึกครื้นของบันเทิงสถานจึงไม่อาจจัดว่าเป็นเมือง
หุบเขายากิวคือดินแดนอันสูงล้ำด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรมไม่ต่างเท่าไรนักกับทางผ่านบนถนนแห่งเส้นไหม
เรือนหลังใหญ่ล้อมรอบด้วยคันกำแพงหินแบบป้องปราการสมัยโบราณตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่กลางหุบเขาเป็นที่อยู่ของเจ้าของ ที่ดินกว้างใหญ่เทียบได้กับอาณาจักร ได้สืบทอดความเป็นศูนย์กลางการปกครองและวัฒนธรรมของชุมชนมานานนับพันปี อ่อนน้อมต่อจอมทัพโชกุนมาทุกยุคสมัยด้วยความมุ่งมั่นที่จะรักษาความสันติสุขในดินแดน แต่ก็มาประมาทที่จะสะสมธนูและคันศรไว้ในคลังเพื่อป้องกันผู้รุกราน และทุกคนในชุมชนที่ต่างสืบสายเลือดรักผืนแผ่นดินมาหลายชั่วคนต่างไม่ลังเลที่จะลุกขึ้นสู้เมื่อศัตรูมา
หลังศึกใหญ่ที่เซกิงาฮาระ ซามูไรไร้นายหลั่งไหลเข้าไปป่วนเมืองนาราที่มีอาณาเขตใกล้ชิดติดกันจนเกือบจะกลายสภาพเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน วัดวาอารามเสื่อมโทรมลงอย่างน่าสลดใจ แต่ความเลวร้ายไม่กล้ำกรายเข้ามาในเขตภูเขาคาซางิและหุบเขายากิวแห่งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งชุมชนที่กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ในอันที่จะรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของตนเอาไว้
อาณาจักรแห่งหุบเขายากิวอันสุขสงบด้วยความดีงามของเจ้าของที่ดินและบริวารแห่งนี้ ยังเป็นท้องถิ่นแสนงามด้วยทัศนียภาพของภูเขาคาซางิยามรุ่งอรุณและยามเย็นเมื่ออาทิตย์อัสดง น้ำหรือก็บริสุทธิ์ชงชาเลิศรสนัก ดอกไม้นั้นเล่าเดินไปไม่ไกลก็จะได้ชมทุ่งดอกบ๊วยบานตระการตายามฤดูดอกไม้บานที่สึกิงาเซะ นกอูงุยซุร้องเพรียกเรียกคู่กันเสียงใสแจ๋วกว่าน้ำในลำธาร มาตั้งแต่หิมะบนยอดเขาเริ่มละลายจนถึงเมื่อท้องฟ้าเริ่มคะนองครืนคลานยามเปลี่ยนฤดู
กวีโบราณกล่าวไว้ว่า จงดูเถิดป่าเขาและลำน้ำแห่งถิ่นกำเนิดของวีรบุรุษนั้นล้วนสงบและสะอาด คำพูดของกวีจะเป็นเท็จทันใดและความงดงามของป่าเขาและธารน้ำก็จะได้แต่งามแต่ไร้ซึ่งพืชผล หากท้องถิ่นนี้ไม่ให้กำเนิดวีรบุรุษ และเลือดรักผืนแผ่นดินของชุมชนก็คงไม่เข้มข้นมาจนทุกวันนี้
ผู้สืบตระกูลยากิวหลายรุ่นได้ชื่อว่าเป็นวีรบุรุษ อีกทั้งบริวารหลายคนที่ทิ้งจอบทิ้งเสียมออกศึกและดำรงยศฐานะบรรดาศักดิ์เป็นชนชั้นปกครองที่เลื่องลือในความสามารถและซื่อสัตย์สุจริต ทิ้งสิ้นทั้งปวงมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหุบเขานากิว ท่ามกลาง ป่าเขา ธารน้ำ และเสียงนกอูงุยซู
