สวัสดีครับผม Mr. Leon มาแล้วครับ อาทิตย์ที่แล้วผมเล่าเรื่องยากุซ่าครับ ที่จริงแล้วมีเรื่องที่เกี่ยวกับบริษัทญี่ปุ่นเอยระบบการทำงานต่างๆ อีกหลายเรื่องที่อยากเล่า เช่น เรื่องระบบของบริษัทญี่ปุ่นที่ไม่มีการไล่ออก การไล่ออกถือว่าเป็นกรณีที่เกิดขึ้นยากมาก บริษัทญี่ปุ่นมี 2 ประเภท ในที่นี้ไม่เกี่ยวกับชื่อเสียงและความใหญ่โตของขนาดองค์กรนะครับ แต่มีการแยกตามลักษณะของสวัสดิการ คือ
♢ホワイト企業 White kigyō เป็นบริษัทที่มีสวัสดิการดี
♦ブラック企業 Black kigyō เป็นบริษัทที่มีสวัสดิการไม่ค่อยดีนัก มีชื่อเรียกอีกแบบด้วยว่า フロント企業 Front kigyō คือบริษัทที่บริหารงานโดยยากุซ่า เช่น โรงรับจำนำ บริษัทที่เปิดให้กู้เงิน งานก่อสร้าง หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับขยะ
การเกิดรูปแบบองค์กรธุรกิจลักษณะที่เรียกเชิงล้อเลียนว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นมาจากสภาพสังคมญี่ปุ่นเอง ブラック企業 Black kigyō เกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้ราว 10 ปีก่อน "ผลงานสร้างสรรค์" ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่องที่แรงงานจำใจต้องทำในสภาพถูกกดเงินค่าแรงขั้นต่ำและการทำงานนอกเวลาแบบไม่ได้ค่าแรงหรือที่เรียกว่า 残業 Service Overtime ของพนักงานประจำที่ต้องรับไปแบบจำยอม เพราะถ้าลองคำนวณค่าแรงและจำนวนเวลาที่ทำงานโดยรวมแล้ว จะได้ค่าแรงน้อยมากอาจจะน้อยกว่าพนักงานพาร์ทไทม์หรือคนขายอาหารรถเข็ญอีก
แต่การที่จะตัดสินว่าบริษัทใดเป็นธุรกิจแบบใด แยกได้ยากมากครับว่าบริษัทนั้นๆ เป็นประเภทไหนกันแน่ระหว่าง ホワイト企業 White kigyō หรือブラック企業 Black kigyō อาจจะต้องสำรวจกันให้ดีหน่อยก่อนเข้าไปทำงานเพราะชีวิตคนญี่ปุ่นจะถูกชะตากำหนดก็หลังจากเรียนจบแล้ว ที่ต้องเริ่มต้นชีวิตการทำงานนี่แหละครับว่าจะได้เข้าไปอยู่ในบริษัทแบบไหน White หรือ Black
นักเขียนที่ผมชื่นชอบคนหนึ่งที่ชื่อว่า 橘玲(Akira Tachibana) 先生 ซึ่งก่อนหน้านี้เค้าจะเขียนเรื่องแล้วอัพเดทใส่เวปเพจ ผมก็ได้ตามอ่านตลอดเวลา เค้าบอกว่าช่วงเวลา10 ปีที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นอยู่ในช่วงแห่งยุค ブラック企業 Black kigyō จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนะครับว่าเป็นการทำงานในลักษณะแบบไหน อย่างไร จากเรื่องจริงของคนที่ผมรู้จักเลย
