xs
xsm
sm
md
lg

ตำรวจมาเลย์เตือนพม่าเสี่ยงเจอภัยก่อการร้ายกลุ่มไอเอส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ตำรวจอินโดนีเซียแถลงข่าวพร้อมของกลาง ทั้งอาวุธและหลักฐานต่างๆ ที่ยึดได้จากการบุกค้นหลังจับกุมตัวสาวกกลุ่มไอเอส ซึ่งถูกกล่าวหาว่าวางแผนที่จะระเบิดสถานทูตพม่าในกรุงจาการ์ตา. -- Agence France-Presse/Robert.</font></b>

รอยเตอร์ - พม่ากำลังเผชิญต่ออันตรายที่เพิ่มขึ้นจากการโจมตีโดยบรรดาผู้สนับสนุนชาวต่างชาติของรัฐอิสลาม (ไอเอส) ที่เกณฑ์จากเครือข่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการสนับสนุนชาวมุสลิมโรฮิงญาซึ่งถูกกดขี่ข่มเหง เจ้าหน้าที่ต่อต้านการก่อการร้ายระดับสูงของมาเลเซียเผย

เจ้าหน้าที่มาเลเซียได้คุมตัวผู้ต้องสงสัยที่สนับสนุนกลุ่มไอเอสซึ่งวางแผนที่จะเดินทางไปพม่าเพื่อก่อเหตุโจมตี จากการเปิดเผยของหัวหน้าหน่วยตำรวจต่อต้านก่อการร้ายของมาเลเซียขณะให้สัมภาษณ์

ผู้ต้องสงสัยชาวอินโดนีเซีย ที่ไม่ได้ถูกระบุชื่อ ถูกควบคุมตัวในมาเลเซียเมื่อเดือนก่อน โดยผู้ต้องสงสัยถูกตั้งข้อหาจากการครอบครองวัตถุที่เชื่อมโยงต่อกลุ่มก่อการร้าย ซึ่งมีโทษปรับ หรือจำคุก 7 ปี

ผู้ก่อการร้ายคนอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะดำเนินรอยตามการนำของผู้ต้องสงสัยรายนี้ด้วยเหตุผลของการสนับสนุนชาวโรฮิงญา

“เขากำลังวางแผนที่จะทำญิฮาดในพม่า ต่อสู้กับรัฐบาลพม่าเพื่อกลุ่มโรฮิงญาในรัฐยะไข่” เจ้าหน้าที่ กล่าว

กองทัพพม่าดำเนินการกวาดล้างผู้ก่อความไม่สงบตั้งแต่เดือน ต.ค. ในพื้นที่ทางเหนือของรัฐยะไข่ ใกล้ชายแดนบังกลาเทศ ที่ทำให้ชนกลุ่มน้อยโรฮิงญาราว 34,000 คน ต้องหลบหนีเข้าไปในบังกลาเทศ ตามการระบุของสหประชาชาติ

ประชาชน และกลุ่มสิทธิกล่าวหากองกำลังรักษาความมั่นคงในพม่าละเมิดสิทธิฆ่า และข่มขืนผู้คนในระหว่างการปฏิบัติการทางทหาร ที่ดำเนินขึ้นเพื่อตอบโต้เหตุโจมตีด่านชายแดนตำรวจเมื่อวันที่ 9 ต.ค. ที่ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 9 นาย และรัฐบาลของอองซานซูจี ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาการละเมิดเหล่านั้น

ซอ เต โฆษกรัฐบาลพม่า กล่าวต่อรอยเตอร์ว่า รายงานอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเหตุความรุนแรงในเดือน ต.ค. ในรัฐยะไข่ ไม่พบหลักฐานการปรากฏตัวของไอเอส หรือการโจมตีมีความเชื่อมโยงต่อกลุ่มไอเอส

ความขัดแย้งในรัฐยะไข่เสี่ยงที่จะกลายเป็นสายล่อฟ้าสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงอิสลามในเครือข่ายที่ทอดยาวจากฟิลิปปินส์ มายังอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งเชื่อมโยงกับรัฐอิสลามในตะวันออกกลาง นักวิเคราะห์ความมั่นคง และเจ้าหน้าที่ระบุ

ชาวมุสลิมจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ส่วนใหญ่มาจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้เดินทางไปยังตะวันออกกลางเพื่อเข้าร่วมกับไอเอส ตำรวจปราบปรามการก่อการร้ายในภูมิภาค กล่าว

ในช่วงปีที่ผ่านมา ไอเอสอ้างว่า อยู่เบื้องหลังการโจมตีหลายแห่ง หรือเกี่ยวข้องต่อแผนการที่ถูกสกัดไว้ได้ ทั้งในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์

“มีความเป็นไปได้สูงมากที่ว่าชาวมุสลิม ที่อาจมาจากกลุ่มไอเอส หรือกลุ่มอื่นๆ จะพบวิธีการที่จะเดินทางไปพม่าเพื่อช่วยเหลือพี่น้องชาวมุสลิมโรฮิงญา” เจ้าหน้าที่มาเลเซีย กล่าว

ผู้ต้องสงสัยชาวอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งใน 7 คน ที่ถูกจับกุมตัว ซึ่งต้องสงสัยว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มไอเอส ซึ่งผู้ต้องสงสัยรายนี้ยังเกี่ยวข้องต่อแผนการที่จะลักลอบขนอาวุธไปยังเมืองโปโซ บนเกาะสุลาเวสี ของอินโดนีเซีย นอกจากนั้น ทางการอินโดนีเซียได้ควบคุมตัวชาวต่างชาติต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อการร้ายได้จำนวนหนึ่งที่พยายามจะเดินทางไปยังเมืองโปโซเช่นกัน

ผู้ต้องสงสัยที่ทำงานในโรงงานมาเลเซียมาตั้งแต่ปี 2557 พยายามที่จะเชื่อมโยงต่อทางพม่า และยังติดต่อกับ มูฮัมหมัด วันดี มูฮัมหมัด เจดี ชาวมาเลเซียที่อ้างความรับผิดชอบในนามกลุ่มไอเอสในเหตุขว้างระเบิดบาร์เมื่อเดือน มิ.ย.2559
.
<br><FONT color=#000033>ชาวมุสลิมโรฮิงญาจำนวนมากจากพม่า ที่พยายามจะข้ามแม่น้ำนาฟเข้ามาในบังกลาเทศเพื่อหลบหนีการกวาดล้างทางทหารในรัฐยะไข่ ถูกเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงบังกลาเทศกักตัวไว้ในเมืองเทคนาฟ เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2559. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>
.
กลุ่มวิกฤตการณ์นานาชาติ (ICG) ระบุในรายงานเมื่อเดือนที่ผ่านมาว่า เหตุโจมตีหลายจุดที่ด่านตำรวจในรัฐยะไข่ ดำเนินการโดยกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “ฮาราคาห์ อัล-ยาคิน” ซึ่งกลุ่มนี้เชื่อมโยงต่อซาอุดีอาระเบีย และปากีสถาน ซึ่งอาจจะเป็นความผิดพลาดหากตีความเกินจริงถึงการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ

“แต่อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนาน มีความเสี่ยงอย่างมหาศาลที่จะกลายเป็นการเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น และมีศักยภาพที่จะกลายเป็นปฏิบัติการ” ICG ระบุ

มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากรชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก ได้เรียกร้องให้พม่ายุติความรุนแรงต่อชาวโรฮิงญา

ชาวโรฮิงญาต้องหลบหนีการกดขี่ในพม่ามานานหลายปี และถูกปฏิเสธสิทธิความเป็นพลเมืองเพราะคนกลุ่มนี้ถูกมองว่าเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

มีชาวโรฮิงญามากกว่า 55,000 คน ลงทะเบียนต่อสหประชาชาติในมาเลเซีย แต่กลุ่มไม่แสวงผลกำไรประเมินว่า มีโรฮิงญาราว 200,000 คน ใช้ชีวิตอยู่ในมาเลเซีย โดยหลายคนทำงานในร้านอาหาร หรือสถานที่ก่อสร้าง

นักวิเคราะห์เตือนว่า ผู้อพยพชาวโรฮิงญาจำนวนมากนี้มีศักยภาพที่จะเป็นแหล่งเกณฑ์คนเพื่อเป็นผู้ก่อการร้าย

“เครือข่ายระหว่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และโรฮิงญาอยู่ที่นั่น” ผู้อำนวยการบริหารโครงการกลุ่มต่อต้านก่อการร้ายมาเลเซีย กล่าว และระบุว่า กลุ่มได้ค้นพบว่ามีผู้ก่อความไม่สงบชาวมาเลเซียเกี่ยวข้องต่อการเกณฑ์โรฮิงญา และส่งตัวไปยังเมืองโปโซเพื่อฝึกฝน

โรฮัน กุนรัตนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงจากสถาบันการระหว่างประเทศศึกษา เอส ราชารัตนัม ในสิงคโปร์ กล่าวว่า คนของรัฐอิสลามในภูมิภาคมุ่งมั่นที่จะโจมตีทั้งภายในพม่า และเป้าหมายพม่าในต่างประเทศ

ในเดือน พ.ย. เจ้าหน้าที่อินโดนีเซียได้ควบคุมตัวผู้ก่อการร้ายเชื่อมโยงกลุ่มไอเอสจากการวางแผนโจมตีสถานทูตพม่าในกรุงจาการ์ตา

“ภัยคุกคามสูงสุดต่อพม่าออกมาจากเครือข่ายรัฐอิสลาม ความขัดแย้งโรฮิงญากำลังกลายเป็นประเด็นในการระดมกำลังสำหรับไอเอส ในระดับยุทธศาสตร์ พม่าควรแก้ไขความขัดแย้งโรฮิงญาเพื่อป้องกันอิทธิพล และการขยายตัวของไอเอส” โรฮัน กล่าว.
กำลังโหลดความคิดเห็น