ทุกวันนี้ ยากิว มูเนโยชิ เซกิชูไซ ประมุขแห่งตระกูลเกษียณอายุจากตำแหน่งทางการ เปลี่ยนชื่อให้เรียกง่ายลงเป็นเซกิชูไซ และย้ายไปใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบเงียบในเรือนเล็กหลังเคหาสน์กำแพงหิน แม้จะยังดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอยู่ในระเบียนเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของแว่นแคว้นแต่ก็ไม่มีใครรู้ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องอะไร ความที่ท่านเซกิชูไซมีลูกหลานที่ดีหลายคน ทั้งยังมีบริวารที่พึ่งพาได้อีกเป็นจำนวนมาก ทำให้การปกครองชุมชนหุบเขายากิวเป็นไปอย่างราบรื่นดังเดิม
มูซาชิเดินทางมาถึงหุบเขายากิวหลังเหตุการณ์ที่ทุ่งฮันเนียได้ราวสิบวัน
ระหว่างทางนักดาบหนุ่มแวะเยือนวัดคาซางิ วัดโจรูริ ซากหักพังเค็มมุที่มีชื่อเสียง และเมื่อมาถึงที่นี่จึงหาโรงเตี๊ยมได้แห่งหนึ่งเพื่ออาศัยเป็นที่พักผ่อนให้คลายเหนื่อยล้าก่อนออกเดินทางไกลต่อไป
พอเข้าพักเป็นที่เป็นทางแล้วก็ลุกขึ้นจัดเสื้อผ้าที่สวมใส่ให้ดูลำลองแล้วจึงออกไปเดินเล่นรอบ ๆ โดยมีโจทาโรเดินตามหลังมาติด ๆ ตามเคย
“แปลก”
มูซาชิมองดูชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน พืชผลตามไร่นา และผู้คนที่เดินสวนกันไป แล้วพึมพำไม่ขาดปากมาตลอดทางตั้งแต่ย่างเข้าเขตหุบเขา
“แปลก”
“แปลกอะไรหรือครู”
โจทาโรขมวดคิ้วถามขึ้นอย่างอดรนทนไม่ได้ เพราะเห็นว่าครูของตนนั่นแหละแปลก ที่บ่นอยู่ได้ว่าแปลก
2
“ตั้งแต่ออกมาจากบ้านเกิด ข้าเดินทางผ่านมาหลายแว่นแคว้นไม่ว่าจะเป็นเซตสึ คาวาจิ อิซูมิ และอีกหลายแห่ง ไม่เคยเห็นอะไรอย่างนี้มาก่อน ถึงได้บอกว่าแปลกไง”
“ครู แปลกตรงไหนเหรอ”
“บนภูเขามีต้นไม้มากมาย”
โจทาโรได้ยินแล้วหัวเราะก้าก
“ครู ต้นไม้น่ะที่ไหน ๆ ก็มีเยอะแยะ”
“แต่ต้นไม้แทบทุกต้นบนภูเขาที่นี่ต่างจากที่อื่นคือมีอายุเก่าแก่มาก แสดงว่าดินแดนแถบนี้ไม่เคยถูกไฟสงคราม ไม่เคยถูกข้าศึกศัตรูบุกเข้ามารุกรานย่ำยี เจ้าของที่ดินและบริวารไม่เคยประสบกับภาวะข้าวยากหมากแพงตลอดประวัติศาสตร์ยาวนาน”
“แล้ว...”
“ท้องนาเขียวชอุ่ม ต้นข้าวสาลีหยั่งรากลึกลำต้นแข็งแรง มีเสียงปั่นเส้นด้ายดังมาจากทุกครัวเรือน พวกชาวนาเห็นผู้คนแคว้นอื่นแต่งกายหรูหราสวยงามผ่านมา ก็ไม่ได้หยุดมือที่ทำงานอยู่แล้วมองตาค้างด้วยความอิจฉา”
“แค่เนี้ย ?”
“ยังมีอีก ที่ต่างจากแคว้นอื่นที่เคยเห็นคือที่นี่มีสาวทำงานในนากันหนาตา ---ผู้หญิงคาดโอบิสีแดงที่แสดงว่ายังเป็นสาวพวกนี้ทำนาอยู่ที่บ้านเกิดของตน ไม่ต้องออกไปทำงานหารายได้ที่แคว้นอื่น ก็เพราะดินแดนนี้อุดมสมบูรณ์มีรายได้พอกินพอใช้ มีลูกก็เลี้ยงลูกให้เติบโตแข็งแรงเป็นคนดี เคารพนับถือผู้มีอาวุโสสูงวัย เมื่อท้องถิ่นของตนมีความอยู่ดีกินดีและที่สำคัญคือมีผู้ปกครองที่เที่ยงธรรมไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน รักและปรารถนาดีต่อทุกคนที่อยู่ในความปกครอง พวกหนุ่มสาวก็ไม่มีใครคิดที่จะทิ้งถิ่นไปทำงานที่อื่นด้วยความหวังว่ามีชีวิตที่สุขสบายกว่า เห็นแล้วเข้าใจได้เลยว่าท่านเจ้าของที่ดินแห่งนี้จะต้องมั่งคั่งทั้งทรัพย์สินและร่ำรวยน้ำใจ คลังอาวุธทั้งดาบและปืนจะต้องได้รับการขัดถูดูแลรักษาเป็นอย่างดี”
“โธ่เอ้ย นึกว่าจะมีอะไรสนุก ๆ”
“อือ ข้าก็คิดเหมือนกันว่าเจ้าคงไม่สนใจ”
“แต่ครูบอกเองไม่ใช่หรือว่า ที่มาหุบเขายากิวนี่ก็เพื่อประลองฝีมือกับพวกคนในสำนักดาบของตระกูลยากิว”
“โจทาโร การเดินทางฝึกวิทยายุทธ์ของนักดาบไม่ได้มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การประลองฝีมืออย่างเดียว คนที่แบกดาบไม้เดินทางไปพักไปและดื่มกินไป เจอใครก็ท้าดวลไม่เลือกหน้านั้นก็เป็นได้แค่ซามูไรพเนจร คนที่จะเรียกได้ว่านักดาบที่แท้จริงได้นั้นคือคนที่มุ่งฝึกจิตใจมากกว่าฝึกฝนฝีมือดาบ
ยุทธศาสตร์ของนักดาบคือการหยั่งรู้ตื้นลึกหนาบางของแว่นแคว้นที่เดินทางผ่าน สังเกตภูมิประเทศ การทดน้ำใช้ในไร่นาและครัวเรือน รู้นิสัยใจคอของชาวบ้านพร้อมทั้งขนบประเพณี ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ครองแคว้นและพลเมืองว่าปฏิบัติต่อกันและกันอย่างไร คือต้องมองให้ลึกเข้าไปถึงในปราสาทและในครัวเรือน ย่ำด้วยเท้าและมองด้วยใจไปทั่วทุกหัวระแหงทั้งบนบกและไกลออกไปในท้องทะเล นั่นแหละคือนักดาบที่แท้จริง”
ถึงจะรู้ว่าสาธยายไปก็ไร้ประโยชน์เพราะคนฟังเป็นแค่เจ้าเด็กตัวน้อย แต่เมื่อถูกถามก็ไม่อาจตอบอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ มูซาชิไม่แสดงว่าเหนื่อยหน่ายหรือรำคาญเมื่อถูกโจทะโรซัก และตอบด้วยความเต็มใจระหว่างเดินไปด้วยกัน
ขณะที่เดินดูโน่นดูนี่กันเพลิน ๆ นั้นเอง ครูกับศิษย์ตัวน้อยก็ได้ยินเสียงม้าควบใกล้เข้ามาพร้อมกับเสียงตะโกนให้หลบเข้าข้างทาง
“หลีกไป หลีกไป”
และพอจะผ่านไป โจทาโรที่มองขึ้นไปบนหลังม้าก็ร้องออกมาว่า
“อ้าวนั่นท่านโชดะนี่”
โจทาโรจำซามูไรที่ชื่อโชจิคนนี้ได้ดีเพราะมีหนวดดกดำราวกับหมี และเป็นคนเก็บกระบอกไม้ไผ่ใส่จดหมายที่ตนคิดว่าทำหายระหว่างที่เดินผ่านสะพานอุจิบาชิบนเส้นทางยามาโตจิ
โชดะ คิซาเอมอนบนหลังม้าหันมามองเมื่อได้ยินเสียงเรียก
“อ้าว เจ้าหนูน้อย”
แล้วยิ้มให้ก่อนควบม้าหายลับเข้าไปในเนินกำแพงหินของเคหาสน์ยากิว
3
“โจทาโรคนบนหลังม้าที่หัวเราะให้เจ้าคือใคร”
“ท่านโชดะ เป็นบริวารของตระกูลยากิว”
“เจ้าไปรู้จักกับเขาได้ยังไง”
“เจอกันระหว่างทางไปนารา เขาใจดีกับข้ามากเลย”
“หือ”
“เขาเดินมากับผู้หญิงคนนึง ข้าก็เลยเดินไปด้วยจนถึงท่าข้ามฟากแม่น้ำคิซุ”
มูซาชิเดินสำรวจรอบ ๆ ปราสาทโคยากิวและพื้นที่บริเวณหุบเขายากิวรอบหนึ่งแล้วจึงชวนโจทาโรเดินกลับ
ที่พักของมูซาชิกับโจทาโรเป็นโรงเตี๊ยมใหญ่แห่งเดียวในแถบนี้
ตั้งอยู่ริมทางหลวงอิงะ จึงเป็นที่พักแรมของพวกที่เดินทางมาสักการะวัดโจรูริและวัดคาซางิ พอตกเย็นคนจูงม้าจะต้องนำม้าที่ใช้บรรทุกสัมภาระมาผูกไว้ที่ใต้ต้นไม้และที่ชายคาเรือนราวสิบตัว แล้วพากันเอาข้าวมาซาวน้ำในลำธารเพื่อหุงหาอาหารกันกินกันเอะอะอยู่ตรงนั้น
“ไปไหนกันมาเจ้าคะ”
พอเข้าไปในห้องพัก เด็กหญิงนุ่งกางเกงใส่เสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงินเหมือนผู้ชายมีผ้าคาดเอวสีแดงเท่านี้ที่บอกว่าเป็นหญิง เดินตามเข้ามาถาม และยังไม่ทันจะมีใครตอบนางก็บอกขึ้นก่อนว่า “ไปอาบน้ำเลยดีไหม”
โจทาโรยิ้มย่องที่พบเด็กรุ่นเดียวกัน
“เจ้าชื่อไร”
“ไม่รู้”
“บ้าเหรอ ไม่รู้ชื่อตัวเอง”
“อ๋อ ชื่อโคจะ”
“ชื่อตลกจัง”
“ไม่ใช่เรื่องของเจ้า” โคจะทุบให้
“ทุบข้า จะเอาเรื่องรึ”
พอดีมูซาชิที่เดินออกไปก่อนหันมาถาม
“โคจะ ห้องอาบน้ำไปทางไหน ---ทางขวาข้างหน้านี้รึ รู้แล้วขอบใจ”
บนชั้นในห้องปูไม้กระดาน มีเสื้อผ้าถอดเอาไว้สามชุด และพอมูซาชิถอดของตนขึ้นไปวางด้วยจึงรวมเป็นสี่ชุด
มูซาชิเลื่อนประตูห้องอาบน้ำเข้าไปก็พบชายสามคนกำลังคุยกันสนุกสนาน
เสียงพูดคุยเงียบลงทันควันเพราะต่างอ้าปากค้างมองมาที่ร่างสูงใหญ่เปลือยเปล่าของผู้มาใหม่เป็นตาเดียวกัน ทำหน้าราวกับเห็นมนุษย์คนละชาติพันธุ์หลงฝูงพลัดเข้ามา
มูซาชิไม่สนใจ เดินอาด ๆ พาร่างสูงเกือบหกศอกก้าวลงไปในบ่อน้ำแช่
น้ำล้นขึ้นไปจนเกือบซัดชายสามคนที่กำลังนั่งถูหน้าแข้งอยู่นอกอ่างลอยไปติดข้างฝา
“...?.. ...”
คนหนึ่งหันมามอง และพอเห็นมูซาชิที่หนุนขอบอ่างแทนหมอนหลับตาพริ้มอยู่
จึงนอนใจและชวนกันคุยต่อ---
“ซามูไรบริวารของตระกูลยากิวที่มาเมื่อกี้ชื่ออะไรนะ”
“โชดะ คิซาเอมอน ไงละ”
“อ้อ---ยากิวใช้บริวารมาปฏิเสธคำท้าแบบนี้ ฝีมือคงจะไม่แน่จริงอย่างที่เล่าลือกันละมัง”
“เห็นโชดะบอกว่าท่านเซกิชูไซเกษียณแล้ว ส่วนลูกชายก็ไปประจำอยู่ที่เอโดะ จึงไม่รับท้าประลองฝีมือกับใครทั้งนั้น”
“ไม่จริงหรอก ที่ปฏิเสธก็เพราะคนท้าคือลูกชายคนที่สองของตระกูลโยชิโอกะมากกว่า คงไม่พร้อมเสี่ยง”
“แต่ก็ยังวางท่าไม่เลว ส่งขนมมาให้ด้วยความหวังว่าจะช่วยให้เราเพลิดเพลินขึ้นบ้างระหว่างการเดินทาง”
เห็นแต่ด้านหลัง แต่ก็รู้ว่าทุกคนผิวขาวเนียน กล้ามเนื้อนุ่มนิ่ม พูดจาแบบชาวกรุงมีลูกเล่นและไหวพริบแพรวพราว เฉียบแหลมและฉับไว
...โยชิโอกะ ?
ชื่อนั้นสะดุดหูจนต้องเหลียวไปมอง