นางสาวโอ เป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านอาหาร เธอได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้จัดการร้านอาหารแห่งหนึ่งใจกลางมหานครโตเกียว ถ้าคนนอกมองคงคิดว่าเธอมีตำแหน่งที่ดีหรูหรา แต่ที่จริงแล้วชีวิตพนักงานบริษัทญี่ปุ่นอาจจะไม่ได้ดีเหมือนกันทุกบริษัท โดยเฉพาะบริษัทที่บอกกันว่าเป็น ブラック企業 Black kigyō เพราะเธอต้องทำงานหนักมากๆ ตั้งแต่ร้านเปิด ถ้าร้านเปิดให้ลูกค้าเข้าร้าน 11:00 น. แต่เวลาออฟฟิศที่พนักงานต้องมาทำงานเพื่อจัดเตรียมของคือ 9:00 น. แต่เธอไม่เคยมาทำงานสายกว่า 7:00 น. เลยจนกระทั่งร้านปิดที่ 22:00 น. แต่เวลาปิดร้านและเก็บเคลียร์งานธุรการต่างๆ กินเวลาอีกเป็นชั่วโมงๆ ชั่วโมงทำงานของเธอยาวนานมากกินเวลามากกว่าวันละ 15-16 ชั่วโมง บางวันเวลานี้ยังไม่รวมเวลาที่ต้องนั่งทำเอกสารรายงาน เอกสารปิดงบ เอกสารทุกเรื่องที่เกี่ยวกับงานจัดการร้าน แม้ว่าในหนึ่งอาทิตย์อาจจะมีวันหยุดให้หนึ่งวันแต่เธอก็แทบไม่ได้หยุดเพราะต้องมาดูงานที่ร้าน หรือมาทำงานแทนคนที่ไม่มา แต่เงินเดือนก็ไม่ได้มากมายอะไรแถมถูกหักภาษีอีกสารพัด ถ้าเทียบกับเด็กเสิร์ฟที่ทำงานเป็นชั่วโมงๆ ละ1 พันเยน ทำกี่ชั่วโมงก็คิดไปตามนั้น เด็กเสิร์ฟอาจจะได้เงินรายชั่วโมงมากกว่าผู้จัดการร้านที่ต้องทำงานยาวนานหลายชั่วโมงแต่เรทรายได้ต่อวันเท่าเดิม ไม่ได้โอทีไม่มีเงินพิเศษ ลักษณะเช่นที่ว่านี้คือตัวอย่างของบริษัทที่เรียกว่า ブラック企業 Black kigyō ครับ แล้วทำไมเธอหรือคนญี่ปุ่นต้องยอมรับสภาพผู้จัดการร้านที่ต้องทำงานโหดเช่นนี้แต่ได้เงินน้อยกว่าพนักงานรายชั่วโมง ก็เพราะว่าคำว่าตำแหน่งผู้จัดการมันดูดีกว่านั่นเอง แต่สภาพต่างจากผู้จัดการร้านที่เมืองไทยอย่างมากครับ
อีกตัวอย่างคือญาติผู้พี่ของผมเอง เค้าทำงานที่แผนกขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ห้างใหญ่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ต้องทำงานแบบที่เรียกว่าโหดถึกมาก ทำงานตั้งแต่เช้าจนดึกดื่น บางวันเหนื่อยจนต้องนอนในรถที่จอดไว้ที่จอดรถของบริษัทเช้ามาก็ทำงานต่อเลย บางวันที่ต้องรีบกลับบ้านหรือรีบไปทำงานเพื่อไม่ให้เข้างานสายก็ยอมจ่ายค่าทางด่วนเองเพื่อลดเวลาเดินทางแค่ห้านาที พูดๆ ไปคือทุ่มเทมาก แม้ว่าถ้าเขาอดทนทำงานนานหลายปีจนอายุสามสิบกว่า และได้ตำแหน่งซีเนียร์หรือตำแหน่งใดๆ ก็ตามและแม้ว่าเงินเดือนจะสูงขึ้นๆ แต่ถึงตอนนั้นสภาพร่างกายก็ทรุดโทรมไปมาก บางคนถึงตอนนั้นเริ่มทำงานไม่ไหวขอลาออกไปเอง กรณีเช่นนี้บริษัทแอบดีใจนะครับเพราะถ้าออกไปแล้วจะได้รับคนใหม่เข้ามาแทนที่ เด็กใหม่ๆ รับเงินเดือนน้อยกว่า มีไฟทำงานมากอยู่ หรือดีไม่ดีก็ลดคนไปเลยไม่รับใครแล้วเพื่อลดรายจ่ายบริษัทได้เยอะ แบบนี้เรียกว่าองค์กรแบบ ブラック企業 Black kigyō มาก
ซึ่ง Akira Tachibana บอกไว้ว่าปัจจุบันนี้ยังมีบริษัทเช่นนี้อยู่และคนญี่ปุ่นอยู่ในยุคที่ต้องทำงานภายใต้ภาวะเช่นนี้ส่วนใหญ่ เพราะ ブラック企業 Black kigyō ไม่ใช่เฉพาะบริษัทเล็กๆ นะครับ บริษัทท็อปๆ ดังๆ ของญี่ปุ่นก็ถูกขนานนามว่า ブラック企業 Black kigyō หลายบริษัท
หลังจากเกิดนิยามของบริษัท ブラック企業 Black kigyō แล้วคนที่โชคดีได้ทำงานบริษัทที่ตรงข้ามกับบริษัทเช่นนี้จึงถูกเรียกว่าทำงานที่บริษัท ホワイト企業 White kigyō ซึ่งคนญี่ปุ่นทั่วไปส่วนใหญ่จะพอรู้ว่าบริษัทไหนจะเป็น Black หรือ White เพราะอิมเมจของ Black kigyō ส่วนใหญ่จะเป็นงานพวกร้านอาหาร ธุรกิจกินดื่มเอ็นเตอร์เทน ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าต่างๆ โรงเรียนกวดวิชา ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ คนญี่ปุ่นนี่ถ้าใครได้เข้าไปทำงานบริษัทไหนก็มักจะต้องทำงานที่นั่นไปเรื่อยๆ จนเกษียณอายุ เมื่อทำงานจุดเดิมไปนานวันเข้าทักษะด้านอื่นก็ลดน้อยลง เช่น งานดูแลผู้สูงอายุที่ต้องคอยบริการและเช็ดอุจจาระปัสสาวะคนที่เราดูแล ก็มีทักษะแค่นี้ที่จะติดตัวไป จะไปหางานใหม่ก็ขาดทักษะความชำนาญเรื่องอื่นๆไปซะแล้ว แถมการทำงานในองค์กร Black kigyō นี้ต้องทำงานนอกเวลาที่ไม่ได้ค่าแรงพิเศษที่เรียกกันว่า サービス残業 Service zangyō ทำงานนอกเวลาแบบเซอร์วิสฟรี ทำเยอะมากจนเวลาส่วนตัวแทบจะไม่มี เวลาที่จะไปหางานใหม่ก็ไม่มี บางทีเหนื่อยจนไม่มีแรงที่จะคิดทำอะไรใหม่ๆ
ดังนั้นคนญี่ปุ่นที่จะเรียนจบมหาวิทยาลัยจึงต้องการแข่งขันกันเข้าทำงานบริษัทที่ได้นิยามว่า ホワイト企業 White kigyō กันเป็นอย่างมากครับ เพราะนั่นหมายถึงการชี้ชะตาและทางเดินของชีวิตครั้งสำคัญเลย
ホワイト企業 White kigyō เป็นลักษณะอย่างไรกัน ผมขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ แบบนี้ครับ
☆ B to B(business to bussiness) ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีประวัติศาสตร์ดีงามมายาวนาน บริษัทใหญ่ ใช้เทคโนโลยี มีวัฒนธรรมบริษัท
☆ พวกบริษัทที่เป็นธุรกิจผูกขาด เช่น ไฟฟ้า แก๊ส หรือแม้แต่จะเป็นบริษัทที่คนอื่นอาจจะมองว่าไม่เท่ห์ เช่น บริษัทผลิตโชยุ หรือซอสญี่ปุ่นยี่ห้อดัง ก็อาจจะเป็นบริษัทแบบ White kigyō ได้ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับขนาดองค์กรเสมอไป
☆ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการขายทักษะและเทคโนโลยี
☆ ก่อนหน้านี้พวกงานข้าราชการก็ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งงานในกลุ่ม White kigyō แต่ปัจจุบันอาจจะเริ่มเปลี่ยนไปบ้างแล้วก็ได้ครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ ホワイト企業 White kigyō หรือ ブラック企業 Black kigyō ก็เริ่มมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ เพราะประชาชนวัยทำงานลดลง ไม่มีคนทำงานหรือบางบริษัทก็ไม่สามารถเปิดการขายแบบ 24 ชั่วโมงได้เหมือนเมื่อก่อน อีกไม่กี่ปีญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยประชากรสูงวัย ทำไมประชากรวัยเด็กลดลงก็อย่างที่เคยบอกไปครับว่าเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมทำให้คนไม่ค่อยนิยมแต่งงาน หรือแต่งงานแต่ก็ไม่อยากมีลูก ดังนั้นแนวโน้มสังคมญี่ปุ่นก็เปลี่ยนไปด้วย นี่คืออีกหนึ่งความเป็นจริงของสังคมญี่ปุ่นละครับ วันนี้สวัสดีครับ
♢ホワイト企業 White kigyō เป็นบริษัทที่มีสวัสดิการดี
♦ブラック企業 Black kigyō เป็นบริษัทที่มีสวัสดิการไม่ค่อยดีนัก มีชื่อเรียกอีกแบบด้วยว่า フロント企業 Front kigyō คือบริษัทที่บริหารงานโดยยากุซ่า เช่น โรงรับจำนำ บริษัทที่เปิดให้กู้เงิน งานก่อสร้าง หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับขยะ
การเกิดรูปแบบองค์กรธุรกิจลักษณะที่เรียกเชิงล้อเลียนว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นมาจากสภาพสังคมญี่ปุ่นเอง ブラック企業 Black kigyō เกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้ราว 10 ปีก่อน "ผลงานสร้างสรรค์" ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่องที่แรงงานจำใจต้องทำในสภาพถูกกดเงินค่าแรงขั้นต่ำและการทำงานนอกเวลาแบบไม่ได้ค่าแรงหรือที่เรียกว่า 残業 Service Overtime ของพนักงานประจำที่ต้องรับไปแบบจำยอม เพราะถ้าลองคำนวณค่าแรงและจำนวนเวลาที่ทำงานโดยรวมแล้ว จะได้ค่าแรงน้อยมากอาจจะน้อยกว่าพนักงานพาร์ทไทม์หรือคนขายอาหารรถเข็ญอีก
แต่การที่จะตัดสินว่าบริษัทใดเป็นธุรกิจแบบใด แยกได้ยากมากครับว่าบริษัทนั้นๆ เป็นประเภทไหนกันแน่ระหว่าง ホワイト企業 White kigyō หรือブラック企業 Black kigyō อาจจะต้องสำรวจกันให้ดีหน่อยก่อนเข้าไปทำงานเพราะชีวิตคนญี่ปุ่นจะถูกชะตากำหนดก็หลังจากเรียนจบแล้ว ที่ต้องเริ่มต้นชีวิตการทำงานนี่แหละครับว่าจะได้เข้าไปอยู่ในบริษัทแบบไหน White หรือ Black
นักเขียนที่ผมชื่นชอบคนหนึ่งที่ชื่อว่า 橘玲(Akira Tachibana) 先生 ซึ่งก่อนหน้านี้เค้าจะเขียนเรื่องแล้วอัพเดทใส่เวปเพจ ผมก็ได้ตามอ่านตลอดเวลา เค้าบอกว่าช่วงเวลา10 ปีที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่นอยู่ในช่วงแห่งยุค ブラック企業 Black kigyō จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนะครับว่าเป็นการทำงานในลักษณะแบบไหน อย่างไร จากเรื่องจริงของคนที่ผมรู้จักเลย
นางสาวโอ เป็นพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับร้านอาหาร เธอได้รับตำแหน่งให้เป็นผู้จัดการร้านอาหารแห่งหนึ่งใจกลางมหานครโตเกียว ถ้าคนนอกมองคงคิดว่าเธอมีตำแหน่งที่ดีหรูหรา แต่ที่จริงแล้วชีวิตพนักงานบริษัทญี่ปุ่นอาจจะไม่ได้ดีเหมือนกันทุกบริษัท โดยเฉพาะบริษัทที่บอกกันว่าเป็น ブラック企業 Black kigyō เพราะเธอต้องทำงานหนักมากๆ ตั้งแต่ร้านเปิด ถ้าร้านเปิดให้ลูกค้าเข้าร้าน 11:00 น. แต่เวลาออฟฟิศที่พนักงานต้องมาทำงานเพื่อจัดเตรียมของคือ 9:00 น. แต่เธอไม่เคยมาทำงานสายกว่า 7:00 น. เลยจนกระทั่งร้านปิดที่ 22:00 น. แต่เวลาปิดร้านและเก็บเคลียร์งานธุรการต่างๆ กินเวลาอีกเป็นชั่วโมงๆ ชั่วโมงทำงานของเธอยาวนานมากกินเวลามากกว่าวันละ 15-16 ชั่วโมง บางวันเวลานี้ยังไม่รวมเวลาที่ต้องนั่งทำเอกสารรายงาน เอกสารปิดงบ เอกสารทุกเรื่องที่เกี่ยวกับงานจัดการร้าน แม้ว่าในหนึ่งอาทิตย์อาจจะมีวันหยุดให้หนึ่งวันแต่เธอก็แทบไม่ได้หยุดเพราะต้องมาดูงานที่ร้าน หรือมาทำงานแทนคนที่ไม่มา แต่เงินเดือนก็ไม่ได้มากมายอะไรแถมถูกหักภาษีอีกสารพัด ถ้าเทียบกับเด็กเสิร์ฟที่ทำงานเป็นชั่วโมงๆ ละ1 พันเยน ทำกี่ชั่วโมงก็คิดไปตามนั้น เด็กเสิร์ฟอาจจะได้เงินรายชั่วโมงมากกว่าผู้จัดการร้านที่ต้องทำงานยาวนานหลายชั่วโมงแต่เรทรายได้ต่อวันเท่าเดิม ไม่ได้โอทีไม่มีเงินพิเศษ ลักษณะเช่นที่ว่านี้คือตัวอย่างของบริษัทที่เรียกว่า ブラック企業 Black kigyō ครับ แล้วทำไมเธอหรือคนญี่ปุ่นต้องยอมรับสภาพผู้จัดการร้านที่ต้องทำงานโหดเช่นนี้แต่ได้เงินน้อยกว่าพนักงานรายชั่วโมง ก็เพราะว่าคำว่าตำแหน่งผู้จัดการมันดูดีกว่านั่นเอง แต่สภาพต่างจากผู้จัดการร้านที่เมืองไทยอย่างมากครับ
อีกตัวอย่างคือญาติผู้พี่ของผมเอง เค้าทำงานที่แผนกขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ห้างใหญ่เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ต้องทำงานแบบที่เรียกว่าโหดถึกมาก ทำงานตั้งแต่เช้าจนดึกดื่น บางวันเหนื่อยจนต้องนอนในรถที่จอดไว้ที่จอดรถของบริษัทเช้ามาก็ทำงานต่อเลย บางวันที่ต้องรีบกลับบ้านหรือรีบไปทำงานเพื่อไม่ให้เข้างานสายก็ยอมจ่ายค่าทางด่วนเองเพื่อลดเวลาเดินทางแค่ห้านาที พูดๆ ไปคือทุ่มเทมาก แม้ว่าถ้าเขาอดทนทำงานนานหลายปีจนอายุสามสิบกว่า และได้ตำแหน่งซีเนียร์หรือตำแหน่งใดๆ ก็ตามและแม้ว่าเงินเดือนจะสูงขึ้นๆ แต่ถึงตอนนั้นสภาพร่างกายก็ทรุดโทรมไปมาก บางคนถึงตอนนั้นเริ่มทำงานไม่ไหวขอลาออกไปเอง กรณีเช่นนี้บริษัทแอบดีใจนะครับเพราะถ้าออกไปแล้วจะได้รับคนใหม่เข้ามาแทนที่ เด็กใหม่ๆ รับเงินเดือนน้อยกว่า มีไฟทำงานมากอยู่ หรือดีไม่ดีก็ลดคนไปเลยไม่รับใครแล้วเพื่อลดรายจ่ายบริษัทได้เยอะ แบบนี้เรียกว่าองค์กรแบบ ブラック企業 Black kigyō มาก
ซึ่ง Akira Tachibana บอกไว้ว่าปัจจุบันนี้ยังมีบริษัทเช่นนี้อยู่และคนญี่ปุ่นอยู่ในยุคที่ต้องทำงานภายใต้ภาวะเช่นนี้ส่วนใหญ่ เพราะ ブラック企業 Black kigyō ไม่ใช่เฉพาะบริษัทเล็กๆ นะครับ บริษัทท็อปๆ ดังๆ ของญี่ปุ่นก็ถูกขนานนามว่า ブラック企業 Black kigyō หลายบริษัท
หลังจากเกิดนิยามของบริษัท ブラック企業 Black kigyō แล้วคนที่โชคดีได้ทำงานบริษัทที่ตรงข้ามกับบริษัทเช่นนี้จึงถูกเรียกว่าทำงานที่บริษัท ホワイト企業 White kigyō ซึ่งคนญี่ปุ่นทั่วไปส่วนใหญ่จะพอรู้ว่าบริษัทไหนจะเป็น Black หรือ White เพราะอิมเมจของ Black kigyō ส่วนใหญ่จะเป็นงานพวกร้านอาหาร ธุรกิจกินดื่มเอ็นเตอร์เทน ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าต่างๆ โรงเรียนกวดวิชา ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ คนญี่ปุ่นนี่ถ้าใครได้เข้าไปทำงานบริษัทไหนก็มักจะต้องทำงานที่นั่นไปเรื่อยๆ จนเกษียณอายุ เมื่อทำงานจุดเดิมไปนานวันเข้าทักษะด้านอื่นก็ลดน้อยลง เช่น งานดูแลผู้สูงอายุที่ต้องคอยบริการและเช็ดอุจจาระปัสสาวะคนที่เราดูแล ก็มีทักษะแค่นี้ที่จะติดตัวไป จะไปหางานใหม่ก็ขาดทักษะความชำนาญเรื่องอื่นๆไปซะแล้ว แถมการทำงานในองค์กร Black kigyō นี้ต้องทำงานนอกเวลาที่ไม่ได้ค่าแรงพิเศษที่เรียกกันว่า サービス残業 Service zangyō ทำงานนอกเวลาแบบเซอร์วิสฟรี ทำเยอะมากจนเวลาส่วนตัวแทบจะไม่มี เวลาที่จะไปหางานใหม่ก็ไม่มี บางทีเหนื่อยจนไม่มีแรงที่จะคิดทำอะไรใหม่ๆ
ดังนั้นคนญี่ปุ่นที่จะเรียนจบมหาวิทยาลัยจึงต้องการแข่งขันกันเข้าทำงานบริษัทที่ได้นิยามว่า ホワイト企業 White kigyō กันเป็นอย่างมากครับ เพราะนั่นหมายถึงการชี้ชะตาและทางเดินของชีวิตครั้งสำคัญเลย
ホワイト企業 White kigyō เป็นลักษณะอย่างไรกัน ผมขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ แบบนี้ครับ
☆ B to B(business to bussiness) ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่มีประวัติศาสตร์ดีงามมายาวนาน บริษัทใหญ่ ใช้เทคโนโลยี มีวัฒนธรรมบริษัท
☆ พวกบริษัทที่เป็นธุรกิจผูกขาด เช่น ไฟฟ้า แก๊ส หรือแม้แต่จะเป็นบริษัทที่คนอื่นอาจจะมองว่าไม่เท่ห์ เช่น บริษัทผลิตโชยุ หรือซอสญี่ปุ่นยี่ห้อดัง ก็อาจจะเป็นบริษัทแบบ White kigyō ได้ทั้งนี้ไม่เกี่ยวกับขนาดองค์กรเสมอไป
☆ ธุรกิจที่เกี่ยวกับการขายทักษะและเทคโนโลยี
☆ ก่อนหน้านี้พวกงานข้าราชการก็ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งงานในกลุ่ม White kigyō แต่ปัจจุบันอาจจะเริ่มเปลี่ยนไปบ้างแล้วก็ได้ครับ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ ホワイト企業 White kigyō หรือ ブラック企業 Black kigyō ก็เริ่มมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ เพราะประชาชนวัยทำงานลดลง ไม่มีคนทำงานหรือบางบริษัทก็ไม่สามารถเปิดการขายแบบ 24 ชั่วโมงได้เหมือนเมื่อก่อน อีกไม่กี่ปีญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยประชากรสูงวัย ทำไมประชากรวัยเด็กลดลงก็อย่างที่เคยบอกไปครับว่าเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมทำให้คนไม่ค่อยนิยมแต่งงาน หรือแต่งงานแต่ก็ไม่อยากมีลูก ดังนั้นแนวโน้มสังคมญี่ปุ่นก็เปลี่ยนไปด้วย นี่คืออีกหนึ่งความเป็นจริงของสังคมญี่ปุ่นละครับ วันนี้สวัสดีครับ