xs
xsm
sm
md
lg

คณะตรวจสอบพม่ายังยืนกรานปฏิเสธข้อกล่าวหาละเมิดสิทธิโรฮิงญา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>สมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษารัฐยะไข่ลงพื้นที่เยี่ยมค่ายพักชาวโรฮิงญาในเมืองสิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ เมื่อเดือนพ.ย. 2559 ด้านคณะกรรมการตรวจสอบความรุนแรงยังคงยืนยันว่ากองกำลังรักษาความมั่นคงไม่ได้ละเมิดสิทธิชาวโรฮิงญาในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่. -- Agence France-Presse/Wai Moe.</font></b>

เอเอฟพี - คณะกรรมการตรวจสอบเหตุความรุนแรงในรัฐยะไข่ของพม่า ออกมาปฏิเสธวันนี้ (4) ถึงกรณีกองกำลังรักษาความมั่นคงได้ละเมิดสิทธิชาวโรฮิงญา คำแถลงที่ออกมาไม่กี่วันหลังคลิปวิดีโอเผยให้เห็นตำรวจพม่าทุบตีพลเรือนชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม

ชาวโรฮิงญาหลายหมื่นคน กลุ่มที่ประชากรชาวพุทธส่วนใหญ่ของพม่าเกลียดชัง ได้หลบหนีปฏิบัติการทางทหารในรัฐยะไข่ ที่เริ่มขึ้นหลังเหตุโจมตีด่านชายแดนตำรวจเมื่อเดือน ต.ค.

ประชาชนหลายสิบคนเสียชีวิตในการปราบปรามดังกล่าว ขณะเดียวกัน ผู้ที่หลบหนีซึ่งอยู่ในบังกลาเทศเวลานี้ได้กล่าวหาว่ากองกำลังรักษาความมั่นคงละเมิดสิทธิชาวมุสลิมทั้งการข่มขืน วางเพลิง สังหาร และทรมาน

รัฐบาลพม่าภายใต้การนำของนางอองซานซูจี ได้กล่าวว่า ข้อกล่าวหาต่างๆ นั้นถูกสร้างขึ้น และยังต้องเผชิญต่อแรงกดดันของนานาประเทศที่เรียกร้องให้ดำเนินการปกป้องคุ้มครองชนกลุ่มน้อย

ในวันนี้ (4) คณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสืบสวนความรุนแรงได้เผยแพร่รายงานฉบับชั่วคราวปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ว่า กองกำลังรักษาความมั่นคงได้ก่อการละเมิดสิทธิ หรือดำเนินการบังคับให้ชาวโรฮิงญาต้องออกจากพื้นที่

“ขนาดของประชากรชาวเบงกาลี มัสยิด และศาสนสถาน ในพื้นที่ที่เกิดเหตุความไม่สงบ เป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า ไม่มีกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการกดขี่ทางศาสนา” ส่วนหนึ่งของคำแถลงที่เผยแพร่ในสื่อของทางการ ระบุ

พม่าปฏิเสธที่จะยอมรับว่าโรฮิงญาเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ของประเทศ และเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเบงกาลี หรือผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

คณะกรรมการ ที่มีอดีตนายพลเป็นหัวหน้าคณะ ยังระบุว่า ขาดหลักฐานการข่มขืน และยังคงพยายามหาข้อมูลในข้อกล่าวหาการวางเพลิง การจับกุมอย่างผิดกฎมาย และการทรมานชาวโรฮิงญา

คำแถลงดังกล่าวมีขึ้นไม่กี่วันหลังรัฐบาลควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นาย จากคลิปวิดีโอที่ตำรวจด้วยกันถ่ายเอาไว้ซึ่งเผยให้เห็นว่า พวกเขากำลังทุบตี และเตะชาวบ้านโรฮิงญา ซึ่งนับเป็นการยอมรับการละเมิดสิทธิที่เกิดขึ้นยาก.
กำลังโหลดความคิดเห็น