xs
xsm
sm
md
lg

ชาวพุทธยะไข่ปิดล้อมโรฮิงญากว่า 3 สัปดาห์ รัฐแจงกำลังเร่งแก้ปัญหาความมั่นคง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>หญิงโรฮิงญานั่งสามล้อผ่านด่านตรวจนอกค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองสิตตะเว ขณะที่หมู่บ้านเซดีเปง ชาวพุทธยะไข่ได้ปิดล้อมชาวโรฮิงญาไม่ให้ออกจากพื้นที่เช่นปกติ และอนุญาตให้ชาวโรฮิงญาเพียง 15 คน ออกจากพื้นที่ปิดล้อมไปจัดหาเสบียงเพียงแค่สัปดาห์ละ 2 ครั้งเท่านั้น. -- Reuters/Soe Zeya Tun.</font></b>

รอยเตอร์ - ชาวมุสลิมโรฮิงญาหลายร้อยคนถูกกลุ่มชาวพุทธปิดล้อมให้อยู่แต่ภายในพื้นที่ของตนเองในหมู่บ้านทางตะวันตกของพม่า ตามการเปิดเผยของชาวบ้านในพื้นที่ ท่ามกลางความวิตกว่า ความตึงเครียดทางศาสนาในรัฐยะไข่จะปะทุเป็นความรุนแรงอีกระลอก

ผู้ตรวจสอบ และเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ต่างวิตกกันว่า ความรุนแรงที่มีอยู่จนถึงตอนนี้กับชาวมุสลิมโรฮิงญาในพื้นที่ทางเหนือของรัฐ อาจปะทุรุนแรงขึ้นอีก

ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ และผู้ตรวจสอบกล่าวต่อรอยเตอร์ ว่า ชาวมุสลิมในหมู่บ้านเซดีเปง ถูกขวางไม่ให้ไปทำงาน หรือหาซื้ออาหารและน้ำในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา และมีเพียงชาวมุสลิมโรฮิงญาไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ออกไปซื้อเสบียงเมื่อวันอังคาร (22)

ตำรวจ และชาวบ้านที่เป็นชาวพุทธยะไข่ได้จำกัดปริมาณอาหารที่ชาวโรฮิงญาสามารถซื้อหาได้ และยังปฏิเสธความเคลื่อนไหวในบริเวณโดยรอบหมู่บ้าน รวมทั้งการออกไปทำงาน

“ผมคิดว่าพวกเขาเพียงแค่หวาดกลัว และไม่กล้าออกไป” โฆษกสำนักงานตำรวจพม่า กล่าว

ด้านรัฐบาลระบุว่า กำลังทำงานเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในพื้นที่

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพิ่มความวิตกว่า ความรุนแรงระหว่างชุมชนจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งในเมืองสิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ ดังเช่นในปี 2555 ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 200 คน และอีกราว 140,000 คน ต้องไร้ที่อยู่อาศัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา

“ความวิตกในหมู่บ้านเซดีเปง คือ สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้จะยกระดับจนกลายเป็นความรุนแรงระหว่างสองชุมชนหรือไม่” กลุ่มอาระกันโปรเจกต์ที่ตรวจสอบประเด็นโรฮิงญา กล่าว

รัฐยะไข่ประสบปัญหาความแตกแยกมายาวนานระหว่างชาวพุทธยะไข่ และชาวมุสลิมโรฮิงญา โดยในรัฐแห่งนี้มีชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ราว 1.1 ล้านคน ซึ่งถูกทางการปฏิเสธสิทธิการเป็นพลเมืองของประเทศ และเผชิญต่อข้อจำกัดการเดินทาง ที่ชาวพุทธจำนวนมากทั่วพม่ามองว่าคนกลุ่มนี้เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

ชาวโรฮิงญามากกว่า 87,000 คน ได้หลบหนีไปบังกลาเทศตั้งแต่ครั้งที่ผู้ก่อความไม่สงบโรฮิงญาสังหารตำรวจ 9 นาย เมื่อเดือน ต.ค. และส่งผลให้ทางการดำเนินการปราบปรามทางทหารในพื้นที่

หมู่บ้านเซดีเปง เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีผู้อยู่อาศัยราว 5,000 คน มีทั้งมัสยิด และวัดอยู่ในพื้นที่ แต่ชาวยะไข่ได้ปิดล้อมชาวโรฮิงญาประมาณ 700 คนไว้ภายในย่านที่พักอาศัยของพวกเขา ด้วยการปิดทางเข้าออกตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. ไม่ให้ชาวโรฮิงญาเข้าถึงตลาด และสระน้ำที่ใช้เป็นแหล่งน้ำดื่ม ตามการระบุของชาวมุสลิม และผู้ตรวจสอบ

คนท้องถิ่นระบุว่า ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน ก.ค. เมื่อชายชาวพุทธยะไข่จากหมู่บ้านใกล้เคียงหายตัวไป และพบชาวโรฮิงญา 3 คน เสียชีวิตในช่วงเวลาเดียวกัน

“พวกเขากล่าวหาเราว่าสังหารชาวยะไข่ที่หายตัวไป และขวางไม่ให้เราออกไปไหนเพราะเรื่องนี้” ชายชาวโรฮิงญาบอกต่อรอยเตอร์ทางโทรศัพท์

ชายชาวโรฮิงญาคนที่ 2 ที่อยู่ในพื้นที่ปิดล้อมเช่นกันเปิดเผยต่อรอยเตอร์ว่า ชาวบ้านถูกขวางไม่ให้ไปทำงานที่ท่าเรือท้องถิ่น ซึ่งหลายคนรับจ้างขนของเพื่อเลี้ยงชีพ และยังถูกห้ามสวดอธิษฐานที่มัดยิดในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่นอกพื้นที่ปิดล้อม

ชาวบ้านยะไข่ที่มีดาบ และไม้เป็นอาวุธตั้งด่านตรวจชั่วคราว 6 จุด รอบย่านที่อยู่อาศัยของชาวโรฮิงญา แต่ทั้งคู่ระบุว่า ยังไม่มีความรุนแรงอะไรเกิดขึ้นจนถึงตอนนี้

โฆษกตำรวจกล่าวว่า ทางการได้รับคำร้องเรียนเกี่ยวกับการปิดล้อมเมื่อสัปดาห์ก่อน และการประชุมในวันศุกร์ (18) ได้ข้อตกลงที่จะอนุญาตให้ชาวโรฮิงญา 15 คน ออกจากพื้นที่ไปตุนเสบียงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
.

.
<br><FONT color=#000033>ตำรวจรักษาชายแดนพม่าเดินลาดตระเวนในหมู่บ้านตินเม เมืองบุติด่อง ที่รัฐบาลและกองทัพอ้างว่ามีผู้ก่อการร้ายมุสลิมโรฮิงญาหลบซ่อนอยู่. -- Associated Press/Esther Htusan.</font></b>
.
ซอ เต โฆษกของนางอองซานซูจี กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขเมื่อวันศุกร์ และชาวบ้านสามารถออกไปนอกพื้นที่ได้ ส่วนรัฐบาลกำลังวางแผนที่จะจัดหาความปลอดภัยให้แก่คนเหล่านี้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม

หนึ่งในชายชาวโรฮิงญาที่ยืนยันว่าอยู่ในกลุ่มคน 15 คน ที่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกพื้นที่ปิดล้อมเพื่อซื้อหาอาหารสำหรับชุมชนในวันอังคาร (22) ระบุว่า พวกเขายังไม่ได้รับอนุญาตให้เคลื่อนไหวได้อย่างเสรี

“พวกเขาบอกว่า ทั้ง 15 คน สามารถออกไปข้างนอกได้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่ไม่สามารถไปทำงานได้ ซึ่งเราไม่รู้ว่าเราจะสามารถจ่ายค่าอาหารได้อย่างไร” ชาวโรฮิงญา กล่าว

หมู่บ้านเซดีเปง อยู่ในเขตที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกัน ห่างจากเมืองสิตตะเวไปทางเหนือราว 65 กิโลเมตร

ในอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เพิ่มความตึงเครียดในพื้นที่ คือ ชาวบ้านในหมู่บ้านอุ๊กนานยา ที่อยู่ข้างเคียงซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา ระบุว่า พวกเขาถูกกองกำลังรักษาความมั่นคงห้ามออกจากหมู่บ้าน หลังเกิดเหตุเผชิญหน้าในช่วงต้นเดือน ส.ค. ระหว่างชาวมุสลิมหลายร้อยคน และกองกำลังรักษาความมั่นคง ที่พยายามจะจับกุมชายชาวโรฮิงญา 6 คน ซึ่งถูกกล่าวหาว่าระดมเงินเพื่อก่อการร้าย และในวันเดียวกันนั้น มีชาวพุทธถูกฆ่าอีก 7 คน ในอีกพื้นที่ของรัฐยะไข่

ในสัปดาห์ที่เหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆ เกิดขึ้นนั้น อองซานซูจี ได้เรียกประชุมความมั่นคงระดับสูงในกรุงเนปีดอ และประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ ขณะที่กองทัพได้ส่งกำลังทหารราว 500 นาย เข้าเสริมพื้นที่เมื่อวันที่ 10 ส.ค.

ตำรวจระบุว่า ทหารดำเนินการปฏิบัติการกวาดล้างในเขตภูเขามายู ที่รัฐบาลสงสัยว่าผู้ก่อการร้ายโรฮิงญาซุ่มฝึกกำลังอยู่

“ชาวบ้านใกล้เคียงถูกเตือนให้ระมัดระวังเมื่อออกไปยังบริเวณภูเขา เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมตัว” โฆษกตำรวจ กล่าว

ชาวบ้าน 2 คน จากหมู่บ้านอุ๊กนานยา กล่าวต่อรอยเตอร์ว่า พวกเขาไม่สามารถที่จะไปตลาดเพื่อซื้อหาอาหาร หรือทำงานได้ ทำให้พวกเขาต้องแบ่งอาหารกับคนที่เหลือในหมู่บ้าน และไม่รู้ว่าจะมีอาหารเหลือพอแบ่งปันได้อีกนานเท่าใด.
กำลังโหลดความคิดเห